ผมใช้ WordPress หาเงินและทำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง
 9786167119694, 9786167897219, 0262171712, 0222566756 [PDF]

  • 0 0 0
  • Suka dengan makalah ini dan mengunduhnya? Anda bisa menerbitkan file PDF Anda sendiri secara online secara gratis dalam beberapa menit saja! Sign Up
File loading please wait...

Table of contents :
ch00
ch01
ch02
ch03
ch04
ch05
ch06
ch07
ch08
ch09
ch10
ch11
ch12
ch13
ch14
ch15
ch16
ch17
ch18
ch19
ch20
ch21

Citation preview

สุพิชฌาย์ ศรีประสิทธิ์



เขียน



[email protected]



พศ ต่อศรีเจริญ [email protected]



บรรณาธิการ



ผู้เขียน



สุพิชฌาย์ ศรีประสิทธิ์



บรรณาธิการ พศ ต่อศรีเจริญ ผู้ช่วยบรรณาธิการ เพชร จารุจุฑารัตน์ ปก/รูปเล่ม ธันวา เรืองสวัสดิ์



สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ห้ามลอกเลียนแบบไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่ม นี้ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากผู้จัดพิมพ์เท่านั้น ชื่อโปรแกรม, ชื่อเว็บไซต์ และชื่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เอ่ย



ถึงในหนังสือ เป็นลิขสิทธิ์ขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2555 พิมพ์ครั้งที ่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ISBN 978-616-7119-69-4 ISBN 978-616-7897-21-9 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักหอสมุดแห่งชาติ



ข้สุพอิชมูฌาย์ ลทางบรรณานุ ศรีประสิทธิ์. กรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ



นและทำาการตลาดออนไลน์ได้ยังไง. -- กรุงเทพฯ : วิตตี้ กรุ๊ป, 2555. สุ พิชฌาย์ ศรีผมใช้ ประสิ ทWordPress หาเงิ ธิ์. 400 หน้ า . ผมใช้ WordPress หาเงินและทำ�การตลาดออนไลน์ได้ยังไง (พิมพ์ครั้งที่ 2). -- กรุงเทพฯ : วิตตี้ กรุ๊ป, 2558. 400 หน้า. นเทอร์เน็ต. 2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. I. ชื่อเรื่อง. 1. การตลาดอิ



658.872 ISBN 658.872 ISBN



จัดพิมพ์โดย จัดพิมพ์โดย



จัดจำ�าหน่ายโดย



1. การตลาดอินเทอร์เน็ต. 2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. I. ชื่อเรื่อง.



978-616-7119-69-4 978-616-7897-21-9



สำานักพิมพ์วิตตี้กรุ๊ป สำ52/3-4 อาคารเจริ �นักพิมพ์วิตตี้กรุญ๊ปการ ซอยนาคบำ ารุง ถนนบำารุงเมือง 52/3-4 อาคารเจริ ญการ ซอยนาคบำ �รุง ถนนบำ �รุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้ อมปราบฯ กรุ งเทพฯ 10100 แขวงคลองมหานาค เขตป้ อมปราบฯ กรุองเทพฯ โทร. 08-9443-8111, 0-2621-7171-2 ต่ “วิตตี้ 10100 กรุ๊ป” โทร. 08-9443-8111, 0-2621-7171 ต่ อ “วิตตี้ กรุ๊ป” โทรสาร 0-2225-6675-6 อี เมล [email protected] โทรสาร 0-2225-6675-6 อีเมล [email protected] เว็บไซต์ www.witty.co.th เว็บไซต์ www.witty.co.th บริษัท เอ-บุ เอ-บุ๊ค ดิดิสทริบิวชั่น จำจำ�ากัด 95/165/1 ถ.ติวานนท์ ซอย 3 ต.ตลาดขวัญ อ.เมื อ.เมืองง จ.นนทบุ จ.นนทบุรี 11000 95/165/1 ถ.ติ ซอย 3 ต.ตลาดขวั โทร. 0-2968-9337, 0-2968-9207 โทรสาร 0-2968-9511 โทร. 0-2968-9337, 0-2968-9207 โทรสาร 0-2968-9511 H.N.Group พ.ศ. 2558 H.N.Group พ.ศ. 2555



พิมพ์ทที่ ี่ ราคาหนั งสือเล่ม 225 บาท ราคาอีบุ๊ก 99 บาท



รับสมัครทีมงานประจำากองบรรณาธิการ



วิตตี้กรุ๊ป เปิดกว้างรับผู้สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานประจำากองบรรณาธิการ ทั้งผู้ที่มีประสบการณ์และผู้ที่ ไม่มีประสบการณ์ โดยทำาหน้าที่ผู้ช่วยบรรณาธิการ เพื่อฝึกฝนการตรวจแก้ไขต้นฉบับ, รีไรต์ต้นฉบับ, พิสูจน์อักษร และ จัดรูปเล่ม ก่อนที่จะเป็นนักเขียนและบรรณาธิการในอนาคต ติดต่อได้ที่หัวหน้าทีมบรรณาธิการ 08-9443-8111 หรือ [email protected]



ค�ำน�ำ WordPress เป็นซอฟต์แวร์ส�ำหรับสร้างบล็อก (หรือเว็บไซต์) ซึง่ เป็นทีร่ จู้ กั กันดีอยูแ่ ล้วครับ บล็อก จ�ำนวนนับไม่ถว้ นในโลกออนไลน์ลว้ นเกิดขึน้ มาได้ดว้ ยฝีมอื ของ WordPress ทัง้ นัน้ ทัง้ บล็อกของบริษทั ใหญ่โตระดับโลก และบล็อกของคนธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ความนิยมในตัว WordPress การันตีได้ เป็นอย่างดีว่า WordPress มีประสิทธิภาพสูง มีความสามารถหลากหลาย น�ำมาใช้สร้างบล็อกได้ตั้งแต่ ระดับมือสมัครเล่นจนถึงมืออาชีพ แต่ถงึ แม้จะมีคนใช้งาน WordPress กันมากมายก่ายกอง เอาเข้าจริงแล้วกลับมีคนทีร่ เู้ ทคนิคการ หารายได้และท�ำการตลาดออนไลน์ด้วย WordPress จ�ำนวนไม่มากนัก บางคนใช้งาน WordPress เผย แพร่บทความอะไรต่อมิอะไรโดยไม่รู้ด้วยซ�้ำว่า เราสามารถใช้ WordPress เป็นเครื่องมือหารายได้และ ท�ำการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนี้จะสอนในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ WordPress เริ่มตั้งแต่การสร้างและบริหาร จัดการบล็อกด้วย WordPress จากนั้นก็จะเป็นการแนะน�ำเทคนิคการใช้ WordPress หารายได้และ ท�ำการตลาดออนไลน์ดว้ ยสารพัดช่องทาง ไม่วา่ จะเป็นการเปิดร้านค้าออนไลน์, การหารายได้กบั Google AdSense, การหารายได้กับ Amazon, การหารายได้กับแบนเนอร์โฆษณา, การใช้ WordPress ท�ำการ ตลาดออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ฯลฯ แล้วเราก็จะไปปิดท้ายกันทีเ่ รือ่ งการท�ำ SEO ให้บล็อก WordPress ของเรา เพื่อให้ WordPress มีความแรงในด้าน SEO เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกหลายเท่า ส�ำหรับคนที่คิดจะสร้างบล็อกด้วย WordPress แต่ไม่ได้สนใจเรื่องการหารายได้หรือท�ำการ ตลาดออนไลน์ ก็อย่าเพิ่งคิดว่าหนังสือเล่มนี้ไม่เหมาะกับคุณนะครับ ต่อให้คุณไม่คิดจะใช้ WordPress หารายได้หรือท�ำการตลาดออนไลน์ คุณก็ซื้อหนังสือเล่มนี้ไปอ่านได้ เพราะผมได้อธิบายเทคนิคการ ใช้งาน WordPress ไว้อย่างละเอียดครบถ้วน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือนคู่มือการใช้งาน WordPress ฉบับสมบูรณ์เลยทีเดียว หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะช่วยให้คณ ุ สนุกกับการสร้างบล็อกด้วย WordPress และช่วย ให้คุณท�ำเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ด้วย WordPress กันได้ทุกคนนะครับ ด้วยความปรารถนาดี สุพิชฌาย์ ศรีประสิทธิ์ ผู้อ่านสามารถสอบถามปัญหาจากการอ่านหนังสือกับผู้เขียนได้ที่ [email protected]



บอกกล่าว เว็บไซต์ต่างๆ ที่ถูกเอ่ยถึงในหนังสือเรื่องนี้ ล้วนมีอยู่จริงตามการศึกษา ค้นคว้าของผู้เขียน แต่เนื่องจากใครๆ ก็ท�ำเว็บไซต์กันได้ไม่ยาก หรือจะเลิกท�ำ เว็บไซต์ไปก็ยิ่งง่ายมาก ขณะที่ท่านอ่านหนังสือเรื่องนี้ จึงอาจจะมีบางเว็บไซต์ที่ ปิดไปแล้ว ซึง่ สุดวิสยั ทีผ่ เู้ ขียนและบรรณาธิการจะควบคุมได้ ดังนัน้ หากท่านผูอ้ า่ น เรียกดูเว็บไซต์ไหนแล้วไม่พบ ทางส�ำนักพิมพ์ บรรณาธิการ และผู้เขียน ต้องกราบ ขออภัยมา ณ ที่นี้.



สารบัญ บทที่ 1  รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



17



ใครยังไม่รู้จักหรือไม่เคยลองใช้งาน WordPress มาก่อน คงต้องมาท�ำความรู้จักในเบื้องต้นกัน หน่อยว่า WordPress ของเรามีความสามารถอะไรบ้าง น�ำมาใช้ท�ำอะไรได้บ้าง และจุดเด่นของ WordPress คืออะไร ที่ส�ำคัญ...เราจะประยุกต์ใช้ WordPress หารายได้ออนไลน์ยังไงได้บ้าง



รู้จัก Blog ให้ลึกอีกหน่อย WordPress มีดีที่ตรงไหน WordPress.org กับ WordPress.com ประยุกต์ใช้ WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ ตัวอย่าง Blog ที่สร้างด้วย WordPress



บทที่ 2  ลงมือติดตั้ง WordPress



18 21 25 28 31



35



ก่อนจะใช้งาน WordPress ได้ เราก็ต้องติดตั้ง WordPress ให้เป็นก่อนจริงมั้ยครับ ซึ่งก่อนจะติด ตั้ง WordPress ได้ เราก็ต้องจดโดเมนเนมและเช่าเว็บโฮสติ้ง รวมถึงต้องสร้างฐานข้อมูลเตรียมไว้ให้ พร้อมกันก่อนด้วย เราจะไปดูรายละเอียดเรื่องนี้กันในบทที่ 2 นี้ครับ



เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ Domain Name เลือก Web Hosting ให้ถูกหลัก ลองจด Domain Name และเช่า Web Hosting กันดู สร้าง Database ส�ำหรับ WordPress



36 39 42 46



ดาวน์โหลด WordPress กันเลย แก้ไขไฟล์ wp-config-sample.php ให้ถูกต้อง อัปโหลด WordPress ขึ้น Web Hosting ขั้นตอนการสั่งติดตั้ง WordPress ติดตั้ง WordPress ผ่านแอปพลิเคชันใน Web Hosting รู้จักกับ WordPress Multisite



บทที่ 3  สำ�รวจตรวจตรา WordPress



50 54 57 63 66 68



71



หลังจากติดตั้ง WordPress แล้ว เรามาส�ำรวจตรวจตราเพื่อท�ำความรู้จักกับ WordPress ในครั้ง แรกกันหน่อย จะได้รู้ว่า WordPress มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ตรงไหนมีไว้ใช้ท�ำอะไร เมื่อรู้จักส่วน ประกอบต่างๆ ของ WordPress แล้ว การใช้งาน WordPress ก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้น



การเข้าสู่ Dashboard ของ WordPress รู้จักกับ Dashboard ของ WordPress Toolbar ของ WordPress ท�ำอะไรได้บ้าง เมนูค�ำสั่งของ WordPress ท�ำความรู้จักสารพัด Module ใน Dashboard ปุ่ม Screen Options และปุ่ม Help วิธีแก้ไขข้อมูลส่วนตัวและ Log Out



72 74 77 78 84 86 88



บทที่ 4  เริ่มเขียนบทความใน WordPress



91



WordPress มีไว้เขียนบทความเป็นหลักอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นประเด็นส�ำคัญที่สุดเกี่ยวกับการใช้ งาน WordPress ก็คือเรื่องของการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ผ่าน WordPress นี่เอง บทนี้เราจะ ไปศึกษาวิธีการเขียนบทความกัน รับรองว่าคุณจะได้เรียนรู้เทคนิคเกี่ยวกับการเขียนบทความอย่าง ครบถ้วนแน่นอน



เขียนบทความใหม่ในพริบตา จัดการบทความแบบด่วนจี๋ผ่านเมนู All Posts จัดการกับ Category ของบทความ รู้จักและใช้งาน Tag ให้เป็น เทคนิคเขียนบทความผ่าน QuickPress



92 102 104 107 109



บทที่ 5  จัดการ Media File ใน WordPress



111



ในบล็อกที่สร้างจาก WordPress คงไม่ได้มีแต่บทความที่เป็นตัวหนังสือธรรมดาเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมีไฟล์มีเดียต่างๆ ที่มักน�ำมาใช้ประกอบบทความด้วย เช่น ไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์ เพลง เป็นต้น และวิธีการจัดการกับไฟล์มีเดียเหล่านี้ ก็คือเนื้อหาสาระของบทนี้ไงครับ



อะไรคือ Media File อัปโหลด Media File ขึ้นสู่ WordPress อัปโหลด Media File ผ่านระบบ Browser Uploader จัดการ Media File ผ่าน Media Library



บทที่ 6  จัดการ Link ใน WordPress



112 113 116 118



121



บล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะมีลิงก์ที่เชื่อมโยงออกไปยังเว็บไซต์ภายนอกด้วยกันทั้งนั้น ใน ระบบ WordPress ก็มีฟังก์ชันส�ำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ เราจึงสร้างและจัดการลิงก์ต่างๆ ได้อย่าง ง่ายดาย เรามาลองศึกษาวิธีจัดการกับลิงก์ใน WordPress กันในบทนี้เลยครับ



ประโยชน์ของ Link ใน WordPress สร้าง Link ใหม่ง่ายนิดเดียว จัดการทุก Link ผ่านเมนู All Links สร้าง Category ให้ Link



122 122 125 126



บทที่ 7  สร้าง Page ใน WordPress ให้เป็น



129



WordPress มีรูปแบบการแสดงผลในลักษณะบล็อก กล่าวคือจะน�ำเสนอบทความเรียงล�ำดับตาม วันเวลาไปเรื่อยๆ เราจึงต้องมีระบบ Page เอาไว้ใช้น�ำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ต้องการให้อยู่รวม กับบทความอื่นๆ และระบบ Page นี่เองที่ท�ำให้ WordPress มีความสามารถแทบไม่ต่างจากเว็บไซต์



Page ใน WordPress มีไว้ใช้ท�ำอะไร สร้าง Page ใหม่ไว้ใช้งาน จัดการทุก Page ผ่านค�ำสั่ง All Page



บทที่ 8  จัดการ Comment ของผู้ชม Blog



130 131 134



137



ต้องบอกเลยว่าเสน่ห์และความพิเศษของบล็อกที่สร้างด้วย WordPress (หรือจะสร้างด้วยอะไร ก็ตาม) อยู่ที่ระบบคอมเมนต์นี่เองครับ เพราะระบบคอมเมนต์ช่วยให้คนอ่านบล็อกสามารถแสดง ความคิดเห็นโต้ตอบกับเจ้าของบล็อกและโต้ตอบระหว่างกันเองได้ บทนี้เราจะไปดูวิธีการจัดการกับ คอมเมนต์ทุกรูปแบบกัน



เสน่ห์ของ Blog อยู่ที่ระบบ Comment ตัวอย่างการเขียน Comment ใน Blog จัดการกับ Comment ใน WordPress ปิดระบบ Comment ให้บทความ



บทที่ 9  ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



138 139 142 144



147



แม้ WordPress จะมีหน้าตาที่ดูโอเคในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่เราก็ยังสามารถปรับแต่งหน้าตาของ WordPress ให้ดูสวยงามเป็นมืออาชีพได้อีกมากมายอย่างไม่รู้จบเลยละครับ เช่น การเปลี่ยนธีมเพื่อ แปลงโฉมบล็อก หรือการเพิ่ม Widget ให้บล็อกของเรา



เปลี่ยน Theme ให้ Blog กันหน่อย •  ติดตั้ง Theme ใหม่ด้วยวิธีพื้นฐาน •  อัปโหลด Theme ใหม่ด้วยตัวเอง •  ตั้งค่า Customize ให้ Theme แต่งเติมลูกเล่นให้ Blog ด้วย Widget •  ใน WordPress มี Widget อะไรบ้าง •  เพิ่ม Widget ใหม่ให้ Blog •  จัดการ Widget ใน Sidebar จัดการกับ Menu ของ Blog ตั้งค่าออปชันเสริมให้ Theme ปรับแต่ง Header ให้ Blog ปรับแต่ง Background ให้ Blog มือชั้นเซียนต้องลองแก้โค้ดให้ Theme



บทที่ 10  เพิ่มความสามารถให้ WordPress ด้วย Plugin



148 148 155 159 162 163 164 168 169 175 176 178 180



183



WordPress น่ะมีความสามารถล้นหลามอยู่แล้ว ถึงอย่างนั้นเราก็ยังหาปลั๊กอินหรือโปรแกรมเสริม มาติดตั้งเพิ่มเติมให้ WordPress ได้อีก เพื่อเพิ่มความสามารถของ WordPress ในด้านต่างๆ ให้มาก ขึ้น อยากให้ WordPress มีความสามารถอะไรล่ะ เราหาปลั๊กอินเด็ดๆ ที่ช่วยเพิ่มความสามารถใน ด้านนั้นมาใช้งานเพิ่มเติมได้สบายมาก



ติดตั้ง Plugin ใหม่ให้ WordPress จัดการกับ Plugin ที่มีอยู่แล้ว แก้ไขไฟล์ Plugin ด้วยตัวเอง แนะน�ำ Plugin ยอดฮิตชั้นดี



184 189 191 193



บทที่ 11  จัดการกับ User ใน WordPress



197



ระบบ WordPress สนับสนุนการท�ำงานของยูสเซอร์มากกว่า 1 คน นั่นหมายความว่าไม่ใช่แค่ เจ้าของบล็อกคนเดียวเท่านั้นที่สามารถบริหารจัดการ WordPress ได้ แต่เรายังมีสิทธิ์สร้างยูสเซอร์ แอ็กเคาต์อื่นๆ ขึ้นมา เพื่อให้ใครก็ตามช่วยเราบริหารบล็อกครับ



ประโยชน์ของระบบ User ใน WordPress สร้าง User ใหม่ไม่ยาก จัดการกับ User ใน WordPress แก้ไขข้อมูล Profile ของเราเอง



198 199 201 202



บทที่ 12  ใช้งาน Tools ของ WordPress



205



WordPress ยังเตรียม Tools หรือเครื่องมือเสริมอีกสองสามตัวไว้ช่วยอ�ำนวยความสะดวกใน ด้านต่างๆ ให้เรา มาเก็บตกกับเครื่องมือดีๆ เหล่านี้กันสักหน่อย จะได้รู้ว่าจริงๆ แล้ว WordPress ยังท�ำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดอีกเยอะ



Press This เครื่องมือเสริมชั้นยอด ลองใช้งาน Categories and Tags Converter Import ข้อมูลจากทุกระบบเข้าสู่ WordPress Export ข้อมูลใน WordPress เก็บส�ำรองไว้



206 209 214 218



บทที่ 13  ตั้งค่า Settings ให้ WordPress



221



ไม่ว่าจะเป็นระบบสร้างเว็บไซต์หรือบล็อกไหนๆ ก็ต้องสามารถตั้งค่า Settings เพื่อปรับแต่งระบบ ได้ทั้งนั้น เจ้า WordPress ของเราก็เช่นกันครับ เราสามารถตั้งค่า Settings ได้สารพัดอย่าง เพื่อปรับ แต่งการท�ำงานและความสามารถของ WordPress ให้เป็นไปตามที่ต้องการครับ



ตั้งค่า General ตั้งค่า Writing ตั้งค่า Reading ตั้งค่า Discussion ตั้งค่า Media ตั้งค่า Privacy ตั้งค่า Permalink



บทที่ 14  เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



222 223 225 227 229 231 232



235



เรามาเริ่มต้นหารายได้ด้วย WordPress กันเลย และวิธีหารายได้ที่ฮอตฮิตและมีโอกาสท�ำเงินได้ มากที่สุดคงไม่มีวิธีไหนเกินหน้าเกินตาการเปิดร้านค้าออนไลน์ไว้ขายของ หลายคนอาจไม่รู้ด้วยซ�้ำ ว่าเราใช้ WordPress เปิดร้านค้าออนไลน์ได้ด้วย ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่รู้ ก็ไปรู้พร้อมๆ กันเลย



เปิดร้านออนไลน์ด้วย WP e-Commerce ติดตั้ง WP e-Commerce ให้ WordPress ส�ำรวจหลังร้าน WP e-Commerce ตั้งค่าให้ร้านค้าเป็นหน้าแรกของ Blog เพิ่ม Shopping Cart ใน Sidebar เพิ่มสินค้าลงในร้านค้า WP e-Commerce ปรับแต่งหน้าร้านด้วย WP e-Commerce Grid View จัดการ Category และ Tag ของสินค้า ตั้งค่าการจัดส่งสินค้า ตั้งค่าการรับช�ำระเงิน



236 238 241 244 246 249 255 259 262 267



บทที่ 15  ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



271



เราใช้บล็อกที่สร้างด้วย WordPress มาหารายได้กับ Google AdSense ได้อย่างไม่มีปัญหา มี นักหารายได้ออนไลน์จ�ำนวนนับไม่ถ้วนที่หารายได้ด้วยวิธีนี้ แถมระบบ WordPress ก็เตรียมฟังก์ชัน ที่ช่วยท�ำหน้าที่ในเรื่องนี้มาให้เราด้วย การหารายได้กับ Google AdSense จึงเป็นอีกทางเลือกดีๆ ของคนใช้ WordPress ครับ



เตรียมความพร้อมของ Blog กันก่อน ขั้นตอนการสมัคร Google AdSense ประเภทโฆษณาของ Google AdSense วิธีสร้างโค้ดโฆษณาของ Google AdSense ติดโฆษณา Google AdSense ลงใน Blog •  ติดโฆษณา Google AdSense ด้วย Widget •  ติดโฆษณา Google AdSense ลงในบทความ Google AdSense จ่ายค่าตอบแทนเรายังไง



บทที่ 16  ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



272 273 280 282 287 287 290 292



295



มาถึงช่องทางหารายได้ออนไลน์ยอดฮิตอีกช่องทางหนึ่ง นั่นก็คือการหารายได้กับ Amazon นี่เป็น อีกทางเลือกของการหารายได้ออนไลน์ที่ท�ำได้ง่ายมากๆ ความเสี่ยงก็เป็นศูนย์ เพราะเราไม่ต้องลงทุน อะไรเลย ส่วนจะหาเงินได้มากหรือน้อย มันก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ของแต่ละคนครับ



ท�ำความรู้จัก Affiliate Program ของ Amazon สมัครเข้าร่วมเป็น Amazon Associates รูปแบบโฆษณาของ Amazon ขั้นตอนสร้างโค้ดโฆษณาของ Amazon วางโฆษณา Amazon ลงใน Blog อัตราค่า Commission ของ Amazon



296 297 307 310 315 317



บทที่ 17  ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



321



ถ้าคุณสร้างบล็อกด้วย WordPress จนมีแฟนประจ�ำมากในระดับหนึ่ง มีคนคลิกเข้ามาเยี่ยมชม บล็อกในแต่ละวันเป็นหลักร้อยหรือหลักพัน คุณก็สามารถหารายได้เข้าบล็อกจากแบนเนอร์โฆษณา ได้อีกทางหนึ่ง ผมมีเทคนิคอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแนะน�ำกันบ้าง ต้องไปติดตามในบทนี้



แนวคิดการหารายได้กับ Banner ต�ำแหน่งวาง Banner ใน WordPress วาง Banner ใน Header ของ WordPress วาง Banner ใน Sidebar ด้วย Widget วาง Banner ลงในบทความ จัดการ Banner ใน Blog ด้วย Plugin



บทที่ 18  ใช้ WordPress ทำ�การตลาดออนไลน์



322 323 325 330 333 336



341



นอกจากเราจะใช้ WordPress หาเงินได้โดยตรงแล้ว เรายังประยุกต์ใช้ WordPress เป็นเครื่องมือ ท�ำการตลาดออนไลน์ได้อีกหลายรูปแบบ ซึ่งในแง่นี้ WordPress ก็จะช่วยโปรโมตสินค้าหรือบริการ ของคุณให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ท�ำให้คุณประสบความส�ำเร็จในแง่การตลาดได้มากขึ้นครับ



ใช้ WordPress ท�ำการตลาดออนไลน์ให้สินค้า ใช้ WordPress ท�ำการตลาดออนไลน์ให้ธุรกิจบริการ ใช้ WordPress สร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ใช้ WordPress ท�ำ PR ให้องค์กร ใช้ WordPress ท�ำการตลาดให้เว็บไซต์หลัก ผสานพลัง WordPress กับ Social Network สุดฮิต



342 343 345 346 347 349



บทที่ 19  ทำ� SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



353



บทนี้เราจะมาเริ่มท�ำ SEO ให้ WordPress กัน โดยจะลองท�ำ SEO ด้วยการปรับแต่งระบบต่างๆ ในบล็อกของเราเองก่อน ซึ่งการท�ำ SEO ในลักษณะนี้จะเรียกกันว่า On-Page SEO ครับ การท�ำ OnPage SEO เป็นสิ่งที่เราควบคุมได้มากที่สุด เพราะทุกอย่างอยู่ภายในบล็อกของเราเอง



เข้าใจความส�ำคัญของ SEO เทคนิควิเคราะห์และคัดเลือก Keyword เริ่มตั้งค่า General Settings ให้แรงสุดๆ ด้าน SEO ตั้งค่า Permalink Settings ยังไงให้ได้ประโยชน์สูงสุด เขียนบทความให้ตรงต�ำรา SEO ตั้งค่า Category ให้ถูกหลัก SEO ท�ำ SEO ให้ไฟล์ภาพใน WordPress เพิ่มพลังการ Ping ให้ WordPress เสริมพลัง SEO ด้วย Plugin



บทที่ 20  ทำ� Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



354 355 357 359 365 367 369 371 373



379



บทสุดท้ายเราจะมาลองท�ำ SEO ในแบบที่เรียกว่า Off-Page SEO กันบ้าง การท�ำ SEO ใน ลักษณะนี้หมายถึงการออกไปท�ำ SEO ภายนอกบล็อกของเรา ซึ่งหลักๆ แล้วก็คือการสร้าง Backlink นั่นเอง อยากรู้ว่ามีเทคนิคอะไรที่เกี่ยวข้องกับการท�ำ Off-Page SEO และการสร้าง Backlink บ้าง ไปติดตามกันเลย



เทคนิคท�ำ SEO พร้อมโปรโมต Blog โปรโมต Blog + ท�ำ SEO ผ่าน Social Network โปรโมต Blog + ท�ำ SEO ผ่านเว็บ Social Bookmark



380 381 383



โปรโมต Blog + ท�ำ SEO ผ่าน Web Directory โปรโมต Blog + ท�ำ SEO ผ่านเว็บ Article Submission โปรโมต Blog + ท�ำ SEO ผ่านเว็บ Online Video โปรโมต Blog + ท�ำ SEO ผ่านเว็บบอร์ด โปรโมต Blog + ท�ำ SEO ด้วย Link Exchange



ภาคผนวก แหล่งหาข้อมูลเพิ่มเติม



386 388 391 394 396



397



บทที ่ 1 รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



ในเมือ่ หนังสือเล่มนีเ้ ป็นคูม่ อื สอนการหารายได้โดยใช้ WordPress ผม จึงเชือ่ แน่วา่ คุณคงอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่เข้าใจอย่างชัดเจน ถ้าหากไม่เข้าใจในเบือ้ งต้น ก่อนว่า WordPress คืออะไร มีไว้ทำ� อะไร มีความสามารถท�ำนองไหน หรือมีจดุ เด่นทีต่ รงไหน ใคร รู้จัก WordPress ดีอยู่แล้ว จะอ่านข้ามเนื้อหาบทแรกนี้ไปก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่ถ้าใครยังไม่รู้จักหรือไม่ เคยลองใช้งาน WordPress มาก่อน ผมแนะน�ำเป็นอย่างยิ่งว่าควรอ่านเนื้อหาบทแรกนี้ก่อน เพื่อปูพื้น ฐานไปสู่เนื้อหาส่วนต่อๆ ไปซึ่งจะซับซ้อนขึ้น มาท�ำความรู้จักเจ้า WordPress ของเราในเบื้องต้นกันหน่อย แล้วคุณจะรู้ว่า WordPress นี่ แหละคือสิ่งที่คุณก�ำลังตามหา และมันก็เป็นเครื่องมือที่จะน�ำรายได้มาสู่กระเป๋าของคุณได้ครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



รู้จัก Blog ให้ลึกอีกหน่อย WordPress เป็นโปรแกรมส�ำเร็จรูปที่ใช้ส�ำหรับสร้างบล็อก (Blog) ฉะนั้นแล้วก่อน จะพูดถึงตัว WordPress กันอย่างจริงจัง ผมอยากชวนคุณมารู้จักค�ำว่า “บล็อก” ให้ชัดเจน ลึกซึ้งมากขึ้นอีกหน่อยก่อน เราได้ยินค�ำว่า “บล็อก” กันมานมนานแล้ว โดยเฉพาะช่วงหลายปีก่อนก่อนหน้าที่ เว็บไซต์ประเภท Social Network อย่างเช่น Facebook จะโด่งดังจนได้รับความนิยมไปทั่ว โลก ตอนนั้นน่ะเป็นช่วงเวลาทองของบล็อกเลยก็ว่าได้ครับ เพราะบล็อกได้รับความนิยม อย่างสูง ใครๆ ก็เขียนบล็อกกันทั้งนั้น บล็อกเป็นเหมือนเครื่องมือที่เข้ามาตอบโจทย์ผู้คน ในโลกออนไลน์ทฝี่ นั อยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพียงแต่ว่าการสร้างเว็บไซต์ถอื เป็นเรือ่ ง ยุง่ ยากมากเกินไป อีกทัง้ ยังดูเป็นทางการเกินไป ผิดกับบล็อกซึง่ สร้างได้งา่ ย บริหารจัดการ ได้ง่าย แถมเราจะน�ำเสนอเนื้อหาที่เป็นส่วนตัวขนาดไหนก็ได้ทั้งนั้น ถ้าถามว่าบล็อกมีเอาไว้ทำ� อะไร ก็ตอบได้ทนั ทีวา่ หน้าทีห่ ลักของบล็อกคือเอาไว้เผย แพร่บทความครับ แต่ค�ำว่า “บทความ” ในที่นี้ก็ไม่ได้หมายความถึงบทความเชิงวิชาการ หรือข้อเขียนอะไรที่ตึงเครียดเพียงอย่างเดียวนะครับ ค�ำว่า “บทความ” นี้หมายความรวม ถึงข้อเขียนสารพัดชนิดที่คนเราจะเขียนกันขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเขียนไดอารี่ส่วนตัว, เขียน แสดงความคิดเห็น, วิพากษ์วิจารณ์, บอกเล่าเรื่องราวส่วนตัว, แจ้งข่าวสาร, ให้ข้อมูลที่ เป็นประโยชน์ ฯลฯ สรุปว่าไม่ว่าเราอยากเผยแพร่อะไร เราก็เผยแพร่ผ่านบล็อกได้ทั้งนั้น ซึ่งข้อเขียนทั้งหลายแหล่ที่วา่ มาก็สามารถเรียกรวมๆ ว่า “บทความ” ได้ และบทความที่ เขียนเผยแพร่ผา่ นบล็อกเนี่ย ก็จะแสดงผลโดยเรียงล�ำดับตามวัน/เวลาไปเรื่อยๆ จากใหม่ ไปหาเก่าครับ



18



รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



บทที่ 1



ภาพ 1-1 ตัวอย่างบล็อกของ Windows



ด้วยความทีบ่ ล็อกมีไว้นำ� เสนอบทความ จึงท�ำให้บล็อกมีความแตกต่างจากเว็บไซต์ อย่างค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือเว็บไซต์จะถูกสร้างขึน้ มาด้วยเหตุผลอะไรก็ได้ทงั้ นัน้ เช่น เอา ไว้เผยแพร่ขอ้ มูลของบริษทั , เอาไว้ตดิ ต่อกับสมาชิกหรือลูกค้า, เอาไว้สบื ค้นข้อมูล หรือเอา ไว้ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่บล็อกน่ะจะมีไว้เผยแพร่บทความเป็นหลัก จึงไม่เหมาะ หากเราจะน�ำไปใช้งานในลักษณะที่ซับซ้อนหรือต้องการความสามารถมากกว่านั้น 19



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



อีกลูกเล่นหนึ่งที่อยู่คู่กับความเป็นบล็อกคือระบบคอมเมนต์ (Comment) ครับ ไม่ ว่าเราจะสร้างบล็อกด้วยวิธีไหน บล็อกส่วนใหญ่จะมีระบบคอมเมนต์ด้วยกันทั้งนั้น ระบบ คอมเมนต์นจี้ ะช่วยให้คนอ่านบล็อกสามารถแสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับบทความนัน้ ๆ ได้ อย่างง่ายดาย หรือเจ้าของบล็อกจะสนทนากับคนอ่านบล็อกผ่านระบบคอมเมนต์นี้ก็ได้ ผมว่าคงไม่ผดิ ไปจากความจริงเท่าไหร่หากเราจะพูดว่า ระบบคอมเมนต์ของบล็อก นี่เองที่เป็นรากฐานของ Social Network ในปัจจุบัน อีกจุดที่ท�ำให้บล็อกมีความแตกต่างจากเว็บไซต์อยู่ตรงที่ บล็อกจะมีภาพลักษณ์ ที่ไม่เป็นทางการ เพราะเจ้าของบล็อกมักเป็นคนธรรมดาสามัญ ไม่ใช่บริษัทหรือองค์กร ธุรกิจ ไม่ใช่คนเด่นคนดัง และไม่จ�ำเป็นต้องเป็นคนที่เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง บทความ ในบล็อกส่วนใหญ่ก็มักเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ซีเรียส เขียนแบบเป็นกันเอง เรียกว่าสามารถ อ่านไปยิ้มไปได้ ส�ำหรับคนที่ยังแยกแยะไม่ออกว่าบล็อกแตกต่างจากเว็บไซต์ยังไง ผมขอสรุปสั้นๆ ตรงนี้อีกครั้งว่า บล็อกจะเน้นน�ำเสนอบทความ โดยมีภาพลักษณ์ที่เป็นกันเอง และความ สามารถหรือลูกเล่นของบล็อกก็จะน้อยกว่าเว็บไซต์ อันที่จริงแล้วการพยายามแยกแยะ ความต่างระหว่างบล็อกกับเว็บไซต์ให้เห็นชัด ก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ควรท�ำเท่าไหร่ครับ เพราะ ผมมองว่าบล็อกกับเว็บไซต์ไม่ใช่ 2 สิ่งที่แยกจากกันโดยเด็ดขาด แต่บล็อกมันเป็นเหมือน เว็บไซต์ประเภทหนึ่งมากกว่า (เพราะฉะนั้นถ้าคุณผู้อา่ นเห็นบางคนพูดว่า WordPress มี ไว้สร้างเว็บไซต์ ก็ต้องถือว่าคนพูดไม่ได้พูดผิดหรอกครับ) วกกลับมาเรือ่ งความนิยมของบล็อกอีกนิด ผมพูดไปเมือ่ กีว้ า่ ช่วงนีบ้ ล็อกได้รบั ความ นิยมลดน้อยลง ไม่เหมือนเว็บไซต์ประเภท Social Network อย่าง Facebook หรือ Twitter ที่มีคนนิยมใช้กันล้นหลาม ทีนี้ก็อาจมีคนสงสัยว่า ถ้าบล็อกมันเป็นที่นิยมน้อยลง แล้วผม จะมาเขียนหนังสือสอนการหาเงินและท�ำการตลาดด้วยบล็อกท�ำไม 20



รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



บทที่ 1



เรื่องนี้ต้องอธิบายแบบนี้ครับ เราต้องเข้าใจก่อนว่า แม้บล็อกจะได้รับความนิยม น้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่เป็นที่นิยมนะครับ เพียงแต่มีเจ้าของบล็อกหน้าใหม่ เกิดขึ้นน้อยลงเท่านั้น แต่คนเขียนบล็อกและอ่านบล็อกก็ยังมีอีกเป็นจ�ำนวนมหาศาล เรา ยังใช้บล็อกท�ำมาหากินได้สบายมาก ที่ส�ำคัญช่องทางการหารายได้จากการเขียนบล็อก น่ะมีมากกว่าการหารายได้กับ Social Network เยอะเลย อย่างเช่นถ้าเราคิดจะหาเงินกับ Google AdSense เราก็สามารถใช้บล็อกเป็นเครื่องมือได้ แต่เราไม่สามารถใช้ Facebook มาหาเงินกับ Google AdSense ได้ ที่ส�ำคัญบล็อกยังเหมาะกับการน�ำเสนอบทความที่เป็นเรื่องเป็นราวหน่อย ผิด กับเว็บไซต์ประเภท Social Network ที่ไม่เหมาะกับการเผยแพร่บทความ ฉะนั้นแล้ว ถ้าเราสนใจจะเขียนบทความขึ้นมาเผยแพร่ในโลกออนไลน์ เพื่อต่อยอดไปสู่การหาราย ได้หรือท�ำการตลาดออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ แล้วละก็...บล็อกเป็นค�ำตอบสุดท้ายของ คุณแน่นอนครับ



WordPress มีดีที่ตรงไหน ถ้าเราจะเปรียบเทียบว่า WordPress มีดีที่ตรงไหน เราคงต้องเอา WordPress ไป เปรียบเทียบกับบริการสร้างบล็อก (Blog Service) เจ้าอื่นๆ ถึงจะเหมาะสม ซึ่งบริการ สร้างบล็อกที่เราน่าจะรู้จักกันดีก็เช่น Blogger ของ Google หรือถ้าเป็นบริการสร้างบล็อก สัญชาติไทยเรา ก็อาจมีคนนึกถึง BlogGang, EXTEEN BLOG หรือ OK Nation Blog แต่ บริการสร้างบล็อกของไทยเราเนีย่ ขออนุญาตไม่นำ� มาเปรียบมวยกับ WordPress นะครับ เพราะมันมีฝีมือคนละชั้นกัน



21



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้แปลว่าผมมีอคติกับบริการสร้างบล็อกของไทยเราเอง หรือดูถูก ฝีมือคนไทยด้วยกันนะครับ แต่เราคงต้องยอมรับว่า บริการสร้างบล็อกของไทยเรายัง ตามหลังบริการสร้างบล็อกระดับโลกอยูม่ าก ทัง้ ในส่วนของความสามารถและหน้าตาของ บล็อกทีไ่ ด้ หากคิดจะสร้างบล็อกด้วยบริการสร้างบล็อกในบ้านเรา น่าจะเอาไว้สร้างบล็อก แบบสนุกสนานเล่นๆ เท่านั้น แต่ถา้ คิดจะใช้บล็อกเป็นเครื่องมือหาเงินหรือท�ำการตลาด ออนไลน์กนั อย่างจริงจัง ผมไม่แนะน�ำให้พงึ่ พาบริการสร้างบล็อกของไทยเราเป็นอย่างยิง่ หากจะเปรียบมวยให้ถูกคู่ เราต้องเอา WordPress ไปเทียบกับ Blogger ครับ WordPress กับ Blogger เป็นผู้ให้บริการบล็อกทีโ่ ด่งดังไปทัว่ โลกเหมือนๆ กัน ทาง ฝั่ง Blogger นั้นได้เปรียบตรงที่เป็นของ Google ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกออนไลน์ แต่ WordPress เองก็มีคนนิยมใช้ไม่น้อยหน้า Blogger ที่ส�ำคัญที่สุดคือ WordPress มี ความยืดหยุ่นกว่า กล่าวคือมีทั้ง WordPress ที่อยู่ในรูปแบบ Blog Service ปกติ และ WordPress ที่เป็น Web Software (เรื่องนี้เดี๋ยวผมจะขยายความในหัวข้อ “WordPress. org กับ WordPress.com”) หมายความว่าเราจะใช้บริการ WordPress เพื่อสร้างบล็อก แบบไม่มีโดเมนเนมและเว็บโฮสติ้งเป็นของตัวเอง หรือจะสร้างบล็อกโดยจดโดเมนเนม และเช่าเว็บโฮสติ้งเป็นของตัวเองก็ได้ทั้งนั้น ในมุมนี้ WordPress จะมีความได้เปรียบกว่า Blogger อย่างเห็นได้ชัดครับ หากใช้ บริการ Blogger เราจะไม่มสี ทิ ธิน์ ำ� Blogger มาติดตัง้ ในพืน้ ทีเ่ ว็บโฮสติง้ ของเราเอง แต่ตอ้ ง ใช้งานบล็อกผ่านพื้นที่ที่ระบบ Blogger เตรียมไว้ให้แล้ว เราท�ำได้อย่างมากก็แค่จดโดเมน เนมเพือ่ ให้มชี อื่ บล็อกเป็นของเราเองเท่านัน้ แต่ถา้ เป็น WordPress เราก็สามารถน�ำมันมา ติดตั้งลงในเว็บโฮสติ้งของเราเอง ซึ่งเราสามารถบริหารจัดการได้ทุกอย่างครับ WordPress นับได้วา่ เป็นระบบบล็อกที่ใช้งานได้งา่ ยมากๆ นักสร้างบล็อกทั่วโลก ต่างก็ยอมรับความจริงข้อนี้ ส่วนเรื่องความสามารถของ WordPress ก็มีครบเครื่องเกิน หน้าเกินตาบริการบล็อกเจ้าอืน่ ๆ ในแง่การปรับเปลีย่ นหน้าตาให้บล็อกก็ไม่ตอ้ งห่วง เพราะ 22



รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



บทที่ 1



WordPress มีธมี (Theme) ให้เลือกใช้มากมายนับไม่ถว้ นจากนักพัฒนาทัว่ โลก ทัง้ ธีมฟรีและ ธีมที่ต้องเสียเงินซื้อ เราจึงสามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาของบล็อกที่สร้างจาก WordPress ได้อย่างไม่รู้จบ จะต้องการธีมที่ดูเรียบง่ายหรือหรูหราแค่ไหนก็มีทั้งนั้น หรือจะให้บล็อก แสดงผลเป็นกี่คอลัมน์ก็ท�ำได้อย่างไม่มีข้อจ�ำกัด และด้วยความที่ทั้งคนไทยและคนทั่วโลกนิยมใช้ WordPress กันเป็นจ�ำนวนมาก เวลาใช้งาน WordPress แล้วเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา เราก็เสิร์ชหาค�ำตอบได้ไม่ยาก หรือ จะเข้าไปตั้งค�ำถามตามเว็บไซต์หรือฟอรัมที่พูดคุยกันเรื่อง WordPress เพื่อให้คนที่มี ประสบการณ์มากกว่าเข้ามาช่วยตอบค�ำถามก็ท�ำได้ WordPress ยังเป็นระบบบล็อกทีเ่ หมาะมากๆ กับโลกอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ครับ เดีย๋ ว นีผ้ คู้ นไม่ได้เข้าเว็บผ่านคอมพิวเตอร์พซี หี รือแล็ปท็อปเท่านัน้ แต่ยงั นิยมท่องเว็บผ่านเครือ่ ง คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมไปถึงสมาร์ตโฟนทั้งหลายด้วย อุปกรณ์พกพาจ�ำพวกแท็บเล็ต และสมาร์ตโฟนนีม้ ขี นาดหน้าจอเล็กกว่าคอมพิวเตอร์ปกติ ระบบบล็อกทีด่ จี งึ ต้องออกแบบ มาเพือ่ รองรับการแสดงผลในอุปกรณ์พกพาทัง้ หลายด้วย ซึง่ WordPress ก็ตอบโจทย์เรือ่ ง นี้ได้ดีเยี่ยม บล็อกที่สร้างจาก WordPress สามารถแสดงผลได้ในอุปกรณ์พกพาทุกชนิด โดยเลย์เอาต์ของบล็อก ตลอดจนขนาดฟอนต์ และการโปรยตัวอักษร จะปรับเปลี่ยนไป โดยอัตโนมัติตามขนาดและรูปทรงของจอมอนิเตอร์ (แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับธีมของบล็อกที่ เลือกใช้ด้วยนะครับ บางธีมก็จะไม่รองรับความสามารถนี้) เพื่อให้เจ้าของอุปกรณ์พกพา ทุกรุ่นทุกยี่ห้อสามารถอ่านบล็อก WordPress ได้เหมือนๆ กันครับ ยังครับ...ข้อดีของ WordPress ยังไม่หมดแค่นั้น จุดแข็งส�ำคัญของ WordPress อยู่ที่เรื่อง SEO ครับ (SEO มาจากค�ำเต็มว่า Search Engine Optimization ซึ่งหมายถึง การปรับแต่งเว็บไซต์/บล็อกเพื่อให้ถูกค้นเจอผ่านเสิร์ชเอนจิ้นได้ง่าย) เรื่องนี้คนในวงการ เว็บไซต์/บล็อกต่างรูก้ นั ดี แม้แต่คนในของ Google เองก็ยงั เคยออกมาบอกว่า WordPress มีความสามารถด้าน SEO เป็นเลิศ เพราะระบบของ WordPress ถูกพัฒนาให้สอดคล้อง 23



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



กับการท�ำ SEO ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว หากเราสร้างบล็อกด้วย WordPress ก็เหมือน เราได้ลงมือท�ำ SEO ไปแล้วมากกว่าครึ่ง จึงไม่แปลกเลยครับหากเราจะเห็นบล็อกที่สร้าง จาก WordPress ทะยานขึ้นไปอยู่อันดับสูงๆ เวลามีการเสิร์ชผ่านเสิร์ชเอนจิ้น ด้วยเหตุผลที่ WordPress มีความแรงในด้าน SEO อยู่ในตัวแล้วนี่เอง จึงท�ำให้ WordPress เหมาะมากหากเราจะน�ำมาใช้ในการหาเงินหรือท�ำการตลาดออนไลน์ WordPress เจ๋งหรือไม่เจ๋ง เว็บไซต์ TopTenREVIEWS ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการจัด อันดับซอฟต์แวร์ตา่ งๆ ก็ยกให้ WordPress เป็นอันดับหนึ่งในกลุ่ม Blog Service ก็แล้ว กันละ (ดูภาพ 1-2 ประกอบไปด้วยนะครับ)



ภาพ 1-2 การจัดอันดับ Blog Service ของ TopTenREVIEWS



24



รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



บทที่ 1



WordPress.org กับ WordPress.com ในหัวข้อก่อนผมเกริ่นไปบ้างแล้วว่า WordPress เป็นบริการบล็อกที่มีความ ยืดหยุ่น เราจะใช้งาน WordPress โดยไม่จดโดเมนเนมและเช่าเว็บโฮสติ้ง หรือจะใช้ งานโดยจดโดเมนเนมและเช่าเว็บโฮสติ้งเป็นของเราเองก็ได้ ในหัวข้อนี้ผมจะมาอธิบาย เรื่องนี้กันต่อครับ เริม่ แรกต้องบอกก่อนเลยว่า WordPress ไม่ได้ให้บริการเราในรูปแบบเดียว แต่แบ่ง บริการของตัวเองออกเป็น 2 รูปแบบย่อย คือ WordPress.com กับ WordPress.org ถ้า คุณอยากรู้ว่า WordPress.com กับ WordPress.org มีความแตกต่างกันที่ตรงไหน ก็ไปดู กันเลย... WordPress.com คือ WordPress ที่อยู่ในรูปแบบ Blog Service ธรรมดา หรือจะเรียกว่าเป็นบริการ Free Blogs Managed ก็ได้ เราคลิกเข้าไปใช้งาน WordPress ในรูปแบบนี้ได้ที่ http://wordpress.com (ดูภาพ 1-3) บริการ WordPress.com นี้เป็น บริการสร้างบล็อกฟรีเหมือนๆ กับ Blogger ของ Google บล็อกของเราที่เข้าไปสร้าง ผ่าน WordPress.com นี้จะมีแอดเดรสเป็น http://ชื่อบล็อก.wordpress.com ตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณตั้งชื่อบล็อกเป็น ilovewordpress คุณก็จะได้แอดเดรสทั้งหมดเป็น http:// ilovewordpress.wordpress.com แบบนี้เป็นต้นครับ



25



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 1-3 WordPress.com



เท่ากับว่าคนที่ใช้บริการ WordPress.com จะไม่มีชื่อโดเมนเนมเป็นของตัวเอง แอดเดรสของบล็อกจะต้องตามหลังด้วย .wordpress.com เสมอ แต่ขอ้ ดีของการใช้บริการ WordPress.com ก็คือ การสร้างบล็อกจะท�ำได้งา่ ยมากๆ แล้วก็ไม่ต้องเสียเงินจดโดเมน เนมและเช่าเว็บโฮสติ้งแต่อย่างใด WordPress.org คือ WordPress ที่อยู่ในรูปแบบ Web Software (หรือจะ เรียกว่าเป็น CMS หรือ Content Management System ก็ได้เหมือนกัน) กล่าวคือมันเป็น ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งที่มีเอาไว้สร้างและบริหารจัดการบล็อก เรา เข้าไปดาวน์โหลด WordPress ที่อยู่ในรูปแบบ Web Software ได้ที่ http://wordpress.org (ดูภาพ 1-4) เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วเราก็ต้องสั่งติดตั้ง WordPress ลงในเว็บโฮสติ้งของเรา 26



รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



บทที่ 1



นั่นหมายความว่าการที่เราจะใช้งาน WordPress ในรูปแบบนี้ได้นั้น เราต้องจดโดเมนเนม และเช่าเว็บโฮสติ้งเตรียมไว้ก่อนด้วย แบบนี้ก็แปลว่า WordPress ที่อยู่ในรูปแบบ CMS นี้ จะมีวิธีการติดตั้งและใช้งานคล้ายคลึงกับ CMS ตัวอื่น เช่น Joomla! หรือ Drupal เป็นต้น



ภาพ 1-4 WordPress.org



ประเด็นส�ำคัญของเราอยู่ตรงนี้ครับ ในหนังสือเล่มนี้จะสอนวิธีสร้างบล็อกโดยใช้ WordPress ในรูปแบบที่เป็น CMS ซึ่งเราต้องเข้าไปดาวน์โหลดจาก http://wordpress. org อย่างที่บอกไปแล้ว เหตุผลส�ำคัญก็เพราะหากเราเข้าไปสร้างบล็อกฟรีผ่าน http:// wordpress.com จะมีข้อจ�ำกัดมากมายในการใช้งานบล็อก ที่แน่ๆ เลยก็คือเราจะหาเงิน 27



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



กับระบบโฆษณาภายนอกทีไ่ ม่ได้เป็นพันธมิตรกับ WordPress ไม่ได้ อย่างเช่นถ้าคิดจะเอา โฆษณาของ Google AdSense ไปติด ก็จะท�ำไม่ได้ครับ เพราะนี่เป็นกฎของ WordPress แต่ถา้ เราใช้ WordPress ทีอ่ ยูใ่ นรูป CMS เราจะท�ำอะไรกับบล็อกได้ทกุ อย่าง จะหา รายได้ผา่ นช่องทางไหน จะติดโฆษณาระบบไหน จะจดโดเมนเนมและเช่าเว็บโฮสติง้ ทีไ่ หน เราก็ท�ำตามใจได้ทั้งนั้นแหละครับ



ประยุกต์ใช้ WordPress หาเงินและทำ�การตลาดออนไลน์ แม้โดยรูปแบบการท�ำงานแล้ว WordPress จะมีไว้ส�ำหรับสร้างบล็อก ไม่ได้เอาไว้ สร้างเว็บไซต์ แต่ความสามารถของ WordPress ก็ครบถ้วนครอบคลุม บล็อกที่สร้างด้วย WordPress จึงแทบไม่มีอะไรต่างจากเว็บไซต์โดยทั่วไปเลย และถ้าเราต้องการจะหาเงิน หรือท�ำการตลาดออนไลน์โดยใช้บล็อกทีส่ ร้างจาก WordPress ก็ตอ้ งบอกว่าสามารถท�ำได้ ทุกรูปแบบเชียวละครับ ถ้าเราจะจัดแบ่งช่องทางการหารายได้จากบล็อกหรือเว็บไซต์ซึ่งเป็นที่นิยมกันโดย ทั่วไปละก็ เราพอจะแบ่งได้เป็น 3 ช่องทางหลักๆ ช่องทางแรกคือการเปิดร้านออนไลน์ ขายของ ช่องทางทีส่ องคือการหารายได้กบั โฆษณาออนไลน์ และช่องทางทีส่ ามคือการหา รายได้กับระบบ Affiliate Program ซึ่งมันก็คือการน�ำสินค้าต่างๆ มาโปรโมตในบล็อกของ เรา เมื่อขายสินค้าได้เราก็ได้รับค่าคอมมิสชัน (Commission) เป็นสิ่งตอบแทน ซึ่งช่องทางการหารายได้ทุกช่องทางที่ว่ามานี้ ผมก็แนะน�ำไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่าง ครบถ้วนแน่นอนครับ ในส่วนของการเปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress นั้น เป็นส่วนที่ผมอยากเน้น เป็นพิเศษ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ�้ำว่าเราเปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress ได้ด้วย หรือบางคนก็อาจคิดไม่ถึงว่าท�ำได้ ผมยืนยันว่าท�ำได้จริงๆ ครับ แล้วก็เป็นร้าน ค้าออนไลน์ที่ครบวงจรไม่แตกต่างจากร้านค้าออนไลน์ทั่วไปซะด้วย คุณคงเคยเห็นร้าน 28



รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



บทที่ 1



ค้าออนไลน์ที่มีระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ใช่มั้ยล่ะครับ นั่นแหละ...WordPress ของเราก็ท�ำแบบนั้นได้ WordPress จึงไม่ได้มีดีแค่เอาไว้เผยแพร่บทความเท่านั้นนะครับ แต่น�ำมาใช้ขาย ของอย่างเป็นล�่ำเป็นสันได้ด้วย บางคนอาจสงสัยว่า WordPress มันมีไว้เผยแพร่บทความไม่ใช่เหรอ แล้วจะขาย ของได้ยังไง จะมีระบบตะกร้าสินค้าขึ้นมาได้ยังไง แล้วหน้าตาร้านค้าที่ได้จะเหมือนร้าน ค้าออนไลน์ทวั่ ๆ ไปทีเ่ ราเคยเห็นหรือเปล่า ตอบได้เลยครับว่าคุณไม่ตอ้ งกังวลเรือ่ งพวกนี้ แม้ตัวระบบ WordPress เองจะไม่ได้มีคุณสมบัติเป็นร้านค้าออนไลน์ แต่เราก็หาปลั๊กอิน เสริมมาติดตั้งเพิ่มให้ WordPress ได้ เพื่อให้ WordPress มีคุณสมบัติเป็นร้านค้าออนไลน์ อย่างครบถ้วน ปลั๊กอินที่ช่วยในเรื่องนี้ได้มีอยู่หลายตัวด้วยกัน แต่ปลั๊กอินที่ผมจะใช้เป็นตัวอย่าง ในหนังสือเล่มนี้คือ WP e-Commerce ซึ่งถือเป็นปลั๊กอินฟรีที่มีความสามารถสูง และได้ รับความนิยมมากๆ ครับ



ภาพ 1-5 ตัวอย่างร้านค้าออนไลน์ที่สร้างจาก WordPress



29



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ส�ำหรับการใช้ WordPress หารายได้กับโฆษณาออนไลน์ ก็ต้องบอกว่ายังมีอีก 2 ทางเลือกย่อยๆ คือการสมัครเข้าร่วมโปรแกรมโฆษณาออนไลน์ต่างๆ กับการขายพื้นที่ แบนเนอร์โฆษณาด้วยตัวเอง รายละเอียดของทั้ง 2 เรื่องนี้มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้อย่างครบ ถ้วนเช่นกัน โดยในประเด็นของการหารายได้กับโปรแกรมโฆษณาออนไลน์นั้น ผมจะเน้น สอนการหารายได้กบั Google AdSense เนือ่ งจากเป็นโปรแกรมโฆษณาทีไ่ ด้รบั ความนิยม มากที่สุด เชื่อถือได้ที่สุด จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของเรา ส่วนเรื่องการใช้ WordPress หารายได้กับระบบ Affiliate Program ผมก็จะสอนคุณ หารายได้กับ Affiliate Program ของ Amazon เพราะถือว่าเป็นระบบ Affiliate Program เจ้าใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากคนทั่วโลก สรุปอีกครั้งว่า ไม่ว่าคุณอยากใช้บล็อก WordPress หาเงินด้วยวิธีไหน จะเป็นการ เปิดร้านค้าออนไลน์, การหาเงินกับโปรแกรมโฆษณา Google AdSense, การหาเงินกับ ระบบ Affiliate Program ของ Amazon, การขายพื้นที่เพื่อวางแบนเนอร์โฆษณา หรือจะ ใช้ WordPress ท�ำการตลาดออนไลน์สารพัดรูปแบบ คุณก็ท�ำได้ทั้งนั้น ในส่วนของการประยุกต์ใช้ WordPress เพือ่ ท�ำการตลาดออนไลน์กเ็ หมือนกันครับ เราสามารถใช้ WordPress เป็นเครือ่ งมือท�ำการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ ว่าจะเป็นท�ำการตลาดให้สนิ ค้า, ท�ำการตลาดให้บริการของเรา, ท�ำการตลาดให้เว็บไซต์หลัก อีกที หรือท�ำการตลาดในรูปแบบไหนก็แล้วแต่ อย่าลืมว่า WordPress มีจุดเด่นในเรื่อง SEO ซึ่งถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อการท�ำการตลาดออนไลน์ เจ้า WordPress ของ เราจึงกลายมาเป็นเครื่องมือชั้นดีที่เราหยิบมาช่วยท�ำการตลาดได้ครับ เนือ้ หาเกีย่ วกับการหารายได้และท�ำการตลาดออนไลน์ดว้ ย WordPress เป็นเนือ้ หา หลักของหนังสือเล่มนีอ้ ยูแ่ ล้ว เพราะฉะนัน้ เดีย๋ วพอคุณผูอ้ า่ นติดตามอ่านหนังสือเล่มนีไ้ ป เรือ่ ยๆ คุณก็จะได้เรียนรูเ้ ทคนิคทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งพวกนีไ้ ปทีละส่วนเอง โดยเนือ้ หาเกีย่ ว กับการหารายได้และท�ำการตลาดออนไลน์นี้ ผมจะไล่อธิบายตั้งแต่บทที่ 14 เป็นต้นไป 30



รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



บทที่ 1



ผมอธิบายไปในท�ำนองนี้แล้ว อาจมีคุณผู้อ่านบางคนด่วนสรุปไปว่า หนังสือเล่ม นี้เหมาะกับคนที่ต้องการใช้ WordPress เป็นเครื่องมือในการหารายได้และท�ำการตลาด ออนไลน์เท่านั้น อย่าเพิ่งสรุปแบบนั้นนะครับ แม้หนังสือเล่มนี้จะสอนวิธีหารายได้และ ท�ำการตลาดออนไลน์ด้วย WordPress อย่างละเอียด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหนังสือ ของผมจะเหมาะกับคนที่สนใจจะหาเงินและท�ำการตลาดเท่านั้น ต่อให้คุณไม่สนใจเรื่อง พวกนี้ เพียงแค่คดิ จะสร้างบล็อกของตัวเองขึน้ มาเพือ่ ใช้บอกเล่าเรือ่ งราวต่างๆ หรือใช้เผย แพร่ความรู้หรือประสบการณ์ของตัวเอง คุณก็ใช้หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือได้แน่นอน เพราะ ผมได้สอนวิธีการสร้างและพัฒนาบล็อกด้วย WordPress ไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ครับ



ตัวอย่าง Blog ที่สร้างด้วย WordPress คนทีไ่ ม่เคยลองสร้างบล็อกด้วย WordPress มาก่อน อาจยังไม่แน่ใจว่า WordPress มันดีจริงหรือเปล่า หรือบล็อกที่ได้จะมีหน้าตาแจ่มแจ๋วพอหรือเปล่า เพื่อให้คุณแน่ใจว่า WordPress มีคุณภาพและช่วยสร้างบล็อกที่มีหน้าตาเป็นมืออาชีพได้มากพอ ในหัวข้อ สุดท้ายของบทแรกนี้ ผมขอหยิบตัวอย่างบล็อกที่สร้างจาก WordPress มาให้คุณได้ดูกัน เป็นการเรียกน�้ำย่อยกันหน่อย เห็นตัวอย่างบล็อกเหล่านี้แล้วคุณจะได้เชื่อมั่นมากขึ้นว่า WordPress น่ะคือเครื่อง มือสร้างสรรค์งานบล็อกทีค่ ณ ุ ก�ำลังมองหาอยูแ่ น่นอน เพราะ WordPress สามารถเนรมิต บล็อกสวยๆ ให้เราได้อย่างไร้ขีดจ�ำกัด อยากได้บล็อกหน้าตาแบบไหน สวยงามหรูหรา ขนาดไหน เราก็จัดการได้หมด รับรองว่าบล็อกของเราจะออกมาดูดีและเป็นมืออาชีพไม่ น้อยหน้าใครเลยละ ว่าแล้วก็ไปดูตัวอย่างบล็อกสวยๆ ที่สร้างจาก WordPress ในภาพประกอบ 1-6 ถึง 1-9 กันเลยครับ 31



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 1-6 ตัวอย่างบล็อกที่สร้างจาก WordPress (1)



ภาพ 1-7 ตัวอย่างบล็อกที่สร้างจาก WordPress (2)



32



รู้จักกับ WordPress ในเบื้องต้น



บทที่ 1



ภาพ 1-8 ตัวอย่างบล็อกที่สร้างจาก WordPress (3)



ภาพ 1-9 ตัวอย่างบล็อกที่สร้างจาก WordPress (4)



33



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



คุณผู้อ่านคนไหนตาดีหน่อยจะสังเกตเห็นว่า ภาพประกอบ 1-9 นี้คือบล็อกอย่าง เป็นทางการของ Adobe ซึง่ เป็นบริษทั ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ตัวอย่างซอฟต์แวร์ ของ Adobe ก็เช่น Adobe Photoshop, Adobe Illustrator, Adobe InDesign, Adobe Dreamweaver หรือ Adobe Flash Professional เป็นต้น สิ่งที่เห็นน่าจะช่วยการันตีได้อีก ทางว่า WordPress ของเรานัน้ เจ๋งจริง เพราะแม้แต่บริษทั ชัน้ น�ำของโลกคอมพิวเตอร์อย่าง Adobe ยังเลือกใช้ WordPress ในการสร้างบล็อกของตัวเองเลยครับ



34



บทที ่ 2 ลงมือติดตั้ง WordPress



หลังจากที่ได้ท�ำความรู้จักกับ WordPress พระเอกของเราในเบื้องต้น กันไปในบทที่แล้ว มาถึงบทนี้เราจะได้ลองใช้งาน WordPress กันแล้วละครับ แต่ว่า ไปแล้วจะพูดว่าลองใช้งานก็คงไม่ถูกเท่าไหร่ เพราะสิ่งที่เราจะท�ำกันจริงๆ ในบทนี้คือการติดตั้ง WordPress เพื่อสร้างบล็อกขึ้นมาต่างหาก ซึ่งการติดตั้ง WordPress นี้ก็มีเรื่องที่เกี่ยวพันกันอยู่ หลายเรื่อง เช่น เรื่องของการจดโดเมนเนม + เช่าเว็บโฮสติ้ง, การดาวน์โหลด WordPress, การแก้ ไข ไฟล์ wp-config-sample.php ของ WordPress, การอัปโหลด WordPress ขึ้นสู่เว็บโฮสติ้ง ไป จนถึงการสั่งติดตั้ง WordPress รับรองว่าบทนี้ผมจะอธิบายทุกเรื่องและทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง WordPress แค่ คุณอ่านท�ำความเข้าใจพร้อมๆ กับลงมือท�ำตามขั้นตอนที่อธิบาย เดี๋ยวเดียวคุณก็จะมีบล็อกชั้นดีเป็น ของตัวเองกันแล้วครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ Domain Name เมื่อคิดจะสร้างเว็บไซต์หรือบล็อกเป็นของตัวเองขึ้นมาสักบล็อก สิ่งแรกที่เราต้อง มีคือโดเมนเนม (Domian Name) เพราะโดเมนเนมเป็นเหมือนที่อยู่ของบล็อกในโลก อินเทอร์เน็ต หากไม่มีโดเมนเนม ก็คงไม่มีใครคลิกเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเราได้ เปรียบ ไปแล้วโดเมนเนมนีก้ เ็ หมือนบ้านเลขทีข่ องเรานัน่ เองครับ หากมีคนรูบ้ า้ นเลขทีข่ องเรา คน คนนั้นก็สามารถเดินทางมาหาเราได้ไม่ยาก โดเมนเนมจะประกอบด้วยตัวอักษรและ/หรือตัวเลขจ�ำนวนหนึง่ และจะลงท้ายด้วย ดอต (.) อะไรสักอย่าง เช่น .com, .net, .org, .co.th หรือ .info เป็นต้น ตัวอย่างโดเมน เนมที่เราน่าจะคุ้นเคยกันดีก็เช่น google.com, yahoo.com หรือ wordpress.com ซึ่งผม เพิ่งเอ่ยถึงไปในบทที่แล้ว แนวคิดส�ำคัญของการเลือกจดโดเมนเนมก็คือ โดเมนเนมของเราควรเกี่ยวข้องกับ คอนเซปต์ของบล็อกที่วางไว้ ตัวอย่างเช่น เราตั้งใจจะเขียนบล็อกเกี่ยวกับเรื่องความสวย ความงาม โดเมนเนมก็ควรมีค�ำว่า beauty อะไรแบบนี้ หรือถ้าคิดจะสร้างบล็อกเพื่อเปิด เป็นร้านค้าออนไลน์ขายเสื้อผ้าแฟชั่น ก็ควรพยายามใส่คำ� ว่า fashion ลงไปเป็นส่วนหนึ่ง ของโดเมนเนม ไม่ใช่ตั้งใจจะเขียนบล็อกเกี่ยวกับเรื่อง “หมา” แต่ดันไปจดโดเมนเนมว่า “แมว” (อันนีย้ กตัวอย่างนะครับ) ซึง่ ท�ำแบบนีม้ นั ไม่ได้ชว่ ยอะไรขึน้ มาเลยนอกจากจะท�ำให้ บล็อกเป็นที่รู้จักและจดจ�ำน้อยลง การจดโดเมนเนมนัน้ เป็นเรือ่ งง่ายครับ แต่ความยากอยูท่ กี่ ารหาโดเมนเนมทีย่ งั ว่าง อยูต่ า่ งหาก ยุคนีม้ บี ล็อก/เว็บไซต์ใหม่ๆ ผุดขึน้ ทุกวัน ผมว่าแต่ละวินาทีทผี่ า่ นไปจะมีคนจด โดเมนเนมใหม่ๆ ขึ้นมาใช้งานตลอดเวลาด้วยซ�ำ้ นั่นท�ำให้เราหาโดเมนเนมว่างๆ ได้ยาก ขึ้น ทางที่ดีก่อนจะเข้าไปจดโดเมนเนม คุณจึงควรคิดโดเมนเนมทางเลือกไว้เยอะๆ หาก พบว่าโดเมนเนมหนึง่ มีคนชิงจดตัดหน้าไปแล้ว คุณจะได้เปลีย่ นไปใช้โดเมนเนมอืน่ ๆ แทน 36



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



ใครอยากตรวจสอบว่าโดเมนเนมที่สนใจยังว่างอยู่หรือเปล่า ก็ลองไปเช็กดูได้ที่ เว็บไซต์นี้ครับ... http://instantdomainsearch.com/



ภาพ 2-1 เว็บไซต์ instantdomainsearch.com



อันที่จริงแล้วเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบโดเมนเนมมีอยู่มากมายทั้งไทยและเทศ ครับ คุณจะเลือกใช้บริการเว็บอื่นๆ ก็ได้ แต่ที่ผมแนะน�ำเว็บไซต์ instantdomainsearch. com ก็เพราะเห็นว่าระบบตรวจสอบของเว็บนีร้ วดเร็วมาก คือแค่เราเริม่ พิมพ์โดเมนเนมลง ไป เว็บไซต์ instantdomainsearch.com ก็จะรายงานผลแบบทันทีทันใดเลยว่า โดเมนเนม นั้นๆ ว่างอยู่หรือเปล่า 37



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ในเรื่องของการจดโดเมนเนม เราจะจดกับผู้ให้บริการจดโดเมนเนมต่างประเทศ หรือผูใ้ ห้บริการในไทยก็ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ให้บริการจดโดเมนเนมซึง่ เป็นทีร่ จู้ กั กันทัว่ โลก ก็เช่น GoDaddy.com, Name.com, Namecheap.com หรือ Register.com เป็นต้น รูป แบบบริการของเว็บไซต์จดโดเมนเนมส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียง เครื่องมือที่เตรียมไว้ให้เราใช้งาน (ซึ่งเราก็ไม่ค่อยได้ใช้งานกันหรอก) หรือต่างกันในแง่ ราคาเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น มีอีกเรื่องส�ำคัญที่คุณควรรู้ การจดโดเมนเนมนี้จะท�ำแยกกับการเช่าเว็บโฮสติ้งก็ ได้ หมายความว่าจดโดเมนเนมกับผู้ให้บริการรายหนึ่ง แล้วค่อยไปเช่าเว็บโฮสติ้งกับผู้ให้ บริการอีกรายหนึ่ง แต่การท�ำแบบนี้ค่อนข้างยุ่งยากและเสียเวลา เราจดโดเมนเนมและ เช่าเว็บโฮสติ้งจากผู้ให้บริการเจ้าเดียวกันให้เสร็จสรรพไปเลยดีกว่า เว็บไซต์ที่ให้บริการ เว็บโฮสติ้งน่ะ ร้อยทั้งร้อยล้วนให้บริการจดโดเมนเนมควบคู่กันไปด้วยอยู่แล้ว เราจึง สามารถจดโดเมนเนมและเช่าเว็บโฮสติ้งได้พร้อมกันในขั้นตอนเดียวและในที่เดียวครับ (ผมจะแสดงตัวอย่างการจดโดเมนเนมและเช่าเว็บโฮสติ้งให้ดูในหัวข้อ “ลองจด Domain Name และเช่า Web Hosting กันดู”) เกือบลืมไปอีกเรื่องครับ แม้เราจะเลือกจดโดเมนเนมลงท้ายด้วยดอตโน่นดอตนี่ ได้หลายดอต แต่ถ้าเป็นไปได้ผมอยากแนะน�ำให้จดเป็น .com นะครับ การจดโดเมนเนม เป็น .com จะช่วยให้โดเมนเนมของเราจ�ำง่าย ดูน่าเชื่อถือ และก็จะมีผลต่อการท�ำ SEO ในระดับหนึ่งด้วย ฉะนั้นถ้าโดเมนเนมมันจะยาวจะสะกดยากไปสักหน่อย แต่ถ้านั่นท�ำให้ เราจดเป็น .com ได้ ผมก็ว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว ส�ำหรับบล็อกที่จะสร้างขึ้นมาเป็นตัวอย่างประกอบการเขียนหนังสือเล่มนี้ ผม ตั้งใจว่าจะสร้างบล็อกที่เกี่ยวกับการวิจารณ์หรือแนะน�ำหนังสือ ผมเป็นคนชอบอ่าน หนังสือเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าจะอ่านเฉยๆ ไปท�ำไม อ่านแล้วก็เขียนวิจารณ์ ให้คนอื่นได้มาลองอ่านต่อด้วยดีกว่า บล็อกใหม่นี้ผมจะจดโดเมนเนมเป็น booklism. 38



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



com ครับ ชื่อนี้สั้น กระชับ ความหมายสอดคล้องกับเนื้อหาบล็อกที่ก�ำลังจะสร้างเป็น อย่างดีทีเดียวครับ



เลือก Web Hosting ให้ถูกหลัก ค�ำถามที่นักสร้างบล็อกหน้าใหม่มักจะถามตัวเองก็คือ จะเช่าเว็บโฮสติ้งของผู้ให้ บริการเว็บโฮสติ้งเจ้าไหนดี หรือจะเช่าเว็บโฮสติ้งของคนไทยหรือของต่างชาติดี ผมขอให้ ค�ำแนะน�ำส�ำหรับค�ำถามที่สองก่อนนะครับ การเลือกว่าจะเช่าเว็บโฮสติ้งในไทยหรือของ ต่างประเทศดีนนั้ ผมว่าคงต้องดูจากหลายๆ ปัจจัย เช่นว่า คุณมีประสบการณ์ในเรือ่ งพวก นีบ้ า้ งหรือเปล่า คุณพอจะพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษได้บา้ งหรือเปล่า คุณเขียนบล็อกเป็น ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย หรือกลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใครกันบ้าง กรณีทคี่ ณ ุ ไม่คอ่ ยมีประสบการณ์ในเรือ่ งการใช้งานเว็บโฮสติง้ รวมถึงไม่คอ่ ยสันทัด ภาษาอังกฤษสักเท่าไหร่ ผมแนะน�ำว่าคุณควรเช่าเว็บโฮสติง้ ของผูใ้ ห้บริการในประเทศไทย เราเอง เหตุผลก็เพราะว่า เราสามารถสอบถามพูดคุยได้ง่ายกว่า มีอะไรก็อธิบายกันรู้เรื่อง ถ้าคุณไม่เก่งภาษาอังกฤษ แต่ดนั ไปเช่าเว็บโฮสติง้ ต่างชาติ เวลามีปญ ั หาอะไรขึน้ มาคุณคง ได้ปวดหัวแน่ เพราะสื่อสารกับทางโน้นไม่รู้เรื่อง เรื่องกลุ่มเป้าหมายของบล็อกก็เป็นปัจจัยที่ต้องค�ำนึงถึงเหมือนกันนะครับ ถ้าหาก คุณต้องการสร้างบล็อกที่น�ำเสนอบทความเป็นภาษาไทย โดยมีกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายเป็น คนไทย เว็บโฮสติ้งที่คุณเลือกใช้ก็ควรเป็นของคนไทยเราเอง เพราะจะช่วยให้นักอ่านคน ไทยคลิกเข้ามาอ่านบล็อกได้รวดเร็วกว่า คุณลองนึกดูนะครับว่าถ้าคุณเลือกใช้เว็บโฮสติ้ง ที่อเมริกา แต่กลุ่มเป้าหมายของคุณกลับเป็นคนไทยด้วยกันเอง มันจะเกิดการเสียเวลา กับการต้องดึงข้อมูลบล็อกที่อยู่ในอเมริกามาแสดงผ่านคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในประเทศไทย (แม้จะใช้เวลาไม่มากก็ตาม) 39



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



สรุปแบบฟันธงเลยว่า หากคุณไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษนัก (เหมือนผม) แล้วคุณก็ ต้องการเขียนบล็อกเป็นภาษาไทย (เหมือนผม) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทย (เหมือน ผมอีกนั่นแหละ) คุณควรเช่าเว็บโฮสติ้งของไทยเราเองจะดีที่สุดครับ ปกติแล้วผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งแต่ละแห่งไม่ว่าของไทยหรือของเทศ จะแบ่งบริการ เว็บโฮสติ้งออกเป็นแพ็กเกจย่อยๆ ให้เราเลือก แต่ละแพ็กเกจก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น บางแพ็กเกจให้พนื้ ทีจ่ ดั เก็บข้อมูลไม่อนั้ บางแพ็กเกจไม่จำ� กัดปริมาณการรับ-ส่งข้อมูล หรือบางแพ็กเกจก็อนุญาตให้เราสร้างฐานข้อมูลและอีเมลแอ็กเคาต์ได้ไม่จ�ำกัด แบบนี้ เป็นต้น คุณจะเลือกแพ็กเกจแบบไหน ก็คงขึน้ อยูก่ บั ลักษณะการใช้งานของคุณแล้วละครับ ปกติแล้วราคาค่าเช่าเว็บโฮสติ้งมักคิดกันเป็นรายปี แต่บางแห่งก็อาจคิดเป็นราย เดือน หรือบางแห่งเราก็สามารถเช่าเว็บโฮสติง้ ทีเดียวหลายๆ ปีได้ แต่ผมแนะน�ำว่าไม่ควร ท�ำอย่างนัน้ เพราะอาจจะท�ำให้เกิดปัญหายุง่ ยากตามมา หรือเราอาจต้องเสียเงินฟรีๆ ใน กรณีที่คิดจะย้ายเว็บโฮสติ้งในภายหลัง ทางที่ดีเราควรเช่าแค่ปีเดียวก่อน ถ้าใช้งานแล้ว เวิร์กก็ค่อยต่ออายุเมื่อถึงก�ำหนดเวลาครับ การเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งนี้ คงไม่มีเทคนิคตายตัวว่าควรเลือกยังไง หรือควร เลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งเจ้าไหน เพราะแต่ละแห่งก็อาจมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าผมจะไม่มีค�ำแนะน�ำส�ำหรับเรื่องนี้ซะทีเดียว สิ่งที่ผมอยากแนะน�ำคือ ก่อน ตัดสินใจเช่าเว็บโฮสติ้งกับผู้ให้บริการเจ้าไหน คุณควรเสิร์ชผ่าน Google ดูว่า มีคนพูดถึง เว็บโฮสติ้งรายนั้นไว้ท�ำนองไหน ถ้าพบว่าเว็บโฮสติ้งแห่งนั้นมีชื่อเสียงไม่ค่อยดี เช่น มีคน บ่นว่าช้า ล่มบ่อย หรือบ่นว่าบริการแย่ แบบนีเ้ ราก็ไม่ควรลองเสีย่ งใช้บริการ เทคนิคง่ายๆ แค่นี้แหละครับที่จะช่วยให้เราได้ใช้งานเว็บโฮสติ้งที่มีคุณภาพคุ้มกับเงินที่จ่ายไป อีกเรือ่ งทีค่ ณ ุ ควรค�ำนึงถึงไว้ดว้ ยก็ดคี อื ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บโฮสติง้ ทีจ่ ะเช่า นัน้ รองรับ WordPress จริงอยูค่ รับว่าบริการเว็บโฮสติง้ 99% ล้วนแล้วแต่รองรับ WordPress กันทั้งนั้น แต่มันก็เป็นไปได้เหมือนกันว่าเราอาจไปเจอเว็บโฮสติ้งที่ไม่รองรับ WordPress 40



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



เข้า หรืออาจไม่รองรับ WordPress เวอร์ชันล่าสุดที่ต้องการใช้งาน เราจึงควรศึกษาข้อมูล เรื่องนี้ก่อนจะจ่ายเงินเช่าเว็บโฮสติ้ง หรือถ้าให้ชัวร์ที่สุดก็ควรติดต่อสอบถามผู้ให้บริการ เว็บโฮสติ้งรายนั้นไปเลย การติดต่อพูดคุยก่อนตัดสินใจเช่าเว็บโฮสติ้งอย่างที่ว่านี้ ยังอาจช่วยให้เราประเมิน ในเบื้องต้นได้ด้วยว่า เว็บโฮสติ้งแห่งนั้นดูมีความกระตือรือร้นและเต็มใจในการให้บริการ ขนาดไหน ถ้าโทรไปแล้วทางโน้นท�ำท่าเหมือนไม่อยากคุยกับเรา เราก็ควรเปลีย่ นใจไปเช่า เว็บโฮสติง้ เจ้าอืน่ ๆ เพราะถ้าแค่สอบถามข้อมูลง่ายๆ ยังได้รบั การบริการทีไ่ ม่นา่ ประทับใจ ก็อย่าหวังเลยครับว่าเมือ่ จ่ายเงินเช่าเว็บโฮสติง้ ไปแล้วคุณจะได้รบั การบริการทีด่ มี มี าตรฐาน



ภาพ 2-2 ตัวอย่างผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง



41



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ลองจด Domain Name และเช่า Web Hosting กันดู คุณคิดโดเมนเนมเจ๋งๆ ไว้ในใจแล้วใช่มยั้ ครับ ผูใ้ ห้บริการเว็บโฮสติง้ ทีห่ มายตาไว้ละ่ ผมเดาว่าน่าจะมีแล้วเหมือนกัน ส�ำหรับตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ผมขอเลือกใช้บริการเว็บ โฮสติ้งของ HOSTNEVERDIE ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งของไทยเราเอง บอกไว้ก่อนว่า ผมไม่ได้รู้จักกับทีมงาน HOSTNEVERDIE และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเว็บโฮสติ้งนี้แต่ อย่างใดนะครับ ผมเพียงแต่หยิบมาเป็นตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้เท่านั้น รวมถึงผมไม่ได้ การันตีด้วยว่า HOSTNEVERDIE จะมีคุณภาพถูกใจคุณมากน้อยแค่ไหน (แต่เท่าที่เคย ลองใช้งานมาก็ถือว่าเวิร์ก) ว่าแล้วเราลองไปดูตัวอย่างการเช่าเว็บโฮสติ้ง (พร้อมกับจดโดเมนเนม) กันเลยครับ 1 คลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ HOSTNEVERDIE คือที่... http://www.hostneverdie.com/ จากนั้นคลิกค�ำสั่ง สั่งซื้อ ! ด้านล่างแพ็กเกจเว็บโฮสติ้งที่ต้องการ ดูภาพ 2-3 ในที่นี้ ผมเลือกแพ็กเกจ KIDDIE HOST PLAN ครับ คุณสมบัติหลักๆ ของแพ็กเกจนี้คือมีพื้นที่ให้ 15 กิกะไบต์ ไม่มีการจ�ำกัดปริมาณข้อมูล และใช้งานกับโดเมนเนมได้แค่โดเมนเนมเดียว ส่วนราคาของแพ็กเกจก็อยู่ที่ 777 บาทต่อปีครับ (แต่มีบวกภาษีอีก 7%) 2 กรอกชื่อโดเมนเนมที่เราต้องการจดลงในช่องว่าง หากโดเมนเนมนี้ว่าง เราจะ เห็นข้อความ “ขอแสดงความยินดีด้วย โดเมนนี้ว่างอยู่” ดูภาพ 2-4 3 คลิกเลือกค�ำสั่ง กรุณาจดโดเมนนี้ให้ฉันเป็นระยะเวลา โดยเราสามารถเลือก จ�ำนวนปีที่ต้องการจดโดเมนเนมนี้ได้ในช่องดรอปดาวน์ลิสต์ที่อยู่ถัดไป แต่ถ้าไม่เลือก ก็ จะเท่ากับต้องการจดโดเมนเนมเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งเราต้องเสียค่าจดโดเมนเนมเป็นเงิน 349 บาทครับ (การจดโดเมนเนมทีล่ งท้ายด้วยดอตต่างกัน อาจต้องเสียค่าโดเมนเนมมากน้อย แตกต่างกันไป) 42



ลงมือติดตั้ง WordPress



1



บทที่ 2



ภาพ 2-3 คลิกค�ำสั่ง สั่งซื้อ !



4 ใต้หัวข้อ ตั้งค่าส�ำหรับโดเมน ให้คลิกเลือกรายการทั้ง 3 รายการ ได้แก่ DNS



Management ( FREE! ), Email Forwarding ( FREE! ) และ ID Protection ( FREE! ) ทั้งหมดนี้เป็นบริการเสริมที่เราใช้งานได้ฟรีครับ จะใช้หรือไม่ใช้ก็เลือกไว้ก่อน ไม่มีอะไร เสียหาย 5 ใต้หัวข้อ ข้อมูลส่วนตัว ให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ลงไปให้ครบถ้วนถูก ต้อง 6 คลิกใส่เครื่องหมาย หน้าค�ำสั่ง กรุณาติ๊กเพื่อยืนยันว่าคุณยอมรับข้อ ตกลง 7 จากนั้นคลิกปุ่ม ยืนยันการสั่งซื้อ 43



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2 3



4 5



44



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



7 6



ภาพ 2-4 ก�ำหนดข้อมูลเกี่ยวกับการจดโดเมนเนม



ขั้นตอนการเช่าเว็บโฮสติ้งและจดโดเมนเนมเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ และเราจะเห็น เว็บเพจแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสั่งซื้อของเรา รวมถึงแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการช�ำระ เงิน (ดูภาพ 2-5) พร้อมกันนี้เราจะได้รับอีเมลจาก HOSTNEVERDIE ซึ่งแจ้งรายละเอียด ต่างๆ ของการสั่งซื้ออย่างเป็นทางการด้วย คุณลองเช็กอีเมลที่ระบุลงไปในขั้นตอนการ กรอกข้อมูลส่วนตัวดูนะครับ



ภาพ 2-5 รายละเอียดการสั่งซื้อโดเมนเนม



45



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



หน้าที่ของเราคือไปโอนเงินซะให้เรียบร้อย จะไปโอนผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร หรือ จะโอนผ่านบริการออนไลน์ของธนาคารทีค่ ณ ุ ใช้บริการอยูก่ ไ็ ด้ ในทีน่ ยี้ อดเงินทีผ่ มต้องโอน คือ 1,204.82 บาท เป็นค่าเช่าเว็บโฮสติ้ง 777 บาท บวกกับค่าจดโดเมนเนม 349 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 78.82 บาท เมือ่ โอนเงินเรียบร้อยแล้ว ผมต้องเข้ามาแจ้งการโอนด้วย เพราะ HOSTNEVERDIE ก�ำหนดไว้อย่างนั้น โดยผมต้องเข้าไปแจ้งการช�ำระเงินที่ http://www.hostneverdie.com/ confirm-payment ครับ หลังจากโอนเงินและแจ้งการช�ำระเงินเสร็จเรียบร้อย เราก็ต้องรอเพื่อให้ทางผู้ให้ บริการเว็บโฮสติ้งด�ำเนินการทุกอย่างให้เรา ซึ่งปกติแล้วจะใช้เวลาแค่ประมาณ 5 นาที เท่านั้นเอง (หรือนานที่สุดก็ไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง) เมื่อผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งจัดการทุก อย่างให้เราแล้ว ก็จะอีเมลมาแจ้งยืนยันกับเราพร้อมกับบอกรายละเอียดต่างๆ เกีย่ วกับการ ใช้งานเว็บโฮสติ้ง เช่น ข้อมูล URL, ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดส�ำหรับเข้าสู่ระบบ Control Panel (ใช้บริหารจัดการเว็บโฮสติง้ ของเรา) หรือข้อมูลเกีย่ วกับ FTP (ส�ำหรับรับ-ส่งไฟล์ผา่ น ทางโพรโทคอล FTP) เป็นต้นครับ ข้อมูลทีผ่ ใู้ ห้บริการเว็บโฮสติง้ แจ้งกับเราทางอีเมลนี้ ให้เก็บรักษาไว้ให้ดดี ว้ ยนะครับ เพราะเราต้องใช้ประโยชน์จากมันในการสร้างและจัดการกับเว็บไซต์ไปอีกนาน



สร้าง Database สำ�หรับ WordPress WordPress ก็เหมือน CMS อีกหลายๆ ตัว คือมันต้องท�ำงานร่วมกับฐานข้อมูล (Database) ด้วย เราจึงต้องสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาก่อนเพื่อให้ทำ� งานร่วมกับ WordPress ครับ การสร้างฐานข้อมูลนีอ้ าจดูเป็นเรือ่ งยุง่ ยากซับซ้อนส�ำหรับคนทีไ่ ม่เคยมีประสบการณ์ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องง่ายกว่าที่คิดครับ แค่คลิกไม่กี่ทีเราก็สร้างฐานข้อมูลเสร็จ เรียบร้อยแล้ว 46



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



ในการสร้างฐานข้อมูล เราต้องล็อกอินเข้าสูร่ ะบบ Control Panel ของเว็บโฮสติง้ ทีใ่ ช้ บริการอยู่ และการที่เราจะล็อกอินเข้าสู่ Control Panel ได้ เราก็ต้องรู้ว่าจะต้องคลิกเข้าไป ที่ URL ไหน และต้องใช้ยสู เซอร์เนมและพาสเวิรด์ อะไร ซึง่ ข้อมูลพวกนีค้ อื ข้อมูลทีท่ างผูใ้ ห้ บริการเว็บโฮสติ้งจะแจ้งให้เราทราบทางอีเมลอย่างที่ผมเคยบอกไปแล้วครับ ถ้าพร้อมจะลองสร้างฐานข้อมูลเตรียมไว้ให้ WordPress กันแล้ว ไปลองท�ำตามขั้น ตอนต่อไปนี้เลยครับ 1 คลิกเข้าไปยัง URL ที่ใช้ส�ำหรับเข้าสู่ระบบ Control Panel ของเว็บโฮสติ้ง (ใน กรณีของผม ต้องคลิกเข้าไปที่ http://www.booklism.com:4229) จากนั้นกรอกยูสเซอร์ เนมในช่อง Username: และกรอกพาสเวิร์ดลงในช่อง Password: สุดท้ายก็คลิกปุ่ม Login ดังภาพ 2-6 (ย�้ำอีกครั้งว่า ยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ดนี้ ทางผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งจะ เป็นฝ่ายแจ้งเรามานะครับ)



1



ภาพ 2-6 ล็อกอินเข้าสู่ Control Panel ของเว็บโฮสติ้ง



47



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2 เมื่อเข้าสู่ระบบ Control Panel ของเว็บโฮสติ้งแล้ว ก็คลิกค�ำสั่ง MySQL



Management ดังภาพ 2-7



2



ภาพ 2-7 คลิกค�ำสั่ง MySQL Management



3 คลิกค�ำสั่ง Create new Database เพื่อสร้างฐานข้อมูลใหม่ขึ้นมา ดูภาพ 2-8 4 ตั้งค่าให้ฐานข้อมูลใหม่ดังนี้ (ดูภาพ 2-9)



•  Database Name: ตั้งชื่อฐานข้อมูล •  Database Username: ตั้งชื่อยูสเซอร์หรือชื่อผู้ใช้ของฐานข้อมูลนี้ •  Username Password: ก�ำหนดพาสเวิร์ดให้ฐานข้อมูล •  Confirm Password: ยืนยันพาสเวิร์ดเดิมอีกครั้ง 5 คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างฐานข้อมูลใหม่ขึ้นมาครับ



48



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



3



ภาพ 2-8 คลิกค�ำสั่ง Create new Database



4



5 ภาพ 2-9 ตั้งค่าเกี่ยวกับฐานข้อมูล



49



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



หน้าเว็บถัดไปเราจะเห็นรายละเอียดของฐานข้อมูลที่เพิ่งสร้างแสดงขึ้นมาอีกครั้ง เหมือนในภาพ 2-10 คุณควรจ�ำ (หรือถ้าจะให้ดกี ค็ วรจด) รายละเอียดเหล่านีเ้ อาไว้ให้ครบ ถ้วนถูกต้องด้วยนะครับ เพราะเดี๋ยวเราจะต้องใช้งานข้อมูลเหล่านี้กัน



ภาพ 2-10 รายละเอียดของฐานข้อมูล



ดาวน์โหลด WordPress กันเลย เราคงไม่สามารถติดตั้ง WordPress ลงบนเว็บโฮสติ้งได้ ถ้าไม่เข้าไปดาวน์โหลด WordPress มาซะก่อนจริงมั้ยครับ เว็บไซต์แหล่งดาวน์โหลด WordPress ก็คือ http:// wordpress.org อย่างทีผ่ มเคยบอกไปแล้ว และ WordPress ทีเ่ ราก�ำลังจะลองติดตัง้ กันอยู่ นี้ เป็น WordPress เวอร์ชัน 3.4.1 นะครับ ตอนที่คุณซื้อหนังสือเล่มนี้ไปอ่าน มีความเป็น ไปได้ว่า WordPress อาจมีการอัปเดตเวอร์ชันเพิ่มเติม เพราะฉะนั้น WordPress เวอร์ชัน 50



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



ที่คุณดาวน์โหลดมาได้ อาจจะไม่ใช่เวอร์ชัน 3.4.1 เหมือนในตัวอย่างนี้นะครับ (แต่ถึงจะ เป็นคนละเวอร์ชัน วิธีการใช้งานก็เหมือนกันอยู่ดี) ลองไปดูวิธีการดาวน์โหลด WordPress มาใช้งานกันเลย 1 คลิกเข้าไปที่... http://wordpress.org/ แล้วคลิกปุ่ม Download WordPress 3.4.1 ดูภาพ 2-11 (อย่าลืมว่าตอนคุณเข้าไป ดาวน์โหลด เลขเวอร์ชันอาจไม่ใช่ 3.4.1 แล้วนะครับ)



1



ภาพ 2-11 คลิกปุ่ม Download WordPress 3.4.1



51



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2 คลิกปุ่ม Download WordPress 3.4.1 อีกครั้งครับ ดูภาพ 2-12 เพียงเท่านั้น



ขัน้ ตอนการดาวน์โหลดก็จะเริม่ ต้นขึ้น ซึ่งขั้นตอนการดาวน์โหลดจะเป็นไปในลักษณะไหน ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่คุณใช้งานอยู่ด้วย ตามตัวอย่างนี้ผมใช้โปรแกรม Google Chrome เมื่อผมคลิกปุ่ม Download WordPress 3.4.1 กระบวนการดาวน์โหลด ก็จะด�ำเนินการไปทันทีครับ



2



ภาพ 2-12 คลิกปุ่ม Download WordPress 3.4.1



เมื่อดาวน์โหลดเสร็จ เราก็จะได้ไฟล์ที่ชื่อว่า wordpress-3.4.1.zip (ดูภาพ 2-13) ซึ่ง นี่แหละครับคือไฟล์ส�ำหรับติดตั้ง WordPress แต่ไฟล์นี้ถูกบีบอัดไว้ในฟอร์แมต .zip เพื่อ ให้มีขนาดเล็กลง เราต้องท�ำยังไงกับไฟล์นี้ต่อ เดี๋ยวผมจะอธิบายในหัวข้อหน้านะครับ



52



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



ภาพ 2-13 ไฟล์ wordpress-3.4.1.zip



และด้วยความทีค่ นไทยเรานิยมใช้ WordPress กันเยอะพอสมควร ก็เลยมีนกั พัฒนา โปรแกรมใจดีช่วยกันแปล WordPress เป็นให้เป็นภาษาไทยออกมาด้วย ใครที่ไม่กระดิก ภาษาอังกฤษเอาซะเลย ก็อาจหันไปใช้ WordPress เวอร์ชนั ภาษาไทยได้ครับ เว็บไซต์แหล่ง ดาวน์โหลด WordPress ภาษาไทยอยู่ที่นี่... http://th.wordpress.org/ แต่ในหนังสือเล่มนี้ ผมจะเขียนโดยยึดจาก WordPress ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะ จะช่วยให้เขียนอธิบายสะดวกกว่า สือ่ สารกันเข้าใจง่ายกว่า แต่ถงึ คุณจะติดตัง้ WordPress ภาษาไทย คุณก็อา่ นหนังสือเล่มนีไ้ ด้อยูด่ ี เพราะวิธกี ารใช้งานและต�ำแหน่งของเมนูหรือค�ำ สั่งต่างๆ ใน WordPress ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มันก็เหมือนกันหมดนั่นแหละครับ



53



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



แก้ ไขไฟล์ wp-config-sample.php ให้ถูกต้อง ก่อนเราจะอัปโหลด WordPress ขึน้ ไปติดตัง้ บนเว็บโฮสติง้ ยังมีเรือ่ งทีเ่ ราต้องลงมือ ท�ำกันอีกนิดครับ นั่นก็คือการแก้ไขไฟล์ wp-config-sample.php ซึ่งเป็นไฟล์ไฟล์หนึ่งใน ระบบ WordPress ที่ใช้ส�ำหรับตั้งค่าคอนฟิกให้ WordPress เหตุผลที่เราต้องแก้ไขไฟล์ wp-config-sample.php ก็เพือ่ ใส่รายละเอียดเกีย่ วกับฐานข้อมูลทีเ่ ราสร้างไว้แล้วลงไป เพือ่ ให้ WordPress สามารถท�ำงานร่วมกับฐานข้อมูลได้อย่างถูกต้องนั่นเอง วิธีการแก้ไขไฟล์ wp-config-sample.php ต้องเริ่มต้นที่การคลายไฟล์ wordpress3.4.1.zip ออกมาก่อนครับ โปรแกรมที่ช่วยคลายไฟล์ .zip ได้มีอยู่หลายโปรแกรม เช่น WinZip, WinRAR หรือ 7-Zip เป็นต้น (โปรแกรมตัวหลังเป็นฟรีแวร์ที่ผมแนะน�ำให้ใช้ ครับ คุณจะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้อโปรแกรมไงล่ะ) เมื่อคลายไฟล์ออกมาแล้ว เราจะเห็น ไฟล์และโฟลเดอร์ส่วนประกอบตัวจริงของ WordPress อยู่รวมกันจ�ำนวนมากเหมือน ในภาพ 2-14



54



ภาพ 2-14 ไฟล์/โฟลเดอร์ส่วนประกอบของ WordPress



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



เมือ่ เห็นไฟล์และโฟลเดอร์สว่ นประกอบทัง้ หมดของ WordPress แล้ว ให้คณ ุ มองหา ไฟล์ทชี่ อื่ wp-config-sample.php ไฟล์นนี้ แี่ หละทีเ่ ราต้องเปิดขึน้ มาแก้ไขกัน โปรแกรมทีใ่ ช้ เปิดไฟล์ในฟอร์แมต .php ขึ้นมาแก้ไขได้มีอยู่หลายตัว แต่เราไม่จำ� เป็นต้องไปใช้โปรแกรม อื่นให้เสียเวลา เพราะโปรแกรม Notepad ที่มาพร้อม Windows สามารถแก้ไขไฟล์ .php ได้สบายมากครับ เราไปดูขั้นตอนการแก้ไขไฟล์ wp-config-sample.php กันเลยดีกว่า 1 ขั้นแรกคุณต้องสั่งเปิดไฟล์ wp-config-sample.php ด้วยโปรแกรม Notepad (หรือโปรแกรมอื่นๆ) ก่อน ดูภาพ 2-15 1



ภาพ 2-15 เปิดไฟล์ wp-config-sample.php ด้วย Notepad



55



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2 ลงมือแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับฐานข้อมูลดังต่อไปนี้ครับ... (ดูภาพ 2-16)



•  บรรทัด define(‘DB_NAME’, ‘database_name_here’); ให้ใส่ชอื่ ฐานข้อมูลลงไป



แทนที่ข้อความ database_name_here •  บรรทัด define(‘DB_USER’, ‘username_here’); ให้ใส่ชื่อยูสเซอร์เนมของฐาน ข้อมูลลงไปแทนที่ข้อความ username_here •  บรรทัด define(‘DB_PASSWORD’, ‘password_here’); ให้ใส่พาสเวิร์ดของฐาน ข้อมูลลงไปแทนที่ข้อความ password_here แก้ไขข้อมูลทัง้ 3 บรรทัดทีว่ า่ นีแ้ ล้ว คุณก็จะได้ไฟล์ wp-config-sample.php ทีม่ หี น้า ตาคล้ายกับในภาพ 2-16 นีค้ รับ (ทีบ่ อกว่า “คล้าย” ก็เพราะคุณกับผมไม่ได้ตงั้ ชือ่ ฐานข้อมูล ชื่อยูสเซอร์ และพาสเวิร์ดไว้เหมือนกัน หน้าตาของข้อมูลในไฟล์ wp-config-sample.php ของเราจึงไม่มีทางเหมือนกัน)



2



ภาพ 2-16 แก้ไขรายละเอียดของฐานข้อมูล



56



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



3 แก้ไขข้อมูลในไฟล์ wp-config-sample.php เสร็จสรรพแล้ว คุณก็สงั่ บันทึกไฟล์



นี้ตามปกติ แต่เรายังเหลือเรื่องที่ต้องท�ำอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการแก้ไขชื่อไฟล์ wp-configsample.php ให้เป็น wp-config.php (ตัด -sample ทิ้งไป) วิธีแก้ไขชื่อไฟล์ก็ไม่ยาก คุณแค่ คลิกขวาที่ไฟล์ wp-config-sample.php แล้วเลือกค�ำสั่ง Rename จากนั้นแก้ไขชื่อไฟล์ให้ เหลือแค่ wp-config.php ครับ ดูภาพ 2-17 ประกอบไปด้วยนะครับ



3



ภาพ 2-17 แก้ไขชื่อไฟล์เป็น wp-config.php



อัปโหลด WordPress ขึ้น Web Hosting ถ้าคุณได้ท�ำตามผมมาเรื่อยๆ จนถึงหัวข้อนี้ ก็แปลว่าเราได้เตรียมความพร้อมทุก อย่างครบถ้วนแล้ว ถัดจากนี้ก็เหลือขั้นตอนที่เราต้องท�ำอีกแค่ 2 ขั้นตอน คืออัปโหลด 57



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



WordPress ขึน้ สูเ่ ว็บโฮสติง้ และสัง่ ติดตัง้ WordPress หลังจากนัน้ เราก็จะได้บล็อกทีพ่ ร้อม ใช้งานแล้ว วิธีอัปโหลด WordPress ขึ้นสู่เว็บโฮสติ้งที่สะดวกและนิยมท�ำกันมากที่สุด คืออัปโหลดโดยใช้โปรแกรมประเภท FTP Client ครับ โปรแกรมประเภทนี้ใช้ส�ำหรับรับ-ส่งไฟล์ ระหว่างคอมพิวเตอร์ของเรากับเว็บโฮสติ้งโดยเฉพาะ ซึ่งโปรแกรม FTP Client ก็มีให้เลือก ใช้หลายตัวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น SmartFTP, Core FTP, WinSCP, net2ftp, CuteFTP, WS_FTP Professional หรือ FTP Voyager เป็นต้น แต่ตัวอย่างในที่นี้ผมขอเลือกใช้สุด ยอดโปรแกรม FTP Client อีกตัวคือ FileZilla ครับ โปรแกรม FileZilla เป็นฟรีแวร์ที่ได้รับความนิยมล้นหลาม ความสามารถก็ไม่ได้ น้อยหน้าโปรแกรมที่ต้องเสียเงินซื้อเลย จึงไม่แปลกที่ FileZilla จะได้รับความนิยมไปทั่ว โลก ถ้าคุณไม่อยากเสียเงินซื้อโปรแกรมแพงๆ ก็ใช้ FileZilla นี่แหละครับเป็นผู้ช่วยในการ อัปโหลดหรือดาวน์โหลดไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์ของเรากับเว็บโฮสติ้ง เว็บไซต์ส�ำหรับดาวน์โหลด FileZilla คือ... http://filezilla-project.org/ (เข้าไปแล้วให้คลิกปุ่ม Download FileZilla Client นะครับ) ดาวน์โหลดโปรแกรม FileZilla กันมาได้แล้ว ก็สงั่ ติดตัง้ โปรแกรมซะให้เรียบร้อยตาม ระเบียบ เสร็จแล้วเรามาลองใช้ FileZilla อัปโหลดไฟล์ WordPress ขึ้นสู่เว็บโฮสติ้งตามขั้น ตอนต่อไปนี้เลยครับ 1 เปิดโปรแกรม FileZilla ขึ้นมา แล้วกรอกรายละเอียดต่างๆ ใน Quickconnect bar ของโปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อกับเว็บโฮสติ้งดังต่อไปนี้ (ดูภาพ 2-18) •  Host: ใส่โฮสต์เนม (Hostname) ส�ำหรับเชื่อมต่อ FTP ลงไป ปกติแล้วข้อมูล โฮสต์เนมนี้ก็คือโดเมนเนมของเรานั่นเอง 58



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



•  Username: ใส่ยูสเซอร์เนมส�ำหรับเชื่อมต่อ FTP ลงไป •  Password: ใส่พาสเวิร์ดส�ำหรับเชื่อมต่อ FTP ลงไป •  Port: ก�ำหนดพอร์ตส�ำหรับการเชื่อมต่อ FTP ข้อมูลโฮสต์เนม, ยูสเซอร์เนม, พาสเวิร์ด และพอร์ตนี้ เราจะได้รับมาจากผู้ให้ บริการเว็บโฮสติง้ นะครับ ถ้าคุณไม่ได้รบั ก็ตอ้ งติดต่อสอบถามไป ในส่วนของพอร์ตก็ไม่ตอ้ ง ซีเรียสอะไรมาก หากทางผูใ้ ห้บริการไม่ได้ระบุมาว่าควรใช้พอร์ตอะไร ก็ให้กรอกตัวเลข 21 ลงไป เพราะมันคือพอร์ตมาตรฐานของการเชื่อมต่อผ่านโพรโทคอล FTP ครับ 2 คลิกปุ่ม Quickconnect เพื่อเชื่อมต่อกับเว็บโฮสติ้งเลยครับ 1



2



ภาพ 2-18 เชื่อมต่อกับเว็บโฮสติ้งผ่าน FileZilla



59



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 เมื่อเชื่อมต่อกับเว็บโฮสติ้งได้แล้ว คุณจะเห็นไฟล์/โฟลเดอร์ที่อยู่ในระบบเว็บ



โฮสติ้งปรากฏขึ้นมาในเฟรมด้านขวามือของโปรแกรม FileZilla ดังภาพ 2-19 (ส่วนเฟรม ด้านซ้ายมือจะเห็นไฟล์/โฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง) เห็นแล้วให้คณ ุ คลิกเข้าไปใน โฟลเดอร์ที่เป็น Web Root ซึ่งหมายถึงโฟลเดอร์ที่จะใช้จัดเก็บข้อมูลบล็อกหรือเว็บไซต์ ของเรา โดยปกติโฟลเดอร์ที่เป็น Web Root นี้จะเป็นโฟลเดอร์ที่ชื่อ public_html หรือไม่ ก็ httpdocs ครับ ตามตัวอย่างนี้โฟลเดอร์ที่เป็น Web Root ของผมคือโฟลเดอร์ public_html ผม ก็ต้องดับเบิลคลิกที่โฟลเดอร์ดังกล่าวในเฟรมด้านขวามือ เพื่อเปิดเข้าไปในโฟลเดอร์ public_html นี้



3



ภาพ 2-19 ดับเบิลคลิกที่โฟลเดอร์ Web Root



60



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



4 ปกติแล้วเราจะเห็นไฟล์และโฟลเดอร์จ�ำนวนหนึ่งถูกจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่



เป็น Web Root ดังกล่าว มันคือไฟล์ที่ระบบเว็บโฮสติ้งเตรียมเผื่อไว้ให้ แต่เราไม่จ�ำเป็น ต้องใช้งานไฟล์พวกนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรลบไฟล์/โฟลเดอร์ทั้งหมดที่เห็นในโฟลเดอร์ Web Root นี้ทิ้งไปให้หมดเพื่อป้องกันความสับสน และป้องกันไม่ให้เกิดความซ�้ำซ้อนขึ้น มา วิธีการลบไฟล์/โฟลเดอร์คือให้คลิกเลือกไฟล์/โฟลเดอร์ทั้งหมด จากนั้นคลิกขวาแล้ว เลือกค�ำสั่ง Delete ครับ ดูภาพ 2-20



4



ภาพ 2-20 สั่งลบไฟล์/โฟลเดอร์ใน Web Root



5 เมื่อเห็นหน้าต่างย่อยเปิดขึ้นมาถามยืนยัน ก็คลิกปุ่ม Yes ไปเลย ดูภาพ 2-21 61



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



5 ภาพ 2-21 คลิกปุ่ม Yes



6 พอโฟลเดอร์ Web Root ของเราว่างแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องสั่งอัปโหลดไฟล์



และโฟลเดอร์ส่วนประกอบทั้งหมดของ WordPress ขึ้นไปไว้ใน Web Root นี้ วิธีการคือ ให้คลิกเลือกไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดของ WordPress ในเฟรมด้านซ้ายมือ แล้วแดร็ก เมาส์ลากไปวางในเฟรมด้านขวามือครับ ดูภาพ 2-22 ประกอบ



6



62



ภาพ 2-22 อัปโหลดไฟล์ขึ้นเว็บโฮสติ้ง



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



สั่งอัปโหลด WordPress ขึ้นสู่เว็บโฮสติ้งแล้ว เราก็รอให้การอัปโหลดเสร็จสิ้นสักครู่ การอัปโหลดนี้จะใช้เวลานานแค่ไหนขึ้นอยู่กับความเร็วอินเทอร์เน็ตของคุณครับ แต่โดย ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น เมื่อการอัปโหลดเสร็จสิ้น คุณก็ปิดโปรแกรม FileZilla ไปได้เลย และนั่นก็หมายความว่าเราพร้อมที่จะติดตั้ง WordPress กันได้แล้ว



ขั้นตอนการสั่งติดตั้ง WordPress ไฟล์และโฟลเดอร์สว่ นประกอบทัง้ หมดของระบบ WordPress ถูกอัปโหลดขึน้ ไปไว้ ในเว็บโฮสติ้งพร้อมแล้ว เราเหลือขั้นตอนที่ต้องลงมือท�ำแค่อีกขั้นตอนเดียว นั่นคือสั่งติด ตั้ง WordPress ให้เรียบร้อย (เหมือนเวลาเราดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ มาใช้งาน เราก็ ต้องสั่งติดตั้งมันลงในคอมพิวเตอร์ด้วยจริงมั้ยล่ะ) ขั้นตอนการติดตั้ง WordPress นั้นง่าย นิดเดียวครับ ง่ายกว่า CMS ตัวอื่นๆ เยอะ เราแค่ต้องกรอกข้อมูลนิดหน่อย ทุกอย่างก็ เรียบร้อยโรงเรียน WordPress แล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปลองสั่งติดตั้ง WordPress กันเลยครับ 1 คลิกเข้าไปทีเ่ ว็บไซต์ของคุณตามโดเมนเนมทีจ่ ดไว้ อย่างกรณีของผม ผมก็ตอ้ ง คลิกเข้าไปที่ www.booklism.com ดูภาพ 2-23 (ส่วน URL ที่เหลือคือ /wp-admin/install. php ซึง่ เห็นอยูใ่ นภาพประกอบ จะปรากฏขึน้ มาโดยอัตโนมัติ เราไม่จำ� เป็นต้องพิมพ์ลงไป) 2 ตั้งค่าให้บล็อกของเราดังต่อไปนี้ •  Site Title ตั้งชื่อบล็อกลงไป (ตั้งเป็นภาษาไทยก็ได้นะครับ) •  Username ก�ำหนดชื่อยูสเซอร์ของเรา (ค่าดีฟอลต์คือ admin) •  Password, twice ก�ำหนดพาสเวิรด์ โดยต้องกรอกพาสเวิรด์ ลงไปทัง้ ในช่องว่าง ช่องบนและช่องล่าง •  Your E-mail กรอกอีเมลแอดเดรสของเรา 63



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  Privacy ตั้งค่าเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ค�ำสั่ง Allow search engines to index



this site. ซึ่งหมายถึงอนุญาตให้เสิร์ชเอนจิ้นเข้ามาเก็บข้อมูลในบล็อกของเราจะถูกเลือก อยูแ่ ล้ว เราจึงไม่ตอ้ งท�ำอะไรครับ (อย่าคลิกเอาเครือ่ งหมาย หน้าค�ำสัง่ Allow search engines to index this site. ออกนะครับ ไม่งั้นจะไม่มีใครหาเราเจอผ่านเสิร์ชเอนจิ้นเลย) 3 คลิกปุ่ม Install WordPress 1



2



3 64



ภาพ 2-23 สั่งติดตั้ง WordPress



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



4 การติดตั้ง WordPress เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ง่ายมั้ยล่ะ ในขั้นตอนนี้เรา



สามารถคลิกปุ่ม Log In เพื่อล็อกอินเข้าสู่ Dashboard ของ WordPress ได้เลย ดูภาพ 2-24 ซึ่ง Dashboard นี้เป็นเหมือนศูนย์กลางในการบริหารจัดการบล็อกของเราในทุกรูป แบบครับ (ผมขอไม่แคปเจอร์ภาพ Dashboard ของ WordPress มาให้ดูในบทนี้นะครับ เพราะเดีย๋ วบทหน้าและอีกหลายๆ บท เราจะได้เห็น Dashboard กันอีกนับครัง้ ไม่ถว้ นจน คุณเอียนเลยละ)



4



ภาพ 2-24 คลิกปุ่ม Log In



ส�ำหรับใครที่อยากเห็นว่าหน้าตาของบล็อกหลังติดตั้ง WordPress เสร็จใหม่ๆ จะ ออกมาเป็นแบบไหน ก็ลองดูตวั อย่างได้ในภาพ 2-25 โดยหลังจากติดตัง้ WordPress แล้ว เราจะเห็นบทความที่ชื่อ Hello world! แสดงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ บทความนี้เป็นบทความ ตัวอย่างสั้นๆ ที่ระบบ WordPress สร้างไว้ให้เราครับ (เราลบทิ้งได้) 65



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 2-25 ตัวอย่างบล็อกหลังติดตั้ง WordPress



ติดตั้ง WordPress ผ่านแอปพลิเคชันใน Web Hosting แม้เราจะติดตั้ง WordPress กันไปเรียบร้อย แต่ผมก็ยังอยากพูดถึงวิธีการติดตั้ง WordPress แถมท้ายให้คุณอีกสักหัวข้อ เผื่อจะได้เป็นทางเลือกส�ำหรับคนที่ไม่ชอบอะไร ยุ่งยาก หรือรู้สึกว่าการติดตั้ง WordPress ด้วยตัวเองเป็นเรื่องยากเย็นเกินความสามารถ วิธีการพื้นฐานของการติดตั้ง WordPress ก็เหมือนที่เราได้เห็นกันไปแล้ว คือเริ่ม ตั้งแต่สร้างฐานข้อมูลเอง, ดาวน์โหลด WordPress มาเอง, แก้ไขไฟล์ wp-config-sample. php เอง, อัปโหลด WordPress ขึ้นเว็บโฮสติ้งเอง และเข้าไปสั่งติดตั้ง WordPress เอง แต่ 66



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



ถ้าคุณไม่อยากท�ำทั้งหมดนี้ด้วยตัวเอง ก็อาจมีอีกทางเลือกหนึ่งคือการใช้แอปพลิเคชัน (Application) บางตัวมาช่วย และสาเหตุทผี่ มใช้คำ� ว่า “อาจมีอกี ทางเลือก” ก็เพราะว่า ไม่ใช่ ว่าระบบเว็บโฮสติง้ ทุกแห่งจะมีแอปพลิเคชันท�ำนองนีไ้ ว้ให้เราใช้ ผูใ้ ห้บริการเว็บโฮสติง้ บาง แห่งก็อาจติดตั้งแอปพลิเคชันแนวนี้ไว้ให้บริการเรา แต่เว็บโฮสติ้งบางแห่งก็อาจไม่มีให้ใช้ คุณคงต้องเข้าไปส�ำรวจ Control Panel ของเว็บโฮสติง้ ทีค่ ณ ุ ใช้บริการอยูด่ เู อาเองว่า มีแอปพลิเคชันอย่างทีว่ า่ นีห้ รือเปล่า หรือจะใช้วธิ โี ทรศัพท์ไปสอบถามก็ได้ แต่กรณีของเว็บ โฮสติ้งที่ผมใช้งานอยู่ ผมพบว่ามีแอปพลิเคชันที่ช่วยท�ำงานท�ำนองนี้เตรียมไว้ให้ด้วย คือ แอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Installatron ครับ (ดูภาพ 2-26) แอปพลิเคชันตัวนี้นอกจากจะช่วย ติดตั้ง WordPress ได้แล้ว ยังติดตั้ง CMS ตัวอื่นๆ ได้อีกเป็นสิบๆ ตัวเลยครับ



ภาพ 2-26 ตัวอย่างแอปพลิเคชันส�ำหรับติดตั้ง WordPress



67



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ข้อดีของการติดตั้ง WordPress ผ่านแอปพลิเคชันในระบบเว็บโฮสติ้งนี้ก็คือ เราไม่ ต้องเสียเวลาดาวน์โหลด-อัปโหลด WordPress ด้วยตัวเอง แค่เข้าไปสั่งติดตั้ง WordPress ผ่านแอปพลิเคชันที่ว่านี้ เราก็สามารถติดตั้ง WordPress เสร็จเรียบร้อยโดยที่เราแค่ต้อง คลิกและกรอกข้อมูลครั้งสองครั้งเท่านั้นเองครับ



รู้จักกับ WordPress Multisite คนทีค่ นุ้ เคยกับ WordPress มาบ้างน่าจะเคยได้ยนิ ค�ำว่า WordPress Multisite หรือ ที่เรียกกันย่อๆ ว่า WordPress MU แต่ถ้าคุณเพิ่งเคยลองใช้ WordPress คุณก็อาจไม่รู้ว่า WordPress MU มันคืออะไร มีไว้ใช้ท�ำอะไร ผมคงต้องเริม่ ต้นอธิบายแบบนีค้ รับ ปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะสร้างบล็อกแค่ 1 บล็อก ต่อ 1 โดเมนเนม อย่างเช่นบล็อกของผมก็อยู่ที่ www.booklism.com เท่านั้น แต่ก็มีบาง คนครับทีต่ อ้ งการสร้างซับโดเมน (Subdomain) ขึน้ มาด้วย ซับโดเมนนีก้ เ็ ป็นเหมือนบล็อก หรือเว็บไซต์ย่อยๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่เว็บโฮสติ้งเดียวกัน แต่จะมี URL ต่างกัน โดยซับ โดเมนของบล็อกจะมีรูปแบบ URL เป็น... http://ซับโดเมน/โดเมนเนมหลัก ตัวอย่างเช่นโดเมนเนมหลักของผมเป็น http://www.booklism.com แล้วผมสร้างซับ โดเมนโดยตั้งชื่อเป็น sale ผมก็จะได้ URL ของซับโดเมนนี้เป็น http://sale.booklism.com ประโยชน์ของซับโดเมนก็คือ ช่วยให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์หรือบล็อกขึ้นมาได้ มากกว่า 1 บล็อกโดยใช้โดเมนเนมหลักเดียวกัน (ไม่ตอ้ งไปจดโดเมนเนมใหม่) ตัวอย่างเช่น ผมสร้างบล็อกไว้ภายใต้โดเมนเนม http://www.booklism.com เพื่อใช้เผยแพร่บทความ วิจารณ์หนังสือ แล้วผมก็สร้างบล็อกอีกบล็อกขึน้ มาภายใต้ซบั โดเมน http://sale.booklism. com เพือ่ ขายหนังสือกันโดยเฉพาะ แบบนีก้ จ็ ะท�ำให้ทงั้ บล็อก http://www.booklism.com 68



ลงมือติดตั้ง WordPress



บทที่ 2



กับ http://sale.booklism.com อยู่คนละส่วนต่างหากกัน แล้วก็มีหน้าตาแตกต่างกันตาม ที่เราต้องการ อย่างไรก็ตาม การสร้างบล็อกภายใต้ซับโดเมนย่อยๆ แบบนี้มีข้อเสียที่ว่า ต้องเสีย เวลามาสร้างฐานข้อมูลและสั่งติดตั้ง WordPress ใหม่ทั้งหมด จะท�ำบล็อกใหม่ภายใต้ซับ โดเมน 1 บล็อก ก็ต้องสร้างฐานข้อมูลและติดตั้ง WordPress ใหม่ 1 ครั้ง ถ้าจะท�ำบล็อก ใหม่ภายใต้ซับโดเมนต่างกันสักห้าหกบล็อก คงต้องนั่งติดตั้ง WordPress กันปวดหัวแน่ แล้วการบริหารจัดการบล็อกเหล่านี้ก็ท�ำได้ยาก เพราแต่ละบล็อกเป็นอิสระจากกัน ไม่มี อะไรเกี่ยวข้องกัน (ยกเว้นอาศัยโดเมนเนมหลักเดียวกัน) ทีมผู้พัฒนา WordPress จึงแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยการสร้าง WordPress MU ขึ้นมา ครับ โดย WordPress MU ก็คือ WordPress ที่รองรับการสร้างบล็อกมากกว่า 1 บล็อก ด้วยตัวของมันเอง เราจึงสร้างและบริหารจัดการบล็อกหลายๆ บล็อกได้จากที่เดียวกัน แบบนี้การสร้างบล็อกใหม่ขึ้นมาภายใต้ซับโดเมนเพื่อใช้งานแยกย่อยไปจากบล็อก หลัก หรือสร้างซับโดเมนแบ่งให้คนอื่นไปสร้างบล็อกโดยใช้เว็บโฮสติ้งเดียวกับเรา ก็จะ สามารถท�ำได้ง่ายๆ แต่ทั้งนี้เราจะสร้างซับโดเมนได้หรือไม่ได้ หรือสร้างได้มากน้อยแค่ ไหน ก็ขนึ้ อยูก่ บั ข้อก�ำหนดของผูใ้ ห้บริการเว็บโฮสติง้ ทีใ่ ช้งานอยู่ รวมถึงขึน้ อยูก่ บั แพ็กเกจ เว็บโฮสติ้งที่เราเลือกด้วย (การสร้างซับโดเมนเราต้องเข้าไปสร้างผ่าน Control Panel ของเว็บโฮสติ้ง โดยคลิกค�ำสั่ง Subdomain Management หรือค�ำสั่งที่มีชื่อใกล้เคียงกัน) ก่อนหน้านี้ WordPress MU ถูกสร้างเป็นอีกเวอร์ชันแยกต่างหากจาก WordPress ปกติ แต่ปัจจุบันทีมงาน WordPress ได้รวมความสามารถด้าน Multisite เข้าไว้เป็นฟีเจอร์ หนึ่งในตัว WordPress เวอร์ชันปกติให้เราแล้ว เราจึงสามารถใช้งานระบบ Multisite ได้ เหมือนกันทุกคน เพียงแต่เราต้องรู้วิธีตั้งค่าเพื่อเปิดการท�ำงานของระบบ Multisite นี้ ขั้นตอนการเปิดการท�ำงานของฟีเจอร์ Multisite เริ่มตั้งแต่การสร้างซับโดเมนขึ้น มาก่อน จากนั้นก็มาแก้ไขไฟล์ wp-config.php แล้วก็ค่อยเข้ามาสร้างบล็อกใหม่ในหน้า 69



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



Dashboard ของ WordPress อีกที รายละเอียดเรื่องระบบ Multisite ของ WordPress นี้ มีค่อนข้างเยอะ ถ้าจะแสดงตัวอย่างให้ดูคงต้องเขียนกันยาวหลายหน้ากระดาษ ผมจึงขอ อนุญาตอธิบายแต่เพียงคร่าวๆ เท่านีน้ ะครับ ถ้าคุณสนใจจะใช้งานฟีเจอร์ Multisite จริงๆ ละก็ รบกวนเข้าไปศึกษาข้อมูลและวิธีการจากลิงก์ด้านล่างนี้ครับ... http://codex.wordpress.org/Create_A_Network http://wordthai.com/wordpress-multisite/



70



บทที ่ 3 ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



อันทีจ่ ริงหลังจากทีต่ ดิ ตัง้ WordPress เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราสามารถ เริม่ ต้นเขียนบทความลงเผยแพร่ หรือจัดการกับอะไรต่อมิอะไรในบล็อกได้เลย แต่ถา้ คุณไม่เคยใช้งาน WordPress มาก่อน คุณก็ไม่มีทางรู้ว่าตรงไหนมีไว้ใช้ท�ำอะไร หรือเวลาเราจะ ท�ำนั่นท�ำนี่กับบล็อก เราต้องคลิกเข้าไปที่ไหน หรือใช้ค�ำสั่งไหน เพราะฉะนั้นในบทนี้ผมจึงจะพาคุณไป รู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของ WordPress ให้มากขึ้นกันก่อน ซึ่งสิ่งที่เราควรท�ำความรู้จักมากที่สุด ก็คือหน้า Dashboard ของ WordPress ครับ เพราะหน้า Dashboard ถือเป็นจุดศูนย์กลางในการ บริหารจัดการทุกสิ่งทุกอย่างในบล็อก ผมจะพาคุณไปส�ำรวจตรวจตรา Dashboard ของ WordPress แบบละเอียดทุกอณู ทั้ง โมดูลต่างๆ ในหน้า Dashboard, ทั้งทูลบาร์ที่บรรจุค�ำสั่งต่างๆ, ทั้งการตั้งค่า Screen Options ให้ Dashboard และอื่นๆ ยอมเสียเวลาศึกษาเนื้อหาในบทนี้สักนิด รับรองว่าคุณจะจัดการทุกอย่างใน WordPress ได้ดังใจแน่นอนครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



การเข้าสู่ Dashboard ของ WordPress ในหัวข้อ “ขั้นตอนการสั่งติดตั้ง WordPress” ของบทที่ 2 ซึ่งเราได้ลองสั่งติดตั้ง WordPress กันไปแล้วนั้น คุณจะเห็นว่าหลังจากติดตั้ง WordPress เสร็จ เราสามารถ คลิกปุ่ม Log In เพื่อล็อกอินเข้าสู่หน้า Dashboard ของ WordPress ได้ทันที แต่หลังจาก นั้นล่ะ คุณรู้หรือเปล่าว่าหากต้องการล็อกอินเข้าสู่หน้า Dashboard อีกครั้ง คุณต้องคลิก เข้าไปที่ไหนยังไง เรื่องนี้ไม่ยากเลยครับ ทุกครั้งที่คุณต้องการล็อกอินเข้าสู่หน้า Dashboard ของ WordPress คุณก็แค่คลิกเข้าไปที่นี่... http://www.sample.com/wp-admin/ (ตรง sample.com คุณต้องกรอกโดเมนเนมจริงๆ ของคุณลงไปนะครับ) กรณีที่คุณล็อกอินอยู่ในระบบอยู่แล้ว คุณจะเข้าสู่หน้า Dashboard โดยอัตโนมัติ ทันที แต่ถ้าคุณไม่ได้ล็อกอินอยู่ในระบบ หรือล็อกเอาต์ออกมาแล้ว คุณจะเห็นช่องว่าง ส�ำหรับกรอกยูสเซอร์เนมและพาสเวิรด์ ดังภาพ 3-1 คุณก็แค่กรอกยูสเซอร์เนมและพาสเวิรด์ ลงไป จากนั้นคลิกปุ่ม Log In แค่นี้คุณก็ล็อกอินเข้าสู่หน้า Dashboard ของ WordPress ได้แล้วครับ (ถ้าต้องการให้ระบบจดจ�ำยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดไว้ เพื่อว่าครั้งต่อไปจะได้ ล็อกอินเข้าสู่ Dashboard ได้ทนั ทีโดยไม่ตอ้ งเสียเวลากรอกอะไรอีก ก็ให้คลิกใส่เครือ่ งหมาย หน้าค�ำสั่ง Remember Me ไว้ด้วย)



72



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



ภาพ 3-1 กรอกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดเพื่อล็อกอิน



วิธีคลิกเข้าสู่หน้า Dashboard ของ WordPress ยังมีวิธีง่ายๆ อีกวิธีหนึ่งครับ แต่ วิธีนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อคุณล็อกอินอยู่ในระบบเรียบร้อยแล้ว วิธีที่ว่าก็คือให้คุณคลิกเข้าไป ที่บล็อกของคุณ จะสังเกตเห็นว่าด้านบนบล็อกจะปรากฏทูลบาร์ (Toolbar) อยู่ (หากเรา ไม่ได้ล็อกอินอยู่ในระบบ จะไม่เห็นทูลบาร์นี้) เมื่อต้องการไปที่หน้า Dashboard คุณก็แค่ เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยู่เหนือชื่อบล็อกบริเวณซ้ายมือของทูลบาร์ คุณจะเห็นค�ำสั่ง ต่างๆ ปรากฏออกมาให้คลิกเลือก แค่คลิกที่ค�ำสั่ง Dashboard ซึ่งอยู่บนสุด ก็จะเป็นการ เปิดเข้าสู่หน้า Dashboard ทันทีเลยครับ



73



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 3-2 คลิกค�ำสั่ง Dashboard ในทูลบาร์



รู้จักกับ Dashboard ของ WordPress Dashboard เป็นเหมือนหัวใจของ WordPress ถ้าเปรียบบล็อกของเราเป็นกองทัพ หน้า Dashboard ก็เทียบได้กับกองบัญชาการอะไรประมาณนั้น ไม่ว่าเราต้องการจัดการ อะไรกับบล็อก เราก็ต้องเข้าไปจัดการผ่านหน้า Dashboard ทั้งสิ้น ฉะนั้นแล้วเราจึงต้อง มาท�ำความรู้จัก Dashboard ของ WordPress กันให้แจ่มแจ้งหน่อย เราจะได้ควบคุมดูแล บล็อกได้ตามต้องการทุกอย่างไงล่ะ ถ้าจะจัดแบ่งส่วนประกอบในหน้า Dashboard ของ WordPress ละก็ เราพอจะแบ่ง ได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้ครับ (ดูภาพ 3-3)



74



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



A B



C D



ภาพ 3-3 ส่วนประกอบในหน้า Dashboard



A ทูลบาร์ (Toolbar) เป็นแถบค�ำสัง่ ด้านบนสุดของหน้า Dashboard หน้าทีส่ ำ� คัญ



ของทูลบาร์กค็ อื จะรวบรวมค�ำสัง่ ส�ำคัญๆ ไว้ให้เราเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว รายละเอียด ของค�ำสั่งต่างๆ ในทูลบาร์นี้ เดี๋ยวผมจะอธิบายอีกทีในหัวข้อ “Toolbar ของ WordPress ท�ำอะไรได้บ้าง” B ข้อความต้อนรับ มีไว้แสดงข้อความส�ำหรับต้อนรับเราเข้าสูร่ ะบบ WordPress รวมถึงมีลิงก์ส�ำหรับเปิดดูคู่มือการใช้งาน WordPress เตรียมไว้ให้เราด้วย ในข้อความ



75



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ต้อนรับนี้ยังมีส่วนของค�ำสั่งส�ำคัญๆ เตรียมไว้ให้เราใช้งาน ทั้งค�ำสั่งที่เกี่ยวกับการตั้งค่า เบือ้ งต้น (Basic Settings), ค�ำสัง่ เกีย่ วกับการเพิม่ บทความลงในบล็อก (Add Real Content) หรือค�ำสั่งเกี่ยวกับการปรับแต่งหน้าตาบล็อก (Customize Your Site) ข้อความต้อนรับนี้จะมีประโยชน์ส�ำหรับมือใหม่ เพราะจะช่วยแนะน�ำการใช้งาน WordPress ในขั้นต้นได้ แต่ถ้าคุณใช้ WordPress ไประยะหนึ่งจนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้ว ข้อความต้อนรับก็อาจเป็นสิ่งเกะกะสายตาในหน้า Dashboard ถ้าเป็นแบบนั้นคุณ ก็สามารถสั่งยกเลิกการแสดงข้อความต้อนรับนี้ได้ด้วยการคลิกค�ำสั่ง Dismiss บริเวณมุม ขวา-บนของข้อความต้อนรับครับ C เมนูบาร์ (Menu Bar) เป็นแถบค�ำสัง่ หลักของ WordPress ซึง่ แสดงอยูด่ า้ นซ้าย มือของ Dashboard เมนูบาร์นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่ส�ำคัญที่สุดใน Dashboard ของ WordPress เลยทีเดียวครับ เพราะค�ำสั่งทุกค�ำสั่งในการบริหารจัดการบล็อกของเราจะอยู่ ในเมนูบาร์นี้ทั้งหมด ในเมนูบาร์มีคำ� สั่งอะไรบ้าง ผมจะกลับมาอธิบายในหัวข้อ “เมนูค�ำสั่งของ WordPress” ครับ D โมดูลต่างๆ (Module) เป็นเหมือนเครือ ่ งมือย่อยๆ ทีม่ ลี กั ษณะเป็นเฟรมเล็กๆ หน้าที่ของโมดูลคือจะให้ข้อมูลหรือท�ำงานได้ด้านใดด้านหนึ่งแล้วแต่ความสามารถของ โมดูลนั้นๆ ครับ โมดูลในหน้า Dashboard มีความส�ำคัญในแง่ช่วยอ�ำนวยความสะดวก และช่วยรายงานข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเรา และเช่นเคย ผมจะยังไม่อธิบายอย่างละเอียดว่าในหน้า Dashboard ของ WordPress มีโมดูลอะไรบ้าง และแต่ละโมดูลท�ำหน้าทีอ่ ะไร เนือ่ งจากผมจะยกเรือ่ งนีไ้ ปอธิบาย อีกทีในหัวข้อ “ท�ำความรู้จักสารพัด Module ใน Dashboard” ครับ 76



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



Toolbar ของ WordPress ทำ�อะไรได้บ้าง ทูลบาร์ของ WordPress (ดูภาพ 3-4) เป็นแถบค�ำสั่งซึ่งอยู่ด้านบนสุด ค�ำสั่งที่อยู่ ในทูลบาร์เป็นค�ำสั่งที่เรามักใช้งานกันบ่อยๆ ครับ ทูลบาร์ของ WordPress ไม่ใช่จะแสดง ให้เห็นเฉพาะในหน้า Dashboard เท่านั้นนะครับ เวลาเราอยู่ที่หน้าบล็อกของเรา เราก็จะ เห็นทูลบาร์นี้ด้วย (แต่หมายความว่าเราต้องล็อกอินอยู่ในระบบ WordPress อยู่ก่อนแล้ว ด้วยนะครับ) ทูลบาร์ของ WordPress จึงช่วยให้เราบริหารจัดการบล็อกเบื้องต้นได้อย่าง ง่ายดายจากหน้าบล็อกของเราเอง



ภาพ 3-4 ทูลบาร์ของ WordPress



อยากรูว้ า่ บนทูลบาร์มคี ำ� สัง่ อะไรให้ใช้งานบ้าง เรามาเริม่ จากด้านซ้ายมือก่อน ด้าน ซ้ายสุดของทูลบาร์เราจะเห็นปุ่ม ปุ่มนี้มีไว้ใช้เรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับ WordPress รวมถึงมีลงิ ก์ทเี่ ชือ่ มโยงไปยังเว็บไซต์ WordPress.org ตลอดจนเว็บไซต์หรือเว็บเพจย่อยที่ เกี่ยวข้องกับ WordPress ถัดมาอีกนิดเราจะเห็นชื่อบล็อกของเราเอง (ชื่อบล็อกในภาพ ตัวอย่างคือ “Booklism.com | วิจารณ์หนังสือทุกแนวแบบมื...” เมือ่ คลิกทีช่ อื่ บล็อกนีข้ ณะ อยู่ในหน้า Dashboard เราจะเห็นค�ำสั่ง Visit Site ส�ำหรับเปิดดูหน้าบล็อกของเรา แต่ถ้า เราอยูท่ หี่ น้าบล็อก เมือ่ คลิกทีช่ อื่ บล็อกนีเ้ ราจะเห็นค�ำสัง่ ส�ำหรับบริหารจัดการบล็อกแทน เช่น ค�ำสั่ง Dashboard ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Dashboard, ค�ำสั่ง Theme ส�ำหรับเปลี่ยน ธีมให้บล็อก หรือค�ำสั่ง Customize ส�ำหรับปรับแต่งหน้าตาหรือการแสดงผลของบล็อก เป็นต้น 77



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ถัดจากชือ่ บล็อกมา เราจะเห็นปุม่ ครับ ปุม่ นีม้ ไี ว้แสดงคอมเมนต์ของผูอ้ า่ น ที่รอการตรวจสอบจากเรา (ปกติแล้วเมื่อมีคนเข้ามาเขียนคอมเมนต์ในบล็อก คอมเมนต์ นั้นจะยังไม่แสดงผ่านบล็อกในทันที แต่เราต้องเป็นคนเข้ามาตรวจสอบและอนุญาตก่อน) ถัดมาอีกนิดจะเป็นปุ่ม ปุ่มนี้มีไว้ใช้สร้างไอเท็มใหม่ๆ ให้บล็อก เช่น สร้าง บทความใหม่, สร้างไฟล์มีเดียใหม่, สร้างลิงก์ใหม่ หรือสร้างเพจใหม่ เป็นต้น มาถึงด้านขวาสุดของทูลบาร์ เราจะเห็นยูสเซอร์เนมของตัวเองแสดงอยู่ เมื่อเลื่อน เมาส์พอยน์เตอร์ไปอยู่เหนือยูสเซอร์เนมนี้ เราจะเห็นค�ำสั่งส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับยูสเซอร์ อย่างเรา แต่เรื่องนี้เดี๋ยวผมจะขอขยายความต่อในหัวข้อ “วิธีแก้ไขข้อมูลส่วนตัวและ Log Out” นะครับ นอกจากนี้ขณะที่เราอยู่ที่หน้าบล็อก เรายังจะเห็นปุ่มค�ำสั่ง ปรากฏอยู่ด้าน ขวาสุดของทูลบาร์ด้วย (แต่ถ้าเราอยู่ที่ Dashboard จะไม่มีปุ่มนี้ให้ใช้งาน) ปุ่มที่ว่านี้มีไว้ใช้ เสิรช์ หาบทความทีเ่ ราต้องการ โดยเมือ่ เราคลิกทีป่ มุ่ นี้ เราจะเห็นช่องส�ำหรับกรอกคียเ์ วิรด์ ที่ต้องการค้นหาลงไปครับ



เมนูคำ�สั่งของ WordPress มาถึงหัวใจส�ำคัญของหน้า Dashboard แล้วครับ อย่างที่ผมเคยบอกไปแล้วว่าใน หน้า Dashboard ของ WordPress น่ะ ไม่มีส่วนประกอบไหนจะส�ำคัญไปกว่าเมนูบาร์อีก แล้ว เพราะเมนูบาร์เป็นแหล่งรวบรวมค�ำสั่งทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบของ WordPress ไม่ว่า เรานึกอยากท�ำอะไรกับบล็อก เราก็ต้องเข้ามาคลิกค�ำสั่งที่เมนูบาร์นี่แหละ ลองมาไล่กันดูทีละค�ำสั่งเลยครับว่า มีค�ำสั่งอะไรรอให้เราเรียกใช้ในเมนูบาร์บ้าง และแต่ละค�ำสั่งเอาไว้ใช้ท�ำอะไร (ดูภาพ 3-5 ประกอบ)



78



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



ภาพ 3-5 เมนูบาร์ ของ WordPress



Dashboard เมนูนี้ไม่ได้ใช้ส�ำหรับท�ำอะไร แต่มีไว้คลิกกลับสู่หน้าหลักของ Dashboard และใช้สำ� หรับสั่งอัปเดต WordPress ครับ ในเมนู Dashboard ยังมีเมนูย่อย อีก 2 เมนู ได้แก่... •  Home ใช้สำ� หรับเปิดกลับมาที่หน้า Dashboard นั่นเอง ทุกครั้งที่เราคลิกเข้าไป ในเมนูยอ่ ยอืน่ ๆ แล้วต้องการกลับมายังหน้าหลักของ Dashboard เราก็แค่คลิกทีเ่ มนูยอ่ ย Home นี้ (หรือจะคลิกที่ตัวเมนู Dashboard โดยตรงก็ได้ผลเหมือนกัน) •  Updates ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า WordPress Updates ซึ่งมีไว้ตรวจสอบการ อัปเดตของ WordPress ถ้าพบว่ามีการออกเวอร์ชันใหม่ๆ มา เราก็สั่งอัปเดตได้ทันที Posts เมนูนี้ใช้สำ� หรับจัดการกับบทความในบล็อก (ผมอาจยังไม่เคยบอกว่า 79



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ใน WordPress จะเรียกบทความว่า “โพสต์” (Post) เวลาเอ่ยถึงบทความ ผมอาจใช้คำ� ว่า “โพสต์” และค�ำว่า “บทความ” สลับกันนะครับ) ในเมนูนี้มีเมนูย่อยอีก 4 เมนู ได้แก่... •  All Posts ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Posts ซึ่งจะแสดงรายการบทความทั้งหมด ในบล็อก •  Add New ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสูห่ น้า Add New Post ซึง่ มีไว้เขียนบทความขึน้ มาใหม่ •  Categories ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Categories ซึ่งใช้จัดการกับแคเทอกอรีหรือ หมวดหมู่ของบทความ •  Tags ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Tags ซึ่งใช้จัดการแท็ก (Tag) ของบทความ แท็กนี้ เป็นเหมือนป้ายก�ำกับบทความที่บอกให้รู้ว่าบทความนั้นๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร Media เมนูนี้ใช้สำ� หรับจัดการกับไฟล์มีเดียในบล็อก ส่วนใหญ่แล้วไฟล์มีเดีย ก็คือไฟล์ภาพที่เราจะน�ำไปแทรกลงในบทความนั่นเอง ในเมนูนี้มีเมนูย่อยอีก 2 เมนู ได้แก่... • Library ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Media Library ซึ่งจะแสดงรายการไฟล์มีเดีย ทั้งหมดในบล็อก •  Add New ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Upload New Media ซึ่งมีไว้สั่งอัปโหลดไฟล์ มีเดียใหม่เข้าไปไว้ในบล็อก Links เมนูนใี้ ช้สำ� หรับจัดการลิงก์ทเี่ ชือ่ มโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก มีเมนูยอ่ ย ภายใต้เมนู Links นี้อีก 3 เมนู ได้แก่... •  All Links ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสูห่ น้า Links ซึง่ จะแสดงรายการลิงก์ทงั้ หมดในบล็อก •  Add New ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Add New Link ซึ่งใช้สร้างลิงก์ใหม่เพิ่มขึ้นมา •  Link Categories ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Link Categories ซึ่งใช้จัดการกับ แคเทอกอรีของลิงก์ Pages เมนูนใี้ ช้สำ� หรับจัดการกับเพจในบล็อก เพจนีก้ ค็ อื เว็บเพจย่อยๆ ทีเ่ รา 80



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



สร้างขึ้นมาเพื่อใช้น�ำเสนอเนื้อหาบางอย่างที่ไม่ต้องการให้ไปแสดงรวมกับบทความทั่วๆ ไป ภายใต้เมนูนี้มีเมนูคำ� สั่งย่อย 2 เมนู ได้แก่... •  All Pages ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Pages ซึ่งมีไว้แสดงรายการเพจทั้งหมดที่เรา เคยสร้างไว้ •  Add New ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Add New Page ซึ่งมีไว้สร้างเพจใหม่ขึ้นมา Comments เมนูนี้ใช้สำ� หรับจัดการกับคอมเมนต์ของผู้ชมบล็อก เมนู Comments นี้ไม่มีเมนูย่อย เมื่อคลิกที่เมนูนี้เราจะถูกพาไปยังหน้า Comments ซึ่งใช้ส�ำหรับ แสดงรายการคอมเมนต์และใช้จัดการคอมเมนต์ในลักษณะต่างๆ ในที่เดียวกัน Appearance เมนูนใี้ ช้ส�ำหรับปรับแต่งการแสดงผลของบล็อก หรือพูดง่ายๆ ก็คือเอาไว้ปรับแต่งหน้าตาบล็อกนั่นเอง เมนู Appearance มีเมนูย่อยด้วยกัน 7 เมนู ได้แก่... •  Theme ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Manage Themes/Install Themes ซึ่งเอาไว้ เปลี่ยนธีมให้บล็อก รวมถึงสั่งติดตั้งธีมใหม่ๆ •  Widgets ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Widgets ซึ่งใช้ส�ำหรับเพิ่มหรือลบวิดเจ็ต (Widget) ในบล็อก เจ้าวิดเจ็ตที่ว่านี้ก็คือเครื่องมือเสริมที่ท�ำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วิดเจ็ต Search ใช้ส�ำหรับค้นหาข้อมูลในบล็อก หรือวิดเจ็ต Recents Posts ใช้ แสดงบทความล่าสุดในบล็อก เป็นต้น เรามักเห็นวิดเจ็ตแสดงผลอยู่ด้านข้างของบล็อก •  Menus ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Menus ซึง่ มีไว้สร้างหรือจัดการกับเมนูในบล็อก •  Theme Options ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Theme Options ซึ่งมีไว้ตั้งค่าออปชัน ให้ธีมที่เราใช้งานอยู่ เช่น เลือกสีสัน หรือเลือกรูปแบบเลย์เอาต์ เป็นต้น •  Header ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Custom Header ซึ่งมีไว้กำ� หนดภาพเฮดเดอร์ ให้บล็อก (ภาพที่แสดงด้านบนสุด) 81



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  Background ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Custom Background ซึ่งมีไว้กำ� หนดภาพ



แบ็กกราวด์ให้บล็อก •  Editor ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Edit Themes ซึ่งมีไว้แก้ไขโค้ดของธีม เช่น แก้ไข ไฟล์ style.css หรือไฟล์ index.php ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของธีม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จ�ำนวนเมนูย่อยภายใต้เมนู Appearance ก็อาจมีมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธีมของบล็อกที่เราเลือกใช้ด้วย บางธีมอาจมีเมนูย่อยครบทั้ง 7 เมนู แต่บาง ธีมก็มีเมนูย่อยให้ใช้งาน 4 เมนู คือ Theme, Widgets, Menus และ Editor เป็นต้น ราย ละเอียดเกี่ยวกับเรื่องธีมของบล็อก เราจะไปศึกษากันในบทที่ 9 ครับ Plugins เมนูนใี้ ช้ส�ำหรับจัดการกับปลัก๊ อินของ WordPress ครับ ปลัก๊ อินเป็น เหมือนโปรแกรมเสริมทีเ่ ราหามาติดตัง้ เพิม่ เติมได้ เพือ่ เพิม่ ความสามารถในด้านต่างๆ ให้ บล็อก ภายใต้เมนูนี้ยังมีเมนูย่อยอีก 3 เมนูด้วยกัน ได้แก่... •  Installed Plugins ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Plugins ซึ่งจะแสดงรายการปลั๊กอิน ที่ติดตั้งไว้แล้ว •  Add New ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Install Plugins ซึ่งมีไว้สั่งติดตั้งปลั๊กอินใหม่ๆ เพิ่มเติม •  Editor ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Edit Plugins ซึ่งมีไว้แก้ไขโค้ดของปลั๊กอิน Users เมนูนใี้ ช้ส�ำหรับจัดการยูสเซอร์ในระบบ WordPress กรณีทมี่ หี ลายคน ร่วมกันบริหารบล็อก ในเมนู Users มีเมนูย่อยอยู่ 3 เมนู ได้แก่... •  All Users ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Users ซึ่งจะรายการยูสเซอร์ทั้งหมด •  Add New ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสูห่ น้า Add New User ซึง่ ใช้สร้างยูสเซอร์แอ็กเคาต์ ใหม่ขึ้นมา •  Your Profile ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสูห่ น้า Profile ซึง่ มีไว้แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของเราเอง 82



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



Tools เมนูนใี้ ช้สำ� หรับเรียกเปิดเครือ่ งมือเสริมในระบบ WordPress มีเมนูยอ่ ย ให้เลือกใช้อีก 3 เมนูด้วยกัน ได้แก่... •  Available Tools ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Tools ซึ่งจะแสดงรายการเครื่องมือ เสริมที่เรียกใช้งานได้ •  Import ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Import ซึ่งเอาไว้สั่งอิมพอร์ตหรือน�ำเข้าโพสต์ หรือคอมเมนต์จากบล็อกอื่นๆ •  Export ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Export ซึ่งเอาไว้เอ็กซ์พอร์ตหรือส่งออกข้อมูล ในบล็อกไปจัดเก็บไว้ Setting เมนูค�ำสั่งสุดท้ายนี้มีไว้ตั้งค่าเซตติ้งให้ WordPress ภายใต้เมนู Settings มีเมนูย่อยอยู่อีกถึง 7 เมนูด้วยกัน ได้แก่... •  General ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสูห่ น้า General Settings ซึง่ มีไว้ตงั้ ค่าพืน้ ฐานให้บล็อก เช่น การเปลี่ยนชื่อบล็อก เป็นต้น •  Writing ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสูห่ น้า Writing Settings ซึง่ มีไว้ตงั้ ค่าเกีย่ วกับการเขียน บทความ •  Reading ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Reading Settings ซึ่งมีไว้ตั้งค่าเกี่ยวกับการ แสดงผลบทความในหน้าบล็อก •  Discussion ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Discussion Settings ซึ่งมีไว้ตั้งค่าเกี่ยวกับ คอมเมนต์ในบล็อก •  Media ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Media Settings ซึ่งมีไว้ตั้งค่าเกี่ยวกับไฟล์มีเดีย ในบล็อก •  Privacy ใช้สำ� หรับเปิดเข้าสู่หน้า Privacy Settings ซึ่งมีไว้ตั้งค่าเกี่ยวกับความ เป็นส่วนตัวของบล็อก 83



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  Permalinks ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Permalink Settings ซึ่งมีไว้ตั้งค่าเกี่ยวกับ



รูปแบบ URL ของบล็อก ขอเก็บตกค�ำสัง่ ยิบย่อยทีไ่ ม่ได้พดู ถึงกันอีกนิด ด้านล่างสุดของเมนูบาร์คณ ุ จะสังเกต เห็นค�ำสั่ง Collapse menu อยู่ด้วย ค�ำสั่งนี้ไม่ใช่หนึ่งในเมนูค�ำสั่งในเมนูบาร์ แต่เป็นค�ำสั่ง ส�ำหรับย่อหรือขยายเมนูบาร์ครับ หากคุณรู้สึกว่าเมนูบาร์มันเกะกะสายตา หรือกีดขวาง การท�ำงาน ก็สามารถคลิกค�ำสั่ง Collapse menu เพื่อย่อเมนูบาร์ให้หดแคบเข้าไปด้าน ข้างได้ครับ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเมนูค�ำสั่งมากมายในเมนูบาร์แล้วอย่าเพิ่งงงหรือนึกท้อแท้นะ ครับ ตอนนี้คุณอาจยังไม่คุ้นเคยกับเมนูเหล่านี้ ไม่รู้ว่าเมนูไหนมีไว้ใช้ท�ำอะไร แต่เดี๋ยวพอ อ่านหนังสือเล่มนี้ไปเรื่อยๆ พร้อมกับลองใช้ WordPress ไปทีละส่วน คุณจะคุ้นเคยกับ เมนูเหล่านี้มากขึ้นเอง



ทำ�ความรู้จักสารพัด Module ใน Dashboard อีกส่วนประกอบส�ำคัญในหน้า Dashboard ของ WordPress คือพวกโมดูลต่างๆ (Module) ผมเคยพูดไปบ้างแล้วว่าโมดูลเหล่านี้เป็นเหมือนเครื่องมือช่วยที่มีลักษณะเป็น เฟรมย่อยๆ ขนาดเล็ก โมดูลแต่ละตัวมีหน้าทีใ่ ห้ขอ้ มูลกับเราในเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ หรืออาจ ช่วยท�ำงานให้เราในด้านใดด้านหนึ่งแล้วแต่ความสามารถของมัน ในหน้า Dashboard มีโมดูลอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 โมดูล เราไปดูกันดีกว่าว่าแต่ละ โมดูลมีหน้าที่อะไรกันบ้าง (ดูภาพ 3-6 ประกอบ)



84



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



ภาพ 3-6 โมดูลในหน้า Dashboard



Right Now โมดูลนี้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับโพสต์และคอมเมนต์ใน บล็อก เช่น มีบทความกี่บทความแล้ว มีคนเข้ามาคอมเมนต์กี่ครั้งแล้ว เป็นต้น 85



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



Quick Press โมดูลนี้ใช้สำ� หรับเขียนบทความแบบด่วนจี๋ ช่วยให้เราไม่ต้อง คลิกเมนู Post > Add New เพื่อเข้าไปเขียนบทความในหน้า Add New Post แต่อย่างไร ก็ตามเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการเขียนบทความในโมดูลนี้ Quick Press ก็จะมีน้อยกว่า ในหน้า Add New Post Recent Comments โมดูลนีใ้ ช้แสดงข้อมูลเกีย่ วกับคอมเมนต์ในบล็อก เช่น ว่า มีใครเพิง่ คอมเมนต์บทความของเรา คนคนนัน้ เขียนคอมเมนต์วา่ อะไร หรือมีคอมเมนต์ ที่รอการตรวจสอบจากเราอยู่กี่คอมเมนต์ เป็นต้น Recent Draft โมดูลนี้ใช้แสดงรายการบทความล่าสุดที่เราบันทึกเป็นฉบับ ร่างไว้ (Draft) แต่ยังไม่ได้สั่งเผยแพร่ Incoming Links โมดูลนีม้ หี น้าทีร่ ายงานว่ามีบล็อกไหนในโลกออนไลน์ทสี่ ง่ ลิงก์มาหาบล็อกของเราบ้าง โดยข้อมูลนี้จะได้มาจากระบบ Google Blog Search WordPress Blog โมดูลนีจ้ ะแสดงบทความล่าสุดของบล็อกของทาง WordPress เอง Plugins โมดูลนี้จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับปลั๊กอินต่างๆ เช่น ปลั๊กอินที่ได้รับ ความนิยมสูง หรือปลั๊กอินเข้าใหม่ เป็นต้น Other WordPress News โมดูลสุดท้ายนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้ว มันมีหน้าที่ รายงานหัวข้อข่าวทีเ่ กีย่ วข้องกับ WordPress โดยส่วนใหญ่แล้วข่าวพวกนีจ้ ะมาจากเว็บไซต์ http://wordpress.tv/



ปุ่ม Screen Options และปุ่ม Help ผมอธิบายส่วนประกอบต่างๆ ในหน้า Dashboard ของ WordPress ไปเกือบครบ ถ้วนแล้ว ที่พูดว่า “เกือบ” ก็เพราะมันยังไม่ครบถ้วนซะทีเดียวน่ะสิครับ เพราะบริเวณมุม 86



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



ขวา-บนของ Dashboard ต�่ำกว่าทูลบาร์ลงมานิดเดียว เราจะเห็นปุ่มค�ำสั่งอีก 2 ปุ่ม คือ ปุ่ม Screen Options และปุ่ม Help ครับ ในส่วนของปุ่ม Help น่ะไม่มีอะไรให้ต้องพูดถึง มาก เพราะเราไม่ค่อยได้ใช้งานกัน แต่สำ� หรับปุ่ม Screen Options เราควรท�ำความรู้จัก เอาไว้ เนื่องจากมีประโยชน์ต่อการใช้งาน WordPress พอสมควรเลยทีเดียว หน้าทีข่ องปุม่ Screen Options คือมีไว้ควบคุมการแสดงผลของส่วนประกอบต่างๆ ใน Dashboard ครับ ขณะที่เราอยู่ในหน้าหลักของ Dashboard หากลองคลิกปุ่ม Screen Options เราจะเห็นว่าสามารถตั้งค่าการแสดงผลของ Dashboard ได้ใน 2 หัวข้อหลักๆ (ดู ภาพ 3-7 ไปด้วยนะครับ) หัวข้อแรกคือ Show on screen มีไว้ตงั้ ค่าว่าจะให้โมดูลไหนแสดง ผลบ้าง (ค่าดีฟอลต์คอื แสดงผลทุกโมดูล) และหัวข้อทีส่ องคือ Screen Layout มีไว้ตงั้ ค่าว่า จะให้หน้า Dashboard นี้แสดงผลเป็นกี่คอลัมน์ (ค่าดีฟอลต์คือ 2 คอลัมน์)



ภาพ 3-7 ตั้งค่า Screen Options



87



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



แต่คุณอย่าเพิ่งเข้าใจว่าการตั้งค่า Screen Options นี้จะเหมือนกันหมดในทุกเมนู นะครับ หากเราคลิกเข้าไปในเมนูย่อยต่างๆ ในหน้า Dashboard เราก็จะตั้งค่า Screen Options ได้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่หน้าไหน และในหน้านั้นมีส่วนประกอบ อะไรที่สามารถตั้งค่าการแสดงผลได้บ้าง ปุ่ม Screen Options นี้จึงมีประโยชน์ในแง่ที่ว่า ช่วยให้เราปรับแต่งการแสดงผลของ Dashboard ให้สอดคล้องกับการท�ำงานของเราได้ เช่นว่า เราไม่ค่อยได้ใช้งานส่วนประกอบบางอย่างในหน้า Dashboard เราก็สั่งให้ซ่อนมัน ซะ มันจะได้ไม่แสดงผลให้เกะกะสายตา มาพูดถึงปุ่ม Help กันสักนิด ปุ่ม Help นี้มีไว้เรียกดูคู่มือการใช้งาน WordPress ใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเมนูย่อยนั้นๆ ตัวอย่างเช่น หากเราก�ำลังจะเขียนบทความแล้วคลิก ปุ่ม Help เราก็จะเห็นค�ำแนะน�ำเกี่ยวข้องกับการเขียนบทความ หรือถ้าเราก�ำลังจะเปลี่ยน ธีมให้บล็อกแล้วคลิกปุ่ม Help เราก็จะเห็นค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการเปลี่ยนธีม เป็นต้นครับ



วิธีแก้ ไขข้อมูลส่วนตัวและ Log Out เนือ้ หาบทนีค้ งไม่สมบูรณ์แน่ๆ ถ้าผมจบบทไปตัง้ แต่หวั ข้อทีแ่ ล้วโดยไม่ได้อธิบายวิธี การแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของเรา และวิธีการล็อกเอาต์ออกจากระบบ WordPress เมือ่ ไหร่กต็ ามทีค่ ณ ุ ต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของคุณเอง ให้เลือ่ นเมาส์พอยน์เตอร์ มาอยู่เหนือยูสเซอร์เนมของคุณบริเวณด้านขวามือของทูลบาร์ แล้วก็คลิกค�ำสั่ง Edit My Profile ที่แสดงขึ้นมา (ดูภาพ 3-8) เมื่อคลิกแล้วคุณจะเห็นหน้า Profile ปรากฏขึ้นมา คุณ สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ที่หน้า Profile นี้ เช่น ชื่อ, นามสกุล, ชื่อเล่น, ชื่อที่ใช้แสดง ในระบบ WordPress, อีเมลแอดเดรส, เว็บไซต์ ฯลฯ และส�ำหรับค�ำสั่ง Log Out ซึ่งอยู่ถัดจากค�ำสั่ง Edit My Profile ลงมานั้น ก็มีไว้สั่ง ล็อกเอาต์ออกจากระบบ WordPress ยังไงล่ะครับ ใครไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์คนเดียว 88



ส�ำรวจตรวจตรา WordPress



บทที่ 3



หรือต้องไปใช้คอมพิวเตอร์ในที่สาธารณะ เมื่อล็อกอินเข้าสู่ Dashboard ของ WordPress เพือ่ จัดการบล็อกจนเสร็จสรรพแล้ว ก็ควรจะสัง่ ล็อกเอาต์ออกจากระบบด้วย เพือ่ ไม่ให้ใคร ที่ไหนไม่รู้สวมรอยเข้าไปปู้ยี่ปู้ยำ� บล็อกของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว



ภาพ 3-8 ค�ำสั่ง Edit My Profile และ Log Out



89



บทที ่ 4 เริ่มเขียนบทความ ใน WordPress



WordPress มีไว้สร้างบล็อก บล็อกมีไว้เขียนบทความ ก็ในเมื่อตอนนี้ บล็อกของเราพร้อมแล้ว งัน้ จะรอช้าอะไรอีกล่ะ เรามาลองเขียนบทความและเรียนรูท้ กุ เทคนิคทีเ่ กีย่ วข้องกันในบทนีด้ กี ว่า การเขียนบทความลงเผยแพร่ในบล็อกทีส่ ร้างจาก WordPress อาจไม่ใช่เรื่องยากเย็น ต่อให้คุณไม่เคยใช้งาน WordPress มาก่อน ผมว่าคุณก็น่าจะหาทางเขียน บทความเองได้ แต่คณ ุ อาจยังไม่รวู้ า่ มันมีรายละเอียดปลีกย่อยทีเ่ กีย่ วข้องกับการเขียนบทความอีกเยอะ พอสมควร เช่น เรื่องของการจัดการไฟล์มีเดียต่างๆ, การจัดการแคเทอกอรีของบทความ หรือจัดการ กับแท็ก เป็นต้น เราจึงต้องมาศึกษารายละเอียดเรื่องเหล่านี้กันในบทนี้ไงล่ะครับ คุณอยากเขียนบทความเรื่องอะไร เกี่ยวกับอะไร ก็นึกกันไว้ให้ดีนะครับ อีกเดี๋ยวเดียวเราก็จะได้ เขียนบทความเผยแพร่ลงบล็อกให้ใครต่อใครเข้ามาอ่านกันแล้ว



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เขียนบทความใหม่ในพริบตา หัวข้อแรกของบทนี้ไม่ต้องพูดพร�่ำท�ำเพลงอะไรอีกแล้ว เรามาลองลงมือเขียน บทความลงบล็อกกันเลย แต่ก่อนเขียนผมก็มีเรื่องอยากแนะน�ำอยู่นิดหน่อย การเขียน บทความลงบล็อกนี้ทางที่ดีเราควรเขียนเตรียมไว้ก่อน ภาพประกอบก็ตระเตรียมไว้ให้ พร้อม ขัดเกลาบทความสักรอบสองรอบ แล้วค่อยก๊อบปี้บทความนั้นไปลงบล็อก ผมไม่ แนะน�ำให้คุณไปเขียนบทความกันสดๆ ตอนที่จะเผยแพร่บทความเลย เพราะเราอาจได้ บทความที่ด้อยคุณภาพ เนื่องจากไม่ผ่านการขัดเกลาอย่างรอบคอบครับ ถ้าคุณเตรียมบทความของตัวเองพร้อมแล้ว เราไปลองเขียนบทความลงบล็อกกัน เลย 1 ล็อกอินเข้าสู่ Dashboard ของ WordPress แล้วคลิกเมนู Posts > Add New ดูภาพ 4-1



1



ภาพ 4-1 คลิกเมนู Posts > Add New



92



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



2 ในหน้า Add New Post เราต้องกรอกชื่อบทความในช่อง Enter title here ดู



ภาพ 4-2



3 เขียนบทความใน Post Editing Area ซึ่งเป็นพื้นที่ส�ำหรับเขียนข้อความลงไป



การเขียนบทความนีเ้ ราสามารถปรับแต่งตัวอักษรได้เหมือนๆ กับเวลาทีเ่ ราใช้งานโปรแกรม ประเภท Text Editor ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการท�ำตัวหนา, ตัวเอน, ขีดฆ่า, ใส่หัวข้อบุลเลต อัตโนมัติ, ใส่หมายเลขล�ำดับอัตโนมัติ, จัดย่อหน้า หรือก�ำหนดลิงก์ให้ข้อความ เป็นต้น หากคุณรู้สึกว่ายังมีเครื่องมือในการจัดการตัวอักษรน้อยไป ก็ยังคลิกปุ่ม (Show/Hide Kitchen Sink) เพือ่ เปิดแถบเครือ่ งมือเพิม่ ได้ เช่น ปุม่ ส�ำหรับก�ำหนดฟอร์แมต ให้ย่อหน้า, ปุ่มส�ำหรับขีดเส้นใต้ให้ตัวอักษร หรือปุ่มส�ำหรับก�ำหนดสีให้ตัวอักษร เป็นต้น หรือถ้าคุณอยากเขียนบทความแบบสบายๆ โดยการขยาย Post Editing Area ให้เต็มหน้า จอ ก็คลิกปุ่ม (Toggle fullscreen mode) ได้นะครับ



2



3



ภาพ 4-2 เขียนบทความในหน้า Add New Post



93



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



4 บทความส่วนใหญ่มักจะมีภาพประกอบด้วยกันทั้งนั้น บทความของผมก็



เหมือนกัน ผมจะใส่ภาพประกอบลงไปด้วย วิธีการคือต้องคลิกค�ำสั่ง Upload/Insert ด้าน บน Post Editing Area ดูภาพ 4-3



4



ภาพ 4-3 คลิกค�ำสั่ง Upload/Insert



5 คุณจะเห็นหน้าต่างย่อย Add Media เปิดขึ้นมาเพื่อใช้อัปโหลดไฟล์ ให้คุณ



แดร็กเมาส์ลากไฟล์ภาพจากหน้าต่าง Windows Explorer ในคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ไป วางในกรอบเส้นประที่มีข้อความว่า Drop files here เพื่ออัปโหลดไฟล์ภาพขึ้นสู่บล็อก (หรือจะใช้วิธีคลิกปุ่ม Selects Files เพื่อเข้าไปเลือกอัปโหลดไฟล์ก็ได้) ดูภาพ 4-4 94



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



5



ภาพ 4-4 อัปโหลดไฟล์ภาพขึ้นบล็อก



ในขั้นตอนนี้ ถ้าเราคลิกแท็บ From URL จะเป็นการแทรกไฟล์ภาพจากเว็บไซต์อื่น, ถ้าคลิกแท็บ Gallery จะเป็นการเลือกไฟล์ภาพที่เคยอัปโหลดไว้แล้ว (ในภาพตัวอย่าง 4-4 เรามองไม่เห็นแท็บ Gallery เนื่องจากยังไม่เคยอัปโหลดไฟล์ภาพอะไรเข้าไปไว้ในระบบ WordPress เลย ส่วนวิธีการอัปโหลดภาพขึ้นไปเตรียมไว้ในระบบ WordPress ผมจะ อธิบายในหัวข้อ “อัปโหลดไฟล์ Media ขึ้นสู่ WordPress” ของบทที่ 5 นะครับ) หรือถ้า เราคลิกแท็บ Media Library ก็จะเป็นการเรียกดูไฟล์ภาพ (หรือไฟล์ชนิดอื่นๆ) ที่เราเคย อัปโหลดไว้ทั้งหมดครับ 6 เมือ่ อัปโหลดภาพเรียบร้อย เราจะสามารถตัง้ ค่าออปชันให้ไฟล์ภาพนีไ้ ด้หลาย อย่าง เช่น ก�ำหนด Alternate Text หรือค�ำที่ใช้แทนภาพนั้น ซึ่งจะปรากฏให้เห็นกรณีคน อ่านเลือ่ นเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยูเ่ หนือภาพ หรือเมือ่ การโหลดหน้าบล็อกมีปญ ั หาจนไฟล์ 95



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพไม่แสดงขึ้นมา, ก�ำหนด Caption หรือค�ำบรรยายใต้ภาพ, ก�ำหนด Description หรือ ค�ำอธิบายภาพเพิ่มเติม, ตั้งค่าออปชัน Alignment เพื่อก�ำหนดลักษณะการจัดวางภาพกับ ตัวอักษร หรือตั้งค่า Size เพื่อก�ำหนดขนาดของภาพที่จะแสดงผ่านบล็อก ตั้งค่าทุกอย่างเรียบร้อย (หรือจะไม่ตั้งค่าอะไรเลยก็ได้) ก็คลิกปุ่ม Insert into Post ดังภาพ 4-5 ครับ



6



ภาพ 4-5 คลิกปุ่ม Insert into Post



96



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



7 หากบทความทีเ่ ราเขียนมีความยาวหลายย่อหน้า เมือ่ แสดงผลผ่านหน้าบล็อก



แล้วอาจใช้พื้นที่มากเกินไป ทางแก้ก็คือเราควรตัดทอนบทความให้สั้นลง วิธีการคือให้ เลื่อนเคอร์เซอร์มาไว้ในต�ำแหน่งที่ต้องการตัดทอนบทความ แล้วคลิกปุ่ม (Insert More Tag) ดูภาพ 4-6 เมื่อเราท�ำแบบนี้แล้ว บทความนี้จะแสดงผลในหน้าแรกของบล็อกเฉพาะส่วนที่อยู่ เหนือต�ำแหน่งทีเ่ ราคลิกปุม่ เท่านัน้ หากคนอ่านต้องการอ่านบทความทัง้ หมด ต้อง คลิกค�ำสั่ง Continue reading ครับ



7



ภาพ 4-6 คลิกปุ่ม Insert More Tag



8 ที่จริงการเขียนบทความของเราเสร็จเรียบร้อยพร้อมจะสั่งเผยแพร่แล้ว แต่ยัง 97



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



มีเฟรมเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนบทความซึ่งผมยังไม่ได้เอ่ยถึงและไม่ได้ แนะน�ำวิธีใช้งาน เรามาลองดูกันหน่อยว่าเฟรมแต่ละเฟรมเอาไว้ใช้ท�ำอะไร เริ่มต้นที่เฟรม Format (ดูภาพ 4-7) เฟรมนี้ใช้ส�ำหรับก�ำหนดฟอร์แมตหรือรูปแบบ การแสดงผลของบทความที่ก�ำลังเขียน เช่น ฟอร์แมต Aside จะแสดงบทความโดยไม่มีชื่อ บทความ, ฟอร์แมต Link จะแสดงบทความโดยเน้นให้ใช้เป็นเครือ่ งมือลิงก์ไปยังเว็บไซต์อนื่ อีกที, ฟอร์แมต Gallery เป็นการแสดงบทความในลักษณะแกลเลอรีภาพ หรือฟอร์แมต Status จะแสดงบทความในลักษณะสเตตัสสั้นๆ เหมือนเวลาเราโพสต์ผ่าน Twitter อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วเราไม่จ�ำเป็นต้องก�ำหนดฟอร์แมตให้บทความ เพราะ ฟอร์แมต Standard ซึ่งเป็นฟอร์แมตมาตรฐานถูกเลือกไว้อยู่แล้วครับ 9 ถัดมาคือเฟรม Categories ใช้ส�ำหรับก�ำหนดแคเทอกอรีหรือหมวดหมู่ให้ บทความ แต่ตอนนีเ้ ราจะเห็นแคเทอกอรีแค่อนั เดียว คือ Uncategorized (ซึง่ หมายถึงไม่มี หมวดหมู)่ เราต้องสร้างแคเทอกอรีขนึ้ มาก่อน จึงจะมีแคเทอกอรีให้เลือกหลายๆ แคเทอกอรี การสร้างแคเทอกอรีนี้จะท�ำด้วยการคลิกค�ำสั่ง + Add New Category ด้านล่างก็ได้ หรือไม่อย่างนั้นก็เข้าไปจัดการแคเทอกอรีผ่านเมนู Posts > Categories โดยตรง แต่ราย ละเอียดเรื่องนี้ผมจะยกไปอธิบายในหัวข้อ “จัดการกับ Catagory ของบทความ” ครับ 10 ที่เฟรมเครื่องมือ Tags (หากมองไม่เห็นเฟรมนี้ คุณต้องเลื่อน Scroll Bar ลง มาด้านล่างนะครับ) เราจะสามารถก�ำหนดแท็กให้บทความได้ว่า บทความนี้เกี่ยวข้องกับ ค�ำว่าอะไรหรือเรื่องอะไรบ้าง โดยการกรอกแท็กลงไปในช่องว่าง (หากมีหลายแท็ก ให้คั่น ด้วยเครื่องหมาย , นะครับ) แล้วคลิกปุ่ม Add ประเด็นเกี่ยวกับการก�ำหนดแท็กนี้ ผมจะ อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อ “รู้จักและใช้งาน Tag ให้เป็น” 11 เฟรมสุดท้ายคือเฟรม Featured Image ซึ่ง Featured Image ก็คือภาพที่ถูก ก�ำหนดให้เชื่อมโยงกับบทความ แต่ไม่ใช่ภาพที่ถูกแทรกลงในบทความ ภาพ Featured Image นีจ้ ะถูกน�ำไปใช้กบั ธีมบางธีม หรือฟอร์แมตของบทความบางฟอร์แมตเท่านัน้ ปกติ 98



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



แล้วเราจึงไม่ต้องยุ่งอะไรกับเฟรม Featured Image นี้ แต่ถ้าคุณอยากจะลองก�ำหนด Featured Image ก็ท�ำได้ด้วยการคลิกค�ำสั่ง Set featured image แล้วเข้าไปเลือกก�ำหนด Featured Image ครับ 8



9



10 11 ภาพ 4-7 ตั้งค่าในเฟรมเครื่องมือต่างๆ



12 ตั้งค่าทุกอย่างให้บทความเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกปุ่ม Publish (ซึ่งอยู่ในเฟรม



Publish ด้านบนสุด) เพื่อเผยแพร่บทความได้เลย ดูภาพ 4-8



99



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



แต่ถ้าเรายังไม่ต้องการเผยแพร่บทความ ก็สามารถคลิกปุ่ม Save Draft เพื่อบันทึก บทความเป็นฉบับร่างไว้ก่อนได้ หรือถ้าอยากเห็นตัวอย่างบทความก่อนจะเผยแพร่จริง ก็ ต้องคลิกปุ่ม Preview



12



ภาพ 4-8 คลิกปุ่ม Publish



ขออธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อยว่า เฟรมส�ำหรับตั้งออปชันต่างๆ ให้บทความไม่ได้ มีเท่าที่เห็นนี้นะครับ แต่ยังมีเฟรมเครื่องมืออีกส่วนหนึ่งถูกซ่อนอยู่ เช่น เฟรม Excerpt ส�ำหรับเขียนสรุปย่อหรือค�ำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับบทความนั้น, เฟรม Send Trackbacks ส�ำหรับแจ้งเตือนไปยังบล็อกอื่นกรณีที่เราเขียนบทความซึ่งพาดพิงหรือสืบเนื่องมาจาก บทความเดิมในบล็อกนั้นๆ, เฟรม Custom Fields ที่ใช้ส�ำหรับเพิ่มข้อมูล Metadata ที่ 100



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



เราต้องการลงในบทความ (ข้อมูล Metadata นี้คนอ่านบทความจะมองไม่เห็น แต่เสิร์ช เอนจิ้นเห็น) หรือเฟรม Slug ซึ่งเอาไว้ก�ำหนด Slug ให้บทความ เป็นต้น (Slug นี้จะเป็น เหมือนตัวแทนของบทความที่จะแสดงผลเป็นส่วนหนึ่งของ URL ของบทความนั้น โดย Slug ที่เราก�ำหนดไว้จะแสดงผลก็ต่อเมื่อเราตั้งค่า Permalink Settings ให้สอดคล้องกับ การท�ำงานของ Slug ซึ่งเรื่องการตั้งค่า Permalink Settings นี้ ผมจะยกยอดไปอธิบาย ในบทที่ 13) หากเราต้องการให้เฟรมเครื่องมือที่ถูกซ่อนนั้นแสดงขึ้นมา เราก็ต้องคลิกปุ่ม Screen Options เพื่อเข้าไปตั้งค่าเอาเอง อ้อ...ส�ำหรับใครที่อยากเห็นตัวอย่างหน้าตาของบทความที่ผมเพิ่งเขียนเผยแพร่ ผ่านบล็อก ก็ลองดูได้จากภาพประกอบ 4-9 นะครับ



ภาพ 4-9 ตัวอย่างบทความที่เผยแพร่ผ่านบล็อก



101



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



จัดการบทความแบบด่วนจี๋ผ่านเมนู All Posts รองจากเมนู Posts > Add New ซึ่งมีไว้ใช้เขียนบทความบทใหม่แล้ว เมนูที่มีความ ส�ำคัญล�ำดับถัดมาน่าจะเป็นเมนู Posts > All Posts ครับ เพราะเมนูนี้จะพาเราเข้าไปที่ หน้า Posts ซึง่ จะแสดงรายการบทความทัง้ หมดทีอ่ ยูใ่ นบล็อกของเรา ถ้าคุณลองดูตวั อย่าง หน้า Posts ในภาพประกอบ 4-10 ก็จะเห็นว่า รายการบทความที่ปรากฏในหน้า Posts มี อยู่ 2 บทความด้วยกัน คือบทความชื่อ “วีรบุรุษผู้สาบสูญ (The Lost Hero) : ยากและยาว ไปหน่อยมั้ย?” ที่ผมเพิ่งเขียนไปเมื่อครู่ และบทความชื่อ “Hello world!” ซึ่งเป็นบทความ ตัวอย่างที่ระบบ WordPress สร้างไว้ให้โดยอัตโนมัติ



ภาพ 4-10 หน้า Posts



ความส�ำคัญของหน้า Posts ที่ว่านี้ก็คือ เป็นจุดศูนย์รวมที่จะใช้จัดการกับบทความ ทั้งหมดที่เคยเขียนไปแล้ว กรณีที่เราต้องการแก้ไขบทความ เราก็แค่คลิกที่ชื่อบทความนั้น 102



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



เราจะถูกพาไปที่หน้า Edit Post ซึ่งมีไว้แก้ไขบทความ ในหน้า Edit Post นี้ เราอยากแก้ไข บทความในลักษณะไหนก็ท�ำได้ทั้งนั้นครับ เพราะหน้าตาของหน้า Edit Post จะคล้ายคลึง กับหน้า Add New Post ซึ่งมีไว้ใช้เขียนบทความใหม่นั่นเอง นอกจากนีห้ ากเราเลือ่ นเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยูเ่ หนือรายการบทความบทไหนก็ตาม เราจะเห็นค�ำสัง่ เพิม่ เติมส�ำหรับจัดการบทความโผล่ขนึ้ มาด้านล่างชือ่ บทความนัน้ ๆ ค�ำสัง่ ในการจัดการบทความที่ว่ามีอยู่ 4 ค�ำสั่ง ได้แก่... •  Edit ใช้ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Edit Post ส�ำหรับแก้ไขบทความ (ให้ผลเช่นเดียว กับการคลิกที่ชื่อบทความโดยตรง) •  Quick Edit ใช้สำ� หรับแก้ไขบทความแบบเร่งด่วน เมือ่ คลิกแล้วเราจะเห็นออปชัน ส�ำหรับตัง้ ค่าต่างๆ ให้บทความปรากฏขึน้ มาในหน้า Posts โดยตรง ไม่ใช่เปิดเข้าสูห่ น้า Edit Post เหมือนการคลิกค�ำสั่ง Edit แต่การคลิกค�ำสั่ง Quick Edit เราจะแก้ไขได้แค่ออปชัน ต่างๆ ของบทความ เช่น ชื่อบทความ, แคเทอกอรี, แท็ก, ฟอร์แมต หรือการก�ำหนด Slug แต่จะแก้ไขเนื้อหาของบทความไม่ได้ •  Trash ใช้ส�ำหรับลบบทความทิ้ง •  View ใช้ส�ำหรับดูบทความนั้นๆ ผ่านหน้าบล็อก ระบบ WordPress ยังเตรียมเครื่องมือส�ำหรับจัดการกับบทความหลายๆ บท พร้อมกันไว้ให้เราด้วยครับ นั่นคือเครื่องมือที่ชื่อว่า Bulk Actions ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อง ดรอปดาวน์ลิสต์ปรากฏอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างเฟรมแสดงรายการบทความ ค�ำสั่งใน ช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Bulk Actions มีอยู่ 2 ค�ำสั่ง คือค�ำสั่ง Edit ส�ำหรับตั้งค่าออปชันให้ บทความหลายๆ บทพร้อมกัน และค�ำสั่ง Move to Trash ส�ำหรับลบบทความหลายๆ บท พร้อมกัน แต่ก่อนจะเลือกค�ำสั่งในช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Bulk Actions นี้ เราต้องคลิกใส่ เครื่องหมาย หน้ารายการบทความที่ต้องการเลือกด้วยนะครับ 103



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



จัดการกับ Category ของบทความ บทความทัง้ หมดทีเ่ ขียนเผยแพร่ผา่ นบล็อก เราสามารถสร้างแคเทอกอรี (Category) ขึ้นมาเพื่อจัดหมวดหมู่ให้มันได้ ประโยชน์ของระบบแคเทอกอรีคือช่วยจัดแบ่งบทความ เป็นหมวดหมู่ เวลามีคนเข้ามาอ่านบทความในบล็อกของเรา ผู้ชมบล็อกก็จะได้เห็นว่า บทความนั้นอยู่ในแคเทอกอรีไหน ชื่ออะไร และคนอ่านก็สามารถคลิกที่ชื่อแคเทอกอรี เพื่อเข้าไปอ่านบทความอืน่ ๆ ในแคเทอกอรีเดียวกันได้ รวมถึงเรายังสามารถสร้างเมนูขนึ้ มาเพือ่ เชือ่ มโยงไปยังแคเทอกอรีทสี่ ร้างไว้ได้ดว้ ย (แต่เรือ่ งนีผ้ มจะอธิบายในหัวข้อ “จัดการ กับ Menu ของ Blog” ของบทที่ 9) ตัวอย่างของการสร้างแคเทอกอรีกเ็ ช่น ผมสร้างบล็อกขึน้ มาเพือ่ วิจารณ์หนังสือ ผม ก็เลยแบ่งแคเทอกอรีโดยยึดตามประเภทหนังสือ อาทิ แคเทอกอรี “หนังสือวรรณกรรม”, แคเทอกอรีหนังสือ “จิตวิทยา”, แคเทอกอรีหนังสือ “คอมพิวเตอร์” หรือแคเทอกอรี “หนังสือธุรกิจ” อะไรแบบนี้เป็นต้น เมื่อผู้ชมบล็อกคลิกเข้ามายังแคเทอกอรีนั้น ก็จะเจอ บทความวิจารณ์หนังสือในหมวดหมู่หรือประเภทนั้นๆ ถ้าคุณอยากลองสร้างแคเทอกอรีขึ้นมาเพื่อจัดหมวดหมู่ให้บทความ คุณก็เข้าไป สร้างได้ผ่านเมนู Posts > Categories โดยมีวิธีการดังนี้ครับ 1 ที่หน้า Dashboard ของ WordPress ให้คลิกเมนู Posts > Categories ดังภาพ 4-11



104



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



1



ภาพ 4-11 คลิกเมนู Posts > Categories



2 เมื่อเข้าสู่หน้า Categories ดังภาพ 4-12 แล้ว ให้เริ่มต้นสร้างแคเทอกอรีใหม่



ด้วยการตั้งชื่อแคเทอกอรีในช่อง Name 3 ก�ำหนด Slug ให้แคเทอกอรี (จะไม่กำ� หนดก็ได้) ซึง่ Slug ของแคเทอกอรีกม็ หี น้า ทีค่ ล้ายๆ กับ Slug ของบทความนัน่ แหละ คือมันจะเป็นเหมือนตัวแทนของแคเทอกอรีนนั้ ซึง่ จะไปปรากฏเป็นส่วนหนึง่ ใน URL ของแคเทอกอรี เพียงแต่เจ้า Slug นีจ้ ะแสดงผลก็ตอ่ เมือ่ เราตัง้ ค่า Permalink Settings ให้สอดคล้องกับการแสดงผลของ Slug ทีก่ ำ� หนดไว้ (แต่ ก็อย่างทีเ่ คยบอกไปแล้วว่าผมจะอธิบายเรือ่ ง Permalink Settings ในบทที่ 13) 4 ตัง้ ค่า Parent ให้บทความในช่องดรอปดาวน์ลสิ ต์ Parent ซึง่ การก�ำหนด Parent นีก้ ค็ อื การตัง้ ค่าให้แคเทอกอรีใหม่มสี ถานะเป็นแคเทอกอรียอ่ ยภายใต้แคเทอกอรีอนื่ ทีเ่ คย สร้างไว้แล้ว ถ้าเราไม่ได้ตงั้ ค่า Parent ก็แปลว่าแคเทอกอรีใหม่จะเป็นแคเทอกอรีหลักทีไ่ ม่ ได้อยูภ่ ายใต้แคเทอกอรีไหน 105



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



5 เขียนค�ำอธิบายให้แคเทอกอรีลงในช่อง Description เพื่อระบุวา่ แคเทอกอรีนี้



เกี่ยวข้องกับอะไร (จะไม่เขียนก็ได้) 6 คลิกปุ่ม Add New Category เพื่อสร้างแคเทอกอรีใหม่ขึ้นมาได้เลยครับ



2 3 4



5 6 ภาพ 4-12 สร้างแคเทอกอรีใหม่



แคเทอกอรีทเี่ ราสร้างขึน้ ใหม่นี้ จะไปแสดงอยูใ่ นเฟรมแสดงรายการแคเทอกอรีดา้ น ขวามือของหน้า Categories โดยแสดงรวมอยู่กับรายการแคเทอกอรีชื่อ Uncategorized ซึ่งระบบ WordPress สร้างขึ้นให้เราโดยอัตโนมัติ (และเราไม่สามารถลบทิ้งได้) วิธีจัดการ กับแคเทอกอรีก็คล้ายๆ กับการจัดการกับบทความ คือเมื่อเราเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไป 106



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



อยู่เหนือรายการแคเทอกอรีใดๆ เราจะเห็นค�ำสั่งส�ำหรับจัดการแคเทอกอรีนั้นแสดงขึ้น มาด้านล่าง ทั้งค�ำสั่ง Edit ส�ำหรับเปิดเข้าสู่หน้า Edit Category ที่ใช้ส�ำหรับแก้ไขข้อมูล แคเทอกอรี, ค�ำสั่ง Quick Edit ส�ำหรับแก้ไขข้อมูลแคเทอกอรีแบบเร่งด่วน, ค�ำสั่ง Delete ส�ำหรับลบแคเทอกอรีนั้นทิ้ง และค�ำสั่ง View ส�ำหรับดูแคเทอกอรีทางด้านหน้าบล็อก เราสร้างแคเทอกอรีเตรียมไว้แล้ว คราวนีเ้ วลาเขียนบทความใหม่ๆ ขึน้ มา เราก็เลือก แคเทอกอรีให้บทความนั้นได้แล้วครับ



รู้จักและใช้งาน Tag ให้เป็น ขณะทีแ่ คเทอกอรีมหี น้าทีบ่ อกให้รวู้ า่ บทความนัน้ ๆ อยูใ่ นหมวดหมูไ่ หน แท็ก (Tag) จะเป็นเหมือน “ป้ายก�ำกับ” ซึ่งมีหน้าที่ให้ข้อมูลว่าบทความนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง ถ้าคุณยังนึกภาพได้ไม่ชัดเจน ผมจะลองอธิบายโดยใช้บทความจริงที่ผมเขียนไปแล้วเป็น ตัวอย่างก็แล้วกัน บทความที่ผมเพิ่งเขียนเผยแพร่มีชื่อว่า “วีรบุรุษผู้สาบสูญ (The Lost Hero) : ยาก และยาวไปหน่อยมัย้ ?” หนังสือทีผ่ มวิจารณ์นเี้ ป็นงานวรรณกรรมแปลทีแ่ ปลมาจากหนังสือ เรื่อง The Lost Hero ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือซีรีส์ชุด The Hero of Olympus ผลงานของ Rick Riordan ประเภทของหนังสือเล่มนีต้ อ้ งจัดว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชน โดยเป็นนวนิยาย แนวแฟนตาซีครับ บทความชิ้นนี้ ผมจัดหมวดหมู่ให้อยูใ่ นแคเทอกอรี “หนังสือวรรณกรรม” เพราะมัน เป็นหนังสือนวนิยาย ทีนี้พอมาถึงเรื่องของการก�ำหนดแท็ก ผมก็อาจก�ำหนดแท็กด้วยค�ำ หลายๆ ค�ำที่เกี่ยวข้องกับบทความชิ้นนี้ เช่น “วรรณกรรมเยาวชน”, “นวนิยายแฟนตาซี”, “Rick Riordan” หรือ “The Hero of Olympus” เป็นต้น (ตอนก�ำหนดแท็กจริง เราไม่ต้อง คร่อมด้วยเครื่องหมาย “ ” นะครับ) 107



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



พูดให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว แท็กมีไว้บอกให้คนอ่านรู้ว่าบทความนั้นๆ เกี่ยวข้องกับ เรือ่ งอะไรบ้าง และคนอ่านก็สามารถคลิกทีแ่ ท็กเพือ่ อ่านบทความอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับแท็ก เดียวกันได้ด้วย พอจะเข้าใจเรื่องแท็กแล้ว เรามาลองสร้างแท็กไว้ใช้กับบทความกันเลยดีกว่าครับ 1 คลิกเมนู Posts > Tags ดูภาพ 4-13



1



ภาพ 4-13 คลิกเมนู Posts > Tags



2 ที่หน้า Tags ตามภาพ 4-14 เราต้องเริ่มสร้างแท็กด้วยการตั้งชื่อแท็กในช่อง



Name ครับ



3 ก�ำหนด Slug ให้แท็กในช่อง Slug (Slug ของแท็กท�ำหน้าที่เหมือนๆ กับ Slug



ของแคเทอกอรี) 4 เขียนค�ำอธิบายให้แท็กในช่อง Description 5 คลิกปุ่ม Add New Tag เป็นขั้นตอนสุดท้ายครับ 108



เริ่มเขียนบทความใน WordPress



บทที่ 4



2 3 4 5 ภาพ 4-14 สร้างแท็กใหม่



แท็กทีเ่ ราสร้างขึน้ ใหม่จะแสดงให้เห็นผ่านเฟรมแสดงรายการแท็กด้านขวามือ และ เราก็สามารถจัดการกับแท็กทั้งหมดได้ด้วยวิธีเดียวกับการจัดการแคเทอกอรีซึ่งได้เรียนรู้ กันไปแล้วนั่นเอง



เทคนิคเขียนบทความผ่าน QuickPress เราเรียนรู้เทคนิคเกี่ยวกับการเขียนบทความเผยแพร่ในบล็อก WordPress กันไป อย่างครบถ้วนกระบวนความแล้ว เริม่ ตัง้ แต่การเขียนบทความบทใหม่ขนึ้ มา, การแก้ไขหรือ จัดการกับบทความทีเ่ ขียนไว้แล้ว, การสร้างแคเทอกอรีให้บทความ หรือการสร้างแท็กไว้ใช้ ก�ำกับบทความ แต่ยังเหลือเทคนิคเล็กๆ อีกอย่างหนึ่งครับที่ผมอยากแนะน�ำคุณไว้ด้วย เทคนิคทีว่ า่ คือการเขียนบทความผ่านโมดูล QuickPress ไงครับ การเขียนบทความ ผ่านโมดูล QuickPress ช่วยให้เราเขียนบทความใหม่ลงเผยแพร่ผา่ นบล็อกได้อย่างรวดเร็ว 109



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



โดยไม่ต้องคลิกผ่านเมนู Posts > Add New เพื่อเข้าไปเขียนบทความที่หน้า Add New Post เพราะโมดูล QuickPress มันอยู่ในหน้า Dashboard อยู่แล้ว ที่โมดูล QuickPress นี้ เราแค่ใส่ชื่อบทความในช่อง Title, เขียนเนื้อหาบทความใน ช่อง Content, ก�ำหนดแท็กให้บทความในช่อง Tags (จะไม่ก�ำหนดก็ได้) จากนั้นก็คลิกปุ่ม Publish (ดูภาพ 4-15 ประกอบ) แค่นี้บทความใหม่ของเราก็ถูกเผยแพร่ผ่านบล็อกอย่าง รวดเร็วแล้ว



ภาพ 4-15 เขียนบทความผ่านโมดูล QuickPress



แต่ทงั้ นีท้ งั้ นัน้ การเขียนบทความผ่านโมดูล QuickPress นีก้ ม็ ขี อ้ จ�ำกัดหลายๆ อย่าง คือจะไม่มเี ครือ่ งไม้เครือ่ งมือส�ำหรับจัดการตัวอักษร หรือไม่มเี ฟรมเครือ่ งมือให้ตงั้ ค่าอะไร ต่อมิอะไร เราจึงควรเขียนบทความผ่านโมดูล QuickPress ในกรณีเร่งด่วนเท่านั้น และ เมื่อเขียนแล้วพบว่าบทความยังไม่อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ก็ให้คลิกเข้าไปแก้ไขปรับแต่ง บทความในหน้า Edit Post อีกทีหนึ่งครับ



110



บทที ่ 5 จัดการ Media File ใน WordPress



แม้ WordPress จะมีไว้เขียนบทความเป็นหลัก และบทความก็มัก ประกอบด้วยตัวหนังสือเป็นหลัก แต่ไม่ได้หมายความว่าบทความจะมีแค่ตัวหนังสือ เพียงอย่างเดียว บ่อยครัง้ ครับทีเ่ ราต้องสอดแทรกไฟล์บางชนิดลงไปในบทความด้วย จุดประสงค์ ก็เพือ่ ให้เนือ้ หาบทความชัดเจนขึน้ หรือไม่กเ็ พือ่ เพิม่ ความน่าสนใจให้บทความ ไฟล์ทเี่ ราจะใช้แทรกลงไป ในเนื้อหาบทความหรือใช้ประกอบบทความนี้ เรียกรวมๆ ว่า “ไฟล์มีเดีย” (Media File) ครับ เนื้อหาบทนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีจัดการกับไฟล์มีเดียในบล็อก แต่บอกได้เลยว่าบทนี้มีเนื้อหาไม่ มากหรอกครับ อธิบายแค่สามสี่หัวข้อก็น่าจะจบบทแล้ว เนื่องจากขั้นตอนหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง กับไฟล์มีเดียมีอยู่ไม่เยอะ แต่มันก็เป็นเรื่องที่เราควรศึกษาไว้ เพราะถ้าคุณจัดการกับไฟล์มีเดียไม่เป็น ก็อาจเกิดผลเสียขึ้นได้ เช่น ปล่อยให้มีไฟล์มีเดียที่ไม่ได้ใช้งานอยู่เยอะๆ พื้นที่เว็บโฮสติ้งของคุณก็อาจ เต็มเอาได้ง่ายๆ ครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



อะไรคือ Media File รู้สึกผมจะเคยพูดไปบ้างแล้วว่า ไฟล์มีเดียนี้หลักๆ แล้วมันก็คือไฟล์ภาพที่เราใช้ ประกอบบทความนัน่ เอง เพราะฉะนัน้ เวลาพูดค�ำว่า “ไฟล์มเี ดีย” เรามักหมายถึงไฟล์ภาพ กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้ไฟล์มีเดียไม่ได้มีแค่ไฟล์ภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงไฟล์ชนิดอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ไฟล์เอกสาร, ไฟล์เพลง และไฟล์วิดีโอ นั่นแปลว่าเราสามารถใช้ไฟล์เอกสาร, ไฟล์เพลง หรือไฟล์วดิ โี อ แทรกลงไปเป็นส่วนประกอบของบทความได้เช่นเดียวกับไฟล์ภาพ ใครที่อยากรู้ว่า WordPress รองรับไฟล์มีเดียในฟอร์แมตไหนบ้าง เราไปดูกันให้ ชัดๆ เลยดีกว่าครับ ไฟล์ภาพ (Image) ระบบ WordPress รองรับไฟล์ภาพในฟอร์แมตดังต่อไปนี้ •  .jpg •  .jpeg •  .png •  .gif ไฟล์เอกสาร (Document) ระบบ WordPress รองรับไฟล์เอกสารในฟอร์แมต ดังต่อไปนี้ •  .pdf •  .doc •  .docx •  .ppt •  .pptx •  .pps •  .ppsx •  .odt •  .xls •  .xlsx ไฟล์เพลงหรือไฟล์เสียง (Audio) ระบบ WordPress รองรับไฟล์เพลงใน ฟอร์แมตดังต่อไปนี้ •  .mp3 •  .m4a •  .ogg •  .wav 112



จัดการ Media File ใน WordPress



บทที่ 5



ไฟล์วดิ ีโอ (Video) ระบบ WordPress รองรับไฟล์วดิ โี อในฟอร์แมตดังต่อไปนี้ •  .mp4 •  .m4v •  .mov •  .wmv •  .avi •  .mpg •  .ogv •  .3gp •  .3g2 พูดง่ายๆ แล้วต้องบอกว่า WordPress รองรับไฟล์มีเดียในฟอร์แมตพื้นฐานทั่วๆ ไปทั้งหมด เราจึงไม่ต้องกังวลเลยว่าไฟล์มีเดียที่คิดจะใส่ประกอบบทความจะไม่สามารถ อัปโหลดขึ้นไปได้ แต่ WordPress มีข้อจ�ำกัดในเรื่องขนาดของไฟล์อยู่บ้าง คือไฟล์มีเดีย ที่จะอัปโหลดขึ้นไปใช้ประกอบบทความต้องมีขนาดไม่เกิน 8 เมกะไบต์ แต่แม้ WordPress จะรองรับฟอร์แมตของไฟล์มีเดียอย่างหลากหลายตามที่เห็น ไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถอัปโหลดไฟล์ฟอร์เเมตต่างๆ นี้ขึ้นสู่ระบบของ WordPress ได้ทั้งหมดอย่างแน่นอนนะครับ เรื่องนี้มันขึ้นอยู่กับข้อก�ำหนดของเว็บโฮสติ้ง ทีเ่ ราใช้งานอยูด่ ว้ ย เพราะเว็บโฮสติง้ บางแห่งก็อาจไม่อนุญาตให้อปั โหลดไฟล์บางชนิดขึน้ ไปด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยครับ



อัปโหลด Media File ขึ้นสู่ WordPress เมื่อเราต้องการอัปโหลดไฟล์มีเดียขึ้นไปประกอบบทความ เราสามารถท�ำได้ตั้งแต่ ขั้นตอนของการเขียนบทความ โดยคลิกค�ำสั่ง Upload/Insert เหมือนที่ผมเคยท�ำให้ดูไป แล้วในหัวข้อ “เขียนบทความใหม่ในพริบตา” ของบทที่ 4 หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือเข้ามาสั่ง อัปโหลดไฟล์มีเดียผ่านเมนู Media > Add New ซึ่งมีไว้สำ� หรับสั่งอัปโหลดไฟล์มีเดียเข้าไป ไว้ในระบบ WordPress โดยเฉพาะ 113



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เอาละ เรามาลองดูวิธีการกันเลยว่า การอัปโหลดไฟล์มีเดียผ่านเมนู Media > Add New นี้ต้องท�ำยังไงกันบ้าง 1 ขัน้ ตอนแรกจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการคลิกเมนู Media > Add New ครับ ดูภาพ 5-1



1



ภาพ 5-1 คลิกเมนู Media > Add New



2 พอหน้า Upload New Media เปิดขึ้นมา เราก็ลากไฟล์มีเดียจากคอมพิวเตอร์



ไปวางใส่ในกรอบเส้นประที่มีข้อความ Drop files here ได้เลย ดูภาพ 5-2 (หรือจะใช้วิธี คลิกปุ่ม Select Files แล้วเข้าไปเลือกไฟล์อีกทีก็ได้เหมือนกัน) 114



จัดการ Media File ใน WordPress



บทที่ 5



2



ภาพ 5-2 สั่งอัปโหลดไฟล์มีเดีย



3 พอเราลากไฟล์มีเดียไปวางในกรอบเส้นประปุ๊บ กระบวนการอัปโหลดไฟล์จะ



เริ่มต้นทันทีโดยอัตโนมัติ เมื่ออัปโหลดเสร็จ เราจะเห็นไฟล์มีเดียนั้นแสดงขึ้นมาในหน้า Upload New Media นี้ ซึ่งหมายความว่าไฟล์มีเดียไฟล์ใหม่ถูกเพิ่มเข้าไปในระบบของ WordPress แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม WordPress ยังเปิดโอกาสให้เราตั้งค่าไฟล์มีเดียนี้เพิ่มเติมได้ด้วย เช่น ก�ำหนด Title, Alternate Text, Caption หรือ Description เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว ก็ให้คลิก ปุ่ม Save all changes เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงด้วยครับ ดูภาพ 5-3 (กรณีที่ไม่ได้ตั้งค่า อะไรพวกนี้ ก็ไม่จ�ำเป็นต้องคลิกปุ่ม Save all changes)



115



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 ภาพ 5-3 คลิกปุ่ม Save all changes



อัปโหลด Media File ผ่านระบบ Browser Uploader ระบบการอัปโหลดไฟล์ทเี่ ราเห็นกันไปแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้ เป็นระบบทีเ่ รียกว่า Flash Uploader ระบบการอัปโหลดที่ว่านี้ใช้เทคโนโลยี Flash มาช่วย จุดเด่นของมันคือ เราสามารถใช้วิธีแดร็กแอนด์ดรอปเพื่อลากไฟล์จากคอมพิวเตอร์มาวางในโปรแกรม 116



จัดการ Media File ใน WordPress



บทที่ 5



เว็ บ เบราเซอร์ ไ ด้ โ ดยตรง เหมือนเวลาที่เราลากไฟล์จากหน้าต่างนั้นไปหน้าต่างนี้ใน คอมพิวเตอร์ของเราเอง นอกจากนี้เรายังสั่งอัปโหลดไฟล์ได้ครั้งละหลายๆ ไฟล์พร้อมกัน แต่ระบบ Flash Uploader ก็อาจมีปญ ั หาหรือท�ำงานผิดพลาดได้ในบางครัง้ ครับ เช่น สั่งอัปโหลดไฟล์แล้วมันค้างไปดื้อๆ รอนานเท่าไหร่ก็อัปโหลดไม่เสร็จสักที ในกรณีแบบนี้ เราอาจหันไปใช้ระบบอัปโหลดอีกแบบที่เรียกว่า Browser Uploader ระบบ Browser Uploader นี้ความจริงแล้วมันก็คือระบบการอัปโหลดไฟล์ตาม มาตรฐานที่ใช้กันในเว็บไซต์ทั่วไป คือเราต้องเสียเวลาคลิกเข้าไปเลือกไฟล์ที่ต้องการ อัปโหลดอีกต่อหนึ่ง ไม่สามารถใช้วิธีการแดร็กแอนด์ดรอปได้ อีกอย่างเรายังอัปโหลด ไฟล์ได้ครั้งละ 1 ไฟล์เท่านั้น แต่ระบบ Browser Uploader ก็ดาวน์โหลดไฟล์ได้ชัวร์กว่า มี โอกาสเกิดปัญหาน้อยกว่า วิธีการเปิดใช้งานระบบ Browser Uploader ก็คือ ขณะอยู่ที่หน้า Upload New Media ให้คณ ุ คลิกค�ำสัง่ browser uploader แค่นกี้ จ็ ะเป็นการสลับไปใช้งานระบบ Browser Uploader แล้ว (ดูภาพ 5-4 ประกอบ)



ภาพ 5-4 ตัวอย่างระบบ Browser Uploader



117



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



และเมือ่ คุณต้องการสลับกลับไปใช้ระบบ Flash Uploader เหมือนเดิม คุณก็แค่คลิก ค�ำสั่ง Switch to the multi-file uploader. เท่านั้นเองครับ



จัดการ Media File ผ่าน Media Library ไฟล์มเี ดียทุกไฟล์ทเี่ ราอัปโหลดขึน้ ไปไว้ในระบบ WordPress ทัง้ ทีอ่ ปั โหลดผ่านเมนู Media > Add New หรืออัปโหลดในขั้นตอนของการเขียนหรือแก้ไขบทความนั้น จะเข้าไป รวมกันอยู่ใน Media Library ของ WordPress ครับ เจ้า Media Library นี้เปรียบไปแล้วมัน ก็ทำ� หน้าทีเ่ ป็นเหมือนห้องสมุดทีใ่ ช้จดั เก็บไฟล์มเี ดียสารพัดชนิดในบล็อกของเรา เวลาเรา อยากจัดการอะไรกับไฟล์มีเดีย ก็เข้าไปจัดการที่ Media Library ได้ในจุดเดียว วิธีเปิดเข้าสู่หน้า Media Library คือให้คลิกเมนู Media > Library ครับ คลิกแล้ว คุณจะเห็นหน้า Media Library แสดงขึ้นมาเหมือนในภาพ 5-5 แล้วก็จะเห็นรายการไฟล์ มีเดียที่เคยอัปโหลดไว้แสดงอยู่ ในภาพตัวอย่างนี้เราจะเห็นไฟล์มีเดียซึ่งเป็นไฟล์ภาพอยู่ 2 ไฟล์ ไฟล์แรกเป็นไฟล์ที่ผมสั่งอัปโหลดตั้งแต่ตอนเริ่มเขียนบทความในบทที่แล้ว ส่วนอีก ไฟล์ผมก็เพิ่งอัปโหลดเป็นตัวอย่างให้ดูในหัวข้อ “อัปโหลด Media File ขึ้นสู่ WordPress” ของบทนี้ไงล่ะ ที่หน้า Media Library นี้ เราสามารถจัดการกับไฟล์มีเดียทั้งหมดได้ง่ายๆ ด้วยการ เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยู่เหนือรายการไฟล์มีเดียนั้นๆ ท�ำแบบนี้แล้วเราจะเห็นค�ำสั่ง ส�ำหรับจัดการไฟล์มีเดียปรากฏขึ้นมา ค�ำสั่งที่ว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ค�ำสั่งครับ ได้แก่... •  Edit ใช้ส�ำหรับแก้ไขข้อมูลของไฟล์มีเดีย •  Delete Permanently ใช้สำ� หรับลบไฟล์มีเดียทิ้งไป • View ใช้สำ� หรับดูไฟล์มีเดียนั้นผ่านหน้าบล็อก



118



จัดการ Media File ใน WordPress



บทที่ 5



ภาพ 5-5 หน้า Media Library



ส่วนใครที่ต้องการลบไฟล์มีเดียทิ้งพร้อมกันหลายๆ ไฟล์ ก็ยังมีอีกทางเลือกที่ง่าย กว่าการไล่คลิกค�ำสั่ง Delete Permanently ด้านล่างรายการไฟล์มีเดียไปทีละไฟล์ วิธีที่ว่า ท�ำได้ดว้ ยการคลิกใส่เครือ่ งหมาย ด้านหน้ารายการไฟล์มเี ดียทีต่ อ้ งการลบทิง้ ให้ครบ ถ้วน จากนั้นคลิกที่ช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Bulk Actions แล้วเลือกค�ำสั่ง Delete Permanently ตามด้วยคลิกปุ่ม Apply เท่านั้นเองครับ



119



บทที ่ 6 จัดการ Link ใน WordPress



เรื่องของการจัดการลิงก์ที่เชื่อมโยงภายในบล็อกเดียวกันเองน่ะ เราไม่ ต้องกังวลเท่าไหร่หรอกครับ เพราะระบบของ WordPress จะจัดการเรื่องพวกนี้ให้ เราโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นลิงก์ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์หรือบล็อกภายนอก แน่นอนว่าเรา ต้องเป็นคนสร้างและจัดการมันด้วยตัวเอง เพราะ WordPress คงไม่มที างรู้ได้วา่ เราอยากจะสร้างลิงก์ เพื่อเชื่อมโยงไปหาเว็บไซต์ ไหนบ้าง การสร้างลิงก์ ใน WordPress มีความจ�ำเป็นและมีประโยชน์ ในหลายๆ กรณีครับ (ประเด็นพวก นี้เดี๋ยวผมจะค่อยๆ ไล่เรียงอธิบายไป) เราจึงควรศึกษาวิธีจัดการกับลิงก์ ในบล็อกของเราด้วย เพื่อว่า บล็อกจะได้ออกมามีหน้าตาอย่างที่ต้องการ และมีลิงก์ที่สามารถเชื่อมโยงไปหาเว็บไซต์ปลายทางที่ ก�ำหนดไว้ และเนือ้ หาทีว่ า่ มานีก้ ค็ อื เรือ่ งทีเ่ ราก�ำลังจะพูดถึงกันในบทนี้ อ่านบทที่ 6 จบเมือ่ ไหร่...รับรอง ว่าคุณผู้อ่านจะจัดการลิงก์ ใน WordPress ได้อย่างคล่องแคล่วแน่นอนครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ประโยชน์ของ Link ใน WordPress แทบเป็นไปไม่ได้เลยครับที่บล็อกหรือเว็บไซต์สักเว็บจะไม่มีลิงก์เชื่อมโยงไปหา เว็บไซต์ภายนอกเลย ตอนคลิกเข้าไปเยีย่ มชมเว็บไซต์ตา่ งๆ คุณลองสังเกตดูสคิ รับ จะเห็น ว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมีลิงก์ที่คลิกแล้วพาเราไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ด้วยกันทั้งนั้น บางทีลิงก์ เหล่านั้นก็เชื่อมโยงไปหาเว็บไซต์ในเครือเดียวกันเองหรือเว็บไซต์พันธมิตร แต่บางทีลิงก์ เหล่านั้นก็เชื่อมโยงไปหาเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ต้นทางเลย ถ้าถามว่าการสร้างลิงก์ใน WordPress มีประโยชน์ตรงไหน ก็ตอ้ งบอกว่ามีประโยชน์ อยูห่ ลายอย่างทีเดียวครับ ตัวอย่างเช่น เอาไว้ใช้แลกลิงก์กบั เว็บไซต์อนื่ ๆ เพือ่ ช่วยกันโปรโมต เว็บไซต์หรือบล็อกของกันและกัน, เอาไว้แนะน�ำเว็บไซต์น่าสนใจที่เจ้าของบล็อกอย่างเรา อยากแนะน�ำให้คนอืน่ รูจ้ กั หรือเอาไว้เชือ่ มโยงบล็อกของเราเข้ากับ Social Network อืน่ ๆ ที่ใช้งานอยู่ เช่น Facebook, Google+, Twitter หรือ Pinterest เป็นต้น ยังไม่หมดแค่นั้นนะครับ เรายังใช้ลิงก์ใน WordPress ส�ำหรับการโฆษณาได้ด้วย เช่นว่า มีลกู ค้าสนใจลงโฆษณาในบล็อกของเรา เราก็เลยสร้างลิงก์ทเี่ ชือ่ มโยงไปยังเว็บไซต์ ของลูกค้า เมื่อคนอ่านบล็อกคลิกที่ลิงก์ดังกล่าว ก็จะถูกพาไปยังเว็บไซต์ของลูกค้า อะไร แบบนี้เป็นต้น WordPress เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือในการจัดการกับลิงก์มาให้เราใช้งานอย่าง พร้อมสรรพแล้ว เราจึงจัดการกับลิงก์ในบล็อกได้อย่างง่ายดาย จะสร้างแคเทอกอรีเพื่อ จัดแบ่งหมวดหมู่ให้ลิงก์ก็ยังได้ จะตั้งค่าให้ลิงก์เหล่านี้แสดงผลในต�ำแหน่งไหน ก็ท�ำได้อีก นั่นแหละครับ



สร้าง Link ใหม่ง่ายนิดเดียว การจัดการกับลิงก์ในระบบ WordPress นั้น เราจะท�ำกันผ่านเมนู Links ครับ โดย 122



จัดการ Link ใน WordPress



บทที่ 6



สิ่งแรกที่เราจะลองท�ำคือการสร้างลิงก์ขึ้นมาใหม่ วิธีการสร้างลิงก์ใน WordPress ต้องท�ำ ตามนี้ครับ 1 คลิกเมนู Links > Add New ดูภาพ 6-1



1



ภาพ 6-1 คลิกเมนู Links > Add New



2 เมื่อหน้า Add New Link เปิดขึ้นมาแล้ว ก็ตั้งชื่อลิงก์ในเฟรม Name ครับ ดู



ภาพ 6-2



3 ก�ำหนด URL ปลายทางของลิงก์ลงในเฟรม Web Address (ต้องน�ำหน้าด้วย



http:// ด้วยนะครับ) 4 เขียนค�ำอธิบายเพิ่มเติมให้ลิงก์ในเฟรม Description (ข้อมูล Description นี้จะ แสดงขึ้นมาเมื่อผู้ชมบล็อกเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์มาอยู่เหนือลิงก์)



123



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



5 ก�ำหนดแคเทอกอรีให้ลิงก์ในเฟรม Categories เรายังไม่เคยสร้างแคเทอกอรี



ให้ลิงก์ จึงเห็นแค่แคเทอกอรีที่ชื่อ Blogroll ซึ่ง WordPress เตรียมไว้ให้โดยอัตโนมัติครับ ที่จริงแล้วเฟรมส�ำหรับตั้งค่าให้ลิงก์ยังมีอีก 3 เฟรม คือเฟรม Target, เฟรม Link Relationship (XFN) และเฟรม Advanced (คุณจะไม่เห็นทั้ง 3 เฟรมนี้ในภาพตัวอย่าง 6-2 เพราะมันอยู่ถัดลงไปด้านล่าง) แต่เราไม่จำ� เป็นต้องตั้งค่าใน 3 เฟรมนี้แต่อย่างใดครับ 6 คลิกปุ่ม Add Link ในเฟรม Save เพื่อสร้างลิงก์ใหม่ขึ้นมาได้เลย



2 3



6 4



5



ภาพ 6-2 หน้า Add New Link



124



จัดการ Link ใน WordPress



บทที่ 6



หลังจากที่เราสร้างลิงก์เรียบร้อยแล้ว เราจะยังไม่เห็นลิงก์เหล่านี้แสดงผลในหน้า บล็อกนะครับ ลิงก์ทสี่ ร้างไว้จะแสดงผลได้ เราต้องเข้าไปสัง่ เพิม่ วิดเจ็ต (Widget) ทีใ่ ช้สำ� หรับ แสดงลิงก์ลงในหน้าบล็อกซะก่อน แต่ประเด็นนีผ้ มจะยกไปอธิบายต่อในหัวข้อ “แต่งเติมลูก เล่นให้ Blog ด้วย Widgets” ของบทที่ 9 ซึง่ เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับการจัดการวิดเจ็ตในบล็อกครับ



จัดการทุก Link ผ่านเมนู All Links คุณผูอ้ า่ นทีห่ วั ไวหน่อยน่าจะเดาได้ไม่ยากว่า เมือ่ เราต้องการจัดการกับลิงก์ทงั้ หมด ใน WordPress เราต้องคลิกทีเ่ มนู Links > All Links เมือ่ คลิกแล้วเราจะเข้ามาทีห่ น้า Links ดังภาพ 6-3 และเราจะเห็นรายการลิงก์ทั้งหมดแสดงเรียงรายกันอยู่ ในหน้า Links เราจะ พบว่ามีรายการลิงก์อยู่จ�ำนวนหนึ่งซึ่งเราไม่ได้เป็นคนสร้างขึ้นมา ลิงก์พวกนี้ถูกสร้างขึ้น โดยระบบ WordPress ครับ แต่ละลิงก์จะเชือ่ มโยงไปหาเว็บไซต์ทเี่ กีย่ วข้องกับ WordPress ด้วยกันทั้งนั้น ลิงก์ที่ WordPress สร้างไว้ให้นี้ เราไม่จ�ำเป็นต้องใช้งานมันหรอก ทางที่ดีก็ควรลบ ทิ้งไปครับ วิธีการลบรายการลิงก์ที่ไม่ต้องการทิ้งจากบล็อกก็ไม่ยาก เพียงแค่เลื่อนเมาส์ พอยน์เตอร์ไปอยู่เหนือรายการลิงก์นั้น เราจะเห็นค�ำสั่งส�ำหรับจัดการลิงก์แสดงขึ้นมา หากต้องการลบลิงก์ทิ้ง ก็แค่คลิกค�ำสั่ง Delete เท่านั้นเอง แต่ถ้าต้องการแก้ไขลิงก์ ก็คลิก ค�ำสั่ง Edit แทน



125



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 6-3 หน้า Links



แต่ถ้าใครขี้เกียจมานั่งลบลิงก์ทีละรายการ ก็ใช้วิธีลัดได้ด้วยการคลิกเลือกลิงก์ที่ ต้องการลบทิ้งทั้งหมด จากนั้นคลิกช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Bulk Actions แล้วเลือกค�ำสั่งให้ เป็น Delete ตามด้วยคลิกปุ่ม Apply ครับ แค่นี้เราก็สั่งลบลิงก์ครั้งละหลายๆ ลิงก์ได้แล้ว



สร้าง Category ให้ Link รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการลิงก์เหลืออีกแค่เรื่องเดียวครับ คือเรื่องของ การสร้างแคเทอกอรีให้ลิงก์ ผมเคยบอกไปแล้วว่า WordPress จะสร้างแคเทอกอรีมาให้ เราโดยอัตโนมัติ 1 แคเทอกอรี แคเทอกอรีที่ว่านี้ชื่อว่า Blogroll ไงล่ะ แต่ถ้าเราอยากจะ สร้างแคเทอกอรีเพิ่มเติมเพื่อจัดหมวดหมู่ให้ลิงก์ ก็ท�ำได้สบายมาก 126



จัดการ Link ใน WordPress



บทที่ 6



ตัวอย่างเช่น เราเก็บแคเทอกอรี Blogroll เอาไว้สำ� หรับรวบรวมลิงก์ของบล็อกทีเ่ ป็น พันธมิตรกับเรา แล้วก็สร้างแคเทอกอรีชอื่ Advertising ขึน้ มาเพือ่ รวบรวมลิงก์ของลูกค้าที่ สนใจลงโฆษณาในบล็อก หรืออาจสร้างแคเทอกอรีชอื่ Social Network เอาไว้รวบรวมลิงก์ ที่เชื่อมโยงไปหาเว็บไซต์ Social Network ต่างๆ ของเราเองด้วย อะไรท�ำนองนี้ วิธีการสร้างแคเทอกอรีเพื่อจัดหมวดหมู่ให้ลิงก์ใน WordPress ท�ำได้ง่ายๆ ตามขั้น ตอนต่อไปนี้ครับ 1 คลิกเมนู Links > Link Categories เพื่อเข้าสู่หน้า Link Categories ดังภาพ 6-4 จากนั้นตั้งชื่อแคเทอกอรีในช่อง Name 2 ก�ำหนด Slug ในช่อง Slug 3 เขียนค�ำอธิบายเพิ่มเติมในช่อง Description 4 คลิกปุ่ม Add New Link Category เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว



1 2 3 4 ภาพ 6-4 หน้า Link Categories



127



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ที่หน้า Link Categories นี้ เรายังจะเห็นรายการแคเทอกอรีทั้งหมดที่มีอยู่แสดงใน เฟรมด้านขวามือ และก็แน่นอนว่าเราสามารถจัดการกับแคเทอกอรีที่เคยสร้างไว้ได้ด้วย การเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยู่เหนือรายการแคเทอกอรีนั้นๆ แล้วเลือกค�ำสั่งที่ปรากฏ ขึ้นมาให้เห็น ทั้งค�ำสั่ง Edit ส�ำหรับแก้ไขแคเทอกอรี, ค�ำสั่ง Quick Edit ส�ำหรับแก้ไข แคเทอกอรีแบบเร่งด่วน และค�ำสั่ง View ส�ำหรับเปิดดูแคเทอกอรีผ่านหน้าบล็อกครับ ส่วนช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Bulk Actions ก็มีไว้สั่งลบรายการแคเทอกอรีครั้งละ หลายๆ รายการ...เรื่องนี้ถึงผมไม่บอกคุณก็คงเดาได้อยู่แล้วจริงมั้ยครับ



128



บทที ่ 7 สร้าง Page ใน



WordPress ให้เป็น



อย่างที่ผมเคยบอกไปแล้วว่า บล็อกถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง ลักษณะเด่นของบล็อกคือจะแสดงบทความเรียงรายกันไปตามล�ำดับเวลาก่อน หลัง บทความที่เขียนก่อนก็จะแสดงอยู่ด้านล่าง บทความที่เขียนทีหลังจะแสดงอยู่ด้านบน ไล่ เรียงกันไปเรื่อยๆ แบบนี้ เมื่อบล็อกมีบทความจ�ำนวนมากจนแสดงในหน้าแรกไม่หมด เราก็ต้องคลิก เลื่อนหน้าไปเรื่อยๆ เพื่อหาบทความเก่าๆ หรือไม่ก็อาจค้นหาบทความด้วยวิธีอื่นๆ เช่น คลิกเลือก จากแคเทอกอรี หรือเลือกจากเดือนที่เผยแพร่บทความ แต่รปู แบบการแสดงบทความของบล็อกอย่างทีว่ า่ มานี้ ก็ทำ� ให้เกิดข้อจ�ำกัดบางอย่างครับ กล่าว คือถ้าเราอยากให้บทความบางชิ้นอยู่เป็นอิสระจากบทความอื่นๆ ก็จะไม่สามารถท�ำได้ อย่างไรก็ตาม WordPress ได้อุดช่องโหว่ในเรื่องนี้ด้วยการสร้างระบบ Page ขึ้นมาให้เราใช้งานครับ ระบบ Page ที่ ว่านี้มีประโยชน์ตรงไหน ช่วยท�ำอะไรให้เราได้บ้าง เราจะศึกษากันในบทนี้ครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



Page ใน WordPress มีไว้ใช้ทำ�อะไร การสร้างบล็อกขึ้นมาเผยแพร่บทความท�ำได้ง่ายกว่าการสร้างเว็บไซต์เยอะ ที่เห็น ได้ชัดเลยคือเราไม่ต้องวุ่นวายกับการตั้งค่าการแสดงผลของบทความในโฮมเพจ เพราะ บทความทุกบทความที่เขียนลงบล็อกจะแสดงเรียงล�ำดับกันไปเรื่อยๆ แต่ความง่ายของ บล็อกก็ท�ำให้เกิดข้อจ�ำกัดตามมาด้วย คุณลองคิดตามนะครับ สมมุติว่าเราอยากจะสร้างบทความที่ชื่อ “เกี่ยวกับเรา” ขึ้น มา เพือ่ เขียนอธิบายเกีย่ วกับบล็อกว่า สร้างขึน้ มาเพือ่ จุดประสงค์อะไร หรือน�ำเสนอเกีย่ ว กับเรื่องอะไร หรือเราอาจสร้างบทความที่ชื่อ “ติดต่อเรา” เพื่อให้ข้อมูลกับคนอ่านว่าจะ ติดต่อกับเราผ่านช่องทางไหนได้บ้าง แบบนี้เราก็คงไม่ต้องการให้บทความในลักษณะนี้ ไปอยู่รวมกับบทความทั่วๆ ไป เพราะบทความประเภทนี้มีสถานะเหมือนเป็น “เนื้อหา พิเศษ” ในบล็อก เราจึงอยากให้มันอยู่แยกแบบเดี่ยวๆ ไม่เกี่ยวกับใคร แล้วก็อยากให้คน อ่านบล็อกสามารถคลิกเข้าไปอ่านเนื้อหาพิเศษท�ำนองนี้ได้ง่ายๆ ทางออกของปัญหาลักษณะนี้เราต้องอาศัยระบบเพจ (Page) มาช่วยครับ ระบบเพจของ WordPress ถูกสร้างขึน้ มาเพือ่ ให้เราใช้สร้างเว็บเพจย่อยๆ ในบล็อก ของเรา โดยเว็บเพจย่อยนี้จะไม่ไปอยู่รวมกับบทความปกติในหน้าแรกของบล็อก แต่มัน จะถูกแยกอยู่ต่างหาก ผู้ชมบล็อกต้องคลิกผ่านเมนูเข้าไปจึงจะเห็นเนื้อหาในเพจเหล่านี้ หรืออาจอธิบายได้อกี อย่างว่า บทความปกติซงึ่ แสดงในหน้าแรกของบล็อกจะแสดง ผลในลักษณะ Dynamic Page หมายความว่ามันจะเปลีย่ นแปลงไปเรือ่ ยๆ เมือ่ มีการเขียน บทความใหม่ๆ เพิ่มเติมลงไป ผู้ชมบล็อกที่คลิกเข้ามาเยี่ยมชมในวันนี้ จะเห็นหน้าตาของ โฮมเพจเปลี่ยนแปลงไปจากที่เห็นเมื่อวันก่อนๆ (ยกเว้นเราไม่ได้เขียนบทความใหม่ลงไป เลย) ส่วนบทความที่อยู่ในเพจจะมีลักษณะเป็น Static Page คือคงที่ตายตัวอยู่อย่างนั้น ไม่วา่ ผูช้ มบล็อกจะคลิกเข้าไปอ่านวันไหนก็จะยังคงเห็นบทความเดียวบทความเดิมตลอด (หมายถึงถ้าเราไม่ได้ไปแก้ไขบทความนะ) 130



สร้าง Page ใน WordPress ให้เป็น



บทที่ 7



และในมุมมองของผมแล้ว ผมว่าระบบเพจนีแ่ หละ ทีช่ ว่ ยให้บล็อกมีคณ ุ สมบัตเิ ทียบ เท่ากับเว็บไซต์มากขึ้นไปอีกระดับครับ



สร้าง Page ใหม่ไว้ใช้งาน อ่านค�ำอธิบายของผมเกี่ยวกับเรื่องระบบเพจใน WordPress ในหัวข้อที่แล้ว คุณ อาจยังเข้าใจหรือมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ไม่เป็นไรครับ หัวข้อนี้เราจะมาลองสร้างเพจกัน จริงๆ ดู เชื่อว่าน่าจะช่วยให้คุณท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเพจใน WordPress ได้มาก ขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้เพจได้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น วิธีการสร้างเพจใหม่ขึ้นมาใช้งานให้ทำ� ตามนี้ครับ 1 คลิกเมนู Pages > Add New ดูภาพ 7-1



ภาพ 7-1 คลิกเมนู Pages > Add New



131



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2 ที่หน้า Add New Page ให้ตั้งชื่อเพจในช่อง Name ดูภาพ 7-2 3 เขียนบทความหรือเนื้อหาของเพจลงใน Post Editing Area ซึ่งการเขียน



บทความเพื่อเผยแพร่ผ่านเพจนี้ ก็เหมือนกับการเขียนบทความเผยแพร่ผ่านหน้าบล็อก ตามปกตินนั่ แหละครับ เราจะก�ำหนดฟอร์แมตของข้อความในลักษณะต่างๆ หรือจะแทรก ไฟล์มีเดียลงในบทความก็ทำ� ได้ทั้งนั้น 4 ตั้งค่าการแสดงผลของเพจในเฟรม Page Attributes (จะไม่ตั้งค่าก็ได้) โดยมี ออปชันที่กำ� หนดได้คือ... •  Parent ก�ำหนดให้เพจนี้เป็นเพจย่อยภายใต้เพจอื่นที่มีอยู่ก่อนแล้วอีกที (โดย เพจที่มีสถานะเป็นเพจย่อยนี้ เมื่อดูที่หน้าบล็อกมันจะปรากฏเป็นเมนูย่อยภายใต้เมนู หลักอีกทีหนึ่ง) •  Template เลือกรูปแบบเทมเพลตของเพจนี้ เพื่อก�ำหนดหน้าตาการแสดงผล ของเพจ •  Order ก�ำหนดล�ำดับการแสดงผลของเพจ (ในเมนูของบล็อก) 5 คลิกปุ่ม Publish ในเฟรม Publish เพื่อสั่งเผยแพร่เพจเลยครับ เพจที่เราสร้างขึ้นใหม่นี้ ตามปกติแล้ว WordPress จะสร้างเมนูให้มันโดยอัตโนมัติ เราจะเห็นเมนูของเพจแสดงอยู่ด้านบน (หรืออาจเป็นต�ำแหน่งอื่นๆ แล้วแต่ธีมที่ใช้) ของ บล็อกเหมือนในภาพตัวอย่าง 7-3 เมื่อคลิกที่เมนูนี้ บทความที่เราเขียนไว้ในเพจนั้นๆ ก็ จะแสดงขึ้นมา และในเมนูของบล็อกเรายังจะเห็นเมนูอีก 2 เมนูปรากฏอยู่ด้วย เมนูแรก คือ Home มีไว้คลิกเพื่อกลับสู่โฮมเพจ เมนู Home นี้ถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ เราลบมัน ทิ้งไม่ได้ และอีกเมนูคือ Sample Page เป็นเมนูที่ลิงก์ไปยังเพจที่ชื่อ Sample Page ซึ่ง WordPress สร้างไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างครับ



132



สร้าง Page ใน WordPress ให้เป็น



บทที่ 7



2 5 3



4



ภาพ 7-2 หน้า Add New Page



ภาพ 7-3 ตัวอย่างเมนูของบล็อก



133



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



จัดการทุก Page ผ่านคำ�สั่ง All Page การจัดการกับเพจใน WordPress ก็เหมือนๆ กับการจัดการไอเท็มอื่นๆ ที่เราเคย เรียนรู้กันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบทความ, ไฟล์มีเดีย หรือลิงก์ เป็นต้น เมื่อต้องการจัดการ กับเพจที่เคยสร้างไว้ เราก็ต้องคลิกเข้าไปที่เมนู Pages > All Pages จากนั้นเราจะเห็น หน้า Pages แสดงขึ้นมาเหมือนในภาพ 7-4 ในหน้า Pages นี้จะมีรายการเพจที่เคยสร้าง ไว้ปรากฏเรียงราย คุณอยากจัดการอะไรกับเพจไหนก็ท�ำได้เลย แต่เรื่องหนึ่งที่ผมอยาก แนะน�ำคือให้ลบเพจที่ชื่อ Sample Page ทิ้งไปซะ เพราะเราไม่มีความจ�ำเป็นต้องใช้งาน มันแต่อย่างใดครับ



ภาพ 7-4 จัดการเพจผ่านหน้า Pages



134



สร้าง Page ใน WordPress ให้เป็น



บทที่ 7



คุณต้องการจัดการกับเพจไหน ก็แค่เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยู่เหนือรายการเพจ นั้น แล้วคลิกเลือกค�ำสั่งส�ำหรับจัดการเพจที่ปรากฏขึ้นมา ทั้งค�ำสั่ง Edit ส�ำหรับแก้ไขเพจ (จะคลิกที่ชื่อเพจโดยตรงเพื่อเข้าไปแก้ไขก็ได้), ค�ำสั่ง Quick Edit ส�ำหรับแก้ไขเพจแบบเร่ง ด่วน, ค�ำสั่ง Trash ส�ำหรับลบเพจนั้นๆ ทิ้ง หรือค�ำสั่ง View ส�ำหรับเรียกดูเพจนั้นผ่าน หน้าบล็อก และที่ขาดไม่ได้ก็คือช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Bulk Actions ซึ่งมีให้เราใช้งานในหน้า Pages นี้อย่างไม่ต้องสงสัย หากใครคิดจะแก้ไขหรือลบเพจทิ้งพร้อมๆ กันหลายๆ เพจ ก็ใช้ค�ำสั่ง Edit หรือ Move to Trash ผ่านช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Bulk Actions ได้นะครับ



135



บทที ่ 8 จัดการ Comment ของผู้ชม Blog



ถ้าคุณผูอ้ า่ นสังเกตให้ดจี ะพบว่า การจัดการบทความ การจัดการไฟล์ มีเดีย และการจัดการเพจ ซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วในบทที่ 4, บทที่ 5 และบทที่ 7 นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับการเขียนบทความเผยแพร่ผ่านบล็อกทั้งสิ้น อย่างเช่นบทที่ 4 ซึ่งว่าด้วยเรื่องการจัดการบทความน่ะ ก็ต้องเกี่ยวกับการเขียนบทความโดยตรงอยู่แล้ว ส่วนบทที่ 5 ซึ่งว่าด้วยเรื่องการจัดการไฟล์มีเดีย ก็เกี่ยวกับบทความอีกนั่นแหละ เพราะจุดประสงค์ส�ำคัญของการ จัดการไฟล์มีเดีย ก็เพื่อน�ำพวกมันมาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของบทความ และในบทที่ 7 ซึ่งว่าด้วยเรื่อง ของเพจ ก็เป็นประเด็นเกี่ยวกับการเผยแพร่บทความที่มีลักษณะพิเศษในเว็บเพจย่อยที่เราสร้างขึ้นมา บทที่ 8 นีก้ เ็ ช่นกัน เนือ้ หาบทนีเ้ ป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับบทความในบล็อก เพียงแต่ไม่ได้เกีย่ วกับตัว บทความโดยตรง แต่เกี่ยวกับระบบคอมเมนต์ ในบล็อกที่มีไว้สำ� หรับให้คนอ่านแสดงความคิดเห็นต่อบท ความนัน้ ๆ ประเด็นเกีย่ วกับระบบคอมเมนต์ในบล็อกมีเรือ่ งน่ารูอ้ ะไรบ้าง เราจะไปว่ากันในบทนีน้ แี่ หละครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เสน่ห์ของ Blog อยู่ที่ระบบ Comment เวลาทีเ่ ราอ่านบทความในเว็บไซต์สกั เว็บหนึง่ แล้วรูส้ กึ อยากแสดงความคิดเห็นอะไร สักอย่าง คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่เราจะแสดงความคิดเห็นได้ เพราะเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่มี ระบบคอมเมนต์ (Comment) ไว้ให้ผู้เยี่ยมชมแสดงความคิดเห็น ถ้าอยากแสดงความคิด เห็นเกี่ยวกับบทความในเว็บจริงๆ เราอาจต้องแสดงความคิดเห็นผ่านทางอีเมล หรือไม่ก็ เข้าไปเขียนไว้ในเว็บบอร์ดของเว็บไซต์แทน (ถ้าเว็บไซต์แห่งนั้นมีเว็บบอร์ดน่ะนะ) แต่การ ท�ำแบบนั้นมันก็ไม่ค่อยสะดวกและดูไม่เป็นระบบเท่าไหร่ เพราะคนอ่านไม่สามารถเขียน คอมเมนต์ได้ทันทีที่อ่านบทความจบลง ในทางตรงกันข้าม หากเราสร้างบล็อกด้วย WordPress ละก็ การคอมเมนต์บทความ ของคนอ่านบล็อกจะเป็นเรือ่ งง่ายมาก เพราะระบบคอมเมนต์เป็นองค์ประกอบส�ำคัญทีถ่ กู บรรจุอยูใ่ นบล็อกอยูแ่ ล้ว ไม่วา่ คนอ่านอ่านบทความแล้วอยากแสดงความคิดเห็นหรือพูด คุยอะไร ก็สามารถเขียนคอมเมนต์ในเรื่องที่อยากพูดได้อย่างง่ายดายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งนั่นก็คือจุดขายส�ำคัญที่ท�ำให้บล็อกแตกต่างจากเว็บไซต์โดยทั่วไปครับ บล็อกที่สร้างด้วย WordPress ทุกบล็อกจะมาพร้อมระบบคอมเมนต์ในตัว เมื่อ ผู้ชมบล็อกอ่านบทความใดๆ ก็ตามจบแล้ว จะสามารถเขียนคอมเมนต์ในเฟรม Leave a Reply ด้านล่างของบทความได้ทันที (เดี๋ยวคุณผู้อ่านจะได้เห็นตัวอย่างเฟรม Leave a Reply นี้ในหัวข้อถัดไป) ระบบคอมเมนต์ของ WordPress ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ระหว่างเจ้าของบล็อกกับคนอ่านบล็อก เนือ่ งจากคนอ่านบล็อกสามารถพูดคุยแสดงความ คิดเห็นในประเด็นต่างๆ กลับไปถึงผู้เขียนบทความได้โดยตรง หรือจะเป็นการแสดงความ คิดเห็นเพื่อให้คนอ่านบล็อกคนอื่นๆ ได้อ่านก็แล้วแต่ ส่วนผู้เขียนบทความก็สามารถเข้า มาพูดคุยตอบโต้กบั คนคอมเมนต์ได้อย่างรวดเร็ว ท�ำให้เกิดการมีสว่ นร่วมระหว่างคนเขียน กับคนอ่าน 138



จัดการ Comment ของผู้ชม Blog



บทที่ 8



ผมว่าระบบคอมเมนต์นี่แหละครับที่เป็นเสน่ห์ส�ำคัญของบล็อก แนวคิดของพวก Social Network ต่างๆ ก็น่าจะมีพื้นฐานมาจากบล็อกนี่เอง ผิดก็แค่ว่าพวก Social Network เน้นเอาไว้เขียนข้อความสั้นๆ หรือโพสต์รูปโพสต์คลิปวิดีโอ อีกทั้งมีความเป็นส่วน ตัวมากกว่า ขณะที่บล็อกเหมาะจะเอาไว้ใช้เขียนบทความที่ยาวกว่า และคนอ่านบล็อก จะเป็นใครก็ได้ ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นเพื่อนหรือคนรู้จัก แต่ทั้งบล็อกและทั้ง Social Network ก็ล้วนเป็นพื้นที่ที่ท�ำให้เกิดการมีส่วนร่วมหรือเกิดสังคมออนไลน์ขึ้นมา เนื่องจากทุกคน สามารถเข้าไปเขียนคอมเมนต์ได้ไงครับ



ตัวอย่างการเขียน Comment ใน Blog ใครที่เคยเข้าไปเขียนคอมเมนต์ในบล็อกที่สร้างด้วย WordPress มาก่อน น่าจะ พอนึกออกว่าหน้าตาของเฟรมหรือช่องส�ำหรับเขียนคอมเมนต์เป็นอย่างไร แต่ถ้าคุณไม่ เคยเขียนคอมเมนต์ในบล็อก WordPress มาก่อนเลย ผมก็อยากแนะน�ำให้คุณดูตัวอย่าง การเขียนคอมเมนต์ในหัวข้อนี้ เพราะจะช่วยให้คุณมองเห็นภาพว่า เวลามีคนเข้ามาเขียน คอมเมนต์ในบล็อกของคุณน่ะ คนคนนั้นต้องเขียนคอมเมนต์ที่ไหนยังไง บทความทุกบทความที่เราเขียนเผยแพร่ผ่านบล็อก WordPress นั้น เมื่อมีคนคลิก เข้าไปอ่าน คนอ่านบล็อกจะเห็นเฟรมที่มีข้อความก�ำกับว่า Leave a Reply แสดงอยู่ด้าน ล่างสุดของเว็บเพจทีแ่ สดงบทความนัน้ (ดูภาพ 8-1 ประกอบนะครับ) เฟรม Leave a Reply นีม้ ไี ว้สำ� หรับเขียนคอมเมนต์บทความนัน้ ๆ นัน่ เอง โดยค�ำว่า Leave a Reply ก็พอจะแปล ได้ว่า “ทิ้งความคิดเห็นของคุณไว้” อะไรประมาณนี้



139



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 8-1 เฟรม Leave a Reply



คนทีต่ อ้ งการจะเขียนคอมเมนต์กแ็ ค่กรอกชือ่ ลงในช่อง Name, กรอกอีเมลแอดเดรส ในช่อง Email, กรอกเว็บไซต์ในช่อง Website (ถ้าไม่มเี ว็บไซต์กไ็ ม่ตอ้ งกรอก) จากนัน้ ก็เขียน ข้อความคอมเมนต์ลงในช่อง Comment ตามต้องการ เมื่อเขียนคอมเมนต์เสร็จก็แค่คลิก ปุม่ Post Comment เพียงเท่านีค้ อมเมนต์นนั้ ก็ถกู บันทึกไว้ในระบบของ WordPress ทันที เอ...ผมไม่แน่ใจว่าคุณเห็นเฟรม Leave a Reply เหมือนที่ผมอธิบายไปนี้หรือเปล่า ถ้าพบว่าเฟรม Leave a Reply ไม่มชี อ่ งว่างให้กรอกข้อมูลอืน่ ๆ มีแต่ชอ่ ง Comment ส�ำหรับ เขียนคอมเมนต์เท่านัน้ ก็แสดงว่าคุณเปิดดูบทความในบล็อกตัวเองขณะทีย่ งั ล็อกอินอยูใ่ น ระบบ WordPress คุณจึงไม่ต้องกรอกชื่อ, อีเมล, เว็บไซต์ เหมือนคนทั่วไป แต่สามารถ เขียนคอมเมนต์ลงไปได้เลย ถ้าคุณอยากเห็นเฟรม Leave a Reply ในลักษณะเดียวกับคน 140



จัดการ Comment ของผู้ชม Blog



บทที่ 8



อ่านบล็อกทั่วไป คุณต้องล็อกเอาต์ออกจากระบบก่อน หรือไม่งั้นก็เปลี่ยนไปใช้โปรแกรม เว็บเบราเซอร์ตัวอื่นแทน มาว่าถึงเรื่องคอมเมนต์กันต่อ หลังจากที่คนอ่านคนนั้นเขียนคอมเมนต์และคลิก ปุ่ม Post Comment แล้ว จะมีเพียงเจ้าตัวเท่านั้นครับที่มองเห็นคอมเมนต์ของตัวเอง ปรากฏขึ้นมาระหว่างบทความกับเฟรม Leave a Reply (ดูภาพ 8-2) แต่ส�ำหรับผู้ชม บล็อกคนอื่นๆ จะไม่มีใครเห็นคอมเมนต์นี้ เนื่องจากตามค่าเริ่มต้นของ WordPress แล้ว คอมเมนต์ทุกคอมเมนต์จะไม่แสดงผลผ่านบล็อกทันที แต่จะต้องรอการตรวจสอบ หรือกลั่นกรอง (Moderation) จากเจ้าของบล็อกก่อน สาเหตุที่ WordPress สร้างระบบ กลั่นกรองคอมเมนต์ก็เพราะต้องการให้เจ้าของบล็อกมีสิทธิ์ควบคุมเนื้อหาในบล็อกตัว เองได้ คุณลองคิดดูสิครับว่าหากไม่มีระบบกลั่นกรองคอมเมนต์ ทุกคอมเมนต์ทั้งดีและ ไม่ดี ทั้งสุภาพและไม่สุภาพ ก็จะถูกเผยแพร่ในทันที ซึ่งแบบนี้คงไม่เป็นผลดีกับบล็อก ของเราเท่าไหร่ครับ (ผมจะกลับมาอธิบายวิธีจัดการกับคอมเมนต์ในหัวข้อ “จัดการกับ Comment ใน WordPress” ซึ่งเป็นหัวข้อถัดไป)



ภาพ 8-2 ตัวอย่างคอมเมนต์



141



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



จัดการกับ Comment ใน WordPress เรารู้กันไปแล้วว่าหลังจากมีคนเข้ามาเขียนคอมเมนต์ในบล็อก คอมเมนต์นั้นจะ ยังไม่ถูกเผยแพร่ให้ทุกคนเห็นในทันที จะมีเพียงเจ้าตัวคนคอมเมนต์เท่านั้นที่มองเห็น คอมเมนต์ของตัวเอง หน้าทีข่ องเจ้าของบล็อกอย่างเราคือการเข้าไปจัดการกับคอมเมนต์ ใหม่ๆ เหล่านี้ว่า เราต้องการท�ำอย่างไรกับคอมเมนต์นั้นๆ เทคนิคที่ช่วยตรวจสอบได้ง่ายๆ ว่ามีคอมเมนต์ใหม่ๆ รอการกลั่นกรองจากเราอยู่ หรือเปล่าก็คือ ให้สังเกตที่เมนู Comments ในหน้า Dashboard ของ WordPress ถ้าหาก มีตัวเลขแสดงอยู่ด้านหลังเมนู Comments ก็แสดงว่ามีคอมเมนต์รอการกลั่นกรองจาก เราอยู่ อย่างในภาพตัวอย่าง 8-3 นี้จะเห็นว่ามีเลข 1 ปรากฏอยู่ ก็แสดงว่ามีคอมเมนต์ รอการกลั่นกรองจากเราอยู่ 1 คอมเมนต์



ภาพ 8-3 ตัวเลขแสดงจ�ำนวนคอมเมนต์



142



จัดการ Comment ของผู้ชม Blog



บทที่ 8



เมื่อเราต้องการจัดการกับคอมเมนต์ที่รอการกลั่นกรองอยู่นี้ เราก็แค่คลิกเมนู Comments เพื่อเปิดเข้าสู่หน้า Comments ครับ ที่หน้า Comments นี้เราจะเห็นรายการ คอมเมนต์ทงั้ หมดปรากฏอยู่ ทัง้ คอมเมนต์ทรี่ อการกลัน่ กรอง และคอมเมนต์ทเี่ ราอนุญาต หรืออนุมัติให้เผยแพร่แล้ว โดยรายการคอมเมนต์ที่รอการกลั่นกรองจะเป็นสีเหลือง ส่วน รายการคอมเมนต์ที่ผ่านการอนุมัติแล้วจะเป็นสีขาว วิธีจัดการกับคอมเมนต์ที่รอการกลั่นกรองท�ำได้ด้วยการเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไป อยู่เหนือรายการคอมเมนต์นั้นๆ แล้วก็เลือกค�ำสั่งส�ำหรับจัดการคอมเมนต์ที่แสดงขึ้นมา ค�ำสั่งส�ำหรับจัดการคอมเมนต์มีดังต่อไปนี้ครับ (ดูภาพ 8-4)



ภาพ 8-4 หน้า Comments



•  Approve อนุมัติให้คอมเมนต์เผยแพร่ได้ (ถ้าเป็นคอมเมนต์ที่อนุมัติแล้ว เราจะ



เห็นค�ำสั่ง Unapprove ซึ่งหมายถึงยกเลิกการอนุมัติปรากฏขึ้นมาแทน)



143



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  Reply อนุมัติคอมเมนต์พร้อมกับเขียนคอมเมนต์โต้ตอบ •  Quick Edit แก้ไขคอมเมนต์แบบเร่งด่วน •  Edit แก้ไขคอมเมนต์ •  Spam ก�ำหนดให้คอมเมนต์นั้นเป็นสแปม (ขยะ) •  Trash ลบคอมเมนต์ทิ้ง



อยากท�ำอะไรกับคอมเมนต์จากผู้อ่านบล็อก คุณก็คลิกเลือกค�ำสั่งส�ำหรับจัดการ คอมเมนต์เอาตามต้องการเลยครับ



ปิดระบบ Comment ให้บทความ บทความส่วนใหญ่ที่เขียนลงบล็อกน่ะ เราย่อมจะต้องการให้มีระบบคอมเมนต์อยู่ แล้ว คนอ่านจะได้สามารถแสดงความคิดเห็นได้หลังจากอ่านบทความของเรา แต่มันก็ เป็นไปได้เหมือนกันครับที่เราอาจไม่อยากให้คนอ่านสามารถคอมเมนต์บทความบางบท ของเราได้ ตัวอย่างเช่น เราเขียนบทความทีค่ อ่ นข้างจะเสีย่ งต่อกระแสต่อต้าน ก็เลยอยาก จะปิดระบบคอมเมนต์ของบทความนีซ้ ะเลย จะได้ไม่ตอ้ งมาเสียเวลากลัน่ กรองคอมเมนต์ จ�ำนวนมาก หรือเราอาจสร้างเพจทีช่ อื่ “เกีย่ วกับเรา” ขึน้ มาเพือ่ เขียนข้อมูลเกีย่ วกับบล็อก ซึ่งเนื้อหาที่มีลักษณะพิเศษแบบนี้คงไม่จ�ำเป็นต้องให้ใครมาคอมเมนต์ เพราะมันไม่ใช่ บทความปกติ เราจึงอยากจะปิดระบบคอมเมนต์ให้บทความในเพจนี้ การปิดระบบคอมเมนต์ให้บทความนี้ เราท�ำได้ทั้งบทความใหม่และบทความที่เคย เขียนเผยแพร่ไปแล้วครับ วิธีการปิดระบบคอมเมนต์ให้บทความต้องท�ำยังไง ไปดูกันเลย ครับ 1 ในหน้า Add New Post ส�ำหรับเขียนบทความใหม่ หรือหน้า Edit Post ส�ำหรับ แก้ไขบทความเดิม (รวมถึงหน้า Add New Page ส�ำหรับสร้างเพจใหม่ และหน้า Edit Page 144



จัดการ Comment ของผู้ชม Blog



บทที่ 8



ส�ำหรับแก้ไขเพจเดิม) ให้คุณเขียนหรือแก้ไขบทความไปตามปกติ จากนั้นคลิกปุ่ม Screen Options ดังภาพ 8-5



1



ภาพ 8-5 คลิกปุ่ม Screen Options



2 คลิกใส่เครื่องหมาย หน้าค�ำสั่ง Discussion ดูภาพ 8-6 3 คุณจะเห็นเฟรม Discussion ปรากฏขึ้นมาด้านล่าง Post Editing Area การ



ยกเลิกระบบคอมเมนต์ของบทความนี้ท�ำได้ด้วยการคลิกยกเลิกเครื่องหมาย หน้า ค�ำสั่ง Allow comments. 4 คลิกปุ่ม Publish เพื่อสั่งเผยแพร่บทความหรือเพจ (กรณีสร้างบทความใหม่ หรือเพจใหม่) หรือคลิกปุ่ม Update เพื่ออัปเดตข้อมูลของบทความหรือเพจ (กรณีเปิด บทความหรือเพจที่มีอยู่แล้วขึ้นมาแก้ไข) ได้เลยครับ



145



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2



4



3 ภาพ 8-6 ปิดระบบคอมเมนต์ให้บทความ



บางคนเห็นวิธีปิดระบบคอมเมนต์ของบทความบางบทแล้ว อาจสงสัยว่าถ้าอยาก ปิดระบบคอมเมนต์ของบล็อกทั้งบล็อกเพื่อไม่ให้คนอ่านเขียนคอมเมนต์ในบทความไหน ได้เลยล่ะ จะสามารถท�ำได้หรือเปล่า เรื่องนั้นเราสามารถท�ำได้เช่นกันครับ แต่ต้องเข้าไป ตั้งค่าผ่านเมนู Settings > Discussion รายละเอียดเรื่องนี้ผมจะยกไปพูดในหัวข้อ “ตั้งค่า Discussion” ของบทที่ 13 ครับ



146



บทที ่ 9 ปรับแต่งหน้าตา



ของ WordPress



ในบทก่อนๆ เราได้ลองจัดการกับบทความหรือเนือ้ หาในบล็อก WordPress กันไปอย่างครบถ้วนกระบวนความแล้วก็ว่าได้ครับ แต่บล็อกน่ะจะมีแค่เนื้อหา ที่ดีอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีหน้าตาที่ดูสวยงามน่าสนใจด้วย เปรียบเหมือนผู้หญิงนั่นแหละ ผู้หญิง ฉลาดย่อมจะได้เปรียบผูห้ ญิงทัว่ ไป แต่ถา้ ฉลาดด้วยสวยด้วย ก็ยงิ่ ได้เปรียบเข้าไปใหญ่ หากเราท�ำบล็อก ให้มีเนื้อหาที่มีคุณภาพเพียงอย่างเดียว แต่หน้าตาบล็อกกลับดูเฉิ่มเชยหรือเรียบง่ายมากเกินไป ก็อาจ ท�ำให้คนที่คลิกเข้ามาในบล็อกไม่สนใจอ่านเนื้อหาที่เขียนขึ้นเลยด้วยซ�้ำ บทที่ 9 นี้ เรามาศึกษาวิธีการเปลี่ยนธีมซึ่งเป็นตัวก�ำหนดหน้าตาหรือการแสดงผลของบล็อก รวมไปถึงศึกษาในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้าตาของบล็อกด้วย เช่น การจัดการกับเมนูในบล็อก, การเปลี่ยนเฮดเดอร์ของบล็อก หรือการเปลี่ยนแบ็กกราวด์ ให้บล็อก เป็นต้นครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เปลี่ยน Theme ให้ Blog กันหน่อย ธีม (Theme) หมายถึง แม่แบบทีใ่ ช้กำ� หนดรูปร่างหน้าตาโดยรวมของบล็อกครับ หาก เราอยากปรับเปลี่ยนหน้าตาบล็อกให้แตกต่างไปจากเดิม เช่น ดูหรูหราขึ้น ดูทันสมัยขึ้น หรือเปลี่ยนโทนสี เราก็ท�ำได้ด้วยการเปลี่ยนธีมให้บล็อกนี่แหละ ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆ แล้ว ธีมก็เหมือนหน้ากากโทรศัพท์มอื ถือทีท่ ำ� ให้หน้าตามือถือของเราเปลีย่ นแปลงไปจาก เดิม แต่ระบบหรือโครงสร้างภายในก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเราติดตั้ง WordPress เสร็จเรียบร้อย บล็อกของเราจะแสดงผลโดยใช้ธีมที่ถูก ก�ำหนดมาให้เป็นค่าดีฟอลต์ คือธีมที่ชื่อ Twenty Eleven ครับ ธีมนี้พัฒนาโดยทีมงาน WordPress เอง (ก็แหงอยู่แล้วละ) นอกจากนี้ในระบบ WordPress ยังมีธีมที่ถูกติดตั้งมา ให้โดยอัตโนมัติอีกธีมหนึ่ง ชื่อว่า Twenty Ten แต่ทั้งธีม Twenty Eleven และ Twenty Ten ซึ่งถือเป็นธีมมาตรฐานของ WordPress นี้ ก็ค่อนข้างจะเรียบง่ายเกินไปจนดูไม่สวยเท่าที่ ควร เจ้าของบล็อกส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนไปใช้ธีมอื่นๆ ด้วยกันทั้งนั้น เราไปดูกันเลยดีกว่าครับว่า ถ้าต้องการเปลี่ยนธีมให้บล็อก เรามีทางเลือกไหนให้ เลือกใช้บ้าง ติดตั้ง Theme ใหม่ด้วยวิธีพื้นฐาน วิธีติดตั้งและเปลี่ยนธีมวิธีแรกเป็นวิธีพื้นฐานที่ง่ายที่สุด เราไม่ต้องดาวน์โหลดและ อัปโหลดธีมขึ้นบล็อกเอง แต่ก็อาจมีข้อจ�ำกัดคือมีธีมให้เลือกแค่จำ� นวนหนึ่ง (แต่รวมแล้ว ก็เกือบ 1,000 ธีมแหละครับ) ขั้นตอนการติดตั้งธีมด้วยวิธีพื้นฐานมีวิธีการดังต่อไปนี้ครับ 1 คลิกเมนู Appearance > Themes ดังภาพ 9-1



148



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



1



ภาพ 9-1 คลิกเมนู Appearance > Themes



2 หน้า Manage Themes ซึ่งอยู่ภายใต้แท็บ Manage Themes จะปรากฏขึ้นมา



(ดูภาพ 9-2) หน้า Manage Themes นี้มีไว้แสดงธีมที่ติดตั้งอยู่ใน WordPress แล้ว เราจะ เห็นว่านอกจากธีม Twenty Eleven ที่ถูกใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ยังมีธีม Twenty Ten แสดง อยู่ด้านล่างด้วย หากใครอยากลองเปลี่ยนไปใช้ธีม Twenty Ten ก็ทำ� ได้ง่ายๆ ด้วยการ คลิกค�ำสั่ง Activate ด้านล่างธีม Twenty Ten (เดี๋ยวพอเราติดตั้งธีมอื่นๆ เพิ่มเติมเข้าไป เราจะเห็นรายการธีมแสดงในหน้า Manage Themes มากกว่านี้) แต่ในที่นี้เราจะสั่งติดตั้งธีมอื่นๆ เพิ่มเติม เราก็ต้องคลิกแท็บ Install Themes 149



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง 2



ภาพ 9-2 คลิกแท็บ Install Themes



3 ที่หน้า Install Themes (ดูภาพ 9-3) นี้ เรามีวิธีค้นหาธีมที่ต้องการอยู่ 3 วิธี



หลักๆ ด้วยกัน... วิธีแรก คือการคลิกค�ำสั่งด้านบนหน้า Install Themes โดยถ้าคลิกค�ำสั่ง Featured จะหมายถึงให้แสดงเฉพาะธีมแนะน�ำ, ถ้าคลิกค�ำสัง่ Newest จะหมายถึงให้แสดงเฉพาะธีม ใหม่ และถ้าคลิกค�ำสัง่ Recently Updated หมายถึงให้แสดงเฉพาะธีมทีม่ กี ารอัปเดตล่าสุด วิธีที่สอง คือการเสิร์ชผ่านช่อง Search เราต้องกรอกคีย์เวิร์ดที่ต้องการเสิร์ชลงไป แล้วคลิกปุ่ม Search แล้วเราจะเห็นธีมที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดแสดงขึ้นมา 150



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



ส่วนวิธีที่สาม เป็นการค้นหาธีมตามเงื่อนไข (Filter) ที่ก�ำหนด เงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือ ฟีเจอร์หรือคุณสมบัติของธีมนั่นเอง เช่น เราอาจสั่งให้ค้นหาเฉพาะธีมที่มีสีดำ� และแสดง ผลแบบ 2 คอลัมน์ หรืออาจสั่งค้นหาเฉพาะธีมที่ปรับความกว้างตามขนาดหน้าจอโดย อัตโนมัติ (Flexible Width) เป็นต้น การก�ำหนดเงื่อนไขอย่างที่ว่านี้จะก�ำหนดแค่เงื่อนไข เดียว หรือก�ำหนดเงื่อนไขหลายๆ อย่างร่วมกันก็ได้ทั้งนั้น เมื่อก�ำหนดเงื่อนไขแล้วให้คลิก ปุ่ม Find Themes เราจะเห็น WordPress แสดงธีมที่ตรงตามเงื่อนไขทันที ส�ำหรับตัวอย่างในที่นี้ ผมขอเลือกใช้วิธีง่ายๆ คือการคลิกค�ำสั่ง Featured ด้านบน เพื่อให้ WordPress แสดงธีมแนะน�ำก็แล้วกันนะครับ 3



ภาพ 9-3 หน้า Install Themes



151



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



4 พอเห็นรายการธีมปรากฏขึ้นมาให้เลือกแล้ว เราก็คลิกค�ำสั่ง Install Now ด้าน



ล่างธีมที่ต้องการติดตั้งครับ ดูภาพ 9-4



4 ภาพ 9-4 คลิกค�ำสั่ง Install Now



5 ขั้นตอนถัดมาเราต้องกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมต่อผ่านโพรโทคอล FTP



(เราเคยเชื่อมต่อผ่าน FTP กันไปแล้วตอนสั่งติดตั้ง WordPress ในบทที่ 2 ยังพอจ�ำได้นะ ครับ) ลงไปดังนี้... (ดูภาพ 9-5) •  Hostname: ใส่โฮสต์เนมส�ำหรับเชื่อมต่อ FTP ลงไป ในกรณีทเี่ ราพบว่าผูใ้ ห้บริการเว็บโฮสติง้ ก�ำหนดให้เชือ่ มต่อ FTP ผ่านพอร์ตอืน่ ๆ ที่ ไม่ใช่พอร์ต 21 (ซึ่งเป็นค่าดีฟอลต์) ให้ใช้วิธีใส่เครื่องหมาย : ต่อท้ายชื่อโฮสต์เนม แล้วตาม ด้วยเลขพอร์ตนะครับ ตัวอย่างเช่น โฮสติ้งที่ผมเช่าอยู่ก�ำหนดให้เชื่อมต่อ FTP ผ่านพอร์ต 2121 ผมก็ต้องกรอกข้อมูลโฮสต์เนมทั้งหมดให้เป็น booklism.com:2121 แบบนี้เป็นต้น 152



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



•  FTP Username: ใส่ยูสเซอร์เนมส�ำหรับเชื่อมต่อ FTP ลงไป •  FTP Password: ใส่พาสเวิร์ดส�ำหรับเชื่อมต่อ FTP ลงไป •  Connect Type: ให้ใช้ FTP เหมือนเดิม 6 คลิกปุ่ม Proceed



5



6 ภาพ 9-5 กรอกข้อมูล FTP แล้วคลิกปุ่ม Proceed



7 รอจนการติดตั้งธีมใหม่เสร็จสิ้น ก็คลิกค�ำสั่ง Activate เพื่อใช้งานธีมนั้นได้เลย



ดูภาพ 9-6



7



ภาพ 9-6 คลิกค�ำสั่ง Activate



153



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ส�ำหรับตัวอย่างบล็อกหลังการเปลี่ยนธีม คุณลองดูได้จากภาพ 9-7 นะครับ ถ้า คุณลองเปลี่ยนไปใช้ธีมเดียวกับผม ก็จะเห็นหน้าตาบล็อกออกมาเหมือนๆ กัน แต่ถ้าคุณ เปลี่ยนไปใช้ธีมอื่นๆ หน้าตาของบล็อกก็จะแตกต่างออกไปตามรูปแบบธีมที่เลือก แต่ที่ แน่ๆ ธีมใหม่ๆ ที่เราเลือกใช้นี้มักจะสวยงามกว่าธีมมาตรฐานดั้งเดิมของ WordPress อยู่ หลายขุมเลยละครับ



ภาพ 9-7 ตัวอย่างบล็อกหลังเปลี่ยนธีม



154



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



อัปโหลด Theme ใหม่ด้วยตัวเอง วิธีการติดตั้งธีมใหม่ซึ่งผมอธิบายไปในหัวข้อย่อยก่อนหน้านี้ ต้องบอกว่าเป็นการ ติดตั้งธีมด้วยวิธีพื้นฐานผ่านระบบของ WordPress เอง วิธีติดตั้งธีมแบบพื้นฐานที่ว่านี้ ถือว่าสะดวกและรวดเร็วกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือจะมีธีมให้เราเลือกใช้งานแค่จ�ำนวนหนึ่ง เราไม่สามารถเข้าไปเลือกธีมในเว็บไซต์ต่างๆ ได้อย่างอิสระ แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาใช้วิธีสั่ง อัปโหลดธีมขึน้ ไปติดตัง้ ด้วยตัวเอง เราจะมีสทิ ธิเ์ ลือกใช้ธมี ได้อย่างอิสระ และมีธมี ให้เลือก ใช้งานนับจ�ำนวนไม่ถ้วนเชียวละครับ ก่อนเราจะสั่งอัปโหลดธีมขึ้นไปติดตั้งในระบบ WordPress ได้ เราต้องไปหา ดาวน์โหลดธีมสวยๆ มาก่อน เว็บไซต์แหล่งดาวน์โหลดธีมส�ำหรับ WordPress มีมากมาย ก่ายกองครับ เช่น... http://wordpress.org/extend/themes/ http://www.wpdaddy.com/ http://www.fabthemes.com/ http://www.siteground.com/ http://www.rockettheme.com/ http://www.wphub.com/ http://www.wpzoom.com/ http://www.methemes.com/ http://www.theme-junkie.com/



155



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



http://tentblogger.com/ http://themify.me/ http://graphpaperpress.com/ http://www.flashmint.com/ ธีมของ WordPress ในเว็บไซต์ทใี่ ห้บริการดาวน์โหลดธีมนี้ มีทงั้ ธีมฟรีและธีมทีต่ อ้ ง เสียเงินซือ้ นะครับ ใครไม่อยากเสียเงินซือ้ ธีม ก็ให้เลือกเอาเฉพาะธีมทีอ่ นุญาตให้เราน�ำมา ใช้งานฟรีๆ เอาแล้วกัน ธีมที่เราดาวน์โหลดมาได้นี้ปกติแล้วจะอยู่ในรูปไฟล์ฟอร์แมต .zip ครับ เราไม่ต้องคลาย (Extract) ไฟล์นี้แต่อย่างใด แต่สามารถติดตั้งมันลงใน WordPress ได้เลย ผมขอสมมุติว่าคุณไปหาดาวน์โหลดธีมถูกใจมาได้แล้วนะครับ งั้นเราไปลองสั่งติด ตั้งธีมด้วยตัวเองกันดีกว่า 1 ท�ำตามขั้นตอนที่ 1 - 2 ของหัวข้อย่อย “ติดตั้ง Theme ใหม่ด้วยวิธีพื้น ฐาน” เพื่อเปิดเข้าไปที่หน้า Install Themes จากนั้นคลิกค�ำสั่ง Upload ด้านบนดังภาพ 9-8 2 คลิกปุ่ม Choose File เพื่อเข้าไปเลือกไฟล์ธีมที่ดาวน์โหลดมาเตรียมไว้แล้ว ดูภาพ 9-9



156



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



1



ภาพ 9-8 คลิกค�ำสั่ง Upload



2



ภาพ 9-9 คลิกปุ่ม Choose File



157



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 คลิกเลือกไฟล์ธีมแล้วคลิกปุ่ม Open ดูภาพ 9-10



3



ภาพ 9-10 เลือกไฟล์ธีม



4 คลิกปุ่ม Install Now เพื่อสั่งติดตั้งธีมไปเลย ดูภาพ 9-11



4



ภาพ 9-11 คลิกปุ่ม Install Now



158



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



หลังจากขั้นตอนนี้ เราก็ท�ำตามขั้นตอนที่ 5 และ 6 ของหัวข้อย่อย “ติดตั้ง Theme ใหม่ด้วยวิธีพื้นฐาน” เพื่อสั่งติดตั้งและเลือกใช้งานธีมด้วยวิธีการเดียวกันเลย และส�ำหรับใครที่อยากรู้ว่าเราจะลบธีมที่ติดตั้งไว้แล้วทิ้งไปได้ยังไง ก็บอกได้เลยว่าเรื่อง นี้ง่ายนิดเดียว เราแค่คลิกเข้าไปที่หน้า Manage Themes แล้วคลิกค�ำสั่ง Delete ด้าน ล่างธีมที่ต้องการลบทิ้งเท่านั้นเองครับ ตั้งค่า Customize ให้ Theme คุณคงนึกออกใช่มั้ยครับว่า หน้าตาของธีมแต่ละธีมจะเป็นยังไงมันก็ขึ้นอยู่กับการ ออกแบบของคนที่สร้างธีมนั้นๆ ขึ้นมา เราเองไม่มีสิทธิ์ก�ำหนดหรอกว่าจะให้ธีมมีหน้า ตาออกมาเป็นแบบไหน ยกเว้นเราจะออกแบบธีมของ WordPress ขึ้นมาด้วยตัวเอง เรา มีสิทธิ์ก็แค่เลือกใช้ธีมที่ดูสวยงามถูกใจเราเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีทางปรับแต่งการแสดงผลของธีมเอาซะเลย เรายังพอปรับแต่งการแสดงผลธีมได้บ้างบางส่วน หรือที่เรียกว่าการตั้งค่า Customize ครับ ค�ำสั่งที่ใช้ในการตั้งค่า Customize คือค�ำสั่ง Customize ซึ่งอยู่ในหน้า Manage Themes (ดูภาพ 9-12) แต่เราจะเห็นค�ำสั่ง Customize ก็เฉพาะในธีมที่ก�ำลังใช้งานอยู่ เท่านั้นนะครับ หากเป็นธีมที่ติดตั้งไว้เฉยๆ แต่ไม่ได้ถูกใช้งาน จะไม่มีค�ำสั่ง Customize ปรากฏขึ้นมา



159



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 9-12 ค�ำสั่ง Customize



ไม่วา่ คุณก�ำลังใช้งานธีมไหนอยูก่ ต็ าม ลองคลิกค�ำสัง่ Customize ดูสคิ รับ จะเห็นหน้า ส�ำหรับตั้งค่า Customize ให้ธีมนั้นๆ ปรากฏขึ้นมาดังภาพ 9-13 ในหน้านี้เราจะสามารถ ตั้งค่า Customize ให้ธีมได้ในหลายๆ ส่วน เช่น ตั้งค่า Site Title & Tagline เพื่อก�ำหนดชื่อ บล็อกและ Tagline (Tagline ก็คอื สโลแกนหรือข้อความสัน้ ๆ ทีใ่ ช้บง่ บอกตัวตนของบล็อก), ตัง้ ค่า Theme Options เพือ่ ก�ำหนดสไตล์ให้ธมี , ตัง้ ค่า Colors เพือ่ ก�ำหนดสีให้สว่ นประกอบ ในธีม หรือตั้งค่า Static Front Page เพื่อก�ำหนดการแสดงผลของหน้าโฮมเพจ เป็นต้น



160



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



ภาพ 9-13 หน้าส�ำหรับตั้งค่า Customize



แต่คุณต้องเข้าใจด้วยนะครับว่า ออปชันในการตั้งค่า Customize จะมีมากน้อยไม่ เท่ากันในแต่ละธีม บางธีมอาจตั้งค่า Customize ได้มาก แต่บางธีมก็ตั้งค่า Customize ได้ น้อย มันแล้วแต่ว่าผู้ที่พัฒนาธีมนั้นๆ ได้ออกแบบธีมให้มีความยืดหยุ่นมากน้อยแค่ไหน แต่ธีมส่วนใหญ่จะตั้งค่า Customize ได้อย่างน้อย 2 ส่วน คือตั้งค่า Site Title & Tagline และตั้งค่า Static Front Page ซึ่งถือเป็นออปชันพื้นฐานของธีมทุกธีม อยากรู้ว่าธีมที่คุณใช้งานอยู่สามารถตั้งค่า Customize อะไรได้บ้าง ทางเดียวที่จะรู้ ได้คือคลิกค�ำสั่ง Customize แล้วเข้าไปลองส�ำรวจหรือลองปรับตั้งค่าดู บางทีคุณอาจพบ ว่าสามารถปรับแต่งการแสดงผลของบล็อกให้ตรงตามความต้องการได้มากกว่าเดิมอีกครับ 161



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



แต่งเติมลูกเล่นให้ Blog ด้วย Widget คุณลองดูในไซด์บาร์ (Sidebar) ด้านขวามือของบล็อกสิครับ เห็นมั้ยว่าจะมีกล่อง เครื่องมือรูปสี่เหลี่ยมแสดงผลอยู่ (ดูภาพ 9-14 ประกอบ) กล่องเครื่องมือพวกนี้มีหน้าที่ อย่างใดอย่างหนึง่ เช่น กล่องทีม่ ชี อ่ ง Search ก็เอาไว้คน้ หาข้อมูลในบล็อก, กล่องทีม่ ชี อื่ ว่า Recent Posts มีไว้แสดงบทความล่าสุดในบล็อก หรือกล่องที่มีชื่อว่า Recent Comments ก็เอาไว้แสดงคอมเมนต์ล่าสุดในบล็อก เจ้ากล่องเครื่องมือพวกนี้น่ะ WordPress จะเรียก มันว่า “วิดเจ็ต” (Widget) ซึ่งอาจแปลได้ว่าเป็นโปรแกรมเสริมขนาดเล็กที่ท�ำหน้าที่อย่าง ใดอย่างหนึ่งในบล็อก



ภาพ 9-14 ตัวอย่างวิดเจ็ตในไซด์บาร์



162



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



วิดเจ็ตถือเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญส่วนหนึ่งของบล็อก ถ้าไม่มีวิดเจ็ต บล็อกก็คง มีแต่บทความโล่งๆ ดูไม่เป็นมืออาชีพเอาซะเลย แถมการใช้งานบล็อกก็จะยากไปด้วย เพราะไม่มีเครื่องมือที่ช่วยให้คนอ่านเข้าถึงบทความหรือส่วนประกอบอื่นๆ ในบล็อกได้ อย่างง่ายดาย ส่วนใหญ่แล้ววิดเจ็ตของ WordPress จะแสดงผลอยู่ในไซด์บาร์ด้านขวามือของ บล็อก แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับธีมที่เราเลือกใช้ด้วย บางธีมอาจแสดงวิดเจ็ตไว้ในไซด์บาร์ ด้านซ้ายมือ บางธีมก็อาจแสดงวิดเจ็ตไว้ในไซด์บาร์ด้านขวามือและด้านล่างพื้นที่แสดง บทความด้วย หรือบางธีมก็อาจแยกแสดงวิดเจ็ตเป็น 2 คอลัมน์ทั้งซ้ายและขวา หรือด้าน ใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว นอกจากนี้รูปร่างหน้าตาของวิดเจ็ตยังจะเปลี่ยนแปลงไปตาม รูปแบบของธีมด้วยครับ ใน WordPress มี Widget อะไรบ้าง เราคงใช้ประโยชน์จากวิดเจ็ตไม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแน่ หากไม่รซู้ ะก่อนว่าใน WordPress มีวิดเจ็ตอะไรให้ใช้งานบ้าง และความสามารถของวิดเจ็ตแต่ละตัวคืออะไร เพราะฉะนั้นก่อนจะไปลองเพิ่มวิดเจ็ตใหม่ๆ ลงในบล็อก ผมจึงอยากแนะน�ำก่อนว่า มี วิดเจ็ตอะไรที่เราเพิ่มลงไปแสดงผลในหน้าบล็อกได้บ้าง และต่อไปนี้ก็คือรายชื่อวิดเจ็ตหลักๆ ที่ WordPress เตรียมไว้ให้เราใช้งานครับ •  Archives ใช้แสดงคลังบทความ หรือบทความเก่าๆ ของเรา โดยแยกเป็นเดือนๆ •  Calendar ใช้แสดงปฏิทินซึ่งจะบอกให้รู้ว่า มีการเขียนบทความลงบล็อกในวัน ไหนบ้าง •  Categories ใช้แสดงแคเทอกอรีของบทความ (เราเคยลองสร้างแคเทอกอรีกนั ไป ในหัวข้อ “จัดการกับ Catagory ของบทความ” ของบทที่ 4 จ�ำได้มั้ยครับ) 163



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  Custom Menu ใช้แสดงเมนูของบล็อก (เราจะไปลองสร้างเมนูกันในหัวข้อ



“จัดการกับ Menu ของ Blog” ของบทนี้) •  Links ใช้แสดงลิงก์ที่เคยสร้างไว้ (ผมเคยอธิบายเรื่องการสร้างลิงก์ไปแล้วในบท ที่ 6 และเราก็จะใช้วิดเจ็ต Links ตัวนี้นี่เองในการแสดงผลลิงก์ที่สร้างไว้) •  Meta ใช้แสดงลิงก์สำ� คัญๆ ทีเ่ กีย่ วกับการใช้งานบล็อก เช่น ลิงก์สำ� หรับเข้าสูห่ น้า Dashboard, ลิงก์ส�ำหรับล็อกเอาต์ หรือลิงก์ส�ำหรับบอกรับฟีด (Feed) ของบล็อก เป็นต้น •  Pages ใช้แสดงเพจที่เคยสร้างไว้ •  Recent Comments ใช้แสดงคอมเมนต์ล่าสุด •  Recent Posts ใช้แสดงบทความล่าสุด •  RSS ใช้แสดงฟีดที่รับมาจากเว็บไซต์หรือบล็อกอื่นๆ อีกที •  Search ใช้สำ� หรับเสิร์ชข้อมูลในบล็อก •  Tag Cloud ใช้แสดงแท็กในบล็อก •  Text ใช้แสดงข้อความหรือโค้ด HTML ที่เราใส่ลงไป ในบรรดาวิดเจ็ตทั้งหมดที่อธิบายไปแล้ว จะมีวิดเจ็ตส่วนหนึ่งครับที่แสดงผลผ่าน หน้าบล็อกอยู่แล้ว เช่น Search, Recent Posts, Recent Comments, Archives หรือ Categories เป็นต้น ถ้าเห็นว่าในหน้าบล็อกมีวิดเจ็ตตัวไหนแสดงผลอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้อง ไปสั่งเพิ่มมันอีกแต่อย่างใด อ้อ...ในบางธีม คุณอาจเห็นว่ามีวิดเจ็ตให้เลือกมากกว่าที่ผมอธิบายไปก็ได้นะครับ เนื่องจากธีมแต่ละธีมจะรองรับการท�ำงานของวิดเจ็ตได้มากน้อยไม่เท่ากันทั้งหมด เพิ่ม Widget ใหม่ให้ Blog รู้จักวิดเจ็ตทั้งหมดในระบบ WordPress กันไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลามาลองเพิ่ม 164



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



วิดเจ็ตลงในบล็อกกันบ้าง ตัวอย่างในทีน่ ผี้ มจะเพิม่ วิดเจ็ต Links ซึง่ ใช้สำ� หรับแสดงลิงก์นะ ครับ ในบทที่ 6 ผมเคยอธิบายวิธีการสร้างลิงก์ไปแล้ว มาถึงตรงนี้ผมจะแสดงวิธีการให้ดู ว่า เราต้องท�ำยังไงเพื่อให้ลิงก์ที่เคยสร้างไว้แสดงผลผ่านหน้าบล็อก ไปดูขั้นตอนกันเลยครับ 1 คลิกเมนู Appearance > Widgets เราจะเห็นหน้า Widgets เปิดขึ้นมา และ จะเห็นวิดเจ็ตทั้งหมดแสดงอยู่ภายในเฟรม Available Widgets ครับ เราสามารถเลือกใช้ งานวิดเจ็ตได้มากมายหลายตัวเหมือนที่เคยอธิบายไปแล้ว อยากเพิ่มวิดเจ็ตตัวไหนลงใน บล็อก ก็ให้เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์มาอยู่เหนือรายการวิดเจ็ตตัวนั้นจนเมาส์พอยน์เตอร์ เปลี่ยนเป็นรูป จากนั้นแดร็กเมาส์ลากวิดเจ็ตไปวางในเฟรม Sidebar ในต�ำแหน่งที่ ต้องการ ดูภาพ 9-15



1



ภาพ 9-15 ลากวิดเจ็ตจากเฟรม Available Widgets ไปไว้ในเฟรม Sidebar



165



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ในขั้นตอนนี้คงต้องอธิบายเพิ่มหน่อยว่า ธีมที่คุณใช้งานอยู่อาจไม่ได้มีแค่เฟรม Sidebar ที่สามารถลากวิดเจ็ตไปใส่ได้ แต่อาจมีเฟรมอื่นๆ ปรากฏอยู่ด้วย เช่น เฟรม Footer Area (วิดเจ็ตในเฟรมนี้จะแสดงผลด้านล่างพื้นที่แสดงบทความของบล็อก) หรือ เฟรม Header Area (วิดเจ็ตในเฟรมนี้จะแสดงผลด้านบนพื้นที่แสดงบทความของบล็อก) เป็นต้น หรือไม่งั้นคุณก็อาจเห็นเฟรมที่มีชื่ออื่นๆ ปรากฏอยู่แทนเฟรม Sidebar เห็นแบบ นั้นก็ไม่ต้องงงนะครับ มันเป็นเพราะว่าธีมแต่ละธีมมีหน้าตาเลย์เอาต์ไม่เหมือนกัน การ เรียกชื่อเฟรมส�ำหรับวางวิดเจ็ตก็ผิดแผกกันไป ถ้าอยากรู้ว่าลากวิดเจ็ตไปใส่ในเฟรมนั้นๆ แล้วมันจะไปโผล่ตำ� แหน่งไหนในหน้าบล็อก คุณก็ลองผิดลองถูกดูได้เลย 2 ตั้งค่าออปชันให้วิดเจ็ต (ดูภาพ 9-16) วิดเจ็ตแต่ละตัวจะมีออปชันให้ตั้งค่าไม่ เหมือนกันและมากน้อยไม่เท่ากัน ขึน้ อยูก่ บั รูปแบบการท�ำงานของวิดเจ็ตนัน้ ตามตัวอย่าง นีผ้ มสัง่ เพิม่ วิดเจ็ต Links ลงในบล็อก ผมก็สามารถตัง้ ค่าออปชันให้วดิ เจ็ต Links ได้หลายๆ อย่าง เช่น เลือกแคเทอกอรีของลิงก์, ก�ำหนดวิธีการเรียงล�ำดับลิงก์ หรือก�ำหนดจ�ำนวน ลิงก์ที่จะให้แสดงผ่านวิดเจ็ต Links เป็นต้น 3 สุดท้ายก็คลิกปุ่ม Save เลยครับ ลองคลิกออกไปดูทหี่ น้าบล็อกของตัวเองอีกครัง้ ครับ รับรองว่าคุณจะเห็นวิดเจ็ตตัว ใหม่โผล่ขนึ้ มาแล้ว ส่วนวิดเจ็ตทีค่ ณ ุ เพิม่ ลงบล็อกจะมีหน้าตาเป็นยังไง หรือมีหน้าทีอ่ ะไร ก็ แล้วแต่ประเภทของวิดเจ็ตที่คุณเลือก ส�ำหรับตัวอย่างบล็อกที่เพิ่มวิดเจ็ต Links ลงไป คุณ ดูได้จากภาพประกอบ 9-17 นะครับ



166



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



2



3 ภาพ 9-16 ตั้งค่าออปชันให้วิดเจ็ต



ภาพ 9-17 ตัวอย่างวิดเจ็ต Links ที่เพิ่มลงในบล็อก



167



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



จัดการ Widget ใน Sidebar ผมขอพาคุณกลับไปที่หน้า Widgets อีกครั้งนะครับ เพราะยังมีประเด็นเกี่ยวกับ การจัดการวิดเจ็ตให้พดู ถึงอีกนิดหนึง่ ประเด็นแรกคือเรือ่ งของการสลับต�ำแหน่งวิดเจ็ตใน ไซด์บาร์ วิดเจ็ตทุกตัวที่แสดงผลอยู่ในไซด์บาร์ของบล็อกนั้น เราสามารถเคลื่อนย้ายหรือ สลับต�ำแหน่งให้มนั ได้ครับ เช่น ย้ายวิดเจ็ต Search ลงมาไว้ลา่ งสุด หรือย้ายวิดเจ็ต Recent Comments ไปไว้ด้านบนวิดเจ็ต Recent Posts เป็นต้น วิธีย้ายต�ำแหน่งวิดเจ็ตก็ง่ายมาก แค่แดร็กเมาส์ลากวิดเจ็ตตัวนั้นๆ ในเฟรม Sidebar ไปวางในต�ำแหน่งที่ต้องการ แค่นี้ วิดเจ็ตในหน้าบล็อกก็จะย้ายต�ำแหน่งตามแล้ว นอกจากการสลับต�ำแหน่งวิดเจ็ต สิ่งที่เราท�ำได้อีกอย่างคือการปรับเปลี่ยนค่า ด้านขวามือของแถบรายการวิดเจ็ตในเฟรม ออปชันให้วดิ เจ็ตแต่ละตัว เราแค่คลิกปุม่ Sidebar แค่นกี้ จ็ ะเห็นออปชันของวิดเจ็ตตัวนัน้ แสดงออกมาให้ตงั้ ค่าใหม่ ตัง้ ค่าเสร็จก็อย่า ลืมคลิกปุม่ Save เพือ่ บันทึกผลด้วยล่ะ ส่วนถ้าใครอยากลบวิดเจ็ตตัวนัน้ ออกจากไซด์บาร์ ก็ให้คลิกค�ำสั่ง Delete ครับ ประเด็นสุดท้าย ในหน้า Widgets นี้ยังมีเฟรมอีกเฟรมหนึ่งที่ผมไม่เคยพูดถึง นั่น คือเฟรม Inactive Widgets (ดูภาพ 9-18) ซึ่งจะอยู่ด้านล่างเฟรม Available Widgets อีก ที หน้าที่ของเฟรม Inactive Widgets ก็คือ มีไว้จัดเก็บวิดเจ็ตที่ไม่ต้องการให้แสดงผลใน หน้าบล็อก แต่ขณะเดียวกันก็ยงั ต้องการรักษาค่าออปชันทีเ่ คยตัง้ ค่าไว้แล้ว (ถ้าเราคลิกค�ำ สั่ง Delete ละก็ วิดเจ็ตจะถูกลบทิ้งไปจากไซด์บาร์พร้อมๆ กับค่าออปชันที่เคยตั้งไว้) วิธีใช้ งานเฟรม Inactive Widgets ก็ไม่ยาก เราสามารถแดร็กเมาส์ลากวิดเจ็ตในเฟรม Sidebar มาเก็บไว้ได้เลย ท�ำแบบนี้แล้ววิดเจ็ตตัวนั้นจะหายไปจากไซด์บาร์ของบล็อก แต่มันจะไม่ ถูกล้างค่าออปชันต่างๆ ทิง้ ไป ในอนาคตเมือ่ เราต้องการใช้งานวิดเจ็ตเดิมอีกครัง้ ก็แค่ลาก มันจากเฟรม Inactive Widgets กลับไปไว้ในเฟรม Sidebar เหมือนเดิมครับ 168



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



ภาพ 9-18 เฟรม Inactive Widgets ในหน้า Widgets



จัดการกับ Menu ของ Blog เมนู (Menu) ของบล็อกเป็นอีกส่วนประกอบที่ส�ำคัญมากๆ ครับ เพราะมันจะท�ำ หน้าที่เชื่อมโยงไปหาส่วนประกอบอื่นๆ ในบล็อก หรือแม้แต่เชื่อมโยงออกไปนอกบล็อก ไม่ว่าเว็บไซต์หรือบล็อกไหนๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีเมนูด้วยกันทั้งนั้นแหละครับ แต่เมนูของ WordPress เนี่ยจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าเมนูของเว็บไซต์โดยทั่วไป วิธีการสร้างหรือ จัดการก็งา่ ยกว่า เพราะเมนูใน WordPress มีหน้าทีห่ ลักๆ แค่ 3 อย่างเท่านัน้ อย่างแรก... เชื่อมโยงไปยัง URL ที่เราก�ำหนด อย่างที่สอง...เชื่อมโยงไปหาเพจที่สร้างไว้ และอย่างที่ สาม...เชื่อมโยงไปหาแคเทอกอรีของบทความ 169



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เรื่องการจัดการเมนูของบล็อกนี้ ผมแนะน�ำว่าถ้าคุณไม่ได้คิดจะสร้างเมนูเชื่อมโยง ไปไหนนอกจากเพจ คุณก็ไม่จ�ำเป็นต้องจัดการเมนูอะไรให้ยงุ่ ยาก เพราะเมือ่ สร้างเพจใหม่ ก็จะเห็นเมนูทเี่ ชือ่ มโยงไปหาเพจนัน้ แสดงขึน้ มาโดยอัตโนมัติ และด้านซ้ายมือสุดก็จะเป็น เมนู Home ทีร่ ะบบ WordPress สร้างไว้ให้ตงั้ แต่ตน้ เมนู Home ช่วยให้คนอ่านบล็อกคลิก กลับไปยังโฮมเพจได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าคุณต้องการสร้างเมนูใหม่ขึ้นมาใช้งานเพื่อเชื่อมโยงไปยัง URL, เพจ หรือ แคเทอกอรี คุณก็ท�ำได้ไม่ยากครับ วิธีสร้างเมนูใหม่ทำ� ได้ดังนี้ 1 คลิกเมนู Appearance > Menus (อย่าสับสนระหว่างเมนูใน Dashboard ของ WordPress กับเมนูในหน้าบล็อกนะครับ) เมื่อเข้ามาที่หน้า Menus ดังภาพ 9-19 แล้ว ก็ ให้ตั้งชื่อเมนูใหม่ในช่อง Menu Name 2 คลิกปุ่ม Create Menu



1



ภาพ 9-19 ตั้งชื่อเมนูแล้วคลิกปุ่ม Create Menu



170



2



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



3 ภายใต้เฟรม Theme Locations ให้คลิกที่ช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Primary Menu



แล้วเลือกชื่อเมนูที่เราเพิ่งสร้างขึ้นครับ ดูภาพ 9-20 สาเหตุที่เราต้องท�ำแบบนี้ก็เพราะว่า ธีมส่วนใหญ่ของ WordPress จะรองรับเมนูแค่เมนูเดียว เราจึงต้องก�ำหนดว่าจะให้เมนู ไหนเป็นเมนูหลักที่จะแสดงผล 4 ขั้นตอนถัดไป ถ้าคุณจะสร้างเมนูที่เชื่อมโยงไปยัง URL ที่กำ� หนด ก็ต้องตั้งค่า ออปชันในเฟรม Custom Links โดยให้กรอก URL ลงในช่อง URL และตั้งชื่อเมนูนี้ในช่อง Label จากนั้นคลิกปุ่ม Add to Menu เพื่อเพิ่มเมนูนี้เข้าไปอยู่ในเมนูหลักที่สร้างไว้ 5 ถัดมาถ้าคุณจะสร้างเมนูที่เชื่อมโยงไปหาเพจ ก็ให้ตั้งค่าออปชันในเฟรม Pages โดยคลิกเลือกเพจที่ต้องการสร้างเป็นเมนู ตามด้วยคลิกปุ่ม Add to Menu เช่นเคย 6 สุดท้ายถ้าคุณจะสร้างเมนูที่เชื่อมโยงไปหาแคเทอกอรีของบทความ คุณต้อง ตั้งค่าออปชันในเฟรม Categories โดยต้องคลิกเลือกแคเทอกอรีที่จะสร้างเป็นเมนู แล้ว คลิกปุ่ม Add to Menu 7 เมื่อเราสร้างเมนูหลักและเมนูที่อยู่ภายใต้เมนูหลักขึ้นมาแล้ว เราจะเห็นแถบ รายการเมนูปรากฏอยูด่ า้ นล่างชือ่ เมนูหลักในเฟรมด้านขวามือ (ดูภาพ 9-21) หากต้องการ สลับต�ำแหน่งเมนู ก็ให้ใช้วธิ แี ดร็กแอนด์ดรอปเพือ่ ย้ายต�ำแหน่งได้เลย หรือถ้าจะแก้ไขข้อมูล ของเมนู เช่น เปลี่ยนชื่อ ก็ให้คลิกปุ่ม ด้านขวามือของแถบรายการเมนูเพื่อเปิด ออปชันออกมาแก้ไข และถ้าอยากลบเมนูนั้นทิ้ง ก็คลิกค�ำสั่ง Remove



171



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 4



5 6



ภาพ 9-20 ตั้งค่าให้เมนูใหม่



เมนูของ WordPress ยังสนับสนุนระบบ Drop-Down Menu ด้วยนะครับ หมายความ ว่าเราสามารถก�ำหนดให้บางเมนูมีสถานะเป็นเมนูลำ� ดับชั้นที่สอง, สาม, สี่... ภายใต้เมนู อื่นอีกทีได้ด้วย เมื่อผู้ชมบล็อกเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์มาอยู่เหนือเมนูลำ� ดับแรก ก็จะเห็น เมนูล�ำดับรองๆ ลงไปแสดงผลอกมา วิธีก�ำหนดให้เมนูใดๆ ก็ตามมีสถานะเป็นเมนูล�ำดับ ชั้นรองลงมาของเมนูอื่น ท�ำได้ง่ายๆ ด้วยการแดร็กเมาส์ขยับเมนูนั้นให้เยื้องมาทางขวา มือเล็กน้อย (เหมือนกับการย่อหน้า) เท่านีเ้ มนูนนั้ ก็จะกลายเป็นเมนูล�ำดับรองของอีกเมนู หนึ่งแล้ว (ถ้านึกภาพตามที่ผมอธิบายไม่ออก ให้ลองท�ำดูเองนะครับ) 172



บทที่ 9



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



สร้างและปรับแต่งเมนูจนพอใจแล้ว ให้คลิกปุ่ม Save Menu ครับ (ผมแนะน�ำเพิ่ม เติมว่าควรคลิกใส่เครื่องหมาย หน้าค�ำสั่ง Automatically add new top-level pages ไว้ด้วยก่อนจะคลิกปุ่ม Save Menu ก็ดี ท�ำแบบนี้แล้ว WordPress จะสร้างเมนูของเพจให้ โดยอัตโนมัติเมื่อเราสร้างเพจใหม่ๆ ขึ้นมา)



7



ภาพ 9-21 คลิกปุ่ม Save Menu



173



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



คุณผู้อ่านคงเห็นไปแล้วว่า ตามตัวอย่างในที่นี้ผมสร้างเมนูหลักชื่อ “เมนูหลัก” ขึ้น มา แล้วก็สร้างเมนูภายใต้เมนูหลักนี้ขึ้นมาอีก 3 เมนู เมนูแรกเชื่อมโยงกลับไปยังโฮมเพจ ของบล็อก เมนูที่สองเชื่อมโยงไปหาเพจที่ชื่อ “ส่งหนังสือให้วิจารณ์” และเมนูที่สามเชื่อม โยงไปหาเพจที่ชื่อ “เกี่ยวกับเรา” (ผมไม่ได้สร้างเมนูเชื่อมโยงไปหาแคเทอกอรี เพราะตอน นีใ้ นบล็อกมีแค่แคเทอกอรีเดียว อีกอย่างคนอ่านก็คลิกเข้าไปยังแคเทอกอรีผา่ นทางวิดเจ็ต Categories ในไซด์บาร์ได้อยูแ่ ล้ว) เมนูทงั้ สามนีจ้ ะแสดงผลผ่านหน้าบล็อกในลักษณะไหน ลองดูตัวอย่างได้ในภาพประกอบ 9-22 นะครับ



ภาพ 9-22 ตัวอย่างเมนูที่สร้างขึ้น



174



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



ตั้งค่าออปชันเสริมให้ Theme เมนู Theme Options เป็นเมนูย่อยอีกเมนูหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้เมนู Appearance ของ WordPress ครับ เมนูนเี้ ราเอาไว้ใช้ตงั้ ค่าออปชันเสริมให้ธมี แต่ถา้ ถามว่าเราตัง้ ค่าออปชัน เสริมอะไรให้ธีมได้บ้าง คงต้องบอกว่าผมไม่สามารถตอบอย่างชัดเจนได้ ทั้งนี้ก็เพราะธีม แต่ละธีมจะตั้งค่าออปชันได้ต่างกัน แล้วก็ไม่ใช่ทุกธีมด้วยนะครับที่จะเข้ามาตั้งค่าออปชันเสริมผ่านเมนู Theme Options ได้ บางธีมอาจไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถตั้งค่าออปชันตรงนี้ได้ แบบนั้น เราก็จะไม่เห็นเมนูย่อย Theme Options แสดงอยู่ภายใต้เมนู Appearance แต่ถ้าคุณ เลือกใช้ธีมไหนอยู่แล้วเห็นเมนู Theme Options ด้วย ก็แปลว่าคุณตั้งค่าออปชันเสริม ให้ธีมนั้นได้ เมื่อคลิกเมนู Appearance > Theme Options แล้ว เราจะเข้ามาที่หน้า Theme Options (ในภาพประกอบ 9-23 นี้ คุณจะว่าหน้า Theme Options มีชื่อเต็มๆ คือ Patchwork Theme Options เนื่องจากธีมที่ผมใช้งานอยู่มีชื่อว่า Patchwork ไงครับ) เรา ก็จะเห็นรายการออปชันที่สามารถปรับแต่งตั้งค่าให้ธีมได้ ในกรณีของธีม Patchwork นี้ ผมสามารถตั้งค่าออปชันเสริมได้ใน 2 ส่วน คือการเลือกสไตล์ให้ธีม และการใส่โค้ด CSS ลงไปเพิ่มเติมเพื่อก�ำหนดการแสดงผลของธีมนี้ แต่ถา้ เป็นธีม Twenty Eleven ซึง่ เป็นธีมเริม่ ต้นของ WordPress เราจะตัง้ ค่าออปชัน เพิ่มเติมได้ในลักษณะแตกต่างออกไป คือสามารถก�ำหนดโทนสี ก�ำหนดสีของลิงก์ หรือ ก�ำหนดรูปแบบเลย์เอาต์ได้ เช่น ให้ไซด์บาร์อยูด่ า้ นขวา, ด้านซ้าย หรือไม่ตอ้ งมีไซด์บาร์ไป เลย ส่วนถ้าเป็นธีม Twenty Ten ซึ่งเป็นธีมมาตรฐานอีกธีมที่ติดตั้งมาพร้อม WordPress ตั้งแต่ต้น เราจะไม่สามารถปรับตั้งค่าออปชันเพิ่มเติมได้เลย เพราะเมื่อเลือกใช้ธีมนี้ จะ ไม่มีเมนู Theme Options ให้เห็นภายใต้เมนู Appearance ครับ 175



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 9-23 ตัวอย่างหน้า Theme Options



ธีมที่คุณใช้งานอยู่สามารถตั้งค่าออปชันเพิ่มเติมอะไรได้บ้าง คุณต้องลองคลิกดู เอาเอง หลังจากปรับแต่งค่าออปชันต่างๆ แล้ว ก็อย่าลืมคลิกปุ่ม Save Changes ด้าน ล่างหน้า Theme Options เพื่อบันทึกผลการตั้งค่าด้วยล่ะครับ (ในภาพ 9-23 นี้จะมองไม่ เห็นปุ่ม Save Changes เพราะผมแคปเจอร์ภาพมาไม่หมด)



ปรับแต่ง Header ให้ Blog เฮดเดอร์ (Header) เป็นองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งที่บล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนใหญ่ มักมีกนั เฮดเดอร์ไม่ใช่อะไรนอกจากภาพกราฟิกทีป่ ระดับอยูด่ า้ นบนของบล็อก และก็ดว้ ย 176



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



ความที่เฮดเดอร์เป็นส่วนประกอบที่มองเห็นเด่นชัดในบล็อก (จะเด่นชัดที่สุดก็ว่าได้) อีก ทั้งผู้ชมบล็อกยังมักมองเห็นเฮดเดอร์ก่อนองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยซ�ำ้ เฮดเดอร์จึงมีความ ส�ำคัญไม่น้อยหน้าองค์ประกอบอื่นๆ หากเฮดเดอร์ดูสวยงาม สอดคล้องกับเนื้อหาของ บล็อก ก็จะยิ่งท�ำให้บล็อกของเราดูดีและน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบล็อกทุกบล็อกจะมีเฮดเดอร์นะครับ บางบล็อกก็อาจไม่มี เฮดเดอร์ เนือ่ งจากธีมทีใ่ ช้ไม่ได้มเี ฮดเดอร์เป็นส่วนประกอบ ใครใช้ธมี ทีไ่ ม่มเี ฮดเดอร์ ก็จะ ไม่สามารถปรับแต่งเฮดเดอร์ได้ แต่ถ้าใครใช้ธีมที่มีเฮดเดอร์ด้วยละก็ จะสามารถปรับแต่ง เฮดเดอร์ได้ โดยการปรับแต่งเฮดเดอร์นี้เราต้องคลิกเข้าไปที่เมนู Appearance > Header (ย�ำ้ อีกทีว่าใครใช้ธีมที่ไม่มีเฮดเดอร์ ก็จะไม่มีเมนูย่อย Header ให้คลิกนะครับ) คลิกเมนู Appearance > Header แล้ว เราจะเข้ามาที่หน้า Custom Header ซึ่ง มีไว้ปรับแต่งเฮดเดอร์ (ดูภาพ 9-24) การปรับแต่งเฮดเดอร์ของธีมส่วนใหญ่จะคล้ายคลึง กัน แต่ก็ไม่ใช่เหมือนกันซะทีเดียว สิ่งที่เราท�ำได้ก็เช่น ลบภาพเฮดเดอร์ทิ้งไป, เลือกภาพ เฮดเดอร์ใหม่ไปแทนที่ภาพเดิมที่มาพร้อมธีม, สั่งให้โชว์ Header Text (ตัวหนังสือที่จะ ปรากฏในส่วนของเฮดเดอร์ ซึ่งก็คือ Site Title กับ Tagline นั่นเอง), ก�ำหนดสีของ Header Text หรือสั่งให้เปลี่ยนกลับไปใช้ Header Text ที่เป็นค่าดีฟอลต์มาแต่เดิม เป็นต้น ในส่วนของการใส่ภาพเฮดเดอร์ใหม่เข้าไปแทนที่เฮดเดอร์เดิมนั้น เราควรอ่านราย ละเอียดดูดว้ ยว่าต้องใช้ภาพทีม่ ขี นาดเท่าไหร่จงึ จะแสดงผลได้พอดิบพอดี ตัวอย่างเช่น ธีม ทีผ่ มใช้งานอยูน่ มี้ คี ำ� แนะน�ำว่า ควรใช้ภาพขนาด 650 x 150 พิกเซลมาท�ำเฮดเดอร์ เพราะ มันจะแสดงผลได้พอดีกับพื้นที่ที่ก�ำหนดไว้ ปรับแต่งเฮดเดอร์เสร็จแล้ว ก็คลิกปุ่ม Save Changes เพื่อบันทึกการตั้งค่าด้วยล่ะ ครับ ไม่งั้นสิ่งที่เราปรับแต่งไปมันจะไม่แสดงผลนะ



177



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 9-24 ตัวอย่างหน้า Custom Header



ปรับแต่ง Background ให้ Blog การปรับแต่งแบ็กกราวด์ (Background) ให้บล็อกจะมีความคล้ายกับการปรับ แต่งเฮดเดอร์นั่นแหละครับ คือไม่ใช่ทุกธีมจะปรับแต่งแบ็กกราวด์ได้ แต่ต้องเป็นธีมที่ถูก ออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งแบ็กกราวด์ได้เท่านั้น ซึ่งแบ็กกราวด์นี้มันก็คือภาพ กราฟิกที่ปรากฏเป็นพื้นหลังของบล็อกนั่นเอง ธีมไหนปรับแต่งแบ็กกราวด์ได้ เราจะเห็นเมนูยอ่ ย Background แสดงอยูภ่ ายใต้เมนู Appearance แต่ถา้ ธีมไหนปรับแต่งแบ็กกราวด์ไม่ได้ ก็แน่นอนว่าภายใต้เมนู Appearance 178



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



จะไม่มเี มนูยอ่ ย Background ให้คลิกเลือก ธีมทีค่ ณ ุ ใช้งานอยูส่ ามารถปรับแต่งแบ็กกราวด์ ได้หรือเปล่าครับ ถ้าได้...ก็ลองคลิกเมนู Appearance > Background ดูเลย คลิกแล้วคุณ จะเห็นหน้า Custom Background เปิดขึ้นมาดังภาพ 9-25



ภาพ 9-25 ตัวอย่างหน้า Custom Background



179



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



การปรับแต่งแบ็กกราวด์ของธีมแต่ละธีมจะไม่มีเหมือน แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันซะที เดียว ตัวอย่างของการปรับแต่งแบ็กกราวด์ที่มักมีเหมือนๆ กันในธีมส่วนใหญ่ก็เช่น ลบ ภาพแบ็กกราวด์เดิม, ใส่ภาพแบ็กกราวด์ใหม่เข้าไป, ก�ำหนดสีแบ็กกราวด์ หรือก�ำหนด ต�ำแหน่งการวางภาพแบ็กกราวด์ เป็นต้น และก็เช่นเคย เมื่อปรับแต่งแบ็กกราวด์ให้ธีมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องคลิกปุ่ม Save Changes เพื่อบันทึกการตั้งค่าของเรา จากนั้นก็ลองคลิกไปดูหน้าบล็อกได้เลยว่า ปรับแต่งแบ็กกราวด์แล้วได้ผลลัพธ์ตามต้องการหรือเปล่าครับ



มือชั้นเซียนต้องลองแก้โค้ดให้ Theme มาถึงเรื่องสุดท้ายที่เกี่ยวกับการปรับแต่งการแสดงผลของบล็อกผ่านเมนู Appearance คุณจะเห็นว่านอกจากเมนูย่อยหลายต่อหลายเมนูที่ผมอธิบายไปในหัวข้อก่อนๆ แล้ว เรายังจะเห็นเมนูย่อยที่ชื่อ Editor ปรากฏอยู่ด้านล่างสุดในเมนูหลัก Appearance ด้วย เมนูย่อย Editor มีไว้ส�ำหรับเข้าไปแก้ไขโค้ดของธีมนั้นๆ โดยตรง และเมนูนี้จะมีอยู่ ในธีมทุกธีม (เท่าทีผ่ มเคยลองใช้) หมายความว่าไม่วา่ จะใช้ธมี ไหนอยู่ คุณก็เข้าไปแก้ไขโค้ด ให้ธีมนั้นได้เช่นเดียวกัน เมื่อคลิกเมนู Appearance > Editor แล้ว คุณจะเห็นหน้า Edit Themes โผล่ขึ้นมา (ดูภาพ 9-26) พร้อมกับจะเห็นโค้ดของธีมนัน้ ๆ แสดงเต็มพืดไปหมด โดยไฟล์สว่ นประกอบ ของธีมทีจ่ ะถูกเปิดขึน้ มาแก้ไขก่อนตามค่าดีฟอลต์จะเป็นไฟล์ style.css ซึง่ ท�ำหน้าทีค่ วบคุม การแสดงผลของธีม เช่น จะใช้ฟอนต์อะไร, ขนาดเท่าไหร่, สีอะไร ฯลฯ แต่ถ้าคุณต้องการ แก้ไขไฟล์ส่วนประกอบอื่นๆ ของธีมด้วย ก็คลิกที่ชื่อไฟล์ด้านขวามือเพื่อเปิดไฟล์นั้นขึ้น มาแก้ไขได้เลย เช่น ไฟล์ index.php, footer.php, header.php หรือ sidebar.php เป็นต้น ไฟล์ส่วนประกอบของธีมนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือด้านบนจะเป็นไฟล์ PHP ส่วน ด้านล่างจะเป็นไฟล์ CSS 180



ปรับแต่งหน้าตาของ WordPress



บทที่ 9



ภาพ 9-26 ตัวอย่างหน้า Edit Themes



เรื่องของการแก้ไขโค้ดให้ธีมโดยตรงนี้ แนะน�ำเป็นอย่างยิ่งว่าคุณควรท�ำก็ต่อเมื่อ มีความจ�ำเป็นจริงๆ เช่น ต้องการปรับแต่งการแสดงผลของธีมซึ่งไม่สามารถปรับด้วยวิธี การปกติ ที่ส�ำคัญคุณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา PHP ในระดับหนึ่งด้วย ถึง จะแก้ไขโค้ดธีมด้วยตัวเองได้ เพราะถ้าไม่เข้าใจพื้นฐานภาษา PHP คุณก็คงแก้ไขโค้ดไม่ได้ หรือแก้ไขไปแบบมั่วๆ ซึ่งนั่นจะเสี่ยงให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น ธีมแสดงผลไม่ถูก ต้อง หรือถึงกับแสดงผลไม่ได้ไปเลย เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่เข้าใจภาษา PHP ก็อย่าเสี่ยงคลิกเมนู Appearance > Editor เพื่อเข้ามาแก้ไขโค้ดของธีมเลยครับ 181



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



แต่ถ้าคุณแก้ไขโค้ด PHP เป็น คุณก็ลงมือบรรเลงเพลง PHP ไปได้ตามสบายเลย พอแก้ไขโค้ดของธีมเสร็จ ก็คลิกปุม่ Update File เพือ่ บันทึกการเปลีย่ นแปลงของไฟล์นนั้ ๆ ด้วย ส�ำหรับใครที่หาปุ่ม Update File ไม่เจอ แต่กลับเห็นข้อความ You need to make this file writable before you can save your changes. See the Codex for more information. ปรากฏขึ้นมาแทน ก็แสดงว่าคุณไม่สามารถแก้ไขไฟล์นั้นๆ ได้เนื่องจากติดเรื่อง Permission แบบนี้คุณก็ต้องเข้าไปแก้ไขค่า Permission ของไฟล์นั้นซะก่อน แต่ประเด็น เรื่องค่า Permission นี้ ผมคงไม่อธิบายให้ฟังนะครับ เพราะเดี๋ยวจะเรื่องยาว ผมเชื่อว่า ถ้าคุณแก้ไขโค้ด PHP เป็น การแก้ไขค่า Permission ของไฟล์ก็คงไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่า แรง หรือถ้าอยากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับค่า Permission ของไฟล์ใน WordPress เพิ่มเติม ก็ลองคลิกเข้าไปอ่านได้ที่นี่ครับ... http://codex.wordpress.org/Changing_File_Permissions



182



บทที ่ 10 เพิ่มความสามารถให้ WordPress ด้วย Plugin



WordPress ของเราน่ะมีความสามารถยอดเยี่ยมเพียงพอต่อการใช้ งานตามปกติอยู่แล้ว เราจึงสร้างบล็อกที่มีประสิทธิภาพและลูกเล่นครบถ้วนได้โดย ไม่จ�ำเป็นต้องหาอะไรมาติดตั้งเพิ่มเติมให้ยุ่งยากเลย แต่ถ้าใครยังไม่พอใจความสามารถพื้นฐานของ WordPress คุณก็ยงั หาปลัก๊ อินมาติดตัง้ เพิม่ เติมได้อกี แบบไม่รจู้ บ ซึง่ ปลัก๊ อินนีก้ เ็ ป็นเหมือนส่วนเสริม หรือโปรแกรมเสริมย่อยๆ ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถอย่างหนึ่งอย่างใดให้บล็อก WordPress เป็นต้น ว่า เปลี่ยน WordPress ให้เป็นร้านค้าออนไลน์ที่มีระบบตะกร้าสินค้าในตัว, สร้างแบบฟอร์มส�ำหรับ ติดต่อให้ WordPress, หรือใช้ท�ำ SEO ให้ WordPress เป็นต้น บทที่ 10 นี้เราจะมาลองจัดการกับปลั๊กอินใน WordPress กันครับ คุณจะได้รู้ว่า การติดตั้ง ปลั๊กอินใหม่ๆ เพิ่มให้ WordPress ต้องท�ำยังไงกันบ้าง หรือเรามีวิธีจัดการกับปลั๊กอินที่ติดตั้งไว้แล้ว ในท�ำนองไหนบ้าง



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ติดตั้ง Plugin ใหม่ให้ WordPress WordPress เป็น CMS ส�ำหรับสร้างบล็อกที่ได้รับความนิยมสูงสุดเกินหน้าเกินตา ใครๆ ทัง้ คนไทยและคนทัว่ โลกต่างก็เลือกใช้ WordPress สร้างบล็อกของตัวเองด้วยกันทัง้ นั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีโปรแกรมเมอร์จ�ำนวนมากพัฒนาปลั๊กอิน (Plugin) ส�ำหรับ WordPress ขึ้นมาให้เราใช้งาน คุณคงต้องร้องว้าว...แน่ๆ ถ้าผมบอกว่า WordPress น่ะมีปลั๊กอินให้เลือกใช้ มากมายเกิน 20,000 ตัวด้วยซ�้ำครับ เรียกว่าลองใช้กันทั้งชาติก็ไม่หมด แต่ถึง WordPress จะมีปลั๊กอินเยอะแยะ เราก็พอจะมีวิธีค้นหาปลั๊กอินที่ตรงกับ ความต้องการของเราได้ครับ วิธีการสั่งค้นหาและติดตั้งปลั๊กอินใหม่ๆ ต้องท�ำแบบไหน ไปดูขั้นตอนกันเลย 1 ที่หน้า Dashboard ของ WordPress ให้คลิกเมนู Plugins > Add New ดูภาพ 10-1



1



ภาพ 10-1 คลิกเมนู Plugins > Add New



184



เพิม่ ความสามารถให้ WordPress ด้วย Plugin



บทที่ 10



2 ในหน้า Install Plugins ทีเ่ ปิดขึน้ มาดังภาพ 10-2 นี้ เราสามารถสัง่ ค้นหาปลัก๊ อิน



ที่ต้องการได้หลายวิธี เช่น คลิกค�ำสั่ง Featured, Popular และ Newest เพื่อสั่งให้แสดง ปลั๊กอินแนะน�ำ, ปลั๊กอินยอดฮิต และปลั๊กอินใหม่ ตามล�ำดับ (ส่วนค�ำสั่ง Upload ที่ผมไม่ ได้พูดถึง มีไว้สั่งอัปโหลดและติดตั้งปลั๊กอินที่เราไปหาดาวน์โหลดมาเอง คล้ายๆ กับตอน ที่เราสั่งติดตั้งธีมนั่นแหละครับ) หรือคุณจะเสิร์ชหาปลั๊กอินด้วยคีย์เวิร์ดต่างๆ ในช่อง Search ก็ได้ หรือไม่งั้นก็อาจใช้วิธีค้นหาปลั๊กอินโดยคลิกจากแท็กที่เกี่ยวข้องใต้หัวข้อ Popular tags ครับ ตัวอย่างในที่นี้ผมขอคลิกค�ำสั่ง Popular ด้านบน เพื่อดูปลั๊กอินยอดฮิตที่มีคนใช้ เยอะๆ ก็แล้วกัน



2



ภาพ 10-2 คลิกค�ำสั่ง Popular



185



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 เห็นรายชือ่ ปลัก๊ อินแสดงขึน้ มาแล้ว คุณก็ลองอ่านรายละเอียดดูวา่ ปลัก๊ อินตัว



ไหนมีความสามารถอะไร มีไว้ใช้ท�ำอะไร อยากติดตั้งปลั๊กอินตัวไหน ก็ให้คลิกค�ำสั่ง Install Now ด้านล่างรายการปลั๊กอินตัวนั้น ดูภาพ 10-3 ส�ำหรับตัวอย่างในทีน่ ี้ ผมจะสัง่ ติดตัง้ ปลัก๊ อินทีช่ อื่ ว่า Contact Form 7 ซึง่ มีไว้สำ� หรับ สร้างแบบฟอร์มติดต่อเพื่อให้คนอ่านบล็อกสามารถติดต่อกับเราได้งา่ ยๆ



3 ภาพ 10-3 คลิกค�ำสั่ง Install Now



186



เพิม่ ความสามารถให้ WordPress ด้วย Plugin



บทที่ 10



4 คลิกปุ่ม OK ในหน้าต่างย่อยที่เปิดซ้อนขึ้นมา เพื่อยืนยันการติดตั้งปลั๊กอิน ดู



ภาพ 10-4



4



ภาพ 10-4 คลิกปุ่ม OK



5 กรอกข้อมูลการเชื่อมต่อ FTP ให้ครบถ้วนเหมือนกับตอนสั่งติดตั้งธีม จากนั้น



คลิกปุ่ม Proceed ดูภาพ 10-5



5 ภาพ 10-5 คลิกปุ่ม Proceed



187



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



6 สุดท้ายก็คลิกค�ำสั่ง Activate Plugin เพื่อเปิดการท�ำงานของปลั๊กอินที่เพิ่งติด



ตั้งลงไปครับ ดูภาพ 10-6



6 ภาพ 10-6 คลิกค�ำสั่ง Activate Plugin



หลังจากสั่งติดตั้งปลั๊กอินใหม่แล้ว คุณต้องท�ำยังไงบ้างเพื่อน�ำปลั๊กอินนั้นๆ ไปใช้ หรือจะมีวิธีการปรับแต่งตั้งค่าปลั๊กอินได้ยังไงบ้าง ผมคงไม่สามารถอธิบายแบบส�ำเร็จรูป ได้ เพราะปลัก๊ อินแต่ละตัวก็มรี ปู แบบการท�ำงานแตกต่างกันออกไป วิธใี ช้งานและวิธตี งั้ ค่า ก็ไม่เหมือนกันเลย เรื่องนี้คุณผู้อ่านคงต้องทดลองท�ำดูเอาเอง (แต่ขั้นตอนการคลิกเข้าไป ตั้งค่าให้ปลั๊กอินแต่ละตัวจะเหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้ผมจะพูดถึงในหัวข้อหน้า) ในกรณีของปลั๊กอิน Contact Form 7 ที่ผมเพิ่งลองติดตั้งไปนี้ เมื่อติดตั้งแล้วผมจะ สามารถก๊อบปีโ้ ค้ดของปลัก๊ อินไปวางในบทความ หรือวางในวิดเจ็ต Text เพือ่ ให้แบบฟอร์ม ติดต่อแสดงผลอยูด่ า้ นล่างของบทความ หรือแสดงผลเป็นวิดเจ็ตตามต้องการ ตัวอย่างแบบ ฟอร์มติดต่อที่สร้างด้วย Contact Form 7 คุณลองดูได้จากภาพประกอบ 10-7 นะครับ 188



เพิม่ ความสามารถให้ WordPress ด้วย Plugin



บทที่ 10



ภาพ 10-7 ตัวอย่างแบบฟอร์มที่สร้างด้วย Contact Form 7



จัดการกับ Plugin ที่มีอยู่แล้ว ปลัก๊ อินทุกตัวทีต่ ดิ ตัง้ ไว้ใน WordPress แล้ว ไม่วา่ จะเป็นปลัก๊ อินทีถ่ กู เปิดการท�ำงาน หรือถูกปิดการท�ำงานอยู่ เราจะสามารถเข้ามาจัดการมันได้ผ่านเมนู Plugins > Installed Plugins ซึ่งเมื่อคลิกเมนูดังกล่าวแล้ว เราจะเข้ามาที่หน้า Plugins เหมือนในภาพตัวอย่าง 10-8 และเราก็จะเห็นรายการปลั๊กอินที่ติดตั้งไว้แล้วทั้งหมด รวมถึงปลั๊กอินบางตัวที่ถูก ติดตั้งมาพร้อมกับ WordPress ตั้งแต่ต้น (แต่ยังไม่ได้ถูกเปิดการท�ำงาน) คือ ปลั๊กอิน Akismet ที่มีไว้ป้องกันคอมเมนต์สแปมทั้งหลาย และปลั๊กอิน Hello Dolly ที่มีไว้แสดงค�ำ 189



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



สั้นๆ จากเนื้อเพลง Hello, Dolly! ของ Louis Armstrong ไว้บริเวณมุมขวา-บนของทุกหน้า ใน Dashboard (ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะได้อะไรขึ้นมา) อย่างไรก็ตาม ตอนคุณติดตัง้ WordPress คุณอาจเห็นว่ามีปลัก๊ อินทีต่ ดิ ตัง้ มาตัง้ แต่ ต้นแตกต่างไปจากนี้ก็ได้นะครับ เนื่องจากเป็นไปได้ว่าทาง WordPress อาจเลือกปลั๊กอิน ดีฟอลต์ที่ติดตั้งมาพร้อม WordPress ให้แตกต่างไปจากเดิม



ภาพ 10-8 หน้า Plugins



ทีห่ น้า Plugins คุณจะเห็นว่ามีคำ� สัง่ ส�ำหรับจัดการปลัก๊ อินแสดงอยูด่ า้ นล่างรายการ ปลั๊กอินแต่ละตัว โดยถ้าเป็นปลั๊กอินที่ติดตั้งไว้แต่ยังไม่ได้เปิดการท�ำงาน จะเห็นค�ำสั่ง



190



เพิม่ ความสามารถให้ WordPress ด้วย Plugin



บทที่ 10



Activate ส�ำหรับเปิดการท�ำงานของปลั๊กอิน, ค�ำสั่ง Edit ส�ำหรับแก้ไขโค้ดของปลั๊กอิน (ปลั๊กอินบางตัวก็ไม่มีค�ำสั่งนี้) และค�ำสั่ง Delete ส�ำหรับลบปลั๊กอินทิ้งไป แต่ถ้าเป็น ปลั๊กอินที่เปิดการท�ำงานอยู่แล้ว เราจะเห็นค�ำสั่งแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือจะมีค�ำสั่ง Settings ส�ำหรับตั้งค่าเซตติ้งให้ปลั๊กอิน, ค�ำสั่ง Edit ส�ำหรับแก้ไขโค้ดของปลั๊กอิน และ ค�ำสั่ง Deactivate ส�ำหรับปิดการท�ำงานของปลั๊กอินครับ



แก้ ไขไฟล์ Plugin ด้วยตัวเอง ปลั๊กอินของ WordPress มีคุณสมบัติคล้ายๆ กับธีมอยู่อย่างหนึ่ง คือเปิดโอกาสให้ คนทีม่ คี วามรูเ้ กีย่ วกับภาษา PHP สามารถแก้ไขโค้ดของปลัก๊ อินด้วยตัวเองได้ เพือ่ ปรับรูป แบบการท�ำงานหรือการแสดงผลของปลั๊กอินให้สอดคล้องกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่ถ้า คุณไม่มีความรู้ดา้ นภาษา PHP ก็ไม่ควรริแก้ไขโค้ดปลั๊กอินด้วยตัวเองเด็ดขาด เพราะอาจ มีผลท�ำให้ปลั๊กอินท�ำงานผิดพลาดหรือถึงกับเดี้ยงจนใช้งานไม่ได้ไปเลย วิธกี ารเข้าไปแก้ไขโค้ดของปลัก๊ อินท�ำได้ดว้ ยการคลิกเมนู Plugins > Editor เมือ่ คลิก แล้วเราจะเห็นหน้า Edit Plugins ส�ำหรับแก้ไขโค้ดให้ปลัก๊ อินแสดงขึน้ มา (ดูภาพ 10-9) และ เราสามารถเลือกปลัก๊ อินทีต่ อ้ งการแก้ไขได้ดว้ ยการคลิกช่องดรอปดาวน์ลสิ ต์ Select plugin to edit: บริเวณมุมขวา-บน ปลั๊กอินแต่ละตัวจะมีไฟล์ส่วนประกอบมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้ง ไฟล์ PHP, ไฟล์ CSS, ไฟล์ JS (JavaScript) หรือไฟล์ TXT จะเปิดไฟล์ส่วนประกอบของ ปลั๊กอินไฟล์ไหนขึ้นมาปรับแต่งแก้ไข เราก็คลิกเลือกได้จากรายชื่อไฟล์ด้านขวามือครับ



191



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 10-9 หน้า Edit Plugins



หรือถ้าคุณอยากดูเอกสารประกอบเกีย่ วกับฟังก์ชนั ย่อยๆ ในไฟล์นนั้ ก็ดไู ด้ดว้ ยการ คลิกเลือกฟังก์ชันในช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Documentation: ด้านล่าง แล้วคลิกปุ่ม Lookup สุดท้ายเมื่อแก้ไขโค้ดให้ปลั๊กอินตามต้องการแล้ว ก็ต้องคลิกปุ่ม Update File เพื่อ อัปเดตการแก้ไขของเราด้วย จากนัน้ เราค่อยไปตรวจสอบดูการท�ำงานของปลัก๊ อินว่า แก้ไข แล้วออกมาตรงกับที่ต้องการหรือเปล่าครับ



192



เพิม่ ความสามารถให้ WordPress ด้วย Plugin



บทที่ 10



แนะนำ� Plugin ยอดฮิตชั้นดี ปลั๊กอินของ WordPress มีอยู่มากมายเกิน 20,000 ตัวอย่างที่ผมเคยบอกไปแล้ว มือใหม่ทหี่ ดั ใช้ WordPress น่าจะปวดหัวกับการเลือกใช้ปลัก๊ อินจ�ำนวนมหาศาลเหล่านีแ้ น่ ผมแนะน�ำว่าถ้าคุณไม่ได้ต้องการเพิ่มความสามารถพิเศษอะไรให้บล็อก ก็ไม่จ�ำเป็นต้อง ดิน้ รนไปหาปลัก๊ อินมาใช้หรอก ถึงเวลาทีต่ อ้ งการปรับแต่งบางอย่างเพิม่ เติมให้บล็อก หรือ ต้องการเพิม่ เครือ่ งมือบางอย่างลงในบล็อก เราค่อยไปค้นหาปลัก๊ อินทีช่ ว่ ยท�ำงานในด้าน นั้นๆ มาใช้ จ�ำไว้ว่าต่อให้ไม่ได้ติดตั้งปลั๊กอินอะไรลงไปเพิ่มเติมเลยแม้แต่ตัวเดียว บล็อก ของเราก็ท�ำงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามเพือ่ ให้เนือ้ หาบทนีม้ คี วามสมบูรณ์ครบถ้วนมากยิง่ ขึน้ ผมขอหยิบ ปลัก๊ อินน่าใช้ของ WordPress มาแนะน�ำให้คณ ุ รูจ้ กั บางส่วนด้วย โดยจะขอเน้นไปทีป่ ลัก๊ อิน ยอดฮิตทั้งหลาย คุณจะได้มีข้อมูลในเบื้องต้นว่า คนใช้ WordPress ทั่วโลกเขานิยมใช้งาน ปลั๊กอินตัวไหนกันบ้าง ลองไปท�ำความรู้จักปลั๊กอินสุดฮิตสุดฮอตของ WordPress กันเลยครับ Google XML Sitemaps ปลั๊กอินตัวนี้มีไว้สร้างไฟล์ไซต์แม็ป (Sitemap) ใน ฟอร์แมต XML ซึ่งเป็นฟอร์แมตมาตรฐานของไซต์แม็ปที่ใช้กันโดยทั่วไป ความส�ำคัญของ ไซต์แม็ปคือจะช่วยให้เสิร์ชเอนจิ้นเข้ามาเก็บข้อมูลในบล็อกของเราได้อย่างครบถ้วนและ รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีในด้าน SEO (ผมจะอธิบายเรื่อง SEO ในบทที่ 19 และบทที่ 20) All in One SEO Pack ปลั๊กอินตัวนี้มีไว้ช่วยท�ำ SEO ให้บล็อก WordPress ของเรา แม้ WordPress จะมีความแรงในด้าน SEO อยู่แล้ว แต่ก็ยังมีเทคนิคในการเพิ่ม ประสิทธิภาพด้าน SEO ให้บล็อกได้อีกครับ ซึ่ง All in One SEO Pack ก็ตอบโจทย์ข้อนี้ ให้เราได้อย่างครบถ้วน (ผมจะพูดถึงปลั๊กอินตัวนี้อีกทีในหัวข้อ “เสริมพลัง SEO ด้วย Plugin” ของบทที่ 19) 193



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



Jetpack by WordPress.com ปลั๊กอินตัวนี้จะช่วยดึงฟีเจอร์ดีๆ จาก WordPress.com มาใช้งานกับบล็อกของเรา เช่น ระบบรายงานสถิติ, ระบบแจ้งเตือนทาง อีเมลเมื่อมีบทความใหม่หรือมีคอมเมนต์ใหม่ หรือการดึงระบบคอมเมนต์ของ Social Network มาใช้



ภาพ 10-10 ตัวอย่างหน้าตาปลั๊กอิน Jetpack by WordPress.com



WordPress SEO by Yoast ปลั๊กอินตัวนี้เป็นปลั๊กอินอีกตัวที่ช่วยท�ำ SEO ให้บล็อก WordPress ของเราครับ เช่น การปรับแต่ง Snippet ซึ่งก็คือหน้าตาข้อมูลบล็อก ที่จะแสดงในหน้าผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิ้น (ผมจะพูดถึงปลั๊กอินตัวนี้อีกทีในหัวข้อ “เสริมพลัง SEO ด้วย Plugin” ของบทที่ 19) NextGEN Gallery ปลัก๊ อินตัวนีใ้ ช้สำ� หรับสร้างแกลเลอรีภาพสวยๆ ในบล็อก ใครชอบโชว์ภาพสวยๆ ผ่านบล็อก แนะน�ำให้ลองหาปลั๊กอิน NextGEN Gallery มาใช้งาน ดูครับ 194



เพิม่ ความสามารถให้ WordPress ด้วย Plugin



บทที่ 10



ภาพ 10-11 ตัวอย่างหน้าตาปลั๊กอิน WordPress SEO by Yoast



Contact Form 7 ปลัก๊ อินตัวนีใ้ ช้สร้างแบบฟอร์มติดต่อ เพือ่ ให้คนอ่านบล็อก ส่งข้อความติดต่อถึงเราได้ง่ายๆ ปลั๊กอินตัวนี้ผมเคยลองติดตั้งให้ดูเป็นตัวอย่างไปแล้ว รวมถึงเคยโชว์หน้าตาของมันให้คณ ุ เห็นไปแล้วในหัวข้อ “ติดตัง้ Plugin ใหม่ให้ WordPress” ยังจ�ำกันได้นะครับ Akismet ปลั๊กอินตัวนี้เป็นหนึ่งในสองปลั๊กอินที่ถูกติดตั้งมาให้โดยอัตโนมัติ พร้อมกับ WordPress (แต่เราต้องเข้าไปสั่งเปิดการท�ำงานของมันเอง) ความสามารถของ Akismet คือจะช่วยป้องกันคอมเมนต์สแปมให้เราได้ โดยจะเช็กคอมเมนต์ของเรากับระบบ Akismet web service เพื่อประเมินว่ามันน่าจะเป็นสแปมหรือเปล่า 195



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



WP-PageNavi ปลั๊กอินตัวนี้มีไว้ส�ำหรับปรับเปลี่ยนลิงก์ Older posts หรือ Newer posts ซึ่งใช้ส�ำหรับเลื่อนไปดูบทความที่เก่ากว่าหรือบทความที่ใหม่กว่า ด้วยลิงก์ ที่เราก�ำหนดได้เอง



ภาพ 10-12 ตัวอย่างหน้าตา ปลั๊กอิน WP-PageNavi



gtrans ปลั๊กอินตัวนี้มีไว้ส�ำหรับสร้างระบบบล็อกหลายภาษาครับ แต่เท่าที่ ศึกษาข้อมูลดูก็เห็นทาง WordPress เตือนว่าปลั๊กอินตัวนี้ยังไม่ผ่านการทดสอบกับ WordPress เวอร์ชันล่าสุด เพราะฉะนั้นจึงไม่มีใครรับประกันได้ว่ามันจะท�ำงานได้อย่าง สมบูรณ์หรือเปล่า หรือว่าใช้แล้วจะมีปัญหาอะไรตามมาหรือเปล่า WordPress Importer ปลั๊กอินยอดฮิตตัวสุดท้ายนี้มีไว้สั่งอิมพอร์ตหรือน�ำ เข้าข้อมูลต่างๆ จากบล็อก WordPress บล็อกอื่น มาไว้ในบล็อกที่ก�ำลังใช้งานอยู่ ไม่ว่า เป็นบทความ, เพจ, คอมเมนต์, แคเทอกอรี, แท็ก หรืออื่นๆ ครับ



196



บทที ่ 11 จัดการกับ User ใน WordPress



คุณผู้อ่านที่อ่านเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มาเรื่อยๆ แบบสังเกตสังกา หน่อย น่าจะพอจับจุดได้ว่าผมเขียนโดยแยกเนื้อหาออกเป็นบทๆ ตามเมนูของ WordPress ครับ ในบทที่แล้วเราว่ากันด้วยเรื่องปลั๊กอิน เพราะฉะนั้นบทนี้ก็ต้องมาถึงคิวของ เรื่องเกี่ยวกับระบบยูสเซอร์ เพราะเมนู Users มันอยู่ถัดจากเมนู Plugins ลงมา เนื้อหาเกี่ยวกับระบบ ยูสเซอร์ของ WordPress มีไม่มากนัก การจัดการยูสเซอร์ของบล็อกก็ ไม่ได้มีรายละเอียดซับซ้อน เหมือนระบบยูสเซอร์ของ CMS ส�ำหรับสร้างเว็บไซต์หลายๆ ตัว เพราะฉะนั้นต่อให้คุณไม่คุ้นเคยกับ ระบบยูสเซอร์ของ WordPress มาก่อน ก็น่าจะเรียนรู้และใช้งานได้คล่องอย่างไม่ยากเย็น อย่างไรก็ตาม หากคุณแน่ใจว่าบล็อกทีส่ ร้างขึน้ นีจ้ ะมีเพียงตัวคุณคนเดียวเข้ามาบริหารจัดการ ละก็ จะอ่านข้ามเนื้อหาบทนี้ไปก็ไม่ว่ากันนะครับ เนื่องจากเนื้อหาบทที่ 11 นี้ เหมาะกับเจ้าของบล็อกที่ ต้องการให้คนอื่นมีสิทธิ์เข้ามาร่วมบริหารจัดการหรือใช้งานบล็อกด้วยเท่านั้นครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ประโยชน์ของระบบ User ใน WordPress ถ้าจะให้เดาละก็ ผมว่าคนส่วนใหญ่ที่ซื้อหนังสือเล่มนี้ไปอ่านและลองสร้างบล็อก ด้วย WordPress น่าจะเป็นเจ้าของบล็อกและเป็นคนดูแลบริหารจัดการบล็อกแค่เพียง คนเดียว ผมเองก็เหมือนกันครับ ผมสร้างบล็อกขึน้ มาคนเดียว เป็นเจ้าของบล็อกคนเดียว ดูแลบล็อกคนเดียว (เผลอๆ จะนั่งอ่านบล็อกของตัวเองอยู่คนเดียวด้วย) แต่แม้วา่ เรามักจะจัดการบล็อกด้วยตัวเองคนเดียว มันก็มคี วามเป็นไปได้เหมือนกัน ทีบ่ ล็อกหนึง่ บล็อกจะมีคนร่วมกันบริหารจัดการมากกว่า 1 คน เช่น เราสร้างบล็อกของเรา เองขึ้นมา แต่ก็เปิดโอกาสให้เพื่อนบางคนมาช่วยเขียนบทความลงบล็อกได้ด้วย หรือบาง บล็อกอาจเป็นขององค์กรหรือบริษัท ซึ่งจ�ำเป็นต้องมีพนักงานหลายคนร่วมกันดูแลหรือ จัดการกับบล็อกในส่วนต่างๆ หรือไม่งนั้ เราก็อาจรับสมัครผูอ้ า่ นทีส่ นใจจะเผยแพร่บทความ ลงบล็อกให้ลองมาเขียนบทความด้วยกัน บล็อกหลายๆ บล็อกประสบความส�ำเร็จด้วยดีก็ เพราะเปิดให้คนภายนอกเข้าไปเขียนบทความเผยแพร่ได้ด้วยนี่แหละ ในกรณีทเี่ ราต้องการให้คนมากกว่า 1 คนเข้ามาช่วยจัดการบล็อกแบบนี้ หาก WordPress รองรับผู้ใช้หรือยูสเซอร์ (User) แค่คนเดียว ก็ย่อมมีปัญหาตามมาแน่ๆ เพราะจะ ไม่มใี ครสามารถล็อกอินเข้าไปจัดการบล็อกนอกจากเจ้าของบล็อกอย่างเรา (ยกเว้นว่าเรา จะให้ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดกับคนคนนั้นไป) แต่ผู้พัฒนา WordPress ก็คิดเผื่อในเรื่อง นี้ไว้แล้วครับ จึงออกแบบให้ WordPress รองรับระบบ Multi-User หรือการใช้งานร่วมกัน หลายๆ คน คนที่เป็นเจ้าของบล็อกมีสิทธิ์จะสร้างยูสเซอร์แอ็กเคาต์ให้ใครก็ได้ เพื่อให้คน คนนัน้ สามารถล็อกอินเข้ามาจัดการบล็อก แล้วก็ยงั ก�ำหนดได้ดว้ ยว่า จะให้ยสู เซอร์คนนัน้ มีสิทธิ์ท�ำอะไรได้บ้าง แบบนี้คนที่ต้องการแบ่งปันพื้นที่ในบล็อกให้คนอื่นมาช่วยจัดการบล็อก หรือช่วย เขียนบทความลงบล็อก ก็สามารถท�ำได้ง่ายๆ เลยละครับ บล็อกของเราจึงไม่ใช่เป็นได้แค่ 198



จัดการกับ User ใน WordPress



บทที่ 11



ทีท่ ใี่ ครๆ จะเข้ามาอ่านบทความ แต่เรายังเปิดบล็อกให้เป็นทีท่ ใี่ ครๆ เข้ามาเขียนบทความ ได้ด้วย เจ๋งมั้ยล่ะครับ



สร้าง User ใหม่ไม่ยาก คงพอจะเข้าใจถึงประโยชน์ของระบบยูสเซอร์ใน WordPress กันไปแล้วนะครับ งั้น เรามาลองสร้างยูสเซอร์ใหม่ขึ้นมาใช้งานกันเลยดีกว่า ขั้นตอนการสร้างยูสเซอร์ให้ทำ� ตาม นี้ครับ 1 ที่หน้า Dashboard ของ WordPress ให้คลิกเมนู Users > Add New ดูภาพ 11-1



1



ภาพ 11-1 คลิกเมนู Users > Add New



2 ทีห่ น้า Add New User ให้กรอกข้อมูลของยูสเซอร์ใหม่ลงไปดังนี้ (ดูภาพ 11-2)



•  Username (required) ก�ำหนดยูสเซอร์เนมลงไป



199



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  E-mail (required) กรอกอีเมลแอดเดรส •  First Name กรอกชื่อ •  Last Name กรอกนามสกุล •  Website กรอกเว็บไซต์ (ถ้ามี) •  Password (twice, required) ก�ำหนดพาสเวิร์ด โดยต้องกรอกพาสเวิร์ดเดิม 2



ครั้งในช่องว่างทั้ง 2 ช่อง •  Send Password? ตัง้ ค่าว่าจะให้สง่ พาสเวิรด์ ไปให้ยสู เซอร์ใหม่นที้ างอีเมลหรือไม่ •  Role ก�ำหนดระดับสิทธิ์ของยูสเซอร์ ซึ่งมีให้เลือก 5 ระดับ ได้แก่ Subscribers มีสถานะเป็น “ผู้ติดตาม” จะสามารถอ่านคอมเมนต์ เขียนคอมเมนต์ และได้รับจดหมาย ข่าวจากบล็อก, Administrators มีสถานะเป็น “ผู้ดูแล” บล็อก มีสิทธิ์จัดการกับบล็อก ได้ทุกอย่างเหมือนกับเจ้าของบล็อก, Editors มีสถานะเป็น “บรรณาธิการ” มีสิทธิ์เขียน บทความเผยแพร่ รวมถึงจัดการบทความของตัวเองและของคนอื่นได้, Authors มีสถานะ เป็น “นักเขียน” มีสทิ ธิเ์ ขียนและเผยแพร่บทความของตัวเอง และสุดท้ายคือ Contributors มีสถานะเป็น “ผู้เสนอบทความ” มีสิทธิ์ในการเขียนและจัดการบทความของตัวเอง แต่จะ สั่งให้บทความนั้นเผยแพร่ทันทีไม่ได้ 3 คลิกปุ่ม Add New User ปิดท้ายครับ เมื่อสร้างยูสเซอร์ใหม่ขึ้นมาแล้ว เราก็แจ้งข้อมูลยูสเซอร์ใหม่นี้กับคนที่ต้องการ ให้มีส่วนร่วมจัดการบล็อก คนคนนั้นก็จะสามารถล็อกอินเข้าสู่หน้า Dashboard เพื่อ จัดการบล็อกตามสิทธิ์ที่ตัวเองได้รับ โดยยูสเซอร์ที่มีระดับสิทธิ์ต่างกัน จะเห็นเมนูค�ำสั่ง ใน Dashboard ของ WordPress มากน้อยไม่เท่ากับ แล้วแต่ว่ายูสเซอร์คนนั้นมีสิทธิ์ท�ำ อะไรกับบล็อกได้บ้างครับ



200



จัดการกับ User ใน WordPress



บทที่ 11



2



3 ภาพ 11-2 กรอกข้อมูลของยูสเซอร์ใหม่



จัดการกับ User ใน WordPress หากเราต้องการจัดการกับยูสเซอร์แอ็กเคาต์ทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ WordPress ของเรา เราต้องเข้ามาที่หน้า Users (ดูภาพ 11-3) ด้วยการคลิกเมนู Users > All Users ครับ ใครที่ไม่เคยสร้างยูสเซอร์แอ็กเคาต์เพิ่มขึ้นมา ก็จะเห็นว่าในหน้า Users นี้มีรายชื่อ ยูสเซอร์อยูแ่ ค่รายชือ่ เดียว ซึง่ ก็คอื ตัวเราเอง และยูสเซอร์แอ็กเคาต์ของเราจะมีระดับสิทธิ์ เป็น Administrator (คนที่เป็นเจ้าของบล็อกจะมีระดับสิทธิ์ Administrator โดยอัตโนมัติ ตัง้ แต่เริม่ แรก) แต่ถา้ บล็อกไหนมีการสร้างยูสเซอร์แอ็กเคาต์เพิม่ เติมขึน้ มาหลายๆ ยูสเซอร์ แอ็กเคาต์ ก็จะเห็นรายชื่อยูสเซอร์ทั้งหมดในหน้า Users นี้แน่นอนครับ 201



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 11-3 หน้า Users



การจัดการกับรายชื่อยูสเซอร์ในหน้า Users ง่ายยิ่งกว่าง่าย เพราะไม่มีคำ� สั่งอะไร ซับซ้อนเลย เมื่อเราเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยู่เหนือรายชื่อยูสเซอร์นั้น เราจะเห็นค�ำสั่ง ส�ำหรับจัดการยูสเซอร์ปรากฏออกมาให้เลือกใช้งาน 2 ค�ำสั่งด้วยกัน ค�ำสั่งแรกคือ Edit มี ไว้เข้าไปแก้ไขข้อมูลโปรไฟล์ต่างๆ ของยูสเซอร์นั้น และค�ำสั่งที่สองคือ Delete มีไว้สั่งลบ ยูสเซอร์นั้นทิ้งไป แต่กรณีของค�ำสั่ง Delete นี้ จะมีเฉพาะรายชื่อยูสเซอร์แอ็กเคาต์อื่นนะ ครับ หากเป็นยูสเซอร์แอ็กเคาต์ของเราเอง เราจะลบทิ้งไม่ได้ เพราะเราก�ำลังล็อกอินอยู่ ในระบบด้วยยูสเซอร์แอ็กเคาต์ของเราไงล่ะ



แก้ ไขข้อมูล Profile ของเราเอง ยูสเซอร์แอ็กเคาต์ทั้งหมดในระบบของ WordPress น่ะ เรามีสิทธิ์เข้าไปแก้ไขข้อมูล โปรไฟล์ (Profile) ต่างๆ ได้ โดยหากเราต้องการแก้ไขข้อมูลโปรไฟล์ของเราเอง ก็แค่คลิก 202



จัดการกับ User ใน WordPress



บทที่ 11



เมนู User > Your Profile จากนั้นจะเห็นหน้า Profile ส�ำหรับแก้ไขข้อมูลโปรไฟล์แสดงขึ้น มาดังภาพ 11-4 แต่ถ้าเราต้องการแก้ไขข้อมูลโปรไฟล์ของยูสเซอร์อื่นที่เคยสร้างไว้ ก็ต้อง คลิกเข้าไปที่หน้า Users แล้วคลิกค�ำสั่ง Edit ใต้รายชื่อยูสเซอร์นั้นๆ แทน



ภาพ 11-4 หน้า Profile



ในหน้า Profile ซึ่งมีไว้แก้ไขข้อมูลโปรไฟล์นี้ เราสามารถแก้ไขข้อมูลโปรไฟล์ได้ หลายๆ อย่าง รวมไปถึงการใส่ข้อมูลเพิ่มเติมลงไป ตลอดจนการตั้งค่าออปชันเสริมบาง อย่าง ตัวอย่างของการแก้ไขข้อมูลโปรไฟล์ก็เช่น การเปลี่ยนชื่อ, เปลี่ยนนามสกุล, การตั้ง 203



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ชื่อเล่น, การก�ำหนดชื่อที่จะให้คนอ่านบล็อกมองเห็น, การเปลี่ยนอีเมลแอดเดรส, การ เปลี่ยนพาสเวิร์ด ฯลฯ (แต่เราจะเปลี่ยนชื่อยูสเซอร์ไม่ได้) ส่วนตัวอย่างของการใส่ข้อมูล เพิ่มเติมลงไปก็เช่น การเขียนประวัติส่วนตัวย่อๆ ลงไปเพื่อบอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราเอง และตัวอย่างของการตั้งค่าออปชันเสริมของยูสเซอร์ของเราก็เช่น การเลือกเฉดสีของหน้า Dashboaed หรือการตั้งค่าว่าจะให้แสดงทูลบาร์ในหน้าบล็อกหรือไม่ เป็นต้นครับ ไม่วา่ จะปรับแต่งตัง้ ค่าหรือเปลีย่ นแปลงข้อมูลโปรไฟล์ของตัวเองยังไง ท�ำเสร็จแล้ว อย่าลืมคลิกปุม่ Update Profile เพือ่ อัปเดตข้อมูลโปรไฟล์ดว้ ยล่ะ แต่ในภาพตัวอย่าง 11-4 นี่น่ะ คุณผู้อ่านจะมองไม่เห็นปุ่ม Update Profile ที่ผมพูดถึง เนื่องจากมันอยู่ตำ�่ ลงมาด้าน ล่าง ผมเลยแคปเจอร์ภาพมาได้ไม่หมดครับ



204



บทที ่ 12 ใช้งาน Tools ของ WordPress



ถัดจากเมนู Users ซึ่งผมได้อธิบายรายละเอียดไปในบทที่แล้ว ในบทนี้ เราจะมาว่ากันต่อที่เมนู Tools ครับ เมนู Tools ของ WordPress มีไว้ส�ำหรับเรียก ใช้งานเครื่องมือเสริมบางตัวที่ WordPress เตรียมมาให้เรา ตัวอย่างเช่น เครื่องมือที่ชื่อ Press This, เครื่องมือที่ชื่อ Categories and Tags Converter หรือเครื่องมือส�ำหรับเอ็กซ์พอร์ต (Export) หรืออิมพอร์ต (Import) ข้อมูลต่างๆ ในบล็อก เครือ่ งมือเสริมพวกนีต้ อ้ งบอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่มคี วาม จ�ำเป็นต้องใช้งานกันหรอก หรือถึงจะใช้ก็แค่นานๆ ครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ควรท�ำความรู้จักและศึกษา วิธีใช้งานเครื่องมือพวกนี้ไว้บ้าง โดยเฉพาะเครื่องมือเอ็กซ์พอร์ตและอิมพอร์ตข้อมูลบล็อก ซึ่งจะช่วย ส�ำรองข้อมูลต่างๆ ในบล็อกให้เราได้ มาลองเรียนรูเ้ ทคนิคการใช้งานเครือ่ งมือเสริมในระบบ WordPress กันสักนิด รับรองว่ามันจะ ช่วยให้คุณจัดการบล็อกได้ง่ายขึ้นแน่นอนครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



Press This เครื่องมือเสริมชั้นยอด เครื่องมือเสริมตัวแรกของ WordPress ที่ผมจะพูดถึงมีชื่อว่า Press This ครับ ชื่อ ของเครื่องมือตัวนี้ถ้าแปลแบบบ้านๆ ก็ต้องแปลว่า “โพสต์มันซะ” หน้าที่ของ Press This ก็คือจะช่วยดึงข้อมูลในเว็บเพจที่เราก�ำลังเปิดดูอยู่มาโพสต์ผ่านบล็อกของเรา ลองนึกถึง การกด Share ใน Facebook สิครับ หลักการท�ำงานมันก็คล้ายๆ กันนั่นแหละ เมื่อเรา อ่านเรื่องราวในบล็อกหรือเว็บไหนแล้วเห็นว่าน่าสนใจ เครื่องมือ Press This นี้ก็จะช่วย ให้เราดึงข้อมูลนั้นมาโพสต์ในบล็อกของเราได้อย่างง่ายดาย อ่านแค่นคี้ ณ ุ ผูอ้ า่ นคงยังนึกภาพไม่ออก งัน้ ผมจะลองแสดงตัวอย่างการใช้งานเครือ่ ง มือ Press This ในเบื้องต้นให้ดูครับ 1 ที่หน้า Dashboard ให้คลิกเมนู Tools > Available Tools ดูภาพ 12-1



1



ภาพ 12-1 คลิกเมนู Tools > Available Tools



206



ใช้งาน Tools ของ WordPress



บทที่ 12



2 ในหน้า Tools ที่แสดงขึ้นมา เราจะเห็นปุ่ม Press This ปรากฏอยู่ ให้เราแดร็ก



เมาส์ลากปุ่ม Press This นี้ไปวางใน Bookmarks bar ครับ ดูภาพ 12-2 (ในที่นี้ผมใช้โปรแกรมเว็บเบราเซอร์เป็น Google Chrome ซึง่ จะเรียกแถบทีใ่ ช้แสดงบุก๊ มาร์กว่า “Bookmarks bar” แต่ถา้ คุณใช้เว็บเบราเซอร์ตวั อืน่ ชือ่ ของแถบนีจ้ ะแตกต่างกันออกไป เช่น ใน Internet Explorer จะเรียกว่า “Favorites bar” และใน Firefox จะเรียกว่า “Bookmarks toolbar” เป็นต้น) แต่ในกรณีที่คุณไม่ได้ตั้งค่าให้ Bookmarks bar แสดงผลอยู่ ก็สามารถเลือกใช้อีก วิธีได้ คือให้คลิกขวาที่ปุ่ม Press This จากนั้นคุณจะเห็นโค้ด JavaScript แสดงขึ้นมา คุณสามารถน�ำโค้ดนี้ไปสร้างเป็นบุ๊กมาร์กขึ้นมาใหม่เพื่อใช้งานเช่นเดียวกับบุ๊กมาร์กใน Bookmarks bar



2



ภาพ 12-2 ลากปุ่ม Press This นี้ไปวางใน Bookmarks bar



207



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 พอคุณลากปุ่ม Press This ในหน้า Tools ไปใส่ไว้ใน Bookmarks bar ของ



โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตามขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว คุณก็จะเห็นปุ่มหรือค�ำสั่ง Press This แสดงอยูใ่ น Bookmarks bar เป็นทีเ่ รียบร้อย เมือ่ ไหร่กต็ ามทีค่ ณ ุ อยากดึงข้อมูลในเว็บเพจ ไหนไปเผยแพร่ คุณก็แค่แดร็กเมาส์เลือกข้อมูลนัน้ แล้วคลิกปุม่ Press This ใน Bookmarks bar ครับ ดูตัวอย่างในภาพ 12-3



3



ภาพ 12-3 คลิกปุ่ม Press This ใน Bookmarks bar



4 ขั้นตอนถัดมาเราจะเห็นหน้าต่างย่อย Press This เปิดซ้อนขึ้นมา หน้าต่าง



ย่อย Press This นี้มีหน้าตาคล้ายๆ หน้า Add New Post ส�ำหรับใช้เขียนบทความใหม่ นัน่ แหละ เพียงแต่ขอ้ มูลจากเว็บเพจทีเ่ ราดูอยูจ่ ะถูกดึงมาใส่ไว้ให้โดยอัตโนมัติ เราจะแก้ไข ข้อความ, ก�ำหนดฟอร์แมตต่างๆ, ดึงภาพจากเว็บเพจมาใส่ (ด้วยการคลิกปุ่ม ) หรือ 208



ใช้งาน Tools ของ WordPress



บทที่ 12



ดึงวิดโี อจากเว็บเพจมาใส่ (ด้วยการคลิกปุม่ ) รวมไปถึงสามารถก�ำหนดแคเทอกอรีและ แท็กได้ตามปกติ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกปุ่ม Publish เพื่อโพสต์บทความได้เลย (ดูภาพ 12-4)



4



ภาพ 12-4 คลิกปุ่ม Publish



ลองใช้งาน Categories and Tags Converter เครื่องมือเสริมตัวถัดมาที่ WordPress เตรียมไว้ให้เราใช้มีชื่อว่า Categories and Tags Converter ครับ เห็นชื่อแล้วคุณผู้อ่านส่วนใหญ่น่าจะเดาได้ไม่ยากว่า เครื่องมือ ตัวนี้มีไว้ส�ำหรับแปลงแคเทอกอรีของบทความให้กลายเป็นแท็ก หรือจะแปลงแท็กเป็น 209



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



แคเทอกอรีก็ได้ ความจริงแล้วเครื่องมือ Categories and Tags Converter มันก็คือ ปลั๊กอินตัวหนึ่งนั่นเองครับ เพียงแต่ถูกจับมาใส่ไว้ในหมวด Tools ในฐานะเครื่องมือ เสริมส�ำหรับจัดการบล็อกของเรา ความสามารถของเครื่องมือ Categories and Tags Converter จะเป็นยังไง เราไป ลองใช้งานกันดูเลย 1 ขณะอยู่ที่หน้า Tools ให้คลิกลิงก์ Categories and Tags Converter ซึ่งอยู่ใต้ หัวข้อ Categories and Tags Converter ดูภาพ 12-5



1



ภาพ 12-5 ให้คลิกลิงก์ Categories and Tags Converter



2 หน้า Import จะแสดงขึน้ มา (เราเปิดเข้าสูห่ น้า Import นีไ้ ด้อกี วิธดี ว้ ยการคลิก



ผ่านเมนู Tools > Import) เราต้องคลิกทีค่ ำ� สัง่ Categories and Tags Converter ดูภาพ 12-6 210



ใช้งาน Tools ของ WordPress



บทที่ 12



2



ภาพ 12-6 คลิกค�ำสั่ง Categories and Tags Converter



3 คลิกปุ่ม Install Now ดังภาพ 12-7



3



ภาพ 12-7 คลิกปุ่ม Install Now



211



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



4 กรอกข้อมูล FTP แล้วคลิกปุ่ม Proceed เหมือนกับตอนที่เราสั่งติดตั้งปลั๊กอิน



นั่นแหละครับ ดูภาพ 12-8



4 ภาพ 12-8 กรอกข้อมูล FTP แล้วคลิกปุ่ม Proceed



5 คลิกค�ำสั่ง Activate Plugin & Run Importer ดูภาพ 12-9



5 ภาพ 12-9 คลิกค�ำสั่ง Activate Plugin & Run Importer



212



ใช้งาน Tools ของ WordPress



บทที่ 12



6 คลิกเลือกแคเทอกอรีทตี่ อ้ งการแปลงเป็นแท็ก ดูภาพ 12-10 (ในขัน้ ตอนนีห้ าก



คุณต้องการแปลงแท็กเป็นแคเทอกอรี ก็ให้คลิกปุ่ม Tags to Categories ด้านบนนะครับ) 7 คลิกปุ่ม Convert Categories and Tags แค่นี้แคเทอกอรีที่เลือกก็ถูกแปลงให้ เป็นแท็กแล้วครับ



6 7



ภาพ 12-10 เลือกแคเทอกอรีแล้วคลิกปุ่ม Convert Categories and Tags



การเรียกใช้งานเครื่องมือ Categories and Tags Converter ในครั้งแรกอาจดูซับ ซ้อนและเสียเวลาสักหน่อย เนือ่ งจากเราต้องสัง่ ติดตัง้ เครือ่ งมือตัวนีซ้ งึ่ มีสถานะเป็นปลัก๊ อิน ของ WordPress แต่หลังจากนี้เมื่อคุณต้องการใช้งานเครื่องมือ Categories and Tags Converter อีก ก็แค่คลิกเมนู Tools > Import เพือ่ เข้าสูห่ น้า Import จากนัน้ คลิกเลือกค�ำสัง่ Categories and Tags Converter คุณก็จะเห็นเครื่องมือ Categories and Tags Converter เปิดขึ้นมาให้ใช้งานแล้วครับ 213



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



Import ข้อมูลจากทุกระบบเข้าสู่ WordPress ในหัวข้อก่อน เราได้เห็นหน้า Import ของ WordPress กันไปรอบหนึ่งแล้ว ซึ่งหน้า Import จะเป็นแหล่งรวบรวมเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้อิมพอร์ต (Import) หรือน�ำเข้าข้อมูล ต่างๆ มาไว้ในบล็อกของเรา เครื่องมือ Categories and Tags Converter ที่เรารู้จักกัน ไปในหัวข้อที่แล้ว ก็คือหนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้นไงล่ะ (ที่จริงผมว่า Categories and Tags Converter นี่ไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องมือส�ำหรับอิมพอร์ตสักเท่าไหร่ แต่มันเอาไว้แปลงข้อมูล ในบล็อกจากรูปแบบหนึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งมากกว่า) เครื่องมือส�ำหรับอิมพอร์ตข้อมูลต่างๆ นี้ ในระบบ WordPress จะเรียกรวมๆ ว่า Importer ครับ ในระบบ WordPress มีเครือ่ งมืออิมพอร์ตข้อมูลอยูห่ ลายตัว เช่น เครือ่ งมือ Blogger Importer ใช้อิมพอร์ตโพสต์ คอมเมนต์ และยูสเซอร์จาก Blogger, เครื่องมือ LiveJournal Importer ใช้อิมพอร์ตโพสต์จาก LiveJournal หรือเครื่องมือ Movable Type Importer ใช้ อิมพอร์ตโพสต์และคอมเมนต์จาก Movable Type และ TypePad เป็นต้น (ทั้ง Blogger, LiveJournal, Movable Type และ TypePad ล้วนเป็นบริการบล็อกเช่นเดียวกัน) ส�ำหรับตัวอย่างการใช้งานเครือ่ งมืออิมพอร์ตในทีน่ ี้ ผมจะยกตัวอย่างโดยใช้เครือ่ ง มืออิมพอร์ตอีกตัวหนึ่งที่ยังไม่ได้เอ่ยถึง คือเครื่องมืออิมพอร์ตที่ชื่อ WordPress Importer ซึง่ ใช้สำ� หรับอิมพอร์ตเนือ้ หาจากบล็อก WordPress ด้วยกันเองครับ (จะเป็นบล็อกของเรา หรือบล็อกอื่นก็แล้วแต่) ขั้นตอนการสั่งอิมพอร์ตเนื้อหาบล็อกด้วยเครื่องมือ WordPress Importer เป็นยังไง เราไปดูกันเลยครับ 1 คลิกเมนู Tools > Import เพื่อเปิดเข้าสู่หน้า Import จากนั้นคลิกค�ำสั่ง WordPress เพื่อติดตั้งเครื่องมือ WordPress Importer ดูภาพ 12-11



214



ใช้งาน Tools ของ WordPress



บทที่ 12



1



ภาพ 12-11 คลิกค�ำสั่ง WordPress



2 ถัดจากนัน้ ขัน้ ตอนการติดตัง้ ปลัก๊ อินจะด�ำเนินไปเหมือนทีเ่ ราลองท�ำกันไปแล้ว ในขั้นตอนที่ 3 ถึงขั้นตอนที่ 5 ของหัวข้อที่แล้ว หลังจากเราคลิกค�ำสั่ง Activate



Plugin & Run Importer เพื่อเปิดการท�ำงานและสั่งรันปลั๊กอินแล้ว เราจะเห็นหน้า Import WordPress แสดงขึ้นมาเหมือนในภาพประกอบ 12-12 สิ่งที่เราต้องท�ำคือการคลิกปุ่ม Choose File ครับ



2



ภาพ 12-12 คลิกปุ่ม Choose File



215



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 ในหน้าต่างย่อย Open เราต้องคลิกเลือกไฟล์ข้อมูลของบล็อก WordPress ที่



เคยเอ็กซ์พอร์ตไปเก็บส�ำรองไว้ แล้วคลิกปุ่ม Open ดูภาพ 12-13 (ผมจะอธิบายวิธีการ เอ็กซ์พอร์ตข้อมูลของบล็อก WordPress ในหัวข้อถัดไปนะครับ)



3 ภาพ 12-13 เลือกไฟล์แล้วคลิกปุ่ม Open



4 เมื่อกลับมาที่หน้า Import WordPress อีกครั้ง ก็คลิกปุ่ม Upload file and



import ดูภาพ 12-14



4 ภาพ 12-14 คลิกปุ่ม Upload file and import



216



ใช้งาน Tools ของ WordPress



บทที่ 12



5 WordPress จะให้เราก�ำหนดค่า Assign Authors ซึง่ ก็คอื การตัง้ ค่าเกีย่ วกับการ



อิมพอร์ตยูสเซอร์แอ็กเคาต์ที่เคยเป็นเจ้าของบทความเหล่านั้น หากเราต้องการอิมพอร์ต ยูสเซอร์เหล่านั้นเข้ามาด้วย ก็ไม่ต้องตั้งค่าอะไร แต่หากต้องการสร้างยูสเซอร์แอ็กเคาต์ ใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เป็นเจ้าของสิทธิ์ในโพสต์เหล่านี้แทนยูสเซอร์แอ็กเคาต์เดิม ก็ให้ตั้งชื่อ ยูสเซอร์ใหม่ลงไปในช่อง or create new user with login name: หรือถ้าจะให้ยูสเซอร์ แอ็กเคาต์ที่มีอยู่แล้วในบล็อกเป็นเจ้าของสิทธิ์บทความเหล่านั้นแทน ก็คลิกเลือกยูสเซอร์ แอ็กเคาต์ได้ในช่องดรอปดาวน์ลิสต์ or assign posts to an existing user: ดูภาพ 12-15 6 เลือกว่าจะสัง่ อิมพอร์ตไฟล์มเี ดียทีแ่ นบอยูก่ บั บทความด้วยหรือไม่ ถ้าต้องการ ก็คลิกเลือกใส่เครื่องหมาย หน้าค�ำสั่ง Download and import file attachments ไว้ ด้วย 7 คลิกปุม่ Submit เป็นขัน้ ตอนสุดท้าย ข้อมูลทีส่ ำ� รองไว้กถ็ กู อิมพอร์ตเข้าสูบ่ ล็อก แล้ว



5



7 6



ภาพ 12-15 ก�ำหนดค่า Assign Authors แล้วคลิกปุ่ม Submit



217



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



Export ข้อมูลใน WordPress เก็บสำ�รองไว้ หัวข้อที่แล้วผมแสดงตัวอย่างการอิมพอร์ตข้อมูลในบล็อกจากไฟล์ที่เราเก็บส�ำรอง ไว้ แต่คณ ุ ผูอ้ า่ นอ่านแล้วก็อาจมีคำ� ถามตามมาว่า แล้วเราจะสร้างไฟล์ทใี่ ช้เก็บส�ำรองข้อมูล หรือเนือ้ หาในบล็อกได้ยงั ไง ค�ำตอบของค�ำถามนีก้ ค็ อื เราต้องสัง่ เอ็กซ์พอร์ต (Export) หรือ ส่งออกเนือ้ หาในบล็อกออกไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ โดยเราจะเก็บส�ำรองเนือ้ หาในบล็อก ไว้ในรูปไฟล์ฟอร์แมต XML และเนือ้ หาบล็อกทีเ่ ราสัง่ เอ็กซ์พอร์ตออกไปได้กม็ หี ลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นบทความ, เพจ, คอมเมนต์, แคเทอกอรี, แท็ก หรือ Custom Fields เป็นต้น (Custom Fields คือข้อมูล Metadata ประเภทหนึ่งที่เราเพิ่มลงไปในบทความได้) การสั่งเอ็กซ์พอร์ตเนื้อหาบล็อกออกไปเก็บส�ำรองไว้นี้ ถือว่ามีความส�ำคัญไม่น้อย นะครับ ในอนาคตหากบล็อกของเรามีปญ ั หาบางอย่างจนท�ำให้เนือ้ หาบางส่วนหายไป เรา ก็สามารถสั่งอิมพอร์ตเนื้อหาที่ส�ำรองไว้กลับมาใช้งานได้ใหม่ ขั้นตอนการเอ็กซ์พอร์ตเนื้อหาในบล็อกออกไปเก็บส�ำรองไว้ ท�ำได้ดังนี้ครับ 1 คลิกเมนู Tools > Export เมื่อหน้า Export เปิดขึ้นมาแล้ว ก็คลิกเลือกเนื้อหา ที่ต้องการเอ็กซ์พอร์ตดังนี้... (ดูภาพ 12-16) •  All content สั่งเอ็กซ์พอร์ตเนื้อหาบล็อกทั้งหมด •  Posts สั่งเอ็กซ์พอร์ตเฉพาะบทความ •  Pages สั่งเอ็กซ์พอร์ตเฉพาะเพจ 2 คลิกปุ่ม Download Export File ปิดท้าย เนื้อหาที่สั่งเอ็กซ์พอร์ตก็จะถูก ดาวน์โหลดมาเก็บส�ำรองไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราในรูปไฟล์ฟอร์แมต XML แล้วครับ



218



ใช้งาน Tools ของ WordPress



บทที่ 12



1



2 ภาพ 12-16 สั่งเอ็กซ์พอร์ตเนื้อหาในบล็อก



219



บทที ่ 13 ตั้งค่า Settings ให้ WordPress



เนื้อหาบทนี้เป็นบทสุดท้ายที่เราจะว่ากันด้วยเรื่องการบริหารจัดการ WordPress แล้วละครับ เพราะตั้งแต่บทหน้าเป็นต้นไป ผมจะแนะน�ำเทคนิคการ หารายได้และท�ำการตลาดออนไลน์ด้วย WordPress ซึ่งถือเป็นการต่อยอดน�ำบล็อกที่สร้าง ด้วย WordPress มาประยุกต์ ใช้ให้เกิดมูลค่ามากกว่าจะเอาไว้โพสต์บทความกันเพียงอย่างเดียว เช่น การเปลี่ยนบล็อก WordPress เป็นร้านค้าออนไลน์ หรือการหารายได้กับ Google AdSense หรือ Amazon เป็นต้น บทนีเ้ ราจะมาเก็บตกเทคนิคการตัง้ ค่าเซตติง้ (Setting) ต่างๆ ให้ WordPress กันครับ การตัง้ ค่าเซตติง้ เหล่านีจ้ ะช่วยปรับแต่งบล็อกให้แสดงผลหรือมีความสามารถตรงกับความต้องการของเรา เช่น การตั้งค่าเซตติ้งพื้นฐาน, การตั้งค่าเซตติ้งเกี่ยวกับการเขียนบทความ, การตั้งค่าเซตติ้งเกี่ยวกับการ แสดงผลบทความในหน้าบล็อก หรือการตัง้ ค่าเซตติง้ เกีย่ วกับการเขียนคอมเมนต์ ในบล็อก เป็นต้นครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ตั้งค่า General หัวข้อแรกเรามาลองตั้งค่าเซตติ้งพื้นฐานให้บล็อก WordPress กันก่อน วิธีตั้งค่า เซตติ้งพื้นฐานท�ำได้ด้วยการคลิกเมนู Settings > General ครับ คลิกแล้วเราจะเข้าไปที่ หน้า General Settings ดังภาพ 13-1 ลองไปไล่ดูทีละออปชันกันเลยว่า แต่ละออปชันใน หน้า General Settings นี้มีไว้ตั้งค่าอะไรบ้างครับ



ภาพ 13-1 หน้า General Settings



222



ตั้งค่า Settings ให้ WordPress



บทที่ 13



•  Site Title ก�ำหนดชื่อบล็อก •  Tagline ก�ำหนดสโลแกนของบล็อก •  WordPress Address (URL) ก�ำหนด URL ของ WordPress (เราไม่ต้องเปลี่ยน



URL ในช่องนี้ ยกเว้นกรณีที่ติดตั้ง WordPress ไว้ในไดเรกทอรีย่อยภายใต้โฟลเดอร์ที่เป็น Web Root อีกที) •  Site Address (URL) ก�ำหนด URL ของบล็อก (ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร) เตือนไว้หน่อยว่า ทั้ง URL ในช่อง WordPress Address (URL) และ Site Address (URL) นี้ อย่าไปปรับเปลีย่ นเล่นๆ เด็ดขาด เพราะอาจท�ำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้ เช่น ล็อกอินเข้า Dashboard ไม่ได้ไปเลย ซึ่งหากเกิดปัญหาท�ำนองนั้น เราต้องเสียเวลาตาม เข้าไปแก้ไขในฐานข้อมูลอีกครับ •  E-mail Address ก�ำหนดอีเมลแอดเดรส •  Membership ตั้งค่าว่าจะให้คนอ่านสามารถสมัครสมาชิกบล็อกได้หรือเปล่า •  New User Default Role ตัง้ ค่าว่าจะให้ระดับสิทธิแ์ บบไหนเป็นค่าดีฟอลต์สำ� หรับ ยูสเซอร์ที่สร้างขึ้นใหม่ •  Timezone ก�ำหนดโซนเวลา •  Date Format ก�ำหนดรูปแบบการแสดงวันที่ •  Time Format ก�ำหนดรูปแบบการแสดงเวลา •  Week Starts On ก�ำหนดวันเริ่มต้นของสัปดาห์



ตั้งค่า Writing ค่าเซตติ้งส่วนที่สองที่เราตั้งค่าได้คือค่าเซตติ้ง Writing ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเขียน บทความ เมื่อเราต้องการตั้งค่าในส่วนนี้ ก็แค่คลิกเมนู Settings > Writing เพื่อเปิดเข้าสู่ 223



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



หน้า Writing Settings ครับ (ดูภาพ 13-2) อยากรู้ว่าในหน้า Writing Settings นี้มีออปชัน อะไรให้ตั้งค่าได้บ้าง ลองไปดูกันเลย



ภาพ 13-2 หน้า Writing Settings



224



ตั้งค่า Settings ให้ WordPress



บทที่ 13



•  Size of the post box ก�ำหนดขนาด Post Box หรือ Post Editing Area ซึ่งก็คือ



พื้นที่ที่เอาไว้เขียนบทความนั่นเอง •  Formatting ตั้งค่าเกี่ยวกับฟอร์แมตของข้อความ เช่น เปลี่ยนสัญลักษณ์ Emoticon บางอย่างให้เป็นภาพกราฟิก หรือตั้งค่าให้ WordPress ช่วยแก้ไขโค้ด XHTML โดย อัตโนมัติ •  Default Post Category ก�ำหนดแคเทอกอรีของบทความที่ต้องการให้เป็นค่า ดีฟอลต์ •  Default Link Category ก�ำหนดแคเทอกอรีของลิงก์ที่ต้องการให้เป็นค่าดีฟอลต์ •  Press This ใช้งานเครื่องมือ Press This (เราเคยลองใช้กันไปแล้วในบทก่อน) •  Post via e-mail ตั้งค่าเกี่ยวกับการโพสต์บทความผ่านอีเมล •  Remote Publishing ตั้งค่าเกี่ยวกับการโพสต์บทความผ่านซอฟต์แวร์หรือผ่าน เว็บไซต์อื่นอีกที โดยใช้โพรโทคอล Atom Publishing หรือ XML-RPC เป็นต้น •  Update Services ตั้งค่าเกี่ยวกับการปิง (Ping) บล็อกผ่านบริการของเว็บไซต์ ประเภท Update Services หรือเว็บให้บริการปิง ซึ่งจะช่วยส่งข้อมูลไปบอกเสิร์ชเอนจิ้น ต่างๆ เมื่อบล็อกของเรามีเนื้อหาอัปเดตใหม่ เว็บให้บริการปิงที่ถูกตั้งค่ามาพร้อมระบบ WordPress โดยอัตโนมัติก็คือ Ping-o-Matic ครับ (ผมจะพูดเรื่องปิงอีกทีในบทที่ 19)



ตั้งค่า Reading ถัดจากเรื่องเขียน ก็มาว่ากันที่เรื่องอ่านกันต่อ เราสามารถตั้งค่าเซตติ้งเกี่ยวกับการ อ่านบล็อกได้ด้วย หรือพูดง่ายๆ แล้วมันก็คือการตั้งค่าว่าจะให้คนอ่านบล็อกมองเห็น บล็อกหรือบทความในบล็อกในลักษณะไหนนัน่ เอง วิธตี งั้ ค่าเกีย่ วกับการอ่านบล็อกนีต้ อ้ ง คลิกเข้าไปที่เมนู Settings > Reading เพื่อเข้าไปตั้งค่าในหน้า Reading Settings ไงล่ะ เราตั้งค่าออปชันเกี่ยวกับการอ่านบล็อกในลักษณะไหนได้บ้าง ไปดูกันครับ (ดูภาพ 13-3 ประกอบ)



225



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 13-3 หน้า Reading Settings



•  Front page displays ตั้งค่าเกี่ยวกับการแสดงผลหน้าแรกของบล็อก เช่น จะให้



แสดงโพสต์ล่าสุด หรือจะให้แสดงเพจไหน •  Blog pages show at most ตั้งค่าจ�ำนวนบทความสูงสุดที่แสดงต่อ 1 หน้า •  Syndication feeds show the most recent ตั้งค่าจ�ำนวนบทความล่าสุดที่จะถูก ดึงไปแสดงเป็นฟีด (Feed) •  For each article in a feed, show ตั้งค่าว่าจะให้บทความที่ถูกดึงไปแสดงเป็นฟีด แสดงผลในรูปแบบไหน •  Encoding for pages and feeds ตั้งค่าเกี่ยวกับการเข้ารหัสภาษา (Character Encoding) ของบล็อก 226



ตั้งค่า Settings ให้ WordPress



บทที่ 13



ตั้งค่า Discussion มาว่ากันทีเ่ รือ่ งการตัง้ ค่าเซตติง้ เกีย่ วกับระบบคอมเมนต์ในบล็อกกันบ้าง อย่างทีเ่ รา รู้กันว่าระบบคอมเมนต์ถือเป็นเสน่ห์และเป็นเอกลักษณ์ส�ำคัญของบล็อก การอ่านบล็อก กับการคอมเมนต์บล็อกจึงมักเป็นของคู่กัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าเจ้าของบล็อกทุกคนจะอยากเปิด การท�ำงานของระบบคอมเมนต์เสมอไป หรือบางคนก็อาจอยากตั้งค่าออปชันให้ระบบ คอมเมนต์เพิม่ เติม เราจึงควรศึกษาวิธกี ารตัง้ ค่าเซตติง้ ให้ระบบคอมเมนต์ในบล็อกกันด้วย เมนูส�ำหรับตั้งค่าเซตติ้งให้ระบบคอมเมนต์คือเมนู Settings > Discussion ซึ่งเมื่อ คลิกแล้วจะพาเราเข้ามาทีห่ น้า Discussion Settings เหมือนในภาพ 13-4 ในหน้า Discussion Settings มีออปชันที่ตั้งค่าได้ดังต่อไปนี้ครับ



227



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 13-4 หน้า Discussion Settings



•  Default article settings ตั้งค่าเซตติ้งพื้นฐานให้บทความ เช่น อนุญาตให้มีการ



แจ้งเตือนเมื่อมีบทความในบล็อกอื่นอ้างถึงบทความในบล็อกของเรา หรืออนุญาตให้คน อ่านสามารถคอมเมนต์บทความได้ •  Other comment settings ตั้งค่าเกี่ยวกับการคอมเมนต์เพิ่มเติม เช่น ก�ำหนด ให้คนที่คอมเมนต์ต้องกรอกชื่อและอีเมลแอดเดรส, ก�ำหนดให้สมาชิกบล็อกที่ล็อกอิน เท่านั้นที่สามารถคอมเมนต์ได้ หรือก�ำหนดให้ปิดคอมเมนต์เมื่อบทความมีอายุเก่าเกิน กว่าที่ก�ำหนด เป็นต้น



228



ตั้งค่า Settings ให้ WordPress



บทที่ 13



•  E-mail me whenever ตั้งค่าการแจ้งเตือนทางอีเมลเมื่อมีคนโพสต์คอมเมนต์



หรือมีคอมเมนต์รอการตรวจสอบจากเรา •  Before a comment appears ก�ำหนดเงื่อนไขก่อนที่จะแสดงคอมเมนต์ เช่น ต้อง มียูสเซอร์ในระดับ Administrator อนุญาตก่อน คอมเมนต์นั้นจึงจะแสดงผล •  Comment Moderation ตั้งค่าเกี่ยวกับการกลั่นกรองคอมเมนต์ เช่น หากใน เนื้อหาคอมเมนต์มีลิงก์มากกว่า 2 ลิงก์ขึ้นไปอยู่ด้วย ก็ให้คอมเมนต์นั้นมาเข้าคิวเพื่อรอ การกลั่นกรองจากเรา •  Comment Blacklist ตั้งค่าเพื่อก�ำหนดให้บางคอมเมนต์เป็นแบล็กลิสต์ เช่น ก�ำหนดชื่อคนคอมเมนต์, ก�ำหนดอีเมลแอดเดรส หรือก�ำหนด IP •  Avatars ตั้งค่าเกี่ยวกับภาพ Avatar (ภาพที่ใช้เป็นตัวแทน) ของคนที่เข้ามาคอมเมนต์บล็อก



ตั้งค่า Media ไฟล์มเี ดียเป็นอีกส่วนประกอบส�ำคัญในบล็อก เพราะมันจะช่วยเพิม่ ความน่าสนใจ ให้บทความ รวมถึงยังช่วยให้เราอธิบายเนือ้ หาบทความได้อย่างชัดเจนยิง่ ขึน้ ซึง่ ไฟล์มเี ดีย ส่วนใหญ่ก็คือไฟล์ภาพต่างๆ ที่แทรกลงไปประกอบในบทความนั่นเอง เราตั้งค่าเซตติ้งเกี่ยวกับไฟล์มีเดียได้ด้วยการคลิกเมนู Settings > Media เพื่อเปิด เข้าสู่หน้า Media Settings ดังภาพ 13-5 ในหน้า Media Settings นี้มีค่าออปชันเกี่ยวกับ ไฟล์มีเดียที่เราตั้งค่าได้อยู่หลายๆ อย่าง ได้แก่...



229



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 13-5 หน้า Media Settings



•  Image sizes ตัง้ ค่าเพือ่ ก�ำหนดขนาดของไฟล์ภาพ โดยเราก�ำหนดขนาดของไฟล์



ภาพได้ทงั้ ภาพขนาดเล็ก (Thumbnail size), ภาพขนาดกลาง (Medium size) และภาพขนาด ใหญ่ (Large size) ครับ (ในขั้นตอนการแทรกไฟล์ภาพลงในบทความ เราจะก�ำหนดได้ว่า ต้องการให้แสดงเป็นภาพขนาดเล็ก, ขนาดกลาง, ขนาดใหญ่ หรือแสดงภาพตามขนาดจริง) •  Embeds ตัง้ ค่าเกีย่ วกับการฝังไฟล์มเี ดียลงไปในบทความ เช่น คลิปจาก YouTube •  Uploading Files ตัง้ ค่าเกีย่ วกับไฟล์มเี ดียทีอ่ ปั โหลดขึน้ ไปไว้ในบล็อก เช่น ก�ำหนด ว่าให้อัปโหลดไฟล์ขึ้นไปไว้ที่ไหน เป็นต้น



230



ตั้งค่า Settings ให้ WordPress



บทที่ 13



ตั้งค่า Privacy ค�ำว่า “Privacy” หมายถึง ความเป็นส่วนตัว เพราะฉะนัน้ การตัง้ ค่า Privacy ให้บล็อก ก็คือการตั้งค่าเซตติ้งเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของเรานั่นเอง เมนูสำ� หรับคลิกเข้าไปตั้งค่า Privacy คือ Settings > Privacy ไงล่ะครับ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วเราจะพบกับหน้า Privacy Settings ส�ำหรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่ว่านี้ (ดูภาพ 13-6) ในหน้า Privacy Settings มีออปชันส�ำหรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวแค่ออปชันเดียว คือ Site Visibility ซึ่งมีไว้ตั้งค่าว่าจะให้เสิร์ชเอนจิ้นต่างๆ เข้ามาเก็บข้อมูลในบล็อกของเรา หรือไม่ ถ้าต้องการ ก็เลือกเป็น Allow search engines to index this site. เหมือนเดิม แต่ ถ้าไม่ต้องการ ก็คลิกเลือกเป็น Ask search engines not to index this site.



ภาพ 13-6 หน้า Privacy Settings



231



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



หากคุณเลือกออปชัน Site Visibility เป็น Ask search engines not to index this site. ก็อย่าเข้าใจผิดว่าจะไม่มีใครมองเห็นบล็อกของคุณนะครับ คนอ่านบล็อก ยังเข้ามาอ่านบล็อกได้ตามปกติ เพียงแต่เราแจ้งกับเสิร์ชเอนจิ้นว่า ไม่ต้องการให้เข้า มาเก็บข้อมูลในบล็อกของเราไป เนื่องจากเราไม่ต้องการให้คนทั่วไปเสิร์ชเจอเราผ่าน เสิร์ชเอนจิ้น อย่ า งไรก็ตาม หากคุณไม่ไ ด้คิดจะเก็บบล็อกไว้อ่า นคนเดียว หรืออ่านในหมู่ ญาติ ส นิ ท มิ ต รสหายเท่านั้น คุณก็อ ย่าคลิกเลือกรายการ Ask search engines not to index this site. เด็ดขาดนะครับ เพราะถ้า คลิก จะไม่มีใครหาคุณ เจอผ่า นเสิร์ช เอนจิ้ น และส่ งผลให้ค นเข้าบล็อ กน้อ ยยิ่ง กว่าน้อย คุณ คงไม่อยากให้เป็นแบบนั้น จริ ง มั้ ยล่ ะ



ตั้งค่า Permalink มาถึงการตั้งค่าเซตติ้งในส่วนสุดท้ายแล้วครับ นั่นคือการตั้งค่า Permalink ไงล่ะ การตั้งค่า Permalink นี้หมายถึงการก�ำหนดโครงสร้าง URL ของบทความในบล็อกให้ อยู่ในรูปแบบต่างๆ กัน คุณลองคลิกเมนู Settings > Permalinks เพื่อเข้ามาตั้งค่า Permalink ที่หน้า Permalink Settings ดู (ดูภาพประกอบ 13-7) จะเห็นว่ามีออปชัน ส�ำหรับตั้งค่า Permalink อยู่ 2 ส่วน ดังนี้...



232



ตั้งค่า Settings ให้ WordPress



บทที่ 13



ภาพ 13-7 หน้า Permalink Settings



•  Common Settings มีไว้ก�ำหนดโครงสร้าง URL ของบทความ เราสามารถเลือก



ก�ำหนดโครงสร้าง URL ได้ 5 รูปแบบด้วยกัน คือ Default หมายถึงใช้ค่าดีฟอลต์, Day and name หมายถึงแสดง URL โดยใช้วันที่และชื่อบทความ, Month and name หมาย ถึงแสดง URL โดยใช้เดือนและชื่อบทความ, Numeric หมายถึงแสดง URL โดยใช้ตัวเลข, Post name หมายถึงแสดง URL โดยใช้ชื่อบทความ และ Custom Structure หมายถึง ก�ำหนดโครงสร้าง URL ด้วยตัวเอง



233



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  Optional มีไว้ก�ำหนดโครงสร้าง URL ของแคเทอกอรีหรือแท็กเพิ่มเติม



การตัง้ ค่าเซตติง้ Permalink อาจไม่ได้มคี วามหมายอะไรนักในสายตาคนอ่านบล็อก แต่ส�ำหรับเสิร์ชเอนจิ้นแล้ว ต้องถือว่ามีความหมายมากๆ ครับ ถ้าเราตั้งค่า Permalink ได้ ถูกต้อง ก็จะช่วยเรือ่ ง SEO ได้เป็นอย่างดี เรือ่ งนีย้ งั มีรายละเอียดทีเ่ ราต้องพูดถึงกันต่อ แต่ ผมจะยกไปอธิบายในหัวข้อ “ตั้งค่า Permalink Settings ยังไงให้ได้ประโยชน์สูงสุด” ของ บทที่ 19 เพราะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง SEO โดยเฉพาะครับ



234



บทที ่ 14 เปิดร้านค้าออนไลน์ ด้วย WordPress



เวลาพูดถึง WordPress เรามักนึกถึงกันแต่การท�ำบล็อกเพื่อโพสต์ บทความหรือโพสต์เรื่องราวต่างๆ เท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว WordPress ยังท�ำอะไรได้ มากกว่าที่คดิ อีกเยอะ เช่น การใช้ WordPress สร้างร้านค้าออนไลน์ ไว้ขายของไงล่ะ เชือ่ มัย้ ครับ ว่ามีคนอีกเป็นจ�ำนวนมากที่ไม่รวู้ า่ เราสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์โดยใช้ WordPress ได้ดว้ ย แล้วก็ไม่ใช่ เปิดได้แค่รา้ นค้าออนไลน์ ไก่กากระจอกๆ นะครับ แต่เราสามารถใช้ WordPress เป็นเครือ่ งมือสร้างร้าน ค้าออนไลน์ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ คือมีทงั้ ระบบตะกร้าสินค้า, ระบบการจัดส่งสินค้า, ระบบการช�ำระเงิน, ระบบภาษี, ระบบแคเทอกอรีสินค้า หรืออื่นๆ ที่ร้านค้าออนไลน์ทั่วไปเขามีกัน แต่อย่างไรก็ตาม การเปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress ให้ครบสมบูรณ์นี้ เราจ�ำเป็น ต้องอาศัยปลั๊กอินบางตัวมาช่วย ซึ่งปลั๊กอินที่ผมหยิบมาแนะน�ำในที่นี้ คือปลั๊กอินที่มีชื่อว่า WP e-Commerce ไงครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เปิดร้านออนไลน์ด้วย WP e-Commerce ก็อย่างที่ผมเกริ่นไปบ้างแล้วนั่นแหละครับ คนส่วนใหญ่น่ะไม่ค่อยรู้กันหรอกว่าเรา เปิดร้านค้าออนไลน์โดยใช้ WordPress ได้ด้วย ถ้าคุณยังไม่รู้ก็รู้ไว้ซะนะครับ ผมยืนยัน การันตีได้เลยว่าเราใช้ WordPress เปิดร้านค้าออนไลน์ได้แน่นอน แล้วร้านค้าออนไลน์ที่ ใช้ WordPress ก็มีทุกอย่างเหมือนที่ร้านค้าออนไลน์ควรมี คุณจึงประยุกต์ใช้ WordPress เพื่อเปิดร้านค้าออนไลน์ขายของกับคนไทยหรือคนทั่วโลกได้อย่างง่ายๆ ตัว WordPress เพียวๆ น่ะไม่มีความสามารถในด้านระบบร้านค้าออนไลน์หรอก ถ้าอยากแปลงบล็อก WordPress ให้เป็นร้านค้าออนไลน์ เราต้องใช้ปลั๊กอินบางตัวที่มี ความสามารถด้านนี้ ปลั๊กอินของ WordPress ที่เป็นระบบร้านค้าออนไลน์มีให้เลือกใช้ หลายตัวเหมือนกันครับ แต่ปลั๊กอินที่ผมเลือกหยิบมาแนะน�ำกันคือ WP e-Commerce สาเหตุกเ็ พราะปลัก๊ อินตัวนีเ้ ป็นปลัก๊ อินระบบร้านค้าออนไลน์ทมี่ ปี ระสิทธิภาพทีส่ ดุ ก็วา่ ได้ ที่ส�ำคัญยังได้รับความนิยมสูงมากๆ แถมยังใช้งานได้ฟรีอีกด้วยละครับ นอกจากตัวปลั๊กอิน WP e-Commerce แล้ว คนที่ใช้งาน WP e-Commerce ยังหา ปลั๊กอินเสริมอื่นๆ มาช่วยเพิ่มความสามารถให้ WP e-Commerce ได้อีกเป็นร้อยๆ ตัว เช่น ปลัก๊ อินทีช่ ว่ ยปรับแต่งการแสดงผลสินค้าในหน้าร้าน, ปลัก๊ อินทีช่ ว่ ยเพิม่ ความสะดวก ในการหยิบสินค้าลงตะกร้า, ปลั๊กอินที่ช่วยสร้างใบอินวอยซ์ในฟอร์แมต PDF, ปลั๊กอินที่ ช่วยจัดการสต็อกสินค้า ฯลฯ ปลั๊กอินเสริมพวกนี้มีทั้งที่เป็นปลั๊กอินฟรีและปลั๊กอินที่ต้อง เสียเงินซือ้ แต่ตอ่ ให้เราไม่ได้ตดิ ตัง้ ปลัก๊ อินเสริมแม้แต่ตวั เดียว ล�ำพังแค่ WP e-Commerce เองก็ช่วยสร้างร้านค้าออนไลน์ขายของได้แบบชิวๆ อยู่แล้ว ก่อนจะไปลองใช้งาน WP e-Commerce กันอย่างจริงจัง ผมอยากอธิบายล่วงหน้า ไว้หน่อยว่า เนื้อหาเกี่ยวกับการเปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WP e-Commerce ในบทนี้ ผม จะเน้นเฉพาะประเด็นส�ำคัญๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการเปิดร้านจริงๆ เท่านัน้ ส่วนประเด็นปลีก 236



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



ย่อยที่ไม่ค่อยส�ำคัญหรือไม่จ�ำเป็นนัก ผมจะขอข้ามไป เพราะถ้าจะให้อธิบายการใช้งาน WP e-Commerce แบบละเอียดยิบคงเป็นไปไม่ได้ เนือ่ งจากรายละเอียดมันเยอะ เผลอๆ คงต้องเขียนหนังสือขึน้ มาใหม่อกี เล่มหนึง่ เลย อีกอย่างการเปิดร้านค้าออนไลน์ขายของนี้ ก็เป็นแค่ช่องทางหนึ่งในการหารายได้ด้วย WordPress เรายังมีวิธีหาเงินด้วย WordPress อีกหลายต่อหลายวิธี ซึ่งผมจะค่อยๆ ไล่เรียงอธิบายในบทต่อๆ ไปครับ



ภาพ 14-1 ตัวอย่างร้านค้าสวยๆ ที่สร้างด้วย WP e-Commerce



237



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ติดตั้ง WP e-Commerce ให้ WordPress พร้อมจะแปลงร่างบล็อก WordPress ธรรมดาๆ ของเราให้กลายเป็นร้านค้าออนไลน์ หรือยัง ถ้าพร้อมแล้ว เราไปสั่งติดตั้งปลั๊กอิน WP e-Commerce เพื่อเพิ่มระบบร้านค้า ออนไลน์ให้บล็อกกันเลยครับ 1 ที่หน้า Dashboard ของ WordPress ให้คลิกเมนู Plugins > Add New เพื่อ สั่งติดตั้งปลั๊กอินเพิ่มเติม ดูภาพ 14-2



1



ภาพ 14-2 คลิกเมนู Plugins > Add New



2 กรอกคีย์เวิร์ดว่า WP e-Commerce ลงไปในช่อง Search แล้วคลิกปุ่ม Search



Plugins ดูภาพ 14-3



238



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



2



ภาพ 14-3 กรอกคีย์เวิร์ดแล้วคลิกปุ่ม Search Plugins



3 คลิกค�ำสัง่ Install Now ใต้รายการปลัก๊ อิน WP e-Commerce ทีป่ รากฏขึน้ มา



ครับ ดูภาพ 14-4 จากนัน้ จะมีหน้าต่างย่อยเปิดซ้อนขึน้ มาถามยืนยัน เราก็คลิกปุม่ Yes ไป



3



ภาพ 14-4 คลิกค�ำสั่ง Install Now



239



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



4 ก�ำหนดข้อมูล FTP ให้ถูกต้องแล้วคลิกปุ่ม Proceed ดังภาพ 14-5



4 ภาพ 14-5 ก�ำหนดข้อมูล FTP แล้วคลิกปุ่ม Proceed



5 ติดตั้งปลั๊กอินเสร็จแล้วก็คลิกค�ำสั่ง Activate Plugin เพื่อเปิดการท�ำงานของ



ปลั๊กอิน WP e-Commerce ได้เลย ดูภาพ 14-6 ประกอบครับ



5



240



ภาพ 14-6 คลิกค�ำสั่ง Activate Plugin



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



สำ�รวจหลังร้าน WP e-Commerce เราสั่งติดตั้งปลั๊กอิน WP e-Commerce กันไปเรียบร้อยแล้ว คุณคงอยากรู้แน่ๆ ว่า หลังจากติดตั้ง WP e-Commerce เพิ่มลงไปในบล็อก จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรกับ บล็อก WordPress ของเราบ้าง งั้นมาลองดูกันดีกว่าครับ ความเปลีย่ นแปลงแรกทีเ่ ห็นได้ทนั ทีคอื ในเมนูบาร์ดา้ นซ้ายมือของ Dashboard จะ เห็นเมนูย่อยอีก 2 เมนูปรากฏอยู่ภายใต้เมนู Dashboard เหมือนในภาพ 14-7 เมนูย่อย เมนูแรกคือ Store Upgrades มีไว้สงั่ อัปเกรดร้านค้าทีส่ ร้างด้วยปลัก๊ อิน WP e-Commerce ให้มีความสามารถมากขึ้น และแน่นอนว่าการอัปเกรดร้านค้านี้เราต้องเสียเงินครับ ส่วน เมนูย่อยอีกเมนูคือ Store Sales มีไว้เข้าไปดูออเดอร์ของลูกค้า รวมถึงการจัดการกับ สถานะออเดอร์ด้วย ถ้าเราอยากรู้ว่ามีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเข้ามาบ้างหรือยัง ก็เข้าไปดูที่ นี่แหละครับ



ภาพ 14-7 เมนูย่อยภายใต้เมนู Dashboard



241



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ถัดลงมาด้านล่างอีกหน่อย คุณจะเห็นเมนู Products เพิ่มขึ้นมาในเมนูบาร์ของ WordPress เมนูนี้มีไว้ใช้จัดการกับสินค้าในร้านไงล่ะครับ และภายใต้เมนู Products เรา จะเห็นเมนูย่อยอยู่อีก 6 เมนูด้วยกัน (ดูภาพ 14-8) เมนูย่อยทั้ง 6 เมนูที่ว่ามีหน้าที่ดังต่อ ไปนี้ครับ •  Products ใช้ส�ำหรับจัดการกับสินค้าทั้งหมดในร้าน •  Add News ใช้สำ� หรับเพิ่มสินค้าใหม่เข้าไปในร้าน •  Product Tags ใช้ส�ำหรับจัดการแท็กของสินค้า •  Categories ใช้สำ� หรับจัดการแคเทอกอรีของสินค้า •  Variations ใช้ส�ำหรับก�ำหนดตัวแปรเพิ่มเติมให้สินค้า •  Coupons ใช้ส�ำหรับจัดการคูปองส่วนลดในร้านค้า รายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานเมนูย่อยแต่ละเมนูภายใต้เมนู Products นี้ ผมจะ ค่อยๆ ทยอยอธิบายไปทีละส่วนนะครับ ตอนนี้คุณแค่รู้ไว้คร่าวๆ ก่อนว่าเมนูย่อยแต่ละ เมนูมีไว้ใช้ทำ� อะไร



ภาพ 14-8 เมนู Products และเมนูย่อยที่เพิ่มขึ้นมา



242



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดกับหน้า Dashboard หลังการติดตัง้ ปลัก๊ อิน WP e-Commerce ยังไม่หมดแค่นนั้ นะครับ หากคุณลองเลือ่ นเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยูเ่ หนือเมนู Settings คุณ ยังจะเห็นเมนูยอ่ ยทีช่ อื่ Store ปรากฏเพิม่ ขึน้ มา จ�ำได้ใช่มยั้ ครับว่าก่อนหน้านีใ้ นเมนู Settings มีเมนูย่อยแค่ 7 เมนู คือ General, Writing, Reading, Discussion, Media, Privacy และ Permalinks แต่ตอนนีจ้ ะมีเมนูยอ่ ย Store โผล่ขนึ้ มาอีกเมนูหนึง่ เมือ่ เราคลิกผ่านเมนู Settings > Store เข้าไปเราจะเข้ามาที่หน้า Store Settings (ดูภาพ 14-9) ซึ่งมีไว้สำ� หรับ ตั้งค่าเซตติ้งให้ร้านค้าออนไลน์ที่สร้างด้วย WP e-Commerce ครับ



ภาพ 14-9 หน้า Store Settings



243



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ตั้งค่าให้ร้านค้าเป็นหน้าแรกของ Blog หัวข้อทีแ่ ล้วผมพูดถึงการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ กับ WordPress หลังจากทีเ่ ราติดตัง้ ปลัก๊ อิน WP e-Commerce ลงไป แต่ผมพูดเฉพาะการเปลีย่ นแปลงในด้านหลังร้าน หรือใน หน้า Dashboard เท่านัน้ ความจริงแล้วบล็อก WordPress ของเรายังเกิดการเปลีย่ นแปลง ด้านหน้าบล็อกด้วย คือจะเห็นเมนู Products Page ถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดยอัตโนมัติ (ดู ภาพ 14-10 ประกอบ) เมนูนี้ WP e-Commerce เป็นคนสร้างให้เราครับ มันมีไว้ส�ำหรับ คลิกเข้าสู่หน้าร้าน (หน้า Products Page) ของเราไงล่ะ



ภาพ 14-10 เมนู Products Page



244



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



สิ่งที่ผมก�ำลังจะบอกก็คือ หลังจากที่เราติดตั้งปลั๊กอิน WP e-Commerce เพิ่มให้ WordPress เพื่อเปลี่ยนบล็อกให้เป็นร้านค้าออนไลน์แล้ว คนที่คลิกเข้ามาในบล็อกของ เราจะยังเห็นบล็อกมีหน้าตาแบบเดิม กล่าวคือโฮมเพจหรือหน้าแรกของบล็อกก็ยงั จะเผย แพร่บทความตามล�ำดับวันเวลาตามปกติ หากผูช้ มบล็อกต้องการจะสัง่ ซือ้ สินค้า ก็จำ� เป็น ต้องคลิกเมนู Products Page เพื่อเข้าสู่ร้านค้าออนไลน์อีกที ใครที่สร้างบล็อกขึ้นมาเพื่อเผยแพร่บทความเป็นหลัก เรื่องขายของเป็นเรื่องรอง ก็อาจไม่จ�ำเป็นต้องปรับแต่งอะไรเพิ่มเติม แต่ถ้าคุณคิดจะใช้บล็อกเป็นร้านค้าออนไลน์ อย่างเต็มรูปแบบ คุณก็ควรปรับแต่งบล็อกเพื่อให้หน้าร้านกลายเป็นหน้าแรกของบล็อก เวลามีคนคลิกเข้ามาในบล็อก จะได้เห็นสินค้าที่เราวางขายทันทีเหมือนที่ร้านค้าออนไลน์ อื่นๆ เขาเป็นกัน วิธีการตั้งค่าเพื่อให้หน้าร้าน WP e-Commerce กลายเป็นโฮมเพจของบล็อกท�ำได้ ง่ายๆ ดังนี้ครับ 1 ที่หน้า Dashboard ให้คลิกเมนู Settings > Reading เพื่อเปิดเข้าสู่หน้า Reading Settings ครับ จากนั้นให้ตั้งค่าออปชันในหัวข้อ Front page displays โดยคลิกเลือก รายการ A static page (select below) ดูภาพ 14-11 2 คลิกที่ช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Front page: แล้วเลือกเป็น Products Page 3 ในช่องดรอปดาวน์ลิสต์ Posts page: ให้เลือกเมนูที่คนอ่านบล็อกคลิกแล้วจะ เห็นบทความซึ่งปกติเคยแสดงผลผ่านโฮมเพจ (ถ้าไม่คิดจะเผยแพร่บทความ แต่เน้นขาย ของอย่างเดียว ก็ไม่ต้องคลิกเลือกอะไร) 4 คลิกปุ่ม Save Changes เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงเลยครับ คราวนี้เมื่อมีคนคลิกเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเรา ก็จะเห็นหน้า Products Page ซึ่งเป็นหน้าร้านของ WP e-Commerce แสดงขึ้นมาเป็นหน้าแรก หรือพูดอีกอย่างว่าเรา เปลี่ยนหน้า Products Page ให้กลายเป็นโฮมเพจของบล็อกแล้วครับ 245



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



1 2 3



4



ภาพ 14-11 ตั้งค่าให้หน้าร้านเป็นโฮมเพจ



เพิ่ม Shopping Cart ใน Sidebar ก่อนจะไปลองเพิ่มสินค้าลงขายในร้าน มีเรื่องส�ำคัญอีกเรื่องที่ผมจ�ำเป็นต้องพูดถึง เพราะมันเป็นประเด็นเกีย่ วกับการปรับแต่งบล็อกให้เหมาะสมกับการเป็นร้านค้าออนไลน์ โดยตรง ตอนนี้เราเปลี่ยนหน้า Products Page ให้กลายเป็นโฮมเพจของบล็อกแล้ว ใคร ก็ตามทีค่ ลิกเข้ามาในบล็อกของเราจึงจะเห็นสินค้าทีเ่ ราวางขายเรียงรายสลอนในหน้าแรก ของบล็อกทันที (หมายถึงว่าหลังจากที่เราเพิ่มสินค้าลงไปในร้านแล้วด้วยนะ) แล้วลูกค้าก็ สามารถคลิกปุ่ม Add To Cart เพื่อหยิบสินค้าใส่ตะกร้าได้เลย แต่อีกสิ่งที่ยังขาดคือวิดเจ็ต Shopping Cart ไงครับ 246



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



วิดเจ็ต Shopping Cart นี้มีความส�ำคัญต่อร้านค้าออนไลน์ของเรามากๆ เพราะจะ ช่วยแสดงรายละเอียดสินค้าที่ลูกค้าหยิบใส่ตะกร้าแล้ว ที่ส�ำคัญในวิดเจ็ต Shopping Cart ยังมีค�ำสั่ง Checkout ส�ำหรับให้ลูกค้าสั่งเช็กเอาต์อีกด้วย (การสั่งเช็กเอาต์ก็หมายถึงการ ที่ลูกค้าซื้อสินค้าเสร็จแล้ว และต้องการด�ำเนินการขั้นต่อไป เช่น การกรอกชื่อ-ที่อยู่, การ เลือกช่องทางช�ำระเงิน หรือเลือกช่องทางจัดส่งสินค้า) ถ้าไม่มีวิดเจ็ต Shopping Cart ละ ก็ ลูกค้าคงสั่งซื้อสินค้าไม่เสร็จสมบูรณ์แน่ๆ เลย บล็อก WordPress ธรรมดาๆ ทีไ่ ม่ได้ตดิ ตัง้ ปลัก๊ อิน WP e-Commerce จะไม่มวี ดิ เจ็ต Shopping Cart ให้ใช้งานหรอกนะครับ แต่ถ้าเราติดตั้งปลั๊กอิน WP e-Commerce เรา ก็จะได้วิดเจ็ตใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาหลายๆ ตัว เช่น วิดเจ็ต Latest Products ส�ำหรับแสดง สินค้าใหม่ล่าสุด, วิดเจ็ต Price Range ส�ำหรับเลือกดูสินค้าตามช่วงราคา หรือวิดเจ็ต Product Grouping ส�ำหรับแสดงสินค้าเป็นกลุ่มๆ ตามแคเทอกอรี เป็นต้น และวิดเจ็ต Shopping Cart ก็คืออีกหนึ่งวิดเจ็ตที่ถูกติดตั้งมาให้พร้อมกับปลั๊กอิน WP e-Commerce ครับ แต่วิดเจ็ต Shopping Cart นี้ (รวมถึงวิดเจ็ตอื่นๆ ของปลั๊กอิน WP e-Commerce) จะยังไม่แสดงผลในหน้าร้านทันที เราต้องเข้าไปสั่งเพิ่มวิดเจ็ต Shopping Cart นี้ลงใน ไซด์บาร์ด้วยตัวเอง ในหัวข้อ “แต่งเติมลูกเล่นให้ Blog ด้วย Widgets” ของบทที่ 9 เราเคยได้ลองเพิ่ม วิดเจ็ตต่างๆ ลงในไซด์บาร์ของบล็อกกันไปแล้ว การเพิ่มวิดเจ็ต Shopping Cart ตัวนี้ก็มี วิธกี ารเดียวกันเลยครับ คือเราต้องคลิกเมนู Appearance > Widgets เพือ่ เปิดเข้าไปทีห่ น้า Widgets จากนัน้ ก็แดร็กเมาส์ลากวิดเจ็ต Shopping Cart ซึง่ อยูใ่ นเฟรม Available Widgets ด้านซ้ายมือ ไปไว้ในเฟรม Sidebar ด้านขวามือครับ ดูภาพ 14-12 ประกอบ



247



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 14-12 สั่งเพิ่มวิดเจ็ต Shopping Cart ในไซด์บาร์



เมือ่ เราเพิม่ วิดเจ็ต Shopping Cart ลงในไซด์บาร์แล้ว ในหน้าร้านของเราก็จะมีวดิ เจ็ต ตัวนีโ้ ผล่ขนึ้ มา หากลูกค้ายังไม่ได้สงั่ ซือ้ สินค้าอะไรเลย ในวิดเจ็ต Shopping Cart จะปรากฏ ข้อความว่า “Your shopping cart is empty” ซึ่งหมายถึงตะกร้าสินค้ายังว่างอยู่ แล้วก็จะมี ค�ำสัง่ Visit the shop ไว้สำ� หรับคลิกเข้าสูห่ น้าร้านด้วย แต่ถา้ ลูกค้าเริม่ สัง่ ซือ้ สินค้า ก็จะเห็น รายการสินค้าที่สั่งซื้อแล้วแสดงผ่านวิดเจ็ต Shopping Cart นี้ พร้อมทั้งจะมีข้อมูลสรุปให้ เห็นว่า สั่งซื้อสินค้าไปแล้วกี่ชิ้น รวมเป็นเงินเท่าไหร่ เมื่อลูกค้าช็อปปิ้งในร้านค้าออนไลน์ ของเราจนหน�ำใจแล้ว ก็สามารถคลิกค�ำสัง่ Checkout เพือ่ สัง่ เช็กเอาต์ได้เลย หรือถ้าอยาก จะลบสินค้าในตะกร้าทิ้งไป ก็แค่คลิกค�ำสั่ง Clear cart ครับ 248



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



คุณผู้อ่านลองดูตัวอย่างวิดเจ็ต Shopping Cart ตามภาพประกอบ 14-13 ไปด้วย นะครับ จะได้เข้าใจสิ่งที่ผมอธิบายมากยิ่งขึ้น



ภาพ 14-13 ตัวอย่างวิดเจ็ต Shopping Cart



เพิ่มสินค้าลงในร้านค้า WP e-Commerce ตอนนีเ้ ราปรับแต่งหน้าร้านจนพร้อมจะเริม่ ขายสินค้าได้แล้ว ถึงเวลาทีเ่ ราจะลองใส่ สินค้าลงไปวางขายในร้านกันซะที ก่อนจะลองเพิ่มสินค้าลงในร้าน เราต้องเตรียมข้อมูล ต่างๆ เกีย่ วกับสินค้าไว้ให้พร้อมด้วยนะครับ เช่น ชือ่ สินค้า, รหัสสินค้า (ถ้ามี), ราคาสินค้า, ขนาดของสินค้า, น�้ำหนักของสินค้า, ภาพสินค้า ฯลฯ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูวิธีการเพิ่มสิน ค้าลงไปในร้านค้าที่สร้างด้วยปลั๊กอิน WP e-Commerce กัน 249



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



1 ที่หน้า Dashboard ของ WordPress เราต้องคลิกเมนู Products > Add New



ดูภาพ 14-14



1



ภาพ 14-14 คลิกเมนู Products > Add New



2 เราจะเข้ามาที่หน้า Add New Product ซึ่งมีไว้ส�ำหรับเพิ่มสินค้าใหม่ลงในร้าน



หน้า Add New Product จะมีหน้าตาคล้ายๆ หน้า Add New Post ที่มีไว้เขียนบทความ ใหม่นั่นเอง เพียงแต่หน้า Add New Product นี้จะมีเฟรมส�ำหรับตั้งค่าออปชันต่างๆ ที่ เกี่ยวกับตัวสินค้า สิ่งที่เราต้องท�ำกันเป็นล�ำดับแรกในหน้า Add New Product ก็คือการตั้ง ชื่อสินค้าลงในช่อง Enter title here ดูภาพ 14-15 3 เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าลงไปในพื้นที่ Post Editing Area 4 คลิกค�ำสั่ง Manage Product Images ในเฟรม Products Images เพื่อเข้าไป สั่งอัปโหลดภาพสินค้า 250



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



2



3



4 ภาพ 14-15 กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า



5 ในหน้าต่างย่อย Manage Your Product Images ทีเ่ ปิดซ้อนขึน้ มา ให้คลิกแท็บ



From Computer เพื่อเลือกอัปโหลดไฟล์ภาพในคอมพิวเตอร์ของเรา ดูภาพ 14-16 6 ลากไฟล์ภาพสินค้ามาวางในพื้นที่ที่ปรากฏข้อความ Drop files here 7 รอจนการอัปโหลดไฟล์ภาพเสร็จสิ้น ก็คลิกค�ำสั่ง Use as Product Thumbnail เพื่อสั่งให้ใช้ภาพนี้เป็นภาพตัวแทนของสินค้า ดูภาพ 14-17 8 คลิกปุ่ม เพื่อปิดหน้าต่างย่อย Manage Your Product Images ไปได้เลย



251



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



5



6



ภาพ 14-16 อัปโหลดไฟล์ภาพสินค้า



8



7



252



ภาพ 14-17 คลิกค�ำสั่ง Use as Product Thumbnail แล้วคลิกปุ่ม



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



9 เมื่อกลับมาที่หน้า Add New Product อีกครั้ง ก็ให้กำ� หนดแท็กของสินค้าใน



เฟรม Products Tags ดังภาพ 14-18 10 ก�ำหนดแคเทอกอรีให้สินค้าในเฟรม Products Categories (รายละเอียดเกีย่ วกับการจัดการแท็กและแคเทอกอรีสนิ ค้านี้ เดีย๋ วผมจะกลับมาพูด อีกทีในหัวข้อ “จัดการ Category และ Tag ของสินค้า”) 11 ก�ำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับน�ำ้ หนักและขนาดของสินค้าในเฟรม Shipping 12 ก�ำหนดราคาสินค้าในเฟรม Price Control ซึง่ เราก�ำหนดได้ทงั้ ราคาจริง (Price) และราคาขายหรือราคาที่ลดแล้ว (Sale Price) 13 ก�ำหนดรหัสสินค้าในเฟรม Stock Control เฟรมส�ำหรับตัง้ ค่าออปชันทีส่ ำ� คัญๆ และมักใช้งานบ่อยๆ ผมพูดถึงไปหมดแล้ว แต่ ยังเหลืออีกหลายๆ เฟรมทีไ่ ม่ได้พดู ถึง เพราะมันไม่ได้สำ� คัญและเราไม่คอ่ ยได้ใช้งานกัน แต่ จะไม่เอ่ยถึงเสียเลยก็กระไรอยู่ จึงขอพูดคร่าวๆ สักนิดแล้วกันครับ เริม่ จากเฟรม Variations มีไว้ก�ำหนดตัวแปรเพิ่มเติมให้สินค้า เช่น เราขายเสื้อหลายไซส์ ก็เลยสร้างตัวแปรที่เป็น ไซส์เสื้อขึ้นมา, เฟรม Off Site Products link ใช้สำ� หรับก�ำหนดลิงก์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ ภายนอก กรณีที่เราขายสินค้าในเว็บอื่นๆ อีกที, เฟรม Additional Description ใช้เขียนค�ำ อธิบายเพิม่ เติมให้สนิ ค้า, เฟรม Product Downloads ใช้อปั โหลดไฟล์สนิ ค้าประเภทดิจติ อล หรือไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อให้ลูกค้าดาวน์โหลดได้, เฟรม Advanced Settings ใช้ตั้ง ค่าเซตติ้งขั้นสูง เช่น ก�ำหนดข้อมูล Metadata เพิ่มเติม หรือเปิด-ปิดระบบคอมเมนต์, เฟรม Feature Images ใช้ก�ำหนด Feature Images และสุดท้ายคือเฟรม Taxes มีไว้ ก�ำหนดภาษีให้สินค้าครับ 14 ตัง้ ค่าออปชันให้สนิ ค้าใหม่ครบถ้วนกระบวนความแล้ว เราก็ตอ้ งคลิกปุม่ Publish ในเฟรม Publish ตามระเบียบ จากนั้นลองออกไปที่หน้าร้านอีกทีสิครับ คุณจะเห็น สินค้าชิ้นแรกวางขายในร้านค้าของตัวเองแล้ว 253



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



และสินค้าทุกชิ้นที่เราเพิ่มลงไปในร้านนี้ เราเข้าไปจัดการได้ที่หน้า Products (คลิก เมนู Products > Products) วิธีการจัดการกับสินค้า ก็จะคล้ายคลึงกับการจัดการกับ บทความซึ่งเราเคยลองท�ำกันไปแล้วนั่นเองครับ



14 9 10 ภาพ 14-18 ตั้งค่า ออปชันให้สินค้า เพิ่มเติม



11



12



13



254



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



ปรับแต่งหน้าร้านด้วย WP e-Commerce Grid View คุณได้ลองเพิม่ สินค้าลงไปขายในร้านตามวิธกี ารทีผ่ มเพิง่ อธิบายไปหรือยังครับ ถ้า คุณได้ลองท�ำแล้ว คุณก็นา่ จะเห็นว่า ไม่วา่ จะเพิม่ สินค้าใหม่ลงไปกีช่ นิ้ สินค้าทัง้ หมดจะถูก แสดงผลเรียงจากบนลงล่างในแนวตั้ง เหมือนการแสดงผลของบทความไม่มีผิด (ดูภาพ 14-19 ประกอบ) สาเหตุทเี่ ป็นอย่างนีก้ เ็ พราะรูปแบบการแสดงผลบทความในบล็อก WordPress ถูกก�ำหนดไว้แบบนัน้ ไงครับ ถ้าเราคิดจะใช้ WordPress ในการโพสต์บทความเฉยๆ การแสดงผลในลักษณะนีม้ นั ก็เหมาะอยูแ่ ล้ว แต่ถา้ เราต้องการใช้ WordPress เปิดเป็นร้าน ค้าออนไลน์ รูปแบบการแสดงผลแบบนีค้ งไม่เวิรก์ เท่าไหร่ เพราะนอกจากจะท�ำให้รา้ นค้าดู ไม่นา่ สนใจ และไม่เหมือนร้านค้าออนไลน์ทวั่ ไปแล้ว ลูกค้ายังเลือกซือ้ สินค้าได้ลำ� บากด้วย



ภาพ 14-19 ตัวอย่างการแสดงผลสินค้าในมุมมองปกติ



255



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ใครที่คิดจะใช้บล็อก WordPress ขายของอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ผมแนะน�ำเป็น อย่างยิง่ ว่าคุณควรปรับรูปแบบการแสดงผลสินค้าในหน้าร้าน โดยเปลีย่ นจากมุมมองปกติ มาเป็นมุมมองแบบ Grid View ซึ่งจะท�ำให้สินค้าแสดงผลเรียงเป็นแถวๆ ในแต่ละแถวก็มี สินค้ามากกว่า 1 ชิ้น แต่การทีเ่ ราจะปรับการแสดงผลสินค้าในหน้าร้านให้อยูใ่ นมุมมอง Grid View นี้ เรา ต้องอาศัยปลั๊กอินเสริมมาช่วยครับ นั่นคือปลั๊กอินที่ชื่อว่า WP e-Commerce Grid View (เป็นปลั๊กอินฟรี) ไงล่ะ วิธีการติดตั้งปลั๊กอิน WP e-Commerce Grid View ตัวนี้ ผมขอไม่ อธิบายหรือแสดงตัวอย่างให้มากความอีกแล้วนะครับ เพราะขัน้ ตอนมันก็เหมือนกับตอน ที่เราติดตั้ง WP e-Commerce นั่นแหละ เพียงแต่ในตอนที่เราเสิร์ชหาปลั๊กอิน เราก็กรอก คีย์เวิร์ดว่า WP e-Commerce Grid View ลงไปเท่านั้น หลังจากติดตั้งและเปิดการท�ำงานของปลั๊กอิน WP e-Commerce Grid View เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองการแสดงผลสินค้าในหน้าร้านได้แล้ว วิธี การตั้งค่า WP e-Commerce เพื่อปรับการแสดงผลสินค้าต้องท�ำแบบนี้ไงครับ 1 ที่หน้า Dashboard ให้คลิกเมนู Settings > Store ดูภาพ 14-20 2 เมื่อเข้ามาที่หน้า Store Settings ซึ่งมีไว้ส�ำหรับตั้งค่าเซตติ้งให้ร้านค้าแล้ว ให้ คลิกแท็บ Presentation ดังภาพ 14-21 ครับ



256



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



1 ภาพ 14-20 คลิกเมนู Settings > Store



2



ภาพ 14-21 คลิกแท็บ Presentation



257



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 เลื่อนเว็บเพจลงมาที่หัวข้อ Product Page Settings จากนั้นคลิกที่ช่องดรอป



ดาวน์ลิสต์ Product Display: แล้วเลือกค�ำสั่งเป็น Grid View ดูภาพ 14-22 4 กรอกจ�ำนวนสินค้าที่เราต้องการให้แสดงต่อ 1 แถวลงในช่อง Grid view settings: (ตามตัวอย่างนี้ผมกรอกเป็น 3) แล้วก็คลิกปุ่ม Save Changes ด้านล่างสุด เพื่ อ บั น ทึ ก การเปลี่ ย นแปลงด้ ว ยนะครั บ (ในภาพ 14-22 จะมองไม่ เ ห็ น ปุ ่ ม Save Changes เพราะผมแคปเจอร์ภาพมาไม่หมดครับ)



3 4



ภาพ 14-22 ก�ำหนดมุมมองการแสดงผลสินค้า



ท�ำทุกอย่างตามนี้แล้ว ลองออกไปดูหน้าร้านของคุณใหม่อีกรอบสิครับ ถ้าคุณไม่ ได้ท�ำอะไรผิดพลาดตรงไหน มุมมองการแสดงผลสินค้าในหน้าร้านต้องเปลี่ยนจากเดิม 258



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



ไปเป็นมุมมองแบบ Grid View แล้ว (ดูภาพ 14-23 ประกอบ) หากดูหน้าร้านแล้วรู้สึก ว่าจ�ำนวนสินค้าต่อ 1 แถวยังไม่พอเหมาะพอดี คุณก็กลับไปเปลี่ยนแปลงจ�ำนวนสินค้า ในช่อง Grid view settings: ได้ตามต้องการ แต่ส�ำหรับร้านของผมน่ะ ใน 1 แถวแสดง สินค้า 3 ชิ้นแบบนี้น่ะดูลงตัวโอเคแล้วละครับ



ภาพ 14-23 ตัวอย่างสินค้าที่แสดงผลในมุมมอง Grid View



จัดการ Category และ Tag ของสินค้า หัวข้อนีผ้ มขอพูดรวบ 2 เรือ่ งไว้ในหัวข้อเดียวกันนะครับ เพราะมันเป็นเรือ่ งทีม่ คี วาม 259



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ส�ำคัญใกล้เคียงกัน แล้วก็ไม่มีอะไรต้องอธิบายยืดยาว เขียนรวมในหัวข้อเดียวเลยจะง่าย กว่า ประหยัดหน้ากระดาษกว่า ผมก�ำลังจะพูดถึงการจัดการแคเทอกอรีและแท็กของสินค้านัน่ เองครับ การก�ำหนด แคเทอกอรีกค็ อื การก�ำหนดหมวดหมูใ่ ห้สนิ ค้านัน้ ๆ เช่น คุณขายเสือ้ ผ้าแฟชัน่ ผูห้ ญิง ก็เลย ก�ำหนดแคเทอกอรีเป็น “เสื้อแฟชั่น”, “กระโปรงแฟชั่น” และ “ชุดเดรสแฟชั่น” อะไรแบบ นี้ ส่วนการก�ำหนดแท็กจะเป็นการให้ข้อมูลกับลูกค้าว่า สินค้าชิ้นนั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือค�ำว่าอะไรบ้าง นอกจากแคเทอกอรีและแท็กจะช่วยให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับสินค้าแล้ว ลูกค้า ยังสามารถค้นหาสินค้าตามแคเทอกอรีหรือแท็กที่เราก�ำหนดไว้ได้อีกด้วย เรื่องความส�ำคัญและประโยชน์ของแคเทอกอรีกับแท็กนี้ ถ้าคุณลืมๆ ไปแล้วก็ขอ ให้ย้อนกลับไปอ่านบทที่ 4 ใหม่นะครับ ในบทที่ 4 น่ะผมได้อธิบายเรื่องแคเทอกอรีกับ แท็กของบทความไปแล้ว หน้าที่และความส�ำคัญของแคเทอกอรีและแท็กของบทความ ก็ เหมือนกับแคเทอกอรีและแท็กของสินค้านั่นเองครับ วิธีสร้างแท็กของสินค้าขึ้นมาใหม่ทำ� ได้ด้วยการคลิกผ่านเมนู Products > Product Tags เพื่อเข้าไปยังหน้า Product Tags (ดูภาพ 14-24) จากนั้นก็ตั้งค่าออปชันให้แท็ก ของสินค้าในลักษณะเดียวกับการตั้งค่าออปชันให้แท็กของบทความ เช่น การตั้งชื่อ, การ ก�ำหนด Slug หรือการเขียนค�ำอธิบายเพิ่มเติม สุดท้ายเราก็คลิกปุ่ม Add new Product Tag เพื่อสร้างแท็กใหม่ขึ้นมา โดยแท็กที่เราสร้างขึ้นนี้จะไปแสดงให้เห็นในเฟรมแสดง รายการแท็กด้านขวามือครับ



260



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



ภาพ 14-24 หน้า Product Tags



ในส่วนของการสร้างแคเทอกอรีของสินค้านั้น เราก็ต้องคลิกเมนู Products > Categories เพื่อเปิดเข้าสู่หน้า Product Categories (ดูภาพ 14-25) แล้วก็กรอกข้อมูลและ ตั้งค่าออปชันให้แคเทอกอรีใหม่คล้ายๆ กับตอนที่เราสร้างแคเทอกอรีให้บทความ เพียง แต่ว่าการสร้างแคเทอกอรีของสินค้านี้จะมีออปชันยิบย่อยให้ตั้งค่ามากกว่า เช่น การใส่ ภาพให้แคเทอกอรี, การก�ำหนดมุมมองการแสดงผลของแคเทอกอรี หรือการก�ำหนดว่า เราต้องการท�ำตลาดสินค้าในแคเทอกอรีนี้กับลูกค้าประเทศไหนบ้าง เป็นต้นครับ



261



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 14-25 หน้า Product Categories



ตั้งค่าการจัดส่งสินค้า มาถึงเรือ่ งส�ำคัญอีกเรือ่ งทีเ่ จ้าของร้านค้าออนไลน์ทกุ คนต้องท�ำกัน นัน่ คือการสร้าง รูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่งสินค้า ระบบของ WP e-Commerce ได้เตรียมรูปแบบการ ค�ำนวณค่าจัดส่งมาให้เราเลือกใช้หลายรูปแบบด้วยกันครับ โดยแบ่งเป็นการจัดส่งภายใน ประเทศ กับจัดส่งไปต่างประเทศ กรณีของการจัดส่งภายในประเทศ จะมีวิธีคำ� นวณค่าจัด 262



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



ส่งอยู่ 3 วิธีด้วยกัน นั่นคือ Weight Rate หมายถึงค�ำนวณค่าจัดส่งตามน�ำ้ หนักสินค้า, Flat Rate หมายถึงค�ำนวณค่าจัดส่งด้วยอัตราคงทีโ่ ดยแยกตามทวีป และ Table Rate หมายถึง ค�ำนวณค่าจัดส่งแบบก้าวกระโดดตามราคาสินค้า ส่วนกรณีของการจัดส่งไปต่างประเทศ ก็ มีบริการจัดส่งพัสดุให้เลือกทั้ง USPS, UPS และ Australia Post ครับ ส�ำหรับตัวอย่างการก�ำหนดรูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่งในที่นี้ ผมขอเลือกก�ำหนด เป็น Weight Rate คือคิดค่าจัดส่งตามน�้ำหนักสินค้านะครับ เพราะเป็นรูปแบบที่เหมาะ กับการขายสินค้าภายในประเทศโดยใช้บริการของไปรษณีย์ไทยที่สุดแล้ว วิธีการก�ำหนด รูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่งต้องท�ำยังไง ตามไปดูกันเลยครับ 1 ที่หน้า Dashboard ของ WordPress ให้คลิกเมนู Settings > Store เพื่อเปิด เข้าสู่หน้า Store Settings จากนั้นคลิกแท็บ Shipping ดูภาพ 14-26



1



ภาพ 14-26 คลิกแท็บ Shipping



263



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2 ในเฟรม General Settings ด้านบน เราไม่จ�ำเป็นต้องตั้งค่าอะไร ให้เลื่อนลง



มาตั้งค่าในเฟรม Shipping Modules เลยครับ โดยให้เลือกรูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่ง ตามต้องการโดยการคลิกใส่เครือ่ งหมาย หน้ารูปแบบนัน้ ๆ ครับ ดูภาพ 14-27 (การ ก�ำหนดรูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่งนี้ ควรเลือกแค่รูปแบบเดียวเท่านั้นนะครับ ถ้าเลือก หลายรูปแบบ ก็เท่ากับจะมีวิธีคิดค�ำนวณอัตราค่าจัดส่งหลายรูปแบบให้ลูกค้าเลือก ซึ่งจะ ท�ำให้ลูกค้างงซะเปล่าๆ) 3 คลิกค�ำสั่ง Edit ซึ่งปรากฏขึ้นมาด้านขวามือของรูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่งที่ เราเลือก 4 ก�ำหนดอัตราค่าจัดส่งในเฟรม Weight Rate (ถ้าเลือกรูปแบบการค�ำนวณค่า จัดส่งแตกต่างออกไป ชื่อเฟรมนี้ก็จะไม่ใช่ Weight Rate นะครับ) โดยเราต้องก�ำหนดว่า ถ้าสินค้ามีนำ�้ หนักมากกว่าหรือเท่ากับกี่ปอนด์ เราจะคิดค่าจัดส่งเท่าไหร่ เราสามารถเพิ่ม รายการน�ำ้ หนักสินค้าเข้าไปได้หลายๆ รายการโดยคลิกปุ่ม ด้านขวามือครับ 5 ตั้งค่าออปชันให้รูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่งที่เลือกครบถ้วนแล้ว ก็คลิกปุ่ม Save Changes เป็นขั้นตอนสุดท้ายเลย หากคุณผู้อ่านเลือกรูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่งเป็น Weight Rate เหมือนกับผม เวลามีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้า ระบบของ WP e-Commerce จะค�ำนวณให้โดยอัตโนมัติ ว่า ลูกค้าต้องจ่ายค่าจัดส่งกี่บาท (WP e-Commerce จะน�ำข้อมูลน�ำ้ หนักสินค้าที่เรากรอก ไว้มาใช้เป็นเกณฑ์) และแน่นอนว่า ถ้าลูกค้าซื้อสินค้ามากชิ้นเท่าไหร่ น�้ำหนักสินค้าก็จะ มากขึ้น และท�ำให้เสียค่าจัดส่งมากขึ้นตามไปด้วยครับ (เว้นแต่ว่าเราจะอุตริก�ำหนดอัตรา ค่าจัดส่งให้ถูกลงเมื่อน�้ำหนักสินค้าเพิ่มมากขึ้น)



264



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



4



2



3



5 ภาพ 14-27 ตั้งค่าการค�ำนวณค่าจัดส่งสินค้า



รูปแบบการจัดส่งสินค้าภายในประเทศที่ WP e-Commerce เตรียมไว้ให้มีแค่ 3 รูปแบบหลักๆ คือ Weight Rate, Flat Rate และ Table Rate อย่างที่ผมอธิบายไปแล้ว แต่ WP e-Commerce ยังมีรูปแบบการค�ำนวณอัตราค่าจัดส่งที่น่าใช้อีกแบบหนึ่ง คือการ ค�ำนวณอัตราค่าจัดส่งที่เรียกว่า Fixed rate หรือการคิดค่าจัดส่งแบบคงที่ตายตัว รูปแบบ 265



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



การคิดค่าจัดส่งแบบ Fixed rate นี้ถือเป็นอีกรูปแบบที่เหมาะจะน�ำมาประยุกต์ใช้กับการ จัดส่งสินค่าผ่านบริการไปรษณีย์ในบ้านเรา เพราะจะช่วยให้เราสร้างตัวเลือกในการจัด ส่งสินค้าพร้อมกับคิดค่าจัดส่งแบบคงที่ได้ เช่น ตัวเลือกแรกคือการจัดส่งแบบไปรษณีย์ลง ทะเบียน เราคิดค่าจัดส่ง 30 บาท ส่วนตัวเลือกที่สองเป็นการจัดส่งแบบ EMS เราคิดค่า จัดส่ง 50 แบบ อย่างนี้เป็นต้น (ดูภาพ 14-28 ประกอบไปด้วยนะครับ)



ภาพ 14-28 การค�ำนวณค่าจัดส่งแบบ Fixed rate



แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการค�ำนวณค่าจัดส่งสินค้าแบบ Fixed rate นี้ จะไม่ได้ถูก ติดตั้งมาให้ตั้งแต่แรก หากเราต้องการใช้งาน จ�ำเป็นต้องสั่งติดตั้งปลั๊กอินเสริมของ WP e-Commerce ที่ชื่อว่า wpsc-simple-shipping ครับ (ตัวนี้เป็นปลั๊กอินฟรีอีกเช่นกัน) แถมท้ายอีกนิด ส�ำหรับพ่อค้าแม่คา้ คนไหนทีไ่ ม่ตอ้ งการคิดค่าจัดส่งหากลูกค้าสัง่ ซือ้ สินค้าเป็นจ�ำนวนเงินเกินกว่าทีก่ ำ� หนดไว้ ก็สามารถท�ำได้ดว้ ยนะครับ โดยคุณต้องเลือกตัง้ 266



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



ค่าออปชัน Enable Free Shipping Discount (ภายในเฟรม General Settings) ให้เป็น Yes แล้วกรอกจ�ำนวนเงินลงไปในช่องว่างที่ปรากฏขึ้นมาด้านล่างครับ



ตั้งค่าการรับชำ�ระเงิน จบจากเรื่องรูปแบบการค�ำนวณอัตราค่าจัดส่ง คราวนี้ก็มาว่ากันต่อที่เรื่องช่อง ทางการรับช�ำระเงินบ้าง ช่องทางรับช�ำระเงินค่าสินค้าที่ระบบ WP e-Commerce เตรียม ไว้ให้เราใช้งานมีหลายช่องทางด้วยกันครับ เช่น ช�ำระผ่าน ChronoPay, ช�ำระผ่าน Google Checkout, ช�ำระผ่าน PayPal (ทั้ง ChronoPay, Google Checkout และ PayPal ต่างก็เป็น บริการรับช�ำระเงินออนไลน์เหมือนๆ กัน) หรือการช�ำระผ่าน Test Gateway ซึ่งหมายถึง การก�ำหนดรายละเอียดการรับช�ำระเงินด้วยตัวเราเอง เช่น รายละเอียดการโอนเงินเข้า บัญชีธนาคาร การก�ำหนดช่องทางรับช�ำระเงินนี้ ควรสร้างไว้หลายช่องทางเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อ อ�ำนวยความสะดวกในการช�ำระเงินให้ลกู ค้า ตัวอย่างในทีน่ ผี้ มจะก�ำหนดช่องทางรับช�ำระ เงินไว้ 2 ช่องทางด้วยกัน คือรับช�ำระผ่าน PayPal และรับช�ำระผ่านบัญชีธนาคาร ขั้นตอน การตั้งค่าการรับช�ำระเงินมีวิธีการดังนี้ครับ 1 คลิกเมนู Settings > Store เพื่อเปิดเข้าสู่หน้า Store Settings จากนั้นคลิก แท็บ Payments ดูภาพ 14-29 2 คลิกเลือกช่องทางการช�ำระเงินที่ต้องการ ในที่นี้ผมคลิกเลือก PayPal Payments Standard 2.0 และ Test Gateway (ส�ำหรับ PayPal Express Checkout 2.0 และ PayPal Pro 2.0 เป็นช่องทางรับช�ำระเงินอีก 2 รูปแบบย่อยของ PayPal โดยจะ เป็นการผสานการท�ำงาน (Integrate) ของ PayPal เข้ากับบล็อกหรือเว็บไซต์ของเราผ่าน ทางระบบ API) 267



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 คลิกค�ำสั่ง Edit หลังรายการ PayPal Payments Standard 2.0 ก่อนเพื่อตั้งค่า



การรับช�ำระเงินผ่าน PayPal 4 ตัง้ ค่าออปชันเกีย่ วกับบัญชี PayPal ในเฟรม PayPal Payments Standard 2.0 ซึ่งออปชันที่เราจ�ำเป็นต้องตั้งค่าก็มีแค่กรอกชื่อช่องทางการรับช�ำระเงิน (ซึ่งลูกค้าจะเห็น) ลงในช่อง Display Name และกรอกอีเมลแอดเดรสที่ใช้งานกับ PayPal ลงในช่อง Username: ครับ 5 คลิกปุ่ม Update >>



1 4 3 2



5 ภาพ 14-29 ตั้งค่าการรับช�ำระเงิน



268



เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress



บทที่ 14



6 ถัดจากนั้นก็คลิกค�ำสั่ง Edit หลังรายการ Test Gateway บ้าง ดูภาพ 14-30 7 ตัง้ ค่าออปชันในเฟรม Test Gateway โดยให้กำ� หนดชื่อช่องทางการช�ำระเงิน



ในช่อง Display Name และกรอกรายละเอียดบัญชีธนาคารของเราลงไปในช่องสี่เหลี่ยม ด้านล่างข้อความ Enter the payment instructions that you wish to display to your customers when they make a purchase: 8 คลิกปุ่ม Update >> 9 ขั้นตอนสุดท้ายให้คลิกปุ่ม Save Changes เพื่อบันทึกการตั้งค่าทั้งหมดครับ



7



6



9



8



ภาพ 14-30 ตั้งค่าการรับช�ำระเงิน (ต่อ)



269



บทที่ 15



ใช้ WordPress หารายได้ กับ Google AdSense การหารายได้ออนไลน์ด้วยการเปิดร้านขายของนั้น แม้จะเป็นช่องทาง หารายได้ที่ได้รับความนิยมสูง อีกทั้งมีโอกาสท�ำเงินได้เป็นกอบเป็นก�ำ แต่มันก็ไม่ใช่ ช่องทางสร้างรายได้ทเี่ หมาะกับทุกคน บางคนอาจไม่ตอ้ งการเสีย่ งลงทุนซือ้ สินค้ามาขาย หรือบาง คนก็อาจอยากให้บล็อกของตัวเองยังคงเป็นพืน้ ทีน่ ำ� เสนอบทความดีๆ เหมือนเดิม ไม่ได้ตอ้ งการเปลีย่ น บล็อกให้กลายเป็นร้านค้าออนไลน์ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังอยากสร้างรายได้จากการท�ำบล็อกด้วย ในกรณีแบบนี้ คงไม่มีช่องทางหาเงินช่องทางไหนจะน่าสนใจเท่ากับการหาเงินกับ Google AdSense อีกแล้วครับ รูปแบบการหารายได้กบั Google AdSense ท�ำได้งา่ ย ใครๆ ก็ทำ� ได้ทงั้ นัน้ แถมยังได้ เงินชัวร์ 100% อีกต่างหาก (แต่จะได้มากน้อยแค่ไหนก็เป็นอีกเรือ่ ง) จึงไม่แปลกเลยที่ Google AdSense กลายเป็นช่องทางท�ำเงินยอดฮิตที่มีคนนิยมมากที่สุดก็ว่าได้ และส�ำหรับเจ้าของบล็อก WordPress อย่างเรา ถ้าไม่ลองหาเงินกับ Google AdSense กับเขาบ้างละก็ ผมว่าน่าเสียดายแย่เลยครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เตรียมความพร้อมของ Blog กันก่อน หลายๆ คนน่าจะพอรูอ้ ยูแ่ ล้วว่า Google AdSense เป็นโปรแกรมโฆษณาออนไลน์ ของ Google ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกอย่างเราสมัครเข้าร่วม จากนั้นก็น�ำโฆษณา ของ Google AdSense มาติดในบล็อก คราวนี้เมื่อมีคนคลิกโฆษณาเหล่านั้น เราก็จะได้ ค่าตอบแทนจากทาง Google AdSense ไงล่ะ โฆษณาที่จะถูกดึงมาแสดงผลในบล็อกของ เรานี้ จริงๆ แล้วไม่ใช่โฆษณาของ Google เองหรอก แต่เป็นโฆษณาของคนที่ลงโฆษณา กับโปรแกรม Google AdWords อีกที พูดง่ายๆ แล้วก็เท่ากับว่า Google ท�ำหน้าที่เป็นตัวกลาง น�ำโฆษณาของผู้ลง โฆษณากับโปรแกรม Google AdWords มาเผยแพร่ผ่านบล็อกหรือเว็บไซต์ของคนที่เข้า ร่วมโปรแกรม Google AdSense และด้วยเหตุที่โฆษณาเหล่านั้นไม่ใช่ของ Google เอง ทาง Google จึงจ�ำเป็นต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงโฆษณา กล่าวคือ Google ไม่ใช่จะ อนุญาตให้ใครหน้าไหนก็ได้น�ำโฆษณาจาก Google AdSense ไปติดในบล็อกของตัวเอง แต่คนทีจ่ ะหาเงินกับ Google AdSense ได้จำ� เป็นต้องสมัครเข้าร่วมโปรแกรมและต้องผ่าน การอนุมัติจาก Google ซะก่อน สาเหตุที่ Google มีกฎระเบียบเข้มงวดในเรื่องนี้ก็เพราะต้องการแน่ใจว่า โฆษณา ของผู้ที่ลงโฆษณากับ Google AdWords จะถูกน�ำไปเผยแพร่ในบล็อกที่มีคุณภาพ ไม่ใช่ ไปปรากฏในบล็อกห่วยๆ ประเภทบล็อกขยะหรือบล็อกผิดกฎหมาย ซึ่งแบบนั้นนอกจาก จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของผู้ลงโฆษณาแล้ว ยังท�ำให้ Google ดูไม่ดีและขาดความน่า เชื่อถือตามไปด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราคิดจะหาเงินกับโปรแกรมโฆษณา Google AdSense เราจ�ำเป็น ต้องสร้างบล็อกให้มคี ณ ุ ภาพและมีความพร้อม ประเด็นแรกคือบล็อกของเราต้องผ่านการ พัฒนามาสักระยะหนึ่ง ถ้าได้สักเดือนสองเดือนขึ้นไปก็จะยิ่งดี จ�ำนวนบทความในบล็อก 272



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



ก็ต้องมีมากพอ ยิ่งมีบทความหลายๆ สิบบทความจะยิ่งสมัคร Google AdSense ผ่านได้ ง่ายขึ้น ในส่วนของการอัปเดตบล็อกก็เหมือนกันครับ ต้องมีการอัปเดตอย่างสม�่ำเสมอ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ว่าวันแรกๆ เราอัดบทความลงไปเป็นสิบๆ แล้วจากนั้นก็หายจ้อย ไม่ได้เขียนบทความลงบล็อกอีกเลย แบบนี้มันก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ และ Google จะมอง ว่าบล็อกของเราขาดคุณภาพทันที เรื่องคุณภาพของเนื้อหาบทความก็ส�ำคัญเช่นกันครับ กฎเหล็กคือเราต้องไม่ไป ก๊อบปี้บทความของคนอื่นมาเด็ดขาด แต่ต้องเขียนบทความใหม่ของเราขึ้นมาเอง ไม่งั้น Google จะมองว่าบล็อกของเราเป็นบล็อกขยะ เนื้อหาที่หมิ่นเหม่ไปทางลามกอนาจาร, ละเมิดลิขสิทธิ์, ผิดศีลธรรม หรือเนื้อหาที่อาจเป็นอันตรายต่อสังคม ก็จะเป็นอีกเหตุผล หนึ่งที่ท�ำให้เราสมัคร Google AdSense ไม่ผ่านครับ สรุปแล้วหากคุณต้องการสมัคร Google AdSense ให้ผา่ น คุณต้องไม่ใจร้อน ค่อยๆ พัฒนาบล็อกอย่างค่อยเป็นค่อยไป เขียนบล็อกอย่างเป็นธรรมชาติด้วยบทความที่มี คุณภาพของเราเอง เมื่อแน่ใจว่าบล็อกมีคุณภาพเพียงพอ อีกทั้งสามารถท�ำงานได้อย่าง สมบูรณ์แล้ว ก็ค่อยไปลองสมัครเข้าร่วมโปรแกรม Google AdSense ครับ



ขั้นตอนการสมัคร Google AdSense ใครพัฒนาบล็อกของตัวเองจนคิดว่ามีคุณภาพแล้ว และอยากจะเริ่มต้นหารายได้ กับ Google AdSense คุณก็ไม่ต้องรีรออะไรอีก สามารถไปลองสมัครเข้าร่วมโปรแกรม Google AdSense ได้เลย ถ้าสมัครผ่านเราจะได้น�ำโฆษณาของ Google AdSense มาติด ลงในบล็อก WordPress ของเรา แต่ถ้าสมัครไม่ผ่าน เราก็กลับมาปรับปรุงบล็อก แล้ว กลับไปยื่นสมัครใหม่



273



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมโปรแกรม Google AdSense มีดังต่อไปนี้ครับ 1 คลิกเข้าไปที่... https://www.google.com/adsense แล้วคลิกปุ่ม SIGN UP NOW ดูภาพ 15-1 1



ภาพ 15-1 คลิกปุ่ม SIGN UP NOW



2 กรอกข้อมูลต่างๆ (เป็นภาษาอังกฤษ) เกี่ยวกับตัวเราลงไป ดังนี้ (ดูภาพ 15-2)



Website Information กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกของเรา ได้แก่... •  Website URL: กรอก URL ของบล็อก 274



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



•  Website language: ระบุภาษาที่ใช้ในบล็อก



นอกจากนี้ให้คลิกใส่เครื่องหมาย หน้ารายการ I will not place ads on sites that include incentives to click on ads. และ I will not place ads on sites that include pornographic content. ด้วย Contact Information กรอกข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อ ได้แก่... •  Account type: ระบุประเภทของบัญชี ว่าเป็น Individual (บุคคลทั่วไป) หรือ Business (องค์กรธุรกิจ) •  Country or territory: ระบุประเทศ •  Payee name (full name): กรอกชื่อเต็มของเราลงไปให้ถูกต้องครบถ้วน •  Street Address: กรอกบ้านเลขที่, ซอย, ถนน และในช่องว่างช่องที่สองถัดลง ไป ให้กรอกแขวง/ต�ำบล •  City/Town: กรอกเขต/อ�ำเภอ •  Province: กรอกจังหวัด •  Postal Code: กรอกรหัสไปรษณีย์ และให้คลิกใส่เครือ่ งหมาย หน้ารายการ I agree that I can receive payments made out to the payee name I have listed above. ด้านล่างด้วยนะครับ •  Phone: กรอกหมายเลขโทรศัพท์ •  Email preference: ใส่เครื่องหมาย หน้ารายการ In addition, send me periodic newsletters with tips and best practices and occasional surveys to help Google improve AdSense. เพื่อบอกรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ จาก Google AdSense แต่ ถ้าใครจะไม่รับข่าวสารก็ไม่ต้องคลิกอะไร



275



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  How did you find out about Google AdSense? ตอบค�ำถามว่าเรารู้จัก Google



AdSense ผ่านช่องทางไหน Policies ท�ำรายการเกี่ยวกับนโยบายของ Google AdSense โดยให้คลิกใส่ เครื่องหมาย หน้ารายการทั้ง 3 รายการ ได้แก่ I agree that I will not click on the Google ads I’m serving through AdSense., I certify that I have read the AdSense Program Policies. และ I do not already have an approved AdSense account. 3 คลิกปุ่ม Submit Information



2



276



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



3 ภาพ 15-2 กรอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา



4 ระบบของ Google AdSense จะแสดงข้อมูลที่เรากรอกไว้อีกครั้งเพื่อให้ตรวจ



สอบ พร้อมกับให้เลือกว่าจะใช้แอ็กเคาต์ไหนในการไซน์อนิ เข้าสูร่ ะบบ โดยมีตวั เลือกคือ... (ดูภาพ 15-3) •  I have an email address and password (Google Account) I already use with Google services like AdWords, Gmail, Orkut, or the personalized home page. หมายถึงเรา มี Google Account อยูแ่ ล้ว และต้องการใช้ Google Account นัน้ กับ Google AdSense ด้วย •  I do not use these other services. I would like to create a new Google Account. หมายถึงเราต้องการสร้าง Google Account ขึ้นมาใหม่ ในที่นี้ผมขอเลือกตัวเลือก หลังนี้นะครับ 277



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



5 กรอกรายละเอียดเพื่อสร้าง Google Account ใหม่ ดังนี้...



•  Email: กรอกอีเมลแอดเดรส •  Password: ก�ำหนดพาสเวิร์ด •  Re-enter password: กรอกพาสเวิร์ดเดิมอีกครั้ง •  Word Verification: กรอกตัวอักษรที่เห็นลงในช่องสี่เหลี่ยมด้านล่าง 6 คลิกปุ่ม Continue



4 ภาพ 15-3 เลือกแอ็กเคาต์ ในการไซน์อิน



278



5



6



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



เราจะเห็นหน้าแสดงข้อความ You’re almost done! To complete you application, please verify your email address: แสดงขึ้นมา เพื่อบอกให้รู้ว่าขั้นตอนการสมัคร Google AdSense เสร็จสิ้นแล้ว ดูภาพ 15-4 แต่เรายังเหลือขั้นตอนในการ Verify อีเมลแอดเดรส หรือการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นเจ้าของอีเมลแอดเดรสอีกขัน้ ตอนหนึง่ ครับ วิธีการ Verify อีเมลคือให้เราเข้าไปเช็กอีเมลตามอีเมลแอดเดรสที่กรอกลงไป เราจะเห็น อีเมลฉบับใหม่ส่งมาจาก Google AdSense ส�ำหรับใช้ Verify อีเมล เราต้องคลิกลิงก์แรก ในอีเมลฉบับที่ว่านี้เพื่อ Verify อีเมลให้เรียบร้อยครับ



ภาพ 15-4 หน้าแสดงข้อความ You’re almost done!...



หลังจาก Verify อีเมลเรียบร้อยแล้ว เราก็ตอ้ งรอลุน้ ว่าจะผ่านการอนุมตั จิ าก Google AdSense หรือเปล่า ปกติแล้วขั้นตอนการพิจารณาเพื่ออนุมัตินี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 279



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



วันครับ แต่บางครั้งก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ บางคนต้องรอเป็นสัปดาห์ หรือรอนานเป็น เดือนก็มีมาแล้ว ใครที่ลองสมัคร Google AdSense แล้วพบว่าผ่าน ผมก็ขอแสดงความยินดีด้วย แต่ ถ้าสมัครแล้วไม่ผ่านก็ไม่ต้องตกใจหรือท้อแท้นะครับ รู้ไว้เถอะว่ามีคนอีกมากมายที่สมัคร Google AdSense ไม่ผ่านเหมือนกัน วิธีแก้ปัญหาเมื่อพบว่าสมัคร Google AdSense ไม่ ผ่านก็คือ ให้อ่านอีเมลที่ทาง Google AdSense ส่งมาแจ้งผลการพิจารณา ในอีเมลฉบับ นั้นมักจะมีการอธิบายเหตุผลไว้ด้วยว่า เพราะอะไรบล็อกของเราจึงสมัครไม่ผ่าน เมื่อรู้ จุดอ่อนของบล็อกแล้ว เราก็มาปรับปรุงพัฒนาบล็อกให้ดีขึ้น แล้วจึงค่อยกลับไปยื่นเรื่อง ขอสมัครอีกรอบครับ



ประเภทโฆษณาของ Google AdSense ใครสมัคร Google AdSense จนผ่านการอนุมัติแล้ว คุณก็สามารถเข้าไปสร้างโค้ด โฆษณาแล้วน�ำมาติดลงในบล็อกได้เลย แต่ก่อนเราจะไปลองสร้างโค้ดโฆษณา ผมอยาก อธิบายให้คุณฟังในเบื้องต้นหน่อยว่า โฆษณาของ Google AdSense มีกี่ประเภท อะไร บ้าง เพราะถ้าไม่พูดเรื่องนี้ คุณอาจเกิดอาการงงๆ เมื่อเข้าไปสร้างโค้ดโฆษณาด้วยตัวเอง ประเภทโฆษณาของ Google AdSense ที่เราสามารถน�ำมาติดลงในบล็อก WordPress เพื่อหารายได้มีดังนี้ครับ AdSense for Content หรือ AFC (ดูภาพ 15-5) คือโฆษณาที่จะแสดงผล สอดคล้องกับเนือ้ หาในบล็อก โดยทางทีมงาน Google AdSense จะเป็นคนวิเคราะห์บล็อก ของเราว่ามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร แล้วน�ำโฆษณาที่สอดคล้องกันมาแสดงให้โดย อัตโนมัติ โฆษณาของ Google AdSense ส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันตามบล็อกหรือเว็บไซต์ ต่างๆ คือโฆษณาประเภทนี้นี่เอง 280



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



โฆษณาประเภท AdSense for Content ทีเ่ ราสร้างขึน้ มาแต่ละโฆษณาจะเรียกว่า Ad unit (หน่วยโฆษณา) ซึ่งเราสามารถเลือก Ad unit ได้หลายขนาด แล้วแต่ว่าจะน�ำมาติดใน ต�ำแหน่งไหนของบล็อก แล้วเราก็ยังสามารถปรับแต่งการแสดงผลของโฆษณา AdSense for Content ได้อีกหลายอย่าง เช่น สีของไตเติล, สีของข้อความ, สีของลิงก์, สีของเส้น ขอบ, ลักษณะของมุม ฯลฯ อีกทั้งเรายังเลือกชนิดของโฆษณาได้ด้วยว่า ต้องการโฆษณา แบบ Text ads only คือแสดงผลเป็นโฆษณาในลักษณะข้อความเท่านั้น, Text & image/ rich media ads คือแสดงผลเป็นโฆษณาในลักษณะข้อความร่วมกับโฆษณาในลักษณะภาพ และ Rich Media หรือ Image/rich media ads only คือแสดงผลเป็นโฆษณาในลักษณะภาพ และ Rich Media เท่านั้น (Rich Media เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของโฆษณาที่มีลูกเล่นมากกว่า ไฟล์ภาพปกติ อาทิ ไฟล์ Flash, คลิปวิดีโอ, แผนที่, ภาพสามมิติ, ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ, โฆษณาที่โต้ตอบกับผู้ชมได้ ฯลฯ)



ภาพ 15-5 ตัวอย่างของ AdSense for Content



AdSense for Search หรือ AFS (ดูภาพ 15-6) คือระบบ Google AdSense ที่แสดงผลเป็นช่องค้นหาที่เรียกว่า Custom Search Engine เมื่อเราน�ำช่องค้นหาของ Google AdSense นี้ไปติดในบล็อกแล้วมีคนค้นหาผ่านช่องนี้ คนคลิกจะถูกพาไปยังหน้า ผลการค้นหาของ Google เหมือนทีเ่ ราคุน้ เคยกัน (หน้าผลการค้นหานีจ้ ะอยูบ่ นบล็อกของ เราหรือจะอยู่บนระบบของ Google ก็แล้วแต่การตั้งค่าของเรา) และถ้ามีคนคลิกโฆษณา ในหน้าผลการค้นหานี้ เราก็จะได้ค่าตอบแทนจาก Google AdSense 281



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เท่ากับว่า AdSense for Search มีความซับซ้อนกว่า AdSense for Content ซึ่งแค่ มีคนคลิกปุ๊บเราก็ได้เงินทันที แต่ AdSense for Search ต้องรอให้มีคนค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด ต่างๆ แล้วเข้าไปคลิกลิงก์โฆษณาในหน้าผลการค้นหาอีกที เราจึงจะได้เงิน แต่อย่างไร ก็ตามโฆษณาแบบ AdSense for Search ก็มขี อ้ ดีตรงทีว่ า่ คนทีค่ ลิกไม่รสู้ กึ ว่ามันเป็นระบบ โฆษณา แต่เหมือนเป็นเครื่องมืออ�ำนวยความสะดวกในการค้นหามากกว่า



ภาพ 15-6 ตัวอย่างของ AdSense for Search



วิธีสร้างโค้ดโฆษณาของ Google AdSense โฆษณาทั้ง 2 ประเภทของ Google AdSense คือ AdSense for Content กับ AdSense for Search นั้น คนส่วนใหญ่มักนิยมใช้ AdSense for Content มากกว่า เนื่องจาก มีโอกาสท�ำเงินได้ง่ายกว่า (แต่เราก็สามารถติด AdSense for Search ร่วมกับ AdSense for Content ได้) เพราะฉะนั้นตัวอย่างในที่นี้ ผมจะสาธิตวิธีการสร้างโค้ดโฆษณาประเภท AdSense for Content นะครับ ส่วนถ้าใครอยากจะลองใช้ AdSense for Search คุณคงต้อง ลองไปสร้างกันดูเอาเอง หรือถ้าสร้างเองไม่เป็นจริงๆ ก็ลองเสิรช์ หาวิธกี ารในอินเทอร์เน็ต ดูครับ รับรองว่าหาไม่ยากหรอก เอาละ เราไปดูวิธีการสร้างโฆษณาในรูปแบบ AdSense for Content กันเลย 1 คลิกเข้าไปที่.... https://www.google.com/adsense 282



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



แล้วกรอกอีเมลแอดเดรสและพาสเวิร์ด ตามด้วยคลิกปุ่ม Sign in เพื่อไซน์อินเข้าสู่ ระบบ Google AdSense ดูภาพ 15-7



1



ภาพ 15-7 ไซน์อินเข้าสู่ระบบ Google AdSense



2 เมื่อเข้าสู่ระบบของ Google AdSense แล้ว ให้คลิกแท็บ My ads เพื่อเข้าไป



จัดการโฆษณาของเรา ดูภาพ 15-8



283



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2



ภาพ 15-8 คลิกแท็บ My ads



3 คลิกปุ่ม + New ad unit เพื่อสร้าง Ad unit ใหม่ขึ้นมาดังภาพ 15-9



3



284



ภาพ 15-9 คลิกปุ่ม + New ad unit



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



4 ตั้งค่าออปชันให้ Ad unit ใหม่ดังต่อไปนี้ (ดูภาพ 15-10)



•  Name ตั้งชื่อให้ Ad unit •  Ad size เลือกขนาดของ Ad unit •  Ad type เลือกชนิดของ Ad unit •  Backup ads ตั้งค่าว่าจะให้พื้นที่ที่ใช้แสดงผล Google AdSense มีลักษณะ



อย่างไรในกรณีไม่มีโฆษณามาแสดง เช่น ปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่าง หรือน�ำโฆษณาจากที่อื่น มาแสดงแทน •  Custom channels ก�ำหนด Custom channel ให้ Ad unit ใหม่นี้ ซึ่ง Custom channel จะช่วยจัดกลุ่ม Ad unit ที่เราสร้างขึ้น เช่น น�ำ Ad unit ที่มีขนาดเดียวกันหรือวาง ในต�ำแหน่งเดียวกันมาไว้ใน Custom channel เดียวกัน เราจะได้ตรวจสอบและติดตามผล ประสิทธิภาพของ Ad unit แต่ละกลุม่ ได้งา่ ยขึน้ ในเบือ้ งต้นเราไม่จำ� เป็นต้องตัง้ ค่า Custom channel ก็ได้ครับ •  Ad style (AdWords ads only) เลือกสไตล์หรือการแสดงผลของโฆษณาว่า จะให้มีสีสันหรือลักษณะอย่างไร โดย Google AdSense เตรียมสไตล์ไว้ให้เราเลือก เบื้องต้นส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราต้องการก�ำหนดสไตล์ทุกอย่างเอง ก็ต้องคลิกที่ปุ่ม Use custom settings ครับ 5 คลิกปุ่ม Save and get code >> เพื่อบันทึก Ad unit ใหม่นี้พร้อมกับแสดง โค้ดที่เราจะน�ำไปใช้



285



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



4



5 ภาพ 15-10 ตั้งค่าออปชันให้ Ad unit



6 หน้าต่างย่อยส�ำหรับแสดงโค้ดโฆษณาจะเปิดซ้อนขึ้นมา ให้คุณคลิกลงในช่อง



Ad code ซึ่งจะท�ำให้โค้ดทั้งหมดถูกไฮไลต์โดยอัตโนมัติ จากนั้นเราก็สั่งก๊อบปี้โค้ดโฆษณา นี้ ดูภาพ 15-11 โค้ดโฆษณาที่ได้มา เดี๋ยวเราจะน�ำไปติดลงในบล็อก WordPress ของเรา กันครับ



286



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



6



ภาพ 15-11 สั่งก๊อบปี้โค้ดโฆษณา



ติดโฆษณา Google AdSense ลงใน Blog เราได้โค้ดโฆษณาของ Google AdSense กันมาแล้ว ขั้นต่อไปเราก็ต้องเอาโค้ด โฆษณานัน้ มาติดลงในบล็อก เพือ่ ให้โฆษณาของ Google AdSense แสดงผลในบล็อกของ เรา เทคนิคการติดโฆษณา Google AdSense ลงในบล็อก WordPress จริงๆ แล้วท�ำได้ หลายวิธี แต่ผมขอแนะน�ำแค่ 2 วิธีหลักๆ ที่คนส่วนใหญ่มักท�ำกัน แล้วก็เป็นวิธีที่ไม่ซับ ซ้อนเกินไปส�ำหรับมือใหม่ วิธีแรกคือการใช้วิดเจ็ตมาช่วย ผลที่ได้คือโฆษณาของ Google AdSense จะแสดงในไซด์บาร์ของบล็อก กับอีกวิธีคือติดโฆษณา Google AdSense ลงไป เป็นส่วนหนึ่งของบทความครับ ติดโฆษณา Google AdSense ด้วย Widget เทคนิคการติดโฆษณา Google AdSense ลงในบล็อกเทคนิคแรก คือการติดโฆษณา ลงในไซด์บาร์ของบล็อกโดยอาศัยวิดเจ็ตเป็นเครื่องมือ ข้อดีของการติดโฆษณาด้วยวิธีนี้ก็ คือ โฆษณาของ Google AdSense จะแสดงผลในทุกๆ หน้าของบล็อก แบบนี้เราสั่งติด 287



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



โฆษณาแค่ครัง้ เดียว คนอ่านบล็อกก็จะเห็นโฆษณาทุกครัง้ ไม่วา่ จะคลิกเข้าไปอ่านบทความ ไหนหรือคลิกเข้าไปดูเพจไหนก็ตามครับ วิธีติดโฆษณาโดยใช้วิดเจ็ตท�ำได้ดังนี้ 1 ทีห่ น้า Dashboard ของ WordPress เราต้องคลิกเมนู Appearance > Widgets เพื่อเปิดเข้าสู่หน้า Widgets จากนั้นให้ลากวิดเจ็ตที่ชื่อ Text จากเฟรม Available Widgets ด้านซ้ายมือ ไปไว้ในเฟรม Sidebar ด้านขวามือดังภาพ 15-12



1



ภาพ 15-12 ลากวิดเจ็ต Text ไปไว้ในเฟรม Sidebar



288



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



15-13



บทที่ 15



2 ตั้งชื่อให้วิดเจ็ตใหม่ในช่อง Title: เช่น ตั้งชื่อว่า “ผู้สนับสนุน” เป็นต้น ดูภาพ 3 วางโค้ดโฆษณาของ Google AdSense ลงในช่องว่างด้านล่าง 4 คลิกปุ่ม Save



2 3



4



ภาพ 15-13 ติดโฆษณา Google AdSense ด้วยวิดเจ็ต



ขัน้ ตอนมีแค่นเี้ องครับ ถ้าคุณไม่ได้ทำ� อะไรผิดพลาด เมือ่ ออกไปดูบล็อกของตัวเอง อีกครั้ง คุณจะเห็นโฆษณาของ Google AdSense ปรากฏขึ้นมาในไซด์บาร์ แต่โฆษณาจะ ปรากฏในลักษณะไหน มีรปู ทรงเป็นยังไง ขนาดใหญ่หรือเล็ก มันก็อยูท่ กี่ ารตัง้ ค่าออปชันให้ โฆษณาตอนทีค่ ณ ุ เข้าไปสร้างโค้ดโฆษณาในระบบ Google AdSense ครับ ส�ำหรับตัวอย่าง โฆษณา Google AdSense ที่ปรากฏในไซด์บาร์ของบล็อก WordPress คุณดูได้จากภาพ 289



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ประกอบ 15-14 นะครับ (ถ้ายังไม่เห็นโฆษณาปรากฏขึน้ มาทันทีกไ็ ม่ตอ้ งตกใจ เราอาจต้อง รอสักระยะเพื่อให้ทาง Google AdSense เลือกดึงโฆษณาที่เหมาะสมมาแสดงในบล็อก)



ภาพ 15-14 ตัวอย่างโฆษณา Google AdSense ในไซด์บาร์



ติดโฆษณา Google AdSense ลงในบทความ อีกวิธียอดฮิตส�ำหรับการน�ำโฆษณาจาก Google AdSense มาติดในบล็อก คือการ ติดโฆษณาลงไปเป็นส่วนหนึ่งของบทความเลย เทคนิคการติดโฆษณา Google AdSense ลงไปในบทความนีม้ ขี อ้ ดีกค็ อื โฆษณาจะดูกลมกลืนเป็นส่วนหนึง่ ของบทความ (ไม่เหมือน โฆษณาในไซด์บาร์ทดี่ ยู งั ไงก็รวู้ า่ มันเป็นโฆษณา) ยิง่ ถ้าเราเลือกชนิดโฆษณาแบบ Text ads only เราก็จะได้โฆษณาทีเ่ ป็นข้อความธรรมดาซึง่ ยิง่ ดูกลมกลืนกับบทความ โอกาสจะมีคน คลิกโฆษณาก็ยิ่งจะเพิ่มสูงขึ้น 290



บทที่ 15



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



แต่การติดโฆษณาลงในบทความก็มีข้อเสียตรงที่ว่า เราต้องเสียเวลาแทรกโค้ด โฆษณาลงในบทความทีละบท ผิดกับการติดโฆษณาผ่านวิดเจ็ต ซึ่งติดทีเดียวจบ อยากรู้ว่าการติดโค้ดโฆษณาของ Google AdSense ลงในบทความต้องท�ำแบบ ไหน ไปดูกันเลยครับ 1 ก่อนอื่นให้คุณเปิดบทความที่ต้องการติดโฆษณาขึ้นมาแก้ไข (หรือจะเขียน บทความใหม่ก็แล้วแต่) จากนั้นก็คลิกแท็บ HTML เพื่อให้ WordPress แสดงบทความของ เราในมุมมอง HTML ดูภาพ 15-15 2 เลือ่ นเคอร์เซอร์ไปยังต�ำแหน่งทีต่ อ้ งการแทรกโฆษณา แล้วก็สงั่ วางโค้ดโฆษณา ลงไปครับ 3 คลิกปุ่ม Update เป็นล�ำดับสุดท้าย 1 3



2



ภาพ 15-15 ติดโฆษณา Google AdSense ลงในบทความ



291



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



แค่นี้บทความเดิมของคุณที่เคยมีแค่ข้อความธรรมดา หรืออย่างมากก็มีภาพ ประกอบนิดหน่อย จะกลายเป็นบทความที่สร้างรายได้ให้คุณได้แล้ว เพราะในบทความ จะมีโฆษณาของ Google AdSense แทรกอยู่ (ดูภาพ 15-16) เมื่อผู้ชมบล็อกของคุณคลิก ทีโ่ ฆษณานี้ คุณก็จะได้รบั ค่าตอบแทนจาก Google AdSense เข้ากระเป๋าสบายไปเลยครับ



ภาพ 15-16 ตัวอย่างโฆษณา Google AdSense ในบทความ



Google AdSense จ่ายค่าตอบแทนเรายังไง คุณผูอ้ า่ นทีค่ ดิ จะหารายได้เข้าบล็อก WordPress ด้วยการเข้าร่วมโปรแกรม Google AdSense น่าจะมีคำ� ถามอยูใ่ นใจค�ำถามเดียวกัน ค�ำถามทีว่ า่ คือ Google AdSense จะจ่าย ค่าตอบแทนให้เรายังไง มากน้อยแค่ไหน ประเด็นนีค้ งต้องอธิบายก่อนว่า Google AdSense มีรูปแบบการคิดค่าตอบแทนให้เราอยู่ 2 รูปแบบใหญ่ๆ ครับ นั่นคือ... Cost Per Click (CPC) หมายถึง การจ่ายค่าตอบแทนเมือ่ มีคนคลิกโฆษณา 292



ใช้ WordPress หารายได้กับ Google AdSense



บทที่ 15



ที่ติดไว้ในบล็อก หรือพูดอีกอย่างก็คือ ทุกครั้งที่มีคนคลิกโฆษณา เราก็จะได้เงิน แต่อัตรา การจ่ายค่าตอบแทนแบบ CPC ของโฆษณาแต่ละชิน้ จะไม่เท่ากันนะครับ ตัวอย่างเช่น ถ้า อัตรา CPC เท่ากับ 0.01 ดอลลาร์ เราก็จะได้คา่ ตอบแทน 1 ดอลลาร์เมือ่ มีคนคลิกโฆษณา 100 ครั้ง แต่ถ้าอัตรา CPC เท่ากับ 1 ดอลลาร์ เราก็จะได้ค่าตอบแทนสูงถึง 100 ดอลลาร์ ในจ�ำนวนการคลิกที่เท่ากัน โฆษณาส่วนใหญ่ของ Google AdSense ที่แสดงอยู่ในบล็อก ของเรามักจะเป็นแบบ CPC นี่เองครับ Cost Per 1000 Impressions (CPM) หมายถึง การจ่ายค่าตอบแทนเมื่อ โฆษณาแสดงผลทุกๆ 1,000 ครัง้ การคิดค่าโฆษณาในรูปแบบนีจ้ ะไม่สนใจจ�ำนวนการคลิก โฆษณาครับ แต่จะดูที่จ�ำนวนครั้งของการแสดงผล หรือจ�ำนวนครั้งที่มีคนเห็นโฆษณานั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าอัตรา CPM เท่ากับ 1 ดอลลาร์ แล้วโฆษณานั้นๆ แสดงผลทั้งสิ้น 5,000 ครั้ง เราก็จะได้ค่าตอบแทน 5 ดอลลาร์ แบบนี้เป็นต้น โฆษณาของ Google AdSense ทีม่ าปรากฏในบล็อกของเราจะมีทงั้ แบบ CPC และ CPM ปะปนกันไปตามแต่การจัดสรรของทาง Google AdSense เราแยกไม่ออกหรอก ว่าอันไหนเป็น CPC หรือ CPM เพราะหน้าตาโฆษณามันก็เหมือนๆ กัน แต่ Google AdSense ก็รับรองว่า ด้วยระบบการประมูลคีย์เวิร์ดโฆษณาที่ Google AdSense ใช้อยู่ จะช่วยให้โฆษณาที่มาแสดงผลในบล็อกของเราเป็นโฆษณาที่มีราคา และก่อให้เกิดราย ได้กับเรามากที่สุดอยู่แล้ว คราวนี้มาดูหลักเกณฑ์การคิดส่วนแบ่งของ Google AdSense กันบ้าง เรารู้กันอยู่ แล้วว่าเงินที่เราได้รับจากการน�ำโฆษณา Google AdSense มาติดเผยแพร่ในบล็อกนั้น ก็ คือเงินที่ผู้ลงโฆษณานั้นๆ จ่ายให้กับ Google ผ่านทางโปรแกรม Google AdWords โดย Google จะหักเปอร์เซ็นต์สว่ นหนึง่ ไป และอีกส่วนหนึง่ ก็จา่ ยให้เรา ส�ำหรับโฆษณาประเภท AdSense for Content นั้น เจ้าของบล็อกอย่างเราจะได้รับส่วนแบ่งอยู่ที่ 68% ของเงินที่ 293



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ผู้ลงโฆษณาจ่ายให้ Google แต่ถ้าเป็นโฆษณาประเภท AdSense for Search เราจะได้รับ ส่วนแบ่ง 51% ครับ เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งที่ Google จ่ายให้เรานี้จะคงที่ตายตัว ไม่ว่าเราจะ เป็นใคร อยู่ประเทศไหน หรือบล็อกของเราจะเป็นภาษาอะไรก็ตาม หลังจากที่เราติดโฆษณา Google AdSense ลงในบล็อก และเริ่มมีรายได้จากการ ที่มีคนคลิกโฆษณา หรือจากการแสดงผลของโฆษณาแล้ว เราจะยังไม่สามารถรับเงินได้ ทันทีนะครับ ยอดขั้นต�ำ่ ที่เราต้องสะสมให้ถึงคือ 100 ดอลลาร์ ทาง Google จึงจะจ่ายเงิน ให้เรา โดยในระหว่างนั้นเมื่อเราท�ำยอดได้ถึง 10 ดอลลาร์ บริษัท Google จะส่งรหัส PIN มาให้ทางไปรษณีย์ เราต้องน�ำ PIN ที่ได้รับไปซับมิตในระบบ Google AdSense ด้วยเพื่อ ยืนยันตัวตน หลังจากนัน้ พอท�ำยอดได้ 100 ดอลลาร์แล้ว เราถึงจะมีสทิ ธิเ์ ข้าไปตัง้ ค่าเกีย่ ว กับการรับเงิน และรอรับเงินค่าตอบแทนเข้ากระเป๋าครับ



294



บทที ่ 16 ใช้ WordPress



หารายได้กับ Amazon มาถึงช่องทางการหารายได้ด้วยบล็อก WordPress อีกช่องทางหนึ่ง คือการหารายได้กับเว็บไซต์ Amazon ครับ การหารายได้กับ Amazon นี้ต้องบอก ว่าเป็นวิธีหารายได้ยอดฮิตอันดับต้นๆ เลยทีเดียว นักหารายได้ออนไลน์ทั้งในบ้านเราและต่าง ประเทศจ�ำนวนมากได้เงินเข้ากระเป๋าก็จากการสมัครเข้าร่วมหารายได้กับ Amazon นี่เอง แต่ถ้าคุณ คิดจะหารายได้กับ Amazon ดูบ้าง ข้อแม้อย่างหนึ่งคือบล็อกของคุณควรน�ำเสนอบทความเป็นภาษา อังกฤษ เพราะถ้าบล็อกของคุณเป็นภาษาไทย คนอ่านบล็อกก็จะมีแต่คนไทย และคนไทยเราน่ะมีโอกาส จะซื้อสินค้าจาก Amazon ค่อนข้างน้อย โอกาสที่เราจะท�ำเงินกับ Amazon ได้จึงมีน้อยยิ่งกว่าน้อย ฉะนั้นแล้วถ้าคิดจะท�ำเงินเป็นกอบเป็นก�ำกับ Amazon คุณควรท�ำบล็อกเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ เทคนิคการหาเงินกับ Amazon จะยากหรือง่ายขนาดไหน มีโอกาสได้คา่ ตอบแทนสูงหรือต�ำ่ ยัง ไง เราไปศึกษารายละเอียดในบทนี้กันเลย



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ทำ�ความรู้จัก Affiliate Program ของ Amazon Amazon (www.amazon.com) ถือเป็นเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ยักษ์ใหญ่อันดับ หนึ่งของโลก แม้ระยะแรก Amazon จะเติบโตมาจากการขายหนังสือออนไลน์ แต่ปัจจุบัน ธุรกิจของ Amazon ขยายตัวไปกว่าเดิมหลายเท่า ตอนนี้เราเข้าไปซื้อสินค้าจาก Amazon ได้สารพัดชนิด ไม่วา่ จะเป็นหนังสือ (ซึง่ เป็นสินค้าหลักแต่ดงั้ แต่เดิม), E-book, เพลง, หนัง, เกม, คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, กล้องถ่ายรูป, ซอฟต์แวร์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ของใช้ในบ้าน, ของเล่นเด็ก, เสื้อผ้า, อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ แล้วก็อีกมากมายก่ายกองชนิดสาธยาย 7 วันไม่หมด Amazon มีกลยุทธ์ในการโปรโมตสินค้าหลายรูปแบบ และกลยุทธ์เด็ดอย่างหนึ่งที่ Amazon ใช้มานานคือการเปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกเจ้าของเว็บทั่วไปสามารถสมัครเข้า ร่วม Affiliate Program ของ Amazon ซึ่งแปลง่ายๆ ก็คือการเป็นผู้ร่วมโปรโมตสินค้าให้ Amazon ไงล่ะ เมื่อสมัครแล้วเราก็นำ� โฆษณาของ Amazon มาติดในบล็อก คราวนี้หากมี คนคลิกที่โฆษณานี้แล้วเข้าไปซื้อสินค้าใน Amazon ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่เราน�ำมาโฆษณา หรือสินค้าชิ้นอื่นๆ ก็ตาม เราก็จะได้ค่าคอมมิสชัน (Commission) หรือค่านายหน้าจาก Amazon โดยคนที่สมัครเข้าร่วม Affiliate Program ของ Amazon นี้ จะมีชื่อเรียกอย่าง เป็นทางการว่า Amazon Associates ครับ กลยุทธ์การตลาดแบบนีถ้ อื ว่า Win-Win ด้วยกันทัง้ 3 ฝ่าย ฝ่าย Amazon ขายสินค้า ได้มากขึ้น ฝ่ายลูกค้าก็ได้ซื้อสินค้าถูกใจ ส่วนเราเองซึ่งเป็น Amazon Associates ก็ได้ค่า คอมมิสชันเข้ากระเป๋าสบายไป การสมัครเข้าร่วม Affiliate Program ของ Amazon ท�ำได้ง่ายมากๆ ครับ ใครก็ ท�ำได้ทั้งนั้น ขอแค่มีบล็อกหรือเว็บเป็นของตัวเองก็พอ เมื่อสมัครปุ๊บเราก็เริ่มน�ำโฆษณา ของ Amazon มาติดในบล็อกได้ปั๊บ ไม่ต้องรอการอนุมัติเหมือน Google AdSense ข้อ 296



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



แตกต่างส�ำคัญของโฆษณาของ Amazon กับโฆษณาของ Google AdSense ก็คือ หาก เป็นโฆษณาของ Google AdSense เราจะได้เงินเมื่อมีคนคลิกโฆษณา แต่โฆษณาของ Amazon น่ะ เราจะได้เงินก็ต่อเมื่อมีคนคลิกโฆษณาแล้วเข้าไปซื้อสินค้าใน Amazon ด้วย ถ้าคลิกเฉยๆ เราไม่ได้ตังค์นะครับ อย่างไรก็ตามถ้าเรามีประสบการณ์ในการหาเงินกับ Amazon ในระดับหนึง่ จนเรียน รู้เทคนิคต่างๆ เราก็มีโอกาสท�ำเงินได้ไม่ยากนัก ตัวอย่างเช่น การเลือกสินค้าที่ขายง่าย และได้ค่าคอมมิสชันสูงมาโฆษณา ต่อให้หลายๆ วันจะขายสินค้าได้สักชิ้น แต่ก็อาจได้ค่า ตอบแทนเป็นเงินก้อนใหญ่ ผิดกับ Google AdSense ซึ่งมักต้องใช้เวลานานกว่าจะท�ำเงิน ได้เป็นเรื่องเป็นราว เพราะอัตราค่าคลิกโฆษณามักค่อนข้างถูกครับ



สมัครเข้าร่วมเป็น Amazon Associates คุณผูอ้ า่ นคงไม่มที างท�ำความเข้าใจรูปแบบการหารายได้กบั Amazon อย่างชัดเจน ถ้าหากไม่ไปลองท�ำด้วยตัวเอง หัวข้อนี้เราจะไปสมัครเข้ารวมเป็น Amazon Associates กันเลยครับ เดี๋ยวสมัครแล้วเราจะได้เข้าไปสร้างโค้ดโฆษณาแล้วน�ำโค้ดนั้นมาติดในบล็อก WordPress กัน ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมเป็น Affiliate Program ท�ำได้ง่ายๆ ดังนี้ครับ 1 คลิกเข้าไปที่... https://affiliate-program.amazon.com แล้วคลิกปุ่ม Join Now for Free ดูภาพ 16-1



297



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



1



ภาพ 16-1 คลิกปุ่ม Join Now for Free



2 คลิกเลือกรายการ I am new customer. ดูภาพ 16-2 3 คลิกปุ่ม Sign in using our secure server 4 ก�ำหนดยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดของเราดังนี้ (ดูภาพ 16-3)



•  My name is: ก�ำหนดยูสเซอร์เนม •  My e-mail address is: กรอกอีเมลแอดเดรส •  Type it again: ยืนยันอีเมลแอดเดรสเดิม •  Enter a new password: ก�ำหนดพาสเวิร์ด •  Type it again: ยืนยันพาสเวิร์ดเดิม 5 คลิกปุ่ม Create account



298



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



2 3



ภาพ 16-2 เลือกรายการ I am new customer. แล้วคลิกปุ่ม Sign in using our secure server



4



5



ภาพ 16-3 ก�ำหนดยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ด



299



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



6 กรอกชื่อ-ที่อยู่ของเราลงไปโดยละเอียดดังนี้ (ดูภาพ 16-4)



•  Payee Name กรอกชื่อ-นามสกุล •  Address Line 1 กรอกบ้านเลขที่, หมู่ •  Address Line 2 กรอกถนน, ซอย •  Address Line 3 กรอกแขวง/ต�ำบล •  City กรอกเขต/อ�ำเภอ •  State, Province or Region กรอกจังหวัด (เราต้องข้ามไปเลือกประเทศในช่อง



Country ก่อน จึงจะกรอกชื่อจังหวัดลงไปได้) •  ZIP or Postal Code กรอกรหัสไปรษณีย์ •  Country เลือกประเทศ •  Phone Number กรอกเบอร์โทรศัพท์ •  Who is the main contact for this account? ระบุว่าจะให้ทาง Amazon ติดต่อ ใครส�ำหรับแอ็กเคาต์นี้ เราไม่ตอ้ งปรับเปลีย่ นอะไร เพราะออปชัน The payee listed above ซึ่งหมายถึงให้ติดต่อกับเราตามชื่อ-ที่อยู่ข้างต้น จะถูกเลือกโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว 7 คลิกปุ่ม Next: Your Website Profile



300



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



6



7



ภาพ 16-4 กรอกชื่อ-ที่อยู่



301



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



8 กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับบล็อกลงไป รวมถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ



ดังนี้ (ดูภาพ 16-5) Website Subject & Content กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับบล็อก ราย ละเอียดที่ต้องกรอกได้แก่... •  What is the name of your website? กรอกชื่อบล็อก •  What is the URL of the website(s) you will use to send traffic to Amazon? กรอก URL ของบล็อก •  What is your website(s) about? กรอกข้อมูลว่าบล็อกของเราเกี่ยวกับอะไร •  Which of the following topics best describes the topic of your website(s)? เลือกว่าบล็อกของเราน�ำเสนอในประเด็นไหนเป็นหลัก •  What type of Amazon items do you intend to list on your website(s)? เลือก ว่าเราสนใจจะน�ำสินค้าประเภทไหนจาก Amazon มาโฆษณา •  What type of site is your website(s)? เลือกประเภทของบล็อก Website Traffic & Monetization กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับการโปรโมต และการหารายได้จากบล็อก รายละเอียดที่เราต้องกรอกได้แก่... •  How do you drive traffic to your website(s)? เลือกวิธีการที่ใช้โปรโมตบล็อก •  How else do you monetize your website(s)? เลือกวิธีการที่ใช้หารายได้จาก บล็อก •  How do you usually build links? เลือกวิธีปกติที่เราใช้สร้างลิงก์ในบล็อก •  How many unique visitors does your website(s) get per month? ระบุว่ามี คนเข้าบล็อกของเราต่อเดือนเป็นจ�ำนวนเท่าไหร่ (ถ้าไม่รู้ตัวเลขก็กะคร่าวๆ เอาได้ครับ) •  What is your primary reason for joining the Amazon Associates Program? ระบุเหตุผลหลักที่ต้องการสมัครเข้าร่วมเป็น Amazon Associates 302



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



•  How did you hear about us? ระบุว่าเรารู้จัก Amazon Associates Program



จากช่องทางไหน •  Contract Terms ยอมรับข้อตกลง โดยการคลิกใส่เครื่องหมาย หน้า ข้อความ You agree to the terms and conditions of the Associates Program Operating Agreement 9 คลิกปุ่ม Finish



8



303



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



9



ภาพ 16-5 กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับบล็อก



10 เราสมัครเข้าร่วม Amazon Associates Program เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยัง



เหลือสิ่งที่ต้องท�ำอีกเล็กน้อยคือการเข้าไปตั้งค่าว่า จะรับค่าตอบแทนจาก Amazon ด้วย วิธีใด (ที่จริงจะเข้าไปตั้งค่าทีหลังก็ได้) การตั้งค่าเกี่ยวกับช่องทางการรับค่าตอบแทนท�ำได้ ด้วยการคลิกปุ่ม Specify Payment Method Now ครับ ดูภาพ 16-6



304



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



10



ภาพ 16-6 คลิกปุ่ม Specify Payment Method Now



11 เลือกช่องทางการรับเงินของเรา ซึ่งมีให้เลือก 3 ช่องทางคือ... (ดูภาพ 16-7)



•  Pay me by Amazon.com gift certificate/card รับค่าตอบแทนเป็นบัตรก�ำนัลของ



Amazon (ต้องมียอดขั้นต�ำ่ 10 ดอลลาร์จึงจะจ่ายให้) •  Pay me by direct deposit รับค่าตอบแทนโดยโอนเข้าบัญชีธนาคารโดยตรง (ต้อง มียอดขั้นต�่ำ 10 ดอลลาร์เช่นกัน) คนไทยส่วนใหญ่ที่หารายได้กับ Amazon มักรับเงินผ่านช่องทางนี้กันทั้งนั้นครับ หากคุณจะรับเงินผ่านช่องทางนี้ ก็ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงเทพด้วย จะเป็นสาขาไหนก็ได้ แต่ในการกรอกข้อมูลธนาคารลงในระบบของ Amazon เราต้องกรอกข้อมูลของธนาคาร 305



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



กรุงเทพ สาขานิวยอร์กลงไป (รายละเอียดพวกนี้เสิร์ชหาได้ในอินเทอร์เน็ตนะครับ ผมขอ พูดถึงแค่คร่าวๆ) •  Pay me by check รับค่าตอบแทนเป็นเช็ค (ยอดขัน้ ต�่ำทีถ่ กู ก�ำหนดไว้โดยอัตโนมัติ คือ 100 ดอลลาร์ แต่เราปรับเปลี่ยนตัวเลขได้) การรับเงินเป็นเช็คนี้อาจจะต้องรอนานสัก หน่อยนะครับ ไม่เหมือนการโอนเข้าบัญชีซึ่งรวดเร็วกว่า 12 คลิกปุ่ม Continue เป็นขั้นตอนสุดท้ายได้เลยครับ



11



12



ภาพ 16-7 เลือกช่องทางการรับเงิน



306



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



รูปแบบโฆษณาของ Amazon โฆษณาของ Amazon มีความคล้ายคลึงกับโฆษณาของ Google AdSense อยูอ่ ย่าง หนึ่งครับ กล่าวคือจะมีโฆษณาให้เลือกใช้หลายรูปแบบด้วยกัน เราจึงเลือกได้ว่าต้องการ โฆษณาทีม่ กี ารแสดงผลลักษณะไหน หรือมีความสามารถท�ำนองไหน โฆษณาของ Amazon บางรูปแบบก็ดูแทบไม่เหมือนโฆษณา แต่เหมือนเป็นเครื่องมืออ�ำนวยความสะดวกบาง อย่างมากกว่า ซึ่งนี่อาจถือเป็นจุดขายของระบบ Amazon เลยก็ว่าได้ ไปดูกนั เลยครับว่า โฆษณาของ Amazon ทีเ่ ราสามารถน�ำมาติดในบล็อก WordPress ได้นั้น มีรูปแบบไหนกันบ้าง Links & Banners โฆษณารูปแบบนีเ้ ป็นรูปแบบมาตรฐานของ Amazon โดย จะอยู่ในรูปลิงก์หรือไม่ก็ป้ายแบนเนอร์ โฆษณาในรูปแบบ Links & Banners ยังแบ่งได้ เป็นอีก 2 รูปแบบย่อย ได้แก่... •  Product Links เป็นโฆษณาที่อยู่ในรูปลิงก์ เมื่อมีคนคลิกก็จะเชื่อมโยงไปยัง เว็บเพจแสดงรายละเอียดสินค้านั้นๆ ใน Amazon ครับ โฆษณาแบบ Product Links ยัง สามารถแสดงผลต่างกันได้ 3 แบบ คือ แสดงผลเป็นข้อความอย่างเดียว (Text Links), แสดงผลทั้งข้อความและภาพ (Text and Image links) และแสดงผลเป็นภาพอย่างเดียว (Image only) •  Banners เป็นโฆษณาที่อยู่ในรูปแบนเนอร์หรือป้ายโฆษณา มักมีดีไซน์ที่ สวยงาม ดูน่าสนใจกว่า โฆษณาแบบ Banners นี้จะมีอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ๆ ให้เลือก ได้แก่ Promotional Links เป็นแบนเนอร์ส�ำหรับโปรโมตบัตรก�ำนัล รวมถึงน�ำเสนอโปรโมชัน หรือประกาศต่างๆ ของทาง Amazon, Rotating Banner Campaigns by Category เป็นแบนเนอร์ในลักษณะหมุนเวียนสับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ มีให้เลือกแยกตามแคมเปญ ต่างๆ ที่ Amazon จัดขึ้น และสุดท้ายคือ Banner Links by Category เป็นแบนเนอร์ โฆษณาสินค้าในหมวดหมู่ที่เราเลือก 307



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 16-8 ตัวอย่างโฆษณาในรูปแบบ Links & Banners



Widgets โฆษณารูปแบบนี้เป็นรูปแบบพิเศษที่มีลูกเล่นมากกว่า Links & Banners จะมีลักษณะเป็นแอปพลิเคชันขนาดเล็กที่สามารถท�ำงานโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ โฆษณาแบบ Widget แต่ละตัวมีฟังก์ชันการท�ำงานไม่เหมือนกัน แสดงผลไม่เหมือนกัน และ Amazon ก็เตรียมโฆษณาในรูปแบบ Widgets ไว้ให้เราเลือกใช้มากมายดังต่อไปนี้ •  Search เป็นวิดเจ็ตที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าใน Amazon ผ่านบล็อก ของเราได้ และผลการค้นหาจะแสดงให้เห็นผ่านตัว Widget เอง •  Carousel Widget เป็นวิดเจ็ตทีจ่ ะแสดงภาพสินค้าหมุนเวียนสับเปลีย่ นกันไป โดย สินค้าที่น�ำมาแสดงเหล่านี้คือสินค้าขายดีและสินค้าใหม่มาแรงใน Amazon •  My Favorites เป็นวิดเจ็ตที่ช่วยน�ำสินค้าที่เจ้าของบล็อกชื่นชอบมาแสดงไว้ •  Deals Widget เป็นวิดเจ็ตที่แสดงสินค้าลดราคาหรือสินค้าที่จัดโปรโมชัน •  MP3 Clips Widget เป็นวิดเจ็ตที่ใช้เปิดฟังเพลง MP3 ฟรีๆ ได้จากบล็อกของเรา •  Slideshow เป็นวิดเจ็ตที่แสดงภาพสินค้าต่างๆ ในลักษณะสไลด์โชว์ •  Auto Part Finder Widget เป็นวิดเจ็ตที่ช่วยค้นหาอะไหล่รถยนต์ •  Amazon Blogs Widget เป็นวิดเจ็ตที่จะน�ำตัวอย่างบทความจากบล็อกของ Amazon มาแสดง 308



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



•  Product Cloud เป็นวิดเจ็ตทีแ่ สดงชือ่ ของกลุม่ สินค้าซึง่ มีความสัมพันธ์กบั เนือ้ หา



ในบล็อก •  Wish List เป็นวิดเจ็ตที่ช่วยแสดงรายการของสินค้าที่อยู่ใน Wish List (รายการ สินค้าที่เราอยากได้) •  aStore Widget เป็นวิดเจ็ตที่แสดงสินค้าใน aStore ของเรา (aStore คือร้านค้า ย่อยภายใต้ Amazon ที่เราสามารถสร้างขึ้นมาเพื่อขายสินค้าได้) •  Search Box เป็นวิดเจ็ตทีใ่ ช้คน้ หาสินค้าใน Amazon โดยสามารถค้นหาด้วยการ ก�ำหนดหมวดหมู่ของสินค้าและคีย์เวิร์ดที่ต้องการได้ เมื่อสั่งค้นหาแล้ว หน้าผลการค้นหา ของ Amazon จะแสดงขึ้นมา •  Recommended Product Links เป็นวิดเจ็ตที่แสดงสินค้าซึ่ง Amazon เลือกมา ให้โดยอัตโนมัติ โดยจะยึดจากหมวดหมู่สินค้าหรือคีย์เวิร์ดที่เราก�ำหนด •  Omakase เป็นวิดเจ็ตที่แสดงสินค้าซึ่ง Amazon พิจารณาว่าเหมาะสมจะน�ำมา โฆษณาผ่านบล็อกของเรา



ภาพ 16-9 ตัวอย่างโฆษณาในรูปแบบ Widget



309



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ขั้นตอนสร้างโค้ดโฆษณาของ Amazon รู้จักประเภทโฆษณาของ Amazon กันแล้ว คราวนี้เรามาลองสร้างโค้ดโฆษณาเพื่อ จะน�ำไปติดในบล็อกกันเลยดีกว่า วิธีการสร้างโค้ดโฆษณาของ Amazon ท�ำได้ง่ายมากๆ ครับ (ง่ายกว่าตอนสร้างโค้ดโฆษณาของ Google AdSense เยอะ) ขั้นตอนเป็นยังไงเรา ไปลองดูกันเลย 1 คลิกเข้าไปที่... https://affiliate-program.amazon.com แล้วกรอกอีเมลแอดเดรสและพาสเวิร์ดที่เราก�ำหนดไว้ ตามด้วยคลิกปุ่ม Sign In เพื่อไซน์อินเข้าสู่ระบบ ดูภาพ 16-10 1



ภาพ 16-10 ไซน์อินเข้าสู่ระบบ Amazon Associates



310



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



2 ขัน้ ตอนนีเ้ ราต้องเลือกว่าจะสร้างโฆษณาประเภทไหน หากต้องการสร้าง Links



& Banners ก็ให้คลิกแท็บ Links & Banners แต่ถ้าต้องการสร้าง Widget ก็ให้คลิกที่แท็บ Widgets (ดูภาพ 16-11 ประกอบ) ตามตัวอย่างนี้ผมขอเลือกสร้างโฆษณาประเภท Links & Banners ครับ 2



ภาพ 16-11 คลิกแท็บ Links & Banners



3 เลือกว่าจะสร้าง Links & Banners ในรูปแบบ Product Links หรือ Banners



ถ้าเลือก Product Links ก็ให้คลิกค�ำสั่ง Add Product Links now แต่ถ้าเลือก Banners ก็ ต้องคลิกค�ำสั่ง Add Banners Now ตามตัวอย่างนี้ผมขอเลือกเป็น Product Links แล้วกัน ดูภาพ 16-12



311



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3



ภาพ 16-12 คลิกค�ำสั่ง Add Product Links now



4 ในหน้า Product Links ที่แสดงขึ้นมานี้ เราจะเห็นรายการสินค้าที่สามารถ



ก๊อบปี้โค้ดโฆษณาน�ำไปใช้ได้เลย สนใจจะโฆษณาขายสินค้าชิ้นไหน ก็คลิกที่ปุ่ม Get Link ด้านล่างสินค้านั้นครับ ดูภาพ 16-13 ในหน้า Product Links นี้ หากเรายังไม่พอใจสินค้าที่โชว์ขึ้นมาให้เลือก เราสามารถ ค้นหาสินค้าโดยก�ำหนดเงือ่ นไขเพิม่ เติมได้ เช่น ต้องการค้นหาสินค้าในหมวดหมูไ่ หน หรือ ค้นหาสินค้าโดยใช้คีย์เวิร์ดหรือรหัส ASIN/ISBN อะไร หรืออยากจะค้นหาสินค้าขายดีใน หมวดหมู่ไหน เป็นต้น



312



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



4 ภาพ 16-13 คลิกที่ปุ่ม Get Link



5 ถัดมาเราต้องเลือกรูปแบบของโฆษณา ซึง่ มีให้เลือกทั้ง Text and Image, Text



Only, Image Only (ส่วนค�ำสั่ง Add to Widget หมายถึง สั่งให้เพิ่มสินค้านี้เข้าสู่วิดเจ็ต My Favorites) ในตัวอย่างนี้ผมขอเลือกเป็น Text and Image ผมจึงก็ไม่ต้องคลิกอะไร เพราะ รูปแบบ Text and Image ถูกเลือกโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ดูภาพ 16-14 6 ตัง้ ค่าออปชันเกีย่ วกับการแสดงผลของโฆษณาภายใต้เฟรม 1. Customize Link ออปชันที่ตั้งค่าได้ก็คือ... •  Open link in new window ตั้งค่าว่าจะให้เปิดลิงก์โฆษณาในหน้าต่างใหม่ของ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์หรือไม่ •  Show border ตั้งค่าว่าจะให้แสดงขอบของโฆษณาหรือไม่ •  Use larger image ตั้งค่าว่าจะใช้ภาพสินค้าขนาดใหญ่หรือไม่ 313



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



•  Price Options: ก�ำหนดรูปแบบการแสดงราคาสินค้า •  Background Color: ก�ำหนดสีแบ็กกราวด์ของโฆษณา •  Text Color: ก�ำหนดสีของข้อความโฆษณา •  Link Color: ก�ำหนดสีของลิงก์โฆษณา



ขณะที่ตั้งค่าอออปชันต่างๆ เหล่านี้ ให้ลองดูตัวอย่างโฆษณาในเฟรม 2. Live Preview ด้านขวามือไปด้วยนะครับ จะได้เห็นว่าหน้าตาโฆษณาออกมาเป็นยังไง 7 คลิกปุม่ Highlight เพือ่ ไฮไลต์โค้ดโฆษณาทัง้ หมด จากนัน้ ก็สงั่ ก๊อบปีโ้ ค้ดโฆษณา เพื่อจะน�ำไปติดลงบล็อกได้เลยครับ



5 6



7 ภาพ 16-14 ตั้งค่าออปชันให้โฆษณา



314



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



วางโฆษณา Amazon ลงใน Blog ในบทที่ 15 เราได้ลองติดโค้ดโฆษณาของ Google AdSense ลงในบล็อก WordPress กันไปแล้ว ถ้าคุณลืมไปแล้วว่าวิธีการเป็นยังไง ผมคงต้องวานให้คุณลองย้อนกลับไปอ่าน ดูอีกทีนะครับ สาเหตุที่ผมเท้าความถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการติดโค้ดโฆษณาของ Google AdSense ก็เพราะว่า วิธีการติดโค้ดโฆษณาของ Amazon มันก็เหมือนกับการติดโค้ด โฆษณาของ Google AdSense นั่นแหละครับ เทคนิคการติดโฆษณา Amazon ลงในบล็อกมีอยู่ 2 ทางเลือกหลักๆ ทาง เลื อ กแรกคื อ การติ ด โฆษณา Amazon ลงในไซด์ บ าร์ โ ดยผ่ า นทางวิ ด เจ็ ต ของ WordPress ไงล่ะ โฆษณาของ Amazon ที่ เ หมาะจะแสดงผลผ่ า นไซด์ บ าร์ ข อง บล็ อ กคื อ โฆษณาในรูปแบบ Widgets ครับ เนือ่ งจากโฆษณารูปแบบนีม้ ลี กั ษณะ คล้ายๆ วิดเจ็ตพื้นฐานของ WordPress อยูแ่ ล้ว แต่ถา้ ใครจะติดโฆษณา Amazon ในรูปแบบ Links & Banners ลงในไซด์ บาร์ ก็ไม่ใช่ว่าจะท�ำไม่ได้นะครับ



ภาพ 16-15 ตัวอย่างการติดโฆษณารูปแบบ Widgets ในไซด์บาร์



315



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ส่วนทางเลือกทีส่ องของการติดโฆษณา Amazon ลงในบล็อกก็คอื การแทรกโฆษณา ลงไปในบทความโดยตรงเลย การติดโฆษณา Amazon ลงในบทความนี้เหมาะกับโฆษณา ในรูปแบบ Links & Banners ครับ เพราะเราสามารถเจาะจงได้ว่าอยากโฆษณาสินค้า อะไร ถ้าเราเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบางชิ้น แล้วมีโฆษณาสินค้าชิ้นนั้นรวมอยู่ ในบทความด้วย ก็จะเพิ่มโอกาสที่คนอ่านบล็อกจะคลิกโฆษณาแล้วเข้าไปสั่งซื้อสินค้าใน Amazon ตัวอย่างเช่น ผมเขียนบทความแนะน�ำอุปกรณ์อ่าน E-book อย่าง Kindle ของ Amazon เอง แล้วผมก็แทรกโฆษณา Kindle ลงไปในบทความ แบบนี้เป็นต้น



ภาพ 16-16 ตัวอย่างการติดโฆษณารูปแบบ Links & Banners ในบทความ



316



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



อัตราค่า Commission ของ Amazon ปิดท้ายบทนี้มีเรื่องส�ำคัญอีกเรื่องที่ผมยังไม่ได้พูดถึง คนที่คิดจะหารายได้กับ Amazon คงต้องอยากรู้แน่ๆ ว่า อัตราค่าคอมมิสชันของทาง Amazon เป็นยังไง มี เงื่อนไขอะไรบ้าง...จริงมั้ยครับ เรื่องนี้เราต้องไปดูเงื่อนไขการจ่ายค่าคอมมิสชันที่ทาง Amazon อธิบายไว้ รูปแบบการจ่ายค่าคอมมิสชันของทาง Amazon จะมีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า Performance Fee Structure ซึ่งหมายถึงการจ่ายคอมมิสชันแบบขั้นบันได ยิ่งขายของ ได้มากชิ้นอัตราค่าคอมมิสชันยิ่งเพิ่มขึ้น รูปแบบค่าคอมมิสชันแบบนี้ท�ำให้เรามีโอกาส รับคอมมิสชันตั้งแต่ 4 เปอร์เซ็นต์ไปจนถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้าเลยทีเดียว ค่าคอมมิสชันแบบ Performance Fee Structure ของ Amazon ยังแบ่งได้เป็นอีก 2 รูปแบบย่อยครับ นั่นคือ... •  Fixed Advertising Fee Rates หมายถึง การจ่ายค่าคอมมิสชันคงที่ตายตัว ซึ่ง จะใช้กับสินค้าพิเศษบางหมวดหมู่ แปลว่าเมื่อเราขายสินค้าในหมวดหมู่เหล่านี้ได้ ไม่ว่า จะกี่ชิ้นก็ตาม เปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิสชันจะเท่าเดิมเสมอ หมวดหมู่ของสินค้าที่จะคิดค่า คอมมิสชันแบบ Fixed Advertising Fee Rates นี้มีหมวดหมู่ไหนบ้าง และแต่ละหมวด หมู่จะได้ค่าคอมมิสชันเท่าไหร่ ดูได้จากตาราง 16-1 ครับ



317



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง ตาราง 16-1 อัตราค่าคอมมิสชันแบบ Fixed Advertising Fee Rates



หมวดหมู่ของสินค้า



318



อัตราค่าคอมมิสชัน



Electronics Products



4.00%



Amazon MP3 Products



10.00%



Amazon Instant Video



10.00%



Game Downloads Products



10.00%



Endless.com



15.00%



Industrial Products and Amazonsupply.com



8.00%



Myhabit.com



8.00%



Gift Cards Redeemable on the Amazon Site



6.00%



Gift Cards Not Redeemable on the Amazon Site



4.00%



Magazine Products



25.00%



Grocery Products



4.00%



ใช้ WordPress หารายได้กับ Amazon



บทที่ 16



•  Volume-Based Advertising Fee Rates หมายถึง การจ่ายคอมมิสชันแบบเพิ่ม



เปอร์เซ็นต์ขึ้นเรื่อยๆ ตามจ�ำนวนสินค้าที่ขายได้ การคิดค่าคอมมิสชันลักษณะนี้จะใช้กับ สินค้าทั่วๆ ไปครับ อยากรู้ว่าขายสินค้าได้กี่ชิ้นเราจะได้ค่าคอมมิสชันเท่าไหร่ ก็ลองศึกษา ดูได้จากตาราง 16-2 ตาราง 16-2 อัตราค่าคอมมิสชันแบบ Volume-Based Advertising Fee Rates



จ�ำนวนสินค้าที่ขายได้ในเดือนนั้นๆ (ชิ้น)



อัตราค่าคอมมิสชัน



1-6



4.00%



7-30



6.00%



31-110



6.50%



111-320



7.00%



321-630



7.50%



631-1,570



8.00%



1,571-3,130



8.25%



3,131 ขึ้นไป



8.50%



319



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีก 2 ประเภทครับที่ทาง Amazon จะจ�ำกัดค่าคอมมิสชันไว้ ที่ระดับหนึ่งเท่านั้น หมายความว่าต่อให้เราขายสินค้า 2 ประเภทนี้ได้มากแค่ไหน เราก็ จะได้ค่าคอมมิสชันไม่เกินอัตราที่ Amazon ก�ำหนดไว้ สินค้าประเภทแรกที่มีการจ�ำกัด ค่าคอมมิสชันคือคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ทั้งเครื่องตั้งโต๊ะหรือเดสก์ท็อป, แล็ปท็อป, แท็บเล็ต หรือเน็ตบุ๊ก โดยจะจ�ำกัดค่าคอมมิสชันไว้ที่ไม่เกิน 25 ดอลลาร์ต่อ 1 ชิ้น ส่วน สินค้าอีกประเภทก็คือ Amazon Instant Video (พวกหนังหรือรายการทีวีใหม่ๆ) หรือ Amazon MP3 (พวกเพลง MP3 ต่างๆ) ทาง Amazon จะจ่ายคอมมิสชันให้เราสูงสุดไม่ เกิน 1.50 ดอลลาร์ต่อชิ้นครับ



320



บทที ่ 17 ใช้ WordPress



หารายได้กับ Banner



ช่องทางหารายได้ด้วยบล็อก WordPress ช่องทางสุดท้ายที่ผมหยิบ มาแนะน�ำในที่นี้คือ การหารายได้กับแบนเนอร์ (Banner) หรือป้ายโฆษณาครับ นี่ เป็นวิธีหารายได้ยอดฮิตอีกวิธีหนึ่งที่บล็อกและเว็บไซต์จ�ำนวนมากท�ำกัน แต่การที่เราจะหาราย ได้กับแบนเนอร์ ได้ มีข้อแม้ว่าบล็อกของเราต้องได้รับความนิยมมากในระดับหนึ่ง เช่นว่า มีคนคลิกเข้า มาเยีย่ มชมหลายพันคนหรือเป็นหลักหมืน่ ต่อเดือน อย่างนัน้ เราจึงหวังจะหารายได้กบั แบนเนอร์โฆษณา ได้ แต่ถ้ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกแค่หลักสิบหรือหลักร้อยต่อเดือน เราคงหวังให้มีสปอนเซอร์มาซื้อพื้นที่ วางแบนเนอร์ ได้ยากหน่อย เพราะลูกค้าที่ไหนก็ต้องอยากให้แบนเนอร์ของตัวเองมีคนเห็นเยอะๆ ด้วย กันทั้งนั้น ถ้าคุณพัฒนาบล็อก WordPress มานานในระดับหนึ่งจนมีแฟนๆ เข้ามาอ่านบล็อกมากพอ สมควร และคุณก็อยากจะลองหารายได้กับแบนเนอร์โฆษณาดูบ้าง เทคนิคที่ผมหยิบมาแนะน�ำกันใน บทนี้จะช่วยตอบโจทย์ ให้คุณได้แน่นอนครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



แนวคิดการหารายได้กับ Banner หากเทียบกับการหารายได้ด้วยการเข้าร่วมโปรแกรมโฆษณา Google AdSense หรือเข้าร่วม Affiliate Program ของ Amazon แล้ว ต้องบอกว่าการหารายได้กับแบนเนอร์ โฆษณามีโอกาสท�ำเงินได้เป็นเรือ่ งเป็นราวมากกว่าครับ ลองคิดดูวา่ การหาเงินกับ Google AdSense น่ะ เราต้องหวังให้มคี นคลิกโฆษณาเยอะๆ จึงจะท�ำให้ได้คา่ ตอบแทนสูง แต่เรือ่ ง การคลิกโฆษณานีเ้ ป็นเรือ่ งทีเ่ ราควบคุมไม่ได้ บางทีกต็ อ้ งอาศัยดวงอาศัยโชคอยูเ่ หมือนกัน บล็อกบางแห่งมีคนคลิกเข้ามาเยี่ยมชมล้นหลาม แต่กลับมีคนช่วยคลิกโฆษณา Google AdSense น้อยนิด แบบนี้เราก็แทบคาดหวังรายได้จาก Google AdSense ไม่ได้เลย หรือในกรณีของการหารายได้กับ Amazon เราก็ต้องลุ้นให้คนที่คลิกโฆษณาใน หน้าบล็อกเข้าไปซื้อสินค้าในเว็บไซต์ Amazon ด้วย เราจึงจะได้รับค่าคอมมิสชันเป็นการ ตอบแทน ต่อให้มีคนคลิกโฆษณากันเป็นพันๆ หมื่นๆ คน แต่ถ้าคนเหล่านั้นไม่สนใจซื้อ สินค้าใน Amazon เราก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนอะไรเลย แต่ถา้ เป็นการหารายได้กบั แบนเนอร์โฆษณา เราก็ไม่ตอ้ งหวังดวงหวังโชค ขอแค่หา ลูกค้ามาลงโฆษณาให้ได้ เราก็มสี ทิ ธิไ์ ด้คา่ ตอบแทนงามๆ แล้ว มีเว็บไซต์หรือบล็อกจ�ำนวน มากครับที่ได้ค่าตอบแทนจากการขายพื้นที่วางแบนเนอร์เป็นตัวเลขหกหลักหรือเจ็ดหลัก ต่อเดือนเลยทีเดียว แต่กแ็ น่นอนว่าเราจ�ำเป็นต้องพัฒนาบล็อกของตัวเองให้เป็นทีร่ จู้ กั ให้ ได้ เมื่อถึงตอนนั้นจึงจะมีคนมาสนใจลงโฆษณาในบล็อก แนวคิดอย่างหนึ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสการท�ำเงินกับแบนเนอร์โฆษณาได้ก็คือ เรา ควรหลีกเลี่ยงการสร้างบล็อกที่มีเนื้อหากว้างเกินไป หรือเต็มไปด้วยเรื่องราวสัพเพเหระ ที่ไม่มีทิศทางชัดเจน การท�ำบล็อกที่มีเนื้อหากว้างๆ แบบนี้ค่อนข้างยากที่จะประสบ ความส�ำเร็จ เพราะมันจะดูจับฉ่ายไร้ทิศทาง จะดีกว่าครับถ้าเราเลือกสร้างบล็อกที่มี เนื้อหาเฉพาะเจาะจงไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยิ่งเนื้อหาของบล็อกแคบ (แต่ก็ต้องไม่แคบ 322



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



เกินไปจนไม่มีคนอ่านนะ) โอกาสที่บล็อกจะเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่สนใจเรื่องที่เราน�ำ เสนอก็ยิ่งมาก เมือ่ บล็อกมีกลุม่ เป้าหมายทีช่ ดั เจน การมองหาสปอนเซอร์ทมี่ กี ลุม่ ตลาดเป้าหมาย เป็นกลุม่ เดียวกันก็จะท�ำได้งา่ ยขึน้ เพราะปกติแล้วเวลาทีเ่ จ้าของสินค้ามองหาพืน้ ทีโ่ ฆษณา เขาต้องนึกถึงกลุม่ ตลาดเป้าหมายเป็นส�ำคัญ หากบล็อกของเรามีกลุม่ ตลาดเป้าหมายตรง ตามที่ลูกค้าต้องการ เราก็ยิ่งมีสิทธิ์สร้างรายได้กับแบนเนอร์โฆษณาได้มากขึ้นครับ ในช่วงเริ่มต้นของการทดลองหารายได้กับแบนเนอร์โฆษณา เราควรคิดค่าโฆษณา ถูกๆ ไว้ก่อน เช่น 300-500 บาทต่อเดือน เพราะจะท�ำให้หาสปอนเซอร์ง่ายขึ้น แม้เราจะ คิดค่าโฆษณาถูก แต่ถ้าหาลูกค้าได้หลายๆ ราย วางแบนเนอร์หลายๆ ต�ำแหน่งในบล็อก เมือ่ รวมค่าโฆษณาทั้งหมดแล้วก็นา่ จะสร้างรายได้เสริมให้เราได้อย่างน่าพอใจ แต่ทงั้ นี้เรา ก็ไม่ควรวางแบนเนอร์ในบล็อกมากเกินไปจนท�ำให้เสียภาพลักษณ์นะครับ จ�ำไว้วา่ คนอ่าน คลิกเข้ามาในบล็อกของเราเพื่ออ่านบทความหรือเนื้อหาสาระดีๆ ไม่ได้คลิกเข้ามาเพื่อดู แบนเนอร์โฆษณาในบล็อกครับ



ตำ�แหน่งวาง Banner ใน WordPress บล็อกที่สร้างด้วย WordPress มักมีโครงสร้างเลย์เอาต์ที่ไม่ซับซ้อนนัก ส่วนใหญ่ แล้วด้านบนก็จะเป็นเฮดเดอร์ของบล็อก ซึ่งอาจเป็นภาพกราฟิกสวยๆ หรือเป็นแค่ตัว หนังสือก็ได้ ด้านล่างถัดจากเฮดเดอร์ลงมาก็เป็นพื้นที่แสดงบทความ ส่วนด้านข้างเป็น ไซด์บาร์ โดยไซด์บาร์นี้อาจมี 1 แถวหรือมากกว่า 1 แถว อาจอยู่ด้านขวาหรือด้านซ้าย ก็ แล้วแต่ธีมที่เลือกใช้ ด้วยความที่บล็อก WordPress มีโครงสร้างเลย์เอาต์เรียบง่าย ต�ำแหน่งการวาง แบนเนอร์จึงมีให้เลือกใน 3 ต�ำแหน่งหลักๆ ดังนี้ครับ 323



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



วางแบนเนอร์ ในเฮดเดอร์ ต�ำแหน่งเฮดเดอร์ถือเป็นต�ำแหน่งที่มีความโดด เด่นที่สุดในบล็อก คนที่คลิกเข้ามาในบล็อกจะสังเกตเห็นเฮดเดอร์เป็นส่วนแรก อีกทั้งพื้น ที่เฮดเดอร์ก็มักมีขนาดใหญ่ และแสดงผลในทุกๆ เว็บเพจย่อยของบล็อก เฮดเดอร์จึงถือ เป็นต�ำแหน่งที่ดีที่สุดส�ำหรับวางแบนเนอร์โฆษณา และเป็นต�ำแหน่งที่ควรคิดค่าโฆษณา แพงที่สุด การวางแบนเนอร์โฆษณาในเฮดเดอร์ของบล็อกนี้มีเรื่องควรระวังอยู่นิดหนึ่ง ครับ เราต้องค�ำนึงถึงด้วยว่าการวางแบนเนอร์ในเฮดเดอร์อาจส่งผลด้านลบต่อภาพ ลักษณ์ของบล็อก คือคนอ่านบล็อกอาจรู้สึกว่าเรามุ่งเน้นแต่การโฆษณามากเกินไป เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้ค่าตอบแทนที่สมน�้ำสมเนื้อจริงๆ ก็ไม่จ�ำเป็นต้องขายพื้นที่ใน ส่วนเฮดเดอร์เพื่อใช้วางแบนเนอร์โฆษณา หรือถ้าจะวางแบนเนอร์ในเฮดเดอร์จริงๆ ก็ ควรเลือกแบนเนอร์ของลูกค้าที่มีภาพลักษณ์ดีหน่อย เชื่อถือได้หน่อย หากเอาแบนเนอร์ ของสินค้าห่วยๆ หรือเว็บไซต์แย่ๆ มาติดไว้ในเฮดเดอร์ของบล็อกเรา มันจะพลอยท�ำให้ บล็อกดูเกรดต�่ำไปด้วย วางแบนเนอร์ ในไซด์บาร์ การวางแบนเนอร์ในไซด์บาร์ของบล็อกถือว่าเป็น เรื่องที่ควรท�ำที่สุดครับ ไม่มีตำ� แหน่งไหนในบล็อกเหมาะกับการวางแบนเนอร์เท่ากับไซด์ บาร์อกี แล้ว เพราะมันไม่ทำ� ให้เสียภาพลักษณ์ของบล็อก แล้วก็ไม่รบกวนการอ่านบทความ ในบล็อก แถมไซด์บาร์ยังมีพื้นที่เหลือเฟือพอจะวางแบนเนอร์ได้มากกว่า 1 แบนเนอร์อีก ด้วย ส�ำหรับการคิดค่าโฆษณา แบนเนอร์ทอี่ ยูใ่ นต�ำแหน่งสูงกว่าก็ควรจะคิดค่าโฆษณาแพง กว่านิดหน่อย เพราะมีโอกาสที่คนจะมองเห็นได้มากกว่า วางแบนเนอร์ ในบทความ ต�ำแหน่งในการวางแบนเนอร์ต�ำแหน่งสุดท้ายที่ นิยมท�ำกัน คือวางแบนเนอร์ลงไปในบทความเลย โดยเราอาจวางแบนเนอร์ไว้ส่วนท้าย สุดของบทความ หรือจะแทรกแบนเนอร์ลงไประหว่างเนื้อหาบทความก็ได้ทั้งนั้น ในการ คิดค่าโฆษณาของแบนเนอร์ที่วางลงไปเป็นส่วนหนึ่งของบทความนี้ เราต้องคิดให้ถูกกว่า 324



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



แบนเนอร์ทวี่ างในเฮดเดอร์หรือในไซด์บาร์พอสมควร เพราะคนอ่านจะเห็นแบนเนอร์นไี้ ด้ ก็ตอ่ เมือ่ คลิกเข้ามาอ่านบทความนัน้ ๆ แต่ขอ้ ดีของการวางแบนเนอร์ในบทความก็คอื หาก แบนเนอร์มคี วามสัมพันธ์กบั เนือ้ หาของบทความ ก็จะยิง่ ท�ำให้คนอ่านอยากคลิกแบนเนอร์ เพื่อเข้าไปดูรายละเอียดครับ



วาง Banner ใน Header ของ WordPress การวางแบนเนอร์ลงในเฮดเดอร์ของบล็อก WordPress นั้น ไม่ใช่ว่าทุกบล็อกจะ ท�ำได้เหมือนกันหมด เนื่องจากธีมบางธีมที่เราเลือกใช้ก็อาจไม่มีพื้นที่เฮดเดอร์ หรือมี เฮดเดอร์ แต่ไม่อนุญาตให้ใส่ภาพแบนเนอร์ของเราเองลงไป (หากคิดจะใส่แบนเนอร์จริงๆ เราต้องแก้ไขโค้ดของธีมด้วยตัวเอง) แต่ส�ำหรับธีมส่วนใหญ่นะ่ มักจะมีเฮดเดอร์ดว้ ยกันทัง้ นัน้ และเราก็สามารถใส่แบนเนอร์อะไรก็ได้ลงไปแทนทีภ่ าพเฮดเดอร์เดิมของธีมนัน้ ๆ ครับ ตัวอย่างการใส่แบนเนอร์ลงในเฮดเดอร์ของบล็อกในทีน่ ี้ ผมจะสาธิตโดยยึดจากธีม Twenty Eleven ซึ่งเป็นธีมดีฟอลต์ของ WordPress ก็แล้วกันนะครับ ว่าแล้วเราไปลองใส่ แบนเนอร์ลงในเฮดเดอร์ของบล็อกกันเลย 1 ที่หน้า Dashboard ของ WordPress ให้คลิกเมนู Appearance > Header เพื่อ เปิดเข้าไปที่หน้า Custom Header จากนั้นคลิกปุ่ม Choose File เพื่อเข้าไปอัปโหลดไฟล์ ภาพแบนเนอร์ที่เตรียมไว้ ดูภาพ 17-1 (สังเกตว่าในหน้า Custom Header นี้จะมีข้อมูล บอกให้เรารู้ไว้ด้วยว่า ควรใช้ภาพแบนเนอร์ขนาดเท่าไหร่จึงจะแสดงผลได้พอดี)



325



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



1



ภาพ 17-1 คลิกปุ่ม Choose File



2 ในหน้าต่างย่อยทีเ่ ปิดซ้อนขึน้ มา ให้คลิกเลือกภาพแบนเนอร์ทอี่ อกแบบเตรียม



ไว้ แล้วคลิกปุ่ม Open ดูภาพ 17-2



2 ภาพ 17-2 เลือกไฟล์แบนเนอร์แล้วคลิกปุ่ม Open



326



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



3 คลิกปุ่ม Upload ดูภาพ 17-3



3



ภาพ 17-3 คลิกปุ่ม Upload



4 รอจน WordPress อัปโหลดไฟล์แบนเนอร์เรียบร้อย ก็คลิกปุม่ Skip Cropping,



Publish Image as Is ดูภาพ 17-4 (หากคุณต้องการครอปภาพก่อน ก็ให้แดร็กเมาส์เพื่อ ครอปภาพตามต้องการ แล้วก็คลิกปุ่ม Crop and Publish)



327



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



4



ภาพ 17-4 คลิกปุ่ม Skip Cropping, Publish Image as Is



ท�ำตามขั้นตอนที่ผมอธิบายไปเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณลองย้อนกลับไปดูบล็อก ของตัวเองอีกครั้งสิครับ จะเห็นว่าภาพในส่วนเฮดเดอร์เปลี่ยนเป็นภาพแบนเนอร์ตามที่ เราต้องการแล้ว (ดูภาพ 17-5 ประกอบ) แต่อย่างไรก็ตามภาพแบนเนอร์ในเฮดเดอร์ของ บล็อกนี้จะขาดคุณสมบัติส�ำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือมันจะลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลายทางตาม ที่เราก�ำหนดไม่ได้ เมื่อคลิกที่แบนเนอร์ เราก็จะถูกพากลับไปที่โฮมเพจของบล็อกเท่านั้น เอง (ภาพแบนเนอร์ที่อยู่ในเฮดเดอร์ของบล็อก WordPress จึงมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับ ภาพ Timeline Cover ของ Facebook) เท่ากับว่าแบนเนอร์ในเฮดเดอร์นี้มีไว้ “โชว์” แต่ไม่ ได้มีไว้ “เชื่อม” ไปยังเว็บไซต์ไหน



328



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



ภาพ 17-5 ตัวอย่างแบนเนอร์ในเฮดเดอร์



วิธีแก้ปัญหาเรื่องการก�ำหนดลิงก์ให้ภาพแบนเนอร์ไม่ได้นี้ เราอาจท�ำได้ด้วยการใส่ ข้อมูลของสปอนเซอร์ลงไปเป็นส่วนหนึ่งของแบนเนอร์ให้ชัดเจน ทั้งข้อมูล URL หรือช่อง ทางการติดต่ออื่นๆ เช่น อีเมลแอดเดรส, เบอร์โทรศัพท์ เพื่อว่าเมื่อคนอ่านบล็อกเห็น แบนเนอร์นี้แล้วเกิดความสนใจ จะได้ตามไปดูข้อมูลหรือติดต่อสอบถามไปได้ หรือหากคุณต้องการก�ำหนดลิงก์ให้ภาพแบนเนอร์ในเฮดเดอร์ของบล็อกจริงๆ ก็ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีหนทางซะเลย เรายังพอก�ำหนดลิงก์ให้แบนเนอร์ได้ แต่จะต้องเข้าไปแก้ โค้ดในไฟล์ header.php ซึ่งเป็นไฟล์ส่วนประกอบของธีมเอาเอง แต่คนที่จะท�ำแบบนี้ได้ 329



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ก็ต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา PHP ในระดับหนึ่ง หรืออีกทางหนึ่งคุณอาจหัน ไปใช้ปลั๊กอินบางตัวมาช่วย ปลั๊กอินที่ช่วยให้เราก�ำหนดลิงก์ให้แบนเนอร์ในเฮดเดอร์ได้ก็ เช่น ปลั๊กอินที่ชื่อว่า Dynamic Headers ครับ และปลั๊กอินตัวนี้ยังมีความสามารถในการ ก�ำหนดภาพแบนเนอร์ในเฮดเดอร์ให้แตกต่างกันออกไปในโพสต์แต่ละโพสต์ หรือในเพจ แต่ละเพจได้อีกต่างหากครับ



วาง Banner ใน Sidebar ด้วย Widget ลองวางแบนเนอร์ในเฮดเดอร์ของบล็อกกันไปแล้ว คราวนี้มาลองวางแบนเนอร์ลง ในไซด์บาร์กนั บ้าง คุณคงพอเดาได้นะครับว่าการวางแบนเนอร์ในไซด์บาร์นี้ เราต้องอาศัย วิดเจ็ตของ WordPress มาช่วย และวิดเจ็ตทีจ่ ะช่วยเราในเรือ่ งนีไ้ ด้กค็ งเป็นตัวไหนไปไม่ได้ นอกจากวิดเจ็ต Text ซึ่งมีไว้ส�ำหรับวางข้อความหรือโค้ด HTML วิธกี ารวางโค้ด HTML ลงในวิดเจ็ต Text เพือ่ ให้แบนเนอร์ของเราแสดงผลในไซด์บาร์ นัน้ ผมคงไม่ตอ้ งแสดงตัวอย่างให้ดู เพราะเคยท�ำให้ดไู ปแล้วในหัวข้อ “ติดโฆษณา Google AdSense ลงใน Blog” ของบทที่ 15 แต่สิ่งที่ผมต้องอธิบายก็คือ เราจะใส่โค้ด HTML อะไร ลงไปเพื่อให้แบนเนอร์ที่เตรียมไว้ปรากฏให้เห็นในไซด์บาร์ ก่อนอื่นเลยเราต้องออกแบบแบนเนอร์เตรียมไว้ให้พร้อม โดยกะขนาดให้พอดีกับ การแสดงผลในไซด์บาร์ของบล็อก (ไซด์บาร์ในแต่ละบล็อกจะมีขนาดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ธีมทีเ่ ลือกใช้) จากนัน้ คุณก็สงั่ อัปโหลดไฟล์แบนเนอร์ขนึ้ ไปเก็บไว้บนบล็อก วิธกี ารอัปโหลด ไฟล์มีเดียขึ้นบล็อกผมเคยอธิบายไปแล้วในบทที่ 5 ถ้าจ�ำไม่ได้ก็ลองย้อนไปอ่านดูนะครับ ในขัน้ ตอนการอัปโหลดไฟล์นี้ จะมีอยูข่ นั้ ตอนหนึง่ ทีเ่ ราจะเห็น URL ของไฟล์มเี ดียปรากฏ อยู่ในช่อง File URL (ลองย้อนกลับไปดูภาพ 5-3 นะครับ จะได้เข้าใจที่ผมอธิบายยิ่งขึ้น) ตอนคุณสั่งอัปโหลดไฟล์แบนเนอร์ขึ้นไป ก็ให้ก๊อบปี้ URL ของแบนเนอร์นี้ไว้ด้วย เพราะ เดี๋ยวเราจะต้องใช้งานกัน 330



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



ตัวอย่างในที่นี้ ผมตั้งชื่อไฟล์แบนเนอร์เป็น sample-banner-s.jpg เมื่อผมสั่งอัป โหลดไฟล์แบนเนอร์ขึ้นบล็อกแล้ว ผมก็จะได้ URL ของไฟล์เป็นแบบนี้ครับ... http://www.booklism.com/wp-content/uploads/2012/09/sample-banner-s.jpg เอาละ พอรู้ URL ของไฟล์แบนเนอร์แล้ว เราก็ตอ้ งมาดูกนั ต่อว่าเราจะใส่โค้ด HTML ลงไปในวิดเจ็ต Text ในรูปแบบไหน จึงจะเห็นแบนเนอร์โฆษณาปรากฏขึน้ มา และแบนเนอร์ นี้ก็ต้องคลิกแล้วลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่ก�ำหนดได้ด้วย รูปแบบของโค้ด HTML ที่เราจะกรอกใส่ลงไปในวิดเจ็ต Text เป็นแบบนี้ครับ...



ในต�ำแหน่ง “URL ของเว็บไซต์ปลายทาง” เราต้องกรอก URL ของเว็บไซต์หรือ เว็บเพจปลายทางลงไปจริงๆ ส่วนในต�ำแหน่ง “URL ของไฟล์แบนเนอร์” ก็ให้กรอก URL ของแบนเนอร์ที่เราก๊อบปี้ไว้แล้วลงไป ยกตัวอย่างเช่น หากผมต้องการให้แบนเนอร์ที่เตรียมไว้นี้ลิงก์ไปหาเว็บไซต์ของ ส�ำนักพิมพ์วิตตี้กรุ๊ป ผมก็ต้องกรอกโค้ด HTML ลงไปแบบนี้ครับ... (ดูภาพ 17-6 ประกอบ)



(ทีจ่ ริงเราจะย่อ URL ของภาพแบนเนอร์ให้เหลือแค่ wp-content/uploads/2012/09/ sample-banner-s.jpg ก็ได้เหมือนกัน)



331



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 17-6 ตัวอย่างการใส่โค้ด HTML ในวิดเจ็ต Text



กรอกโค้ด HTML ที่ว่านี้ลงไปในวิดเจ็ต Text แล้ว ก็อย่าลืมตั้งชื่อให้วิดเจ็ตใหม่ใน ช่อง Title: ด้วยล่ะ สุดท้ายก็คลิกปุ่ม Save เพื่อสั่งบันทึก เสร็จเรียบร้อยแล้วคุณก็จะเห็น แบนเนอร์โฆษณาแสดงขึ้นมาในไซด์บาร์ของบล็อก (ดูภาพ 17-7 ประกอบ) โดยแบนเนอร์ นี้จะมีหน้าตาเหมือนกับภาพแบนเนอร์ที่เราออกแบบไว้ (ก็แน่ละครับ ในเมื่อเราดึงภาพ เดียวกันนัน้ มาแสดง) และหากผูช้ มบล็อกคลิกทีแ่ บนเนอร์นี้ ก็จะถูกพาไปยังเว็บไซต์ปลาย ทางที่ก�ำหนดไว้ทันทีครับ



332



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



ภาพ 17-7 ตัวอย่างแบนเนอร์ในไซด์บาร์



วาง Banner ลงในบทความ ต�ำแหน่งวางแบนเนอร์ต�ำแหน่งสุดท้ายที่นิยมท�ำกันคือ การวางแบนเนอร์ลงไป เป็นส่วนหนึง่ ของบทความ วิธกี ารวางแบนเนอร์ลงในบทความ ก็ไม่ตา่ งจากการแทรกภาพ ประกอบในบทความเหมือนที่เราเคยท�ำกันไปแล้วในบทที่ 4 เพียงแต่การวางแบนเนอร์นี้ จะต้องมีการก�ำหนดลิงก์ทคี่ ลิกแล้วจะเชือ่ มโยงไปถึงด้วย ไม่งนั้ ภาพแบนเนอร์มนั ก็จะแสดง ให้เห็นเฉยๆ แต่คลิกแล้วไม่ไปไหน ขั้นตอนการวางแบนเนอร์ลงในบทความต้องท�ำยังไง ไปดูกันเลยดีกว่าครับ 1 ไม่ว่าคุณต้องการแทรกแบนเนอร์ลงไปในบทความที่เขียนใหม่ หรือบทความ เดิมที่มีอยู่แล้วก็ตาม ให้คุณเลื่อนเคอร์เซอร์ไปไว้ในต�ำแหน่งที่ต้องการแทรกแบนเนอร์ดัง ภาพ 17-8 2 จากนั้นคลิกค�ำสั่ง Upload/Insert เพื่อสั่งอัปโหลดไฟล์แบนเนอร์ 333



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



2



1 ภาพ 17-8 เลือกต�ำแหน่งวางแบนเนอร์แล้วคลิกค�ำสั่ง Upload/Insert



3 แดร็กเมาส์ลากไฟล์แบนเนอร์มาวางในพืน้ ทีท่ ปี่ รากฏข้อความ Drop files here



ดูภาพ 17-9 (หรือจะคลิกปุ่ม Selects Files เพื่อเข้าไปเลือกไฟล์ที่ต้องการอัปโหลดก็ได้)



3



334



ภาพ 17-9 ลากไฟล์แบนเนอร์มาใส่



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



4 รอจนการอัปโหลดเสร็จสิ้น เราก็ก�ำหนด URL ปลายทางในช่อง Link URL ดู



ภาพ 17-10 5 คลิกปุ่ม Insert into Post เพื่อแทรกภาพลงไปในบทความครับ



4 5



ภาพ 17-10 ก�ำหนด URL ปลายทาง



ถัดจากนัน้ คุณก็คลิกปุม่ Publish เพือ่ สัง่ เผยแพร่บทความ (กรณีเขียนบทความใหม่) หรือคลิกปุม่ Update เพือ่ สัง่ อัปเดตบทความ (กรณีเปิดบทความเดิมขึน้ มาแก้ไข) ตามปกติ แค่นี้แบนเนอร์ของเราก็จะไปปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของบทความนั้นๆ แล้ว และเมื่อผู้ชม บล็อกคลิกที่แบนเนอร์นี้ ก็จะถูกพาไปยังเว็บไซต์หรือเว็บเพจที่ก�ำหนดไว้ ส�ำหรับตัวอย่าง แบนเนอร์ที่แสดงในบทความ คุณผู้อ่านลองดูได้จากภาพประกอบ 17-11 นะครับ



335



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 17-11 ตัวอย่างแบนเนอร์ในบทความ



จัดการ Banner ใน Blog ด้วย Plugin การจัดการกับแบนเนอร์โฆษณาในบล็อก WordPress แบบไม่ใช้ตวั ช่วยเลยนัน้ อาจ เหมาะเฉพาะกรณีที่เรามีแบนเนอร์จ�ำนวนน้อยๆ แล้วก็ไม่ต้องการข้อมูลเชิงลึกอะไร แต่ ถ้าบล็อกของใครมีสปอนเซอร์ตดิ ต่อขอลงโฆษณาเยอะๆ การวางแบนเนอร์ดว้ ยวิธพี นื้ ฐาน เหมือนทีผ่ มอธิบายไปแล้วคงตอบโจทย์ได้ไม่ดนี กั เพราะการบริหารจัดการแบนเนอร์ทำ� ได้ ยาก ไม่สามารถตัง้ ค่าออปชันเกีย่ วกับการแสดงผลของแบนเนอร์ได้ พวกข้อมูลเชิงลึกของ แบนเนอร์เราก็ไม่รู้ เช่น จ�ำนวนการแสดงผลของแบนเนอร์ หรือจ�ำนวนการคลิกแบนเนอร์ เป็นต้น แบบนี้ถ้าลูกค้าต้องการให้เราส่งสถิติต่างๆ ไปให้ เราก็คงเจอปัญหาแน่ ถ้าอยากจัดการแบนเนอร์ในบล็อก WordPress แบบมืออาชีพ ผมแนะน�ำให้คุณ ลองหาปลั๊กอินมาช่วยครับ ปลั๊กอินที่ช่วยจัดการแบนเนอร์ในบล็อกได้มีอยู่เป็นจ�ำนวน มาก เช่น Banners, Banner Effect Header, WP Banners Lite, Useful Banner Manager, 336



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



Xtreme Banner Rotator หรือ Banner Manager แต่ในที่นี้ผมขอหยิบสุดยอดปลั๊กอินด้าน การบริหารจัดการแบนเนอร์อีกตัวหนึ่งมาแนะน�ำ คือปลั๊กอินที่ชื่อว่า WP Bannerize ครับ ปลั๊กอินตัวนี้เป็นปลั๊กอินฟรี มีความสามารถครบถ้วนรอบด้าน รับรองว่าช่วยคุณบริหาร จัดการแบนเนอร์ได้ทุกอย่างตามต้องการ ตัวอย่างฟีเจอร์เด็ดๆ ของปลั๊กอิน WP Bannerize ก็เช่น สามารถก�ำหนดวันเริ่มต้น และวันสิน้ สุดของการแสดงแบนเนอร์ได้, จัดกลุม่ แบนเนอร์ได้, สลับสับเปลีย่ นแสดงแบนเนอร์หลายๆ แบนเนอร์ในต�ำแหน่งเดียวกันได้, ตั้งค่า Max Impressions เพื่อก�ำหนดให้ แบนเนอร์หยุดแสดงผลเมื่อแสดงผลครบตามจ�ำนวนครั้งที่ก�ำหนดได้, ตั้งค่า nofollow ให้ แบนเนอร์เพื่อไม่ให้เราเสียคะแนนด้าน SEO ได้ (เป็นการก�ำหนดให้เสิร์ชเอนจิ้นไม่ไต่ตาม ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลายทางของแบนเนอร์), แสดงจ�ำนวนการคลิกได้, แสดงจ�ำนวนการ แสดงผลของแบนเนอร์ได้ หรือแสดงอัตรา CTR ได้ (CTR ย่อมาจาก Clickthrough Rate หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจ�ำนวนการคลิกโฆษณาต่อจ�ำนวนการแสดงผล ยิ่ง CTR มีค่าสูง ก็หมายความว่ามีคนสนใจโฆษณานั้นมาก) เป็นต้น วิธกี ารใช้งานปลัก๊ อิน WP Bannerize ก็ไม่ได้ยากเย็นครับ หลังจากสัง่ ติดตัง้ และเปิด การใช้งานแล้ว เราก็เข้ามาสร้างแบนเนอร์โฆษณาใหม่ในหน้า Insert a new banner ดัง ภาพ 17-12 (วิธีเข้าสู่หน้า Insert a new banner ท�ำได้ด้วยการคลิกเมนู WP Bannerize > Add New) อยากก�ำหนดให้แบนเนอร์โฆษณามีคณ ุ สมบัตอิ ะไรแบบไหน เราก็กำ� หนดได้ใน ขั้นตอนนี้เลย เช่น ตั้งค่าให้แบนเนอร์แสดงผลแค่ 1 เดือน เป็นต้น



337



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 17-12 หน้า Insert a new banner ของปลั๊กอิน WP Bannerize



พอเราสร้างแบนเนอร์โฆษณาใหม่ขึ้นมาแล้ว เราก็เข้าไปที่หน้า Widgets ของ WordPress เหมือนตอนที่จะสั่งเพิ่มวิดเจ็ตใหม่ๆ นั่นแหละ เข้าไปแล้วเราจะเห็นว่าใน ระบบ WordPress มีวิดเจ็ตชื่อ WP Bannerize โผล่ขึ้นมาเพิ่มเติม วิดเจ็ตตัวนี้มีไว้สำ� หรับ ดึงโฆษณาทีส่ ร้างด้วยปลัก๊ อิน WP Bannerize ไปแสดงผ่านไซด์บาร์ไงล่ะ การตัง้ ค่าออปชัน ให้วิดเจ็ต WP Bannerize ก็ไม่มีอะไรมาก หลักๆ ก็แค่ตั้งชื่อวิดเจ็ตลงในช่อง Title: ตาม ด้วยเลือกกลุ่มของแบนเนอร์ แล้วก็คลิกปุ่ม Save เท่านั้นเอง (ดูภาพ 17-13)



338



ใช้ WordPress หารายได้กับ Banner



บทที่ 17



ภาพ 17-13 ตั้งค่าออปชันให้วิดเจ็ต WP Bannerize



และถ้าคุณต้องการจัดการกับแบนเนอร์ที่เคยสร้างไว้แล้ว ก็แค่คลิกเมนู WP Bannerize > Edit เพื่อเข้ามาที่หน้า Publish ดังภาพ 17-14 ครับ ที่หน้านี้เราสามารถ บริหารจัดการแบนเนอร์ทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย จะปิดหรือเปิดการท�ำงานของบาง แบนเนอร์, จะเข้าไปแก้ไขแบนเนอร์, จะลบแบนเนอร์ทิ้ง, จะดูตัวอย่างแบนเนอร์ ก็ ท�ำได้ทั้งนั้น แล้วเรายังจะเห็นข้อมูลสถิติของแบนเนอร์แต่ละอันด้วย ทั้งจ�ำนวนการ คลิก, จ�ำนวนการแสดงผล และค่า CTR อย่างที่เคยบอกไปแล้วครับ



339



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 17-14 หน้า Publish ของปลั๊กอิน WP Bannerize



340



บทที ่ 18 ใช้ WordPress



ท�ำการตลาดออนไลน์ เทคนิคเกี่ยวกับการใช้บล็อก WordPress หารายได้ออนไลน์น่ะ ผม พูดถึงไปค่อนข้างเยอะแล้ว โดยเฉพาะช่องทางการหาเงินหลักๆ อย่าง Google AdSense, Amazon หรือการเปิดร้านค้าออนไลน์ แต่ประเด็นที่ผมยังไม่ได้พูดถึงอย่างเป็นเรื่อง เป็นราวคือ การประยุกต์ ใช้บล็อก WordPress มาเป็นเครื่องมือท�ำการตลาดออนไลน์ แต่ก่อนจะพูดถึงเรื่องที่ว่าในบทที่ 18 นี้ ผมอยากอธิบายให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า เนื้อหาบทนี้จะ เป็นเรื่องในเชิงทฤษฎีนะครับ นั่นเพราะผมได้อธิบายเทคนิคการใช้งาน WordPress ซึ่งเป็นเรื่องในเชิง ปฏิบัติไปอย่างครบถ้วนแล้วในบทก่อนๆ บทนี้จึงเป็นเหมือนการต่อยอดไอเดียว่า เราสามารถประยุกต์ ใช้บล็อก WordPress ไปท�ำอะไรได้บ้างในแง่มุมเกี่ยวกับการท�ำการตลาดออนไลน์



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ใช้ WordPress ทำ�การตลาดออนไลน์ให้สินค้า เวลาพูดถึงการท�ำการตลาด ไม่ว่าจะเป็นท�ำการตลาดออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือท�ำการตลาดด้วยช่องทางอืน่ ๆ ในโลกออฟไลน์ เรามักนึกถึงการท�ำการตลาดให้สนิ ค้า กันเป็นหลัก เพราะธุรกิจส่วนใหญ่มกั เกีย่ วข้องกับการค้าขายสินค้าด้วยกันทัง้ นัน้ หากคุณ เป็นคนหนึง่ ทีม่ อี าชีพเกีย่ วข้องกับการค้าขายสินค้าอะไรก็ตาม คุณก็สามารถใช้ WordPress เป็นเครื่องมือท�ำการตลาดออนไลน์ให้สินค้าของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดแข็งส�ำคัญของ WordPress อยู่ตรงที่มันมีความแรงในด้าน SEO ด้วยตัวของมัน เองอยูแ่ ล้ว...เรือ่ งนีใ้ ครๆ ก็รกู้ นั ดีครับ WordPress ของเรานัน้ ถูกออกแบบมาให้มโี ครงสร้าง สอดคล้องกับหลักของ SEO แถมเรายังปรับแต่ง WordPress เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้าน SEO ได้หลายอย่าง เช่น ตั้งค่า Permalink Settings หรือการติดตั้งปลั๊กอินที่ช่วยในเรื่อง SEO เพิ่มเติม (ประเด็นนี้เดี๋ยวผมจะขยายความต่อในบทที่ 19) บรรดาเว็บมาสเตอร์ทั้ง หลายจึงยืนยันตรงกันว่า ถ้าพูดเฉพาะในแง่ของ SEO แล้ว ไม่มี CMS ตัวไหนจะยอด เยี่ยมไปกว่า WordPress อีกแล้ว คุณมีสินค้าเป็นของตัวเอง หรือท�ำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ อยูห่ รือเปล่า ถ้าใช่...ก็คงน่าเสียดายมากๆ ทีค่ ณ ุ ไม่หยิบ WordPress ไปใช้ เป็นเครือ่ งท�ำการตลาดออนไลน์ให้สนิ ค้า การท�ำการตลาดออนไลน์ให้สนิ ค้านีก้ ท็ ำ� ได้หลาย รูปแบบ การเปิดร้านค้าออนไลน์ขึ้นมาขายสินค้าโดยตรงก็เป็นวิธีท�ำการตลาดออนไลน์ อย่างหนึ่ง แล้วก็เป็นวิธีที่สามารถปิดการขายได้ในทันที แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้อง ใช้ WordPress มาสร้างร้านค้าออนไลน์อย่างเดียวเท่านั้นนะครับ เราอาจใช้ WordPress เป็นเครื่องมือในการโฆษณาสินค้าหรือเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า แบบนี้ก็นับเป็นการ ท�ำการตลาดออนไลน์ให้สินค้าเหมือนกัน 342



ใช้ WordPress ท�ำการตลาดออนไลน์



บทที่ 18



ภาพ 18-1 ตัวอย่างการใช้ WordPress ท�ำการตลาดให้สินค้า



ใช้ WordPress ทำ�การตลาดออนไลน์ให้ธุรกิจบริการ นอกจากธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ แล้ว ยังมีธรุ กิจอีกมากมาย ที่เป็นการให้บริการในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างเช่น โรงแรม, รีสอร์ต, ร้านอาหาร, ห้าง สรรพสินค้า, สปา, ฟิตเนส, บริการจองตั๋วเครื่องบิน ฯลฯ ธุรกิจพวกนี้เราจะหวังให้ลูกค้า ขับรถมาเจอเราโดยบังเอิญไม่ได้ แต่ต้องรุกคืบเข้าไปหาลูกค้าด้วย ซึ่งการสร้างบล็อก WordPress เพื่อใช้ท�ำการตลาดให้บริการของคุณก็เป็นความคิดที่ฉลาดมากๆ เพราะ บล็อก WordPress ไม่ได้มีประโยชน์แค่เอาไว้ใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เท่านั้น แต่ ยังใช้เป็นเครื่องมือด�ำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตลาดด้านอื่นๆ ได้ด้วย เช่น การรับ 343



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ฟังความคิดเห็นของลูกค้า, การจัดโปรโมชันต่างๆ หรือการสร้างแบบสอบถามขึ้นมาเพื่อ เก็บข้อมูลทางการตลาด การสร้างบล็อกด้วย WordPress ถือว่าท�ำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย ต้นทุนต�ำ่ (มีต้นทุนก็ แค่ค่าจดโดเมนเนมและเช่าเว็บโฮสติ้ง เพราะ WordPress เป็นของฟรี) แล้วก็ไม่ต้องอาศัย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาเขียนเว็บที่ยากๆ คุณจึงสามารถสร้างบล็อกขึ้นมาใช้เป็น เครื่องมือท�ำการตลาดให้บริการของคุณได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรอะไรมากมาย ไม่ต้อง เบียดบังเวลาที่ใช้ในการประกอบธุรกิจมาท�ำบล็อก ธุรกิจบริการของใครมีเว็บไซต์อยู่แล้ว คุณก็ยังสร้างบล็อกด้วย WordPress เพิ่มขึ้น มาอีกได้ เพื่อเพิ่มพลังด้านการตลาดให้บริการของคุณเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หรือถ้าธุรกิจ บริการของคุณยังไม่มเี ว็บไซต์ คุณก็ไม่ควรรีรอทีจ่ ะสร้างเว็บไซต์หรือบล็อกด้วย WordPress ขึ้นมา เพื่อใช้ท�ำการตลาดให้บริการของตัวเอง



ภาพ 18-2 ตัวอย่างการใช้ WordPress ท�ำการตลาดให้บริการ



344



ใช้ WordPress ท�ำการตลาดออนไลน์



บทที่ 18



นึกไว้เสมอครับว่า ธุรกิจที่มีช่องทางท�ำการตลาดในโลกออนไลน์ ยังไงก็ได้เปรียบ ธุรกิจที่ไม่สนใจท�ำการตลาดในโลกออนไลน์อยู่วันยังค�ำ่ ครับ



ใช้ WordPress สร้างตัวตนในโลกออนไลน์ คุณผู้อ่านที่ซื้อหนังสือเล่มนี้ไปอ่าน ส่วนใหญ่แล้วน่าจะเป็นคนธรรมดา แต่ก็อาจ เป็นไปได้วา่ คุณผูอ้ า่ นบางคนอาจเป็นคนดังหรือคนมีชอื่ เสียงเป็นทีร่ จู้ กั เช่น ดารา, พิธกี ร, นักร้อง, ไฮโซ, ศิลปิน, วงดนตรี, นักเขียน, คอลัมนิสต์ หรือเป็นนักธุรกิจชั้นน�ำ ถ้าคุณเป็น คนหนึ่งที่เป็นที่รู้จัก คุณก็ไม่ควรพลาดที่จะสร้างบล็อก WordPress ขึ้นมาไว้ใช้สร้างตัวตน ในโลกออนไลน์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือต่อให้คณ ุ ไม่ใช่คนทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั แต่แน่ใจว่าตัวเองมีดี ก็ไม่แปลกหากคุณจะสร้าง บล็อก WordPress ขึ้นมาใช้เป็นพื้นที่แสดงตัวตนของคุณเอง การเขียนบล็อกเพื่อสร้างตัวตนในโลกออนไลน์มีประโยชน์ตรงไหนน่ะเหรอครับ ก็ มีประโยชน์ตรงที่ว่าจะช่วยให้คุณเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น แล้วคุณก็ยังใช้บล็อกเป็นช่องทาง ติดต่อสื่อสารกับแฟนๆ หรือคนที่ชื่นชอบคุณได้ด้วย การสร้างตัวตนในโลกออนไลน์นี้ จริงๆ แล้วมันก็คือการท�ำการตลาดให้ตัวเองนั่นแหละ ประโยชน์ของการท�ำการตลาดให้ ตัวเองมีมากมายครับ ตัวอย่างเช่น ผมเป็นนักเขียน ผมก็สร้างบล็อกส่วนตัวขึน้ มาเพือ่ เผย แพร่บทความดีๆ ไปพร้อมๆ กับแจ้งข่าวคราวเกี่ยวกับหนังสือเล่มใหม่ของผม หากบล็อก ของผมมีแฟนๆ ติดตามอ่านกันมาก เวลาผมออกหนังสือเล่มใหม่กย็ อ่ มจะมีนกั อ่านสนใจ มากขึ้นไปด้วย (แต่ว่าก็ว่าเถอะ ผมเองยังไม่มีเวลาท�ำบล็อกของตัวเองโดยเฉพาะเหมือน กัน เพราะมัวแต่ท�ำบล็อกแนวอื่นๆ อยู่)



345



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 18-3 ตัวอย่างการใช้ WordPress ท�ำการตลาดให้ตัวเอง



ใช้ WordPress ทำ� PR ให้องค์กร PR มาจากค�ำเต็มว่า Public Relationship ซึง่ ก็หมายถึงการท�ำประชาสัมพันธ์ จุดมุง่ หมายของการประชาสัมพันธ์กเ็ พื่อการสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ีให้องค์กรนัน้ ๆ ท�ำให้คนทั่วไป เกิดความรู้สึกในด้านบวกกับองค์กร ผิดกับการโฆษณา (Advertising) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ให้ลกู ค้ารูจ้ กั สินค้า (หรือบริการ) ของเราในวงกว้างขึน้ ซึง่ จะน�ำมาสูก่ ารซือ้ สินค้านัน้ ในทีส่ ดุ 346



ใช้ WordPress ท�ำการตลาดออนไลน์



บทที่ 18



หรือถ้าจะสรุปง่ายๆ ก็อาจพูดได้ว่า การโฆษณาก็คือการโฆษณาตัวสินค้า แต่การ ประชาสัมพันธ์จะเป็นการโฆษณาตัวองค์กร สูตรส�ำเร็จทางการตลาดที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ท�ำกันก็คือ ในช่วงเริ่ม ต้นออกสินค้าใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าตัวแรกของบริษัท หรือสินค้าตัวใหม่ที่เพิ่งวาง ตลาด บริษัทต้องทุ่มงบประมาณในการท�ำโฆษณาเป็นหลักก่อน แต่หลังจากสินค้าติด ตลาดแล้ว จ�ำเป็นต้องหันมาท�ำประชาสัมพันธ์ด้วย เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้บริษัท การประชาสัมพันธ์นี้จะส่งผลให้ลูกค้าเกิดการรับรู้ในทางบวก และจงรักภักดีกับบริษัท ในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มลูกค้าที่จงรักภักดีเหล่านี้ มักจะตัดสินใจซื้อสินค้าของ บริษัทนั้นโดยแทบไม่ค�ำนึงถึงเหตุผลอื่นด้วยซ�้ำ (iPhone และ iPad ของบริษัท Apple เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้) คราวนีค้ ณ ุ ก็ตอ้ งย้อนมามองธุรกิจของตัวเองด้วย หากธุรกิจของคุณไปได้สวยระดับ หนึ่ง และคุณเริ่มคิดถึงการท�ำประชาสัมพันธ์แล้ว การประชาสัมพันธ์องค์กรหรือบริษัท ผ่านบล็อกที่สร้างด้วย WordPress นับเป็นช่องทางที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับต้นๆ เพราะ WordPress มีประสิทธิภาพสูงในด้าน SEO ในขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ของคุณได้อย่าง ครบถ้วนทุกข้อ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานที่ง่าย ใช้เวลาน้อย บล็อกที่ได้ก็มีหน้าตาเป็นมือ อาชีพไม่แพ้ใครแน่นอน



ใช้ WordPress ทำ�การตลาดให้เว็บไซต์หลัก มีผู้ผลิตสินค้า, บริษัท, องค์กร หรือมูลนิธิจ�ำนวนมากครับที่มีเว็บไซต์หลักอยู่แล้ว แต่ก็ยังสร้างบล็อกขึ้นมาอีก ทั้งนี้ก็เพื่อใช้บล็อกเผยแพร่บทความเป็นหลัก ในส่วน ของเว็บไซต์ก็เอาไว้น�ำเสนอเนื้อหาหรือให้บริการด้านอื่นๆ แล้วแต่รูปแบบธุรกิจหรือ 347



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



จุดประสงค์ขององค์กร การแยกบล็อกออกต่างหากจากเว็บไซต์นี้มีประโยชน์หลายๆ ด้านครับ เช่น ช่วยให้องค์กรดูน่าเชื่อถือ, ช่วยให้การน�ำเสนอข้อมูลเป็นสัดเป็นส่วน, ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้าน SEO หรือช่วยให้การน�ำเสนอข่าวสารใหม่ๆ ท�ำได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น เป็นต้น หรือถ้าคุณไม่ได้มีบริษัทเป็นของตัวเอง แล้วก็ไม่ได้ท�ำงานสังกัดหน่วยงานองค์กร ไหน แต่คณ ุ มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเพือ่ เอาไว้เผยแพร่หรือใช้ประโยชน์ดา้ นไหนก็ตาม คุณ ก็ไม่ควรมองข้ามการสร้างบล็อก WordPress เพิ่มขึ้นมา เพราะ WordPress น่ะมีพลังใน ด้าน SEO สูง อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็จะช่วยหนุนให้เว็บไซต์ของคุณมีความแรงในด้าน SEO มาก ขึ้นไปด้วย (ต้องไม่ลืมส่งลิงก์จากบล็อกมาหาเว็บด้วยนะครับ) ด้วยวิธีการนี้ก็จะเท่ากับว่า เราใช้บล็อกเป็นตัวช่วยท�ำการตลาดให้เว็บไซต์หลักที่มีอยู่แล้วไงล่ะ การสร้างบล็อก WordPress เพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้ท�ำการตลาดให้เว็บไซต์หลักนี้ เราจะ สร้างแบบแยกเป็นเอกเทศออกจากกันเลย หรือจะสร้างบล็อกให้เป็นซับโดเมนของเว็บก็ได้ เช่น เว็บไซต์ของคุณอยู่ที่ www.sample.com คุณก็สร้างซับโดเมน blog.sample.com ขึ้น มาเพื่อใช้เผยแพร่บล็อก หรือคุณจะใส่บล็อกไว้ในไดเรกทอรีย่อยในเว็บไซต์ เช่น www. sample.com/blog ก็ได้อีกเหมือนกันครับ ทาง WordPress ไม่ได้มีกฎข้อห้ามอยู่แล้วว่า เราต้องใช้ WordPress สร้างเว็บไซต์หลักภายใต้โดเมนเนมของเราเท่านัน้ เพราะฉะนัน้ เรา จะติดตั้ง WordPress ไว้ที่ไหนมันก็เรื่องของเรา



348



ใช้ WordPress ท�ำการตลาดออนไลน์



บทที่ 18



ภาพ 18-4 ตัวอย่างการใช้ WordPress ท�ำการตลาดให้เว็บไซต์หลัก



ผสานพลัง WordPress กับ Social Network สุดฮิต ยุคนีเ้ ราต้องยอมรับครับว่า เว็บไซต์ประเภท Social Network ต่างๆ นัน้ มาแรงมากๆ โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ในโลก Social Network อย่าง Facebook ซึง่ มีคนใช้ทวั่ โลกแตะหลักพัน ล้านคนไปแล้ว คนไทยเราเองก็บ้า Facebook กันทั่วบ้านทั่วเมือง ทั้งเด็กทั้งคนแก่แห่เล่น Facebook กันหมด ใครที่คิดจะท�ำการตลาดออนไลน์แต่ไม่หยิบ Social Network เหล่านี้ มาเป็นอาวุธ ผมว่าโอกาสประสบความส�ำเร็จของคุณจะลดน้อยลงมากเลยละ กรณีที่คุณใช้บล็อก WordPress เป็นเครื่องมือท�ำการตลาดออนไลน์ คุณก็ควร ใช้ Social Network ต่างๆ ช่วยท�ำการตลาดไปพร้อมๆ กันด้วย มันก็จะเหมือนเป็นการ ผสานพลังในการท�ำการตลาดให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น เท่ากับว่ากลุ่มตลาดเป้าหมายจะหาคุณ 349



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เจอได้ง่ายขึ้นในทุกๆ ช่องทาง ไม่ว่าจะค้นหาข้อมูลผ่านเสิร์ชเอนจิ้นตามปกติ, ค้นหา ข้อมูลผ่านบล็อกเสิร์ชเอนจิ้น หรือค้นหาข้อมูลผ่านระบบเสิร์ชของ Social Network นั้นๆ โดยตรง Social Network มีอิทธิพลขนาดไหน คุณก็ดูเอาเถอะครับว่าแม้แต่ WordPress เองก็ยังสร้าง Facebook Page ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นช่องทางท�ำการตลาดและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารเพิม่ เติม ทัง้ ทีเ่ ว็บไซต์หลักของ WordPress น่ะแรงโคตรๆ อยูแ่ ล้ว (ก็ทำ� ไมจะไม่แรง ล่ะ ในเมื่อ WordPress ใส่ลิงก์ที่เชื่อมโยงกลับไปหาเว็บของตัวเองไว้ในระบบ WordPress ที่คนทั่วโลกดาวน์โหลดมาใช้งาน)



ภาพ 18-5 ตัวอย่าง Facebook ของ WordPress



350



ใช้ WordPress ท�ำการตลาดออนไลน์



บทที่ 18



ส่วนใครที่ไม่ได้ใช้ WordPress เป็นเครื่องมือท�ำการตลาด แต่ใช้ WordPress สร้าง บล็อกเพื่อเผยแพร่บทความดีๆ เฉยๆ คุณก็ควรสมัครใช้บริการ Social Network ต่างๆ ด้วย แล้วก็ส่งลิงก์กลับมาหาบล็อก WordPress ให้มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ การส่งลิงก์กลับ มาหาบล็อก WordPress จะช่วยให้บล็อกของคุณประสบความส�ำเร็จด้าน SEO มากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังเป็นการโปรโมตบล็อกให้เพื่อนๆ ใน Social Network รู้จัก และตามเข้ามาอ่านบทความที่เราเผยแพร่ไว้ด้วย เทคนิคการใช้ประโยชน์จาก Social Network ที่ถูกต้องก็คือ คุณควรศึกษาให้รู้ว่า Social Network ต่างๆ มีจดุ เด่นหรือจุดแข็งตรงไหน เช่น Facebook ก็เอาไว้โพสต์ขอ้ ความ ที่มีความยาวมากหน่อย หรือโพสต์ภาพสวยๆ, Twitter ก็เน้นโพสต์ข้อความสั้นๆ หรือใช้ อัปเดตข่าวสารล่าสุด, YouTube ก็เอาไว้เผยแพร่คลิปวิดโี อทีเ่ กีย่ วข้องกับบล็อก, Pinterest ก็เอาไว้โชว์ภาพสวยๆ ในบล็อก แบบนี้เป็นต้น หรือถ้าใครอยากผสานการท�ำงานของบล็อก WordPress เข้ากับ Social Network อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ก็สามารถหาปลั๊กอินที่ช่วยในด้านนี้มาใช้งานได้ ตัวอย่าง เช่น ปลั๊กอินชื่อ Facebook ที่จะผสานการท�ำงานของบล็อก WordPress เข้ากับระบบ Facebook (เช่น น�ำระบบคอมเมนต์ของ Facebook มาใช้กบั บล็อก), ปลัก๊ อินชือ่ Add Link to Facebook ที่จะช่วยดึงบทความที่เราเผยแพร่ผ่านบล็อกไปโพสต์ผ่าน Facebook โดย อัตโนมัติ หรือปลั๊กอินชื่อ Facebook, Twitter, Google Plus One social share buttons for Wordpress ที่จะช่วยอ�ำนวยความสะดวกในการแชร์บทความในบล็อกไปยัง Social Network ต่างๆ ทั้ง Facebook, Twitter และ Google+ เป็นต้น รายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ Social Network โปรโมตบล็อก WordPress ให้แรงยิ่ง ขึน้ นี้ ผมขออนุญาตอธิบายในเชิงหลักการเพียงเท่านีน้ ะครับ เพราะถ้าจะให้แสดงตัวอย่าง ด้วย คงจะต้องเขียนกันยืดยาวเป็นบทๆ เลยทีเดียว เนื่องจากเทคนิคการใช้งาน Social 351



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



Network ต่างๆ มีค่อนข้างมาก แล้ว Social Network แต่ละแห่งก็มีวิธีการใช้งานแตกต่าง กันไป จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายอย่างละเอียดในหน้าสองหน้า เอาเป็นว่าฝากให้คุณผู้อ่านไปลองใช้ประโยชน์จาก Social Network ในการเพิ่ม ความแรงให้บล็อก WordPress กันดู ลองท�ำแล้วได้ผลมากน้อยแค่ไหนยังไง ก็มาบอก เล่ากันได้ครับ



352



บทที่ 19



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO บทที่ 19 นี้และบทที่ 20 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายของหนังสือ ผมจะมาพูดถึง เทคนิคการท�ำ SEO ให้บล็อก WordPress ของเรา เพื่อให้คุณเรียนรู้วิธีโปรโมต บล็อกขัน้ พืน้ ฐานให้เป็นทีร่ จู้ กั โดยในบทนีเ้ ราจะมาศึกษาข้อมูลพืน้ ฐานทีเ่ กีย่ วข้องกับการท�ำ SEO พร้อมทั้งมาลองลงมือท�ำ SEO ในแบบที่เรียกว่า On-Page SEO กันก่อน (เดี๋ยวบทที่ 20 เราจะไปว่า กันที่เรื่อง Off-Page SEO) ซึ่งการท�ำ On-Page SEO นี้ก็หมายถึง การลงมือปรับแต่งอะไรต่อมิอะไร ภายในบล็อกของเราเองเพื่อให้ ได้ผลลัพธ์ที่ดีในด้าน SEO แม้ WordPress จะเป็น CMS ที่มีประสิทธิภาพด้าน SEO ในตัวเองอยู่แล้ว (กูรูด้าน SEO บาง คนถึงกับบอกด้วยซ�้ำว่า แค่สร้างบล็อกหรือเว็บไซต์ด้วย WordPress ก็เหมือนคุณลงมือท�ำ SEO ไป แล้วถึง 80%) แต่เราก็ยงั ปรับแต่ง WordPress ให้แรงในด้าน SEO ได้มากขึน้ ไปอีก บล็อก WordPress ของเราจะได้กลายเป็นเสือติดปีกไปเลยไงครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เข้าใจความสำ�คัญของ SEO ค�ำว่า “SEO” ย่อมาจากค�ำเต็มคือ “Search Engine Optimization” ความหมาย ของค�ำค�ำนีก้ ค็ อื การปรับแต่งบล็อก (หรือเว็บ) เพือ่ ให้ถกู ค้นเจอได้งา่ ยเวลามีคนเสิรช์ ผ่าน เสิร์ชเอนจิ้น หรือพูดอีกอย่างได้วา่ เพื่อให้บล็อกหรือเว็บมี Ranking สูงๆ ซึ่ง Ranking ก็ คืออันดับของบล็อกในหน้าผลการค้นหา (Search Result Page) ของเสิร์ชเอนจิ้นนั่นเอง คุณผู้อ่านน่าจะรู้ดีอยู่แล้วว่า โลกอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ เสิรช์ เอนจิน้ ค่อนข้างมาก เวลาทีใ่ ครสนใจอยากรูข้ อ้ มูลเกีย่ วกับเรือ่ งอะไร หรืออยากค้นหา เว็บไซต์ไหน ก็มกั จะเริม่ ต้นค้นหาผ่านเสิรช์ เอนจิน้ ด้วยกันทัง้ นัน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ พีใ่ หญ่ แห่งโลกเสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Google บางคนรู้ URL ของเว็บที่ต้องการเข้าอยู่แล้ว แทนที่จะพิมพ์ URL ใน Address Bar ของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์โดยตรงเพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ ก็ยังอุตส่าห์พิมพ์ URL นั้นในช่อง Search ของ Google แล้วค่อยคลิกเข้าเว็บไซต์เป้าหมายผ่านรายการผลการค้นหาในหน้า ผลการค้นหาของ Google อีกที ในเมือ่ พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนทัง้ โลกเกีย่ วพันกับเสิรช์ เอนจิน้ อย่าง ใกล้ชดิ เราจึงจ�ำเป็นต้องรูเ้ ทคนิคในการปรับแต่งบล็อกให้สอดคล้องกับการท�ำงานของเสิรช์ เอนจิน้ เพือ่ ว่าเมือ่ ใครเสิรช์ หาข้อมูลผ่านเสิรช์ เอนจิน้ ด้วยคียเ์ วิรด์ ทีเ่ กีย่ วข้องกับบล็อกของ เรา จะได้เห็นบล็อกของเราปรากฏเป็นหนึ่งในรายการผลการค้นหาไงล่ะ จุดมุ่งหมายของการท�ำ SEO ไม่ได้มีแค่ท�ำให้บล็อกปรากฏในหน้าผลการค้นหา ของเสิร์ชเอนจิ้นเท่านั้น แต่ยังต้องท�ำให้บล็อกปรากฏเป็นรายการแรกๆ ด้วย คุณลองคิด ดูนะครับว่าถ้าบล็อกของคุณปรากฏในหน้าผลการค้นหาหน้าที่ 50 หรือหน้าที่ 100 จะมี ใครสักกี่คนคลิกเลื่อนดูไปทีละหน้าจนเจอกับบล็อกของคุณ แต่ถา้ คุณท�ำให้บล็อกของตัว เองปรากฏอยู่ในหน้าแรกของผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิ้นได้ หรือยิ่งท�ำให้ปรากฏเป็น 354



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



รายการแรกได้ด้วย ก็จะยิ่งท�ำให้บล็อกมีคนคลิกเข้าไปอ่านมากมาย เพราะเสิร์ชเอนจิ้นนี่ แหละจะส่งผู้ชมบล็อกมาให้เราถึงที่ คงพอจะเห็นความส�ำคัญของการท�ำ SEO มากขึ้นแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าใคร ยังก้มหน้าก้มตาท�ำบล็อกโดยไม่สนใจเรือ่ ง SEO อยูล่ ะก็ คุณควรเปลีย่ นความคิดซะโดยเร็ว เพราะไม่งนั้ คุณจะก้าวตามหลังบล็อกอืน่ ๆ ซึง่ เจ้าของบล็อกลงมือท�ำ SEO ไปก่อนคุณครับ



เทคนิควิเคราะห์และคัดเลือก Keyword คีย์เวิร์ด (Keyword) นับว่าเป็นกุญแจส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท�ำ SEO เป็นอย่าง ยิ่งครับ เราจะท�ำ SEO ไม่ได้เลยหากไม่มีคีย์เวิร์ด การพูดว่าจะท�ำ SEO โดยไม่มีคีย์เวิร์ด ก็เหมือนบอกว่าจะเล่นฟุตบอลโดยไม่มลี กู ฟุตบอลนัน่ แหละ ผมจะลองยกตัวอย่างนะครับ สมมุตวิ า่ คุณท�ำบล็อกเกีย่ วกับการดูแลสุขภาพ คุณก็ยอ่ มอยากให้ใครๆ ค้นหาคุณเจอผ่าน เสิรช์ เอนจิน้ เมือ่ เสิรช์ ด้วยคียเ์ วิรด์ ว่า “การดูแลสุขภาพ” หรือ “สุขภาพ” หรือคียเ์ วิรด์ ทีเ่ กีย่ ว ข้องอื่นๆ ทีนี้ถ้าคุณไม่ได้ท�ำ SEO หรือท�ำ SEO แบบมั่วๆ โดยไม่ได้สนใจใส่คีย์เวิร์ดให้ ถูกต้อง ก็อาจไม่มีใครหาคุณเจอผ่านเสิร์ชเอนจิ้นเลยเมื่อเสิร์ชด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับ คุณ คิดดูสิครับว่าคุณจะเสียโอกาสที่จะได้คนอ่านบล็อกจ�ำนวนมากไปอย่างน่าเสียดาย ขนาดไหน ประเด็นทีว่ า่ เมือ่ ได้คยี เ์ วิรด์ ทีเ่ หมาะสมแล้ว เราจะน�ำคียเ์ วิรด์ นัน้ ไปใช้ทำ� SEO ได้ยงั ไงน่ะ เดีย๋ วผมจะอธิบายให้ฟงั ในหัวข้อถัดๆ ไป แต่ประเด็นส�ำคัญทีต่ อ้ งการพูดถึงในหัวข้อ นี้คือ เทคนิคการวิเคราะห์และคัดเลือกคีย์เวิร์ด คุณต้องรู้ไว้กอ่ นว่าการหาคีย์เวิร์ดเพื่อเอา มาใช้ทำ� SEO นีจ้ ะนัง่ เทียนนึกเอาเองไม่ได้ เพราะคุณจะไม่มที างรูเ้ ลยว่าคียเ์ วิรด์ ทีเ่ ลือกใช้ นั้นจะเวิร์กจริงหรือเปล่า ทางที่ดีเราต้องรู้วิธีค้นหา วิเคราะห์ และคัดเลือกคีย์เวิร์ด เพื่อให้ ได้คีย์เวิร์ดที่ดีมาใช้ท�ำ SEO โดยกระบวนการในการค้นหา วิเคราะห์ และคัดเลือกคีย์เวิร์ด มาใช้งานนี้ จะเรียกรวมๆ ว่าการท�ำ Keyword Research ครับ 355



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



กระบวนการ Keyword Research ต้องเริ่มต้นที่การหาไอเดียคีย์เวิร์ดหรือคีย์เวิร์ด ทางเลือกออกมาเยอะๆ การหาไอเดียคีย์เวิร์ดนี้จะคิดคีย์เวิร์ดขึ้นมาเอง หรือใช้เครื่องมือ บางตัวมาช่วยก็ได้ เช่น Google AdWords Keyword Tools เมื่อได้คีย์เวิร์ดตัวเลือกขึ้นมา จ�ำนวนหนึง่ แล้ว เราก็ตอ้ งมาวิเคราะห์ว่าคียเ์ วิรด์ ไหนน่าใช้ คียเ์ วิรด์ ไหนไม่นา่ จะเวิรก์ หลัก การง่ายๆ ในการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดก็คือ ต้องหาคีย์เวิร์ดที่มีคนใช้เยอะ แต่มีคู่แข่งน้อย ฟัง ดูอาจเหมือนง่ายใช่มั้ยล่ะครับ แต่ที่จริงแล้วการหาคีย์เวิร์ดดีๆ ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้อง อาศัยประสบการณ์และเครื่องไม้เครื่องมือบางอย่างมาช่วย เช่น Google AdWords Keyword Tools หรือ Google Trends เป็นต้น บางคนอาจสงสัยว่า ท�ำไมต้องหาคียเ์ วิรด์ ทีม่ คี นใช้เยอะ แล้วก็มคี แู่ ข่งน้อยด้วย คุณ ก็ลองนึกดูสิครับว่า ถ้าคุณท�ำ SEO ด้วยคีย์เวิร์ดที่ไม่ค่อยมีคนใช้ในการเสิร์ชผ่านเสิร์ช เอนจิ้น เช่น “GooPhone” (เป็นโทรศัพท์มือถือจีนที่ท�ำเลียนแบบ iPhone 5 แต่กลับออก ก่อน iPhone 5 ซะอีก) มันก็คงเป็นเรื่องง่ายมากๆ ที่บล็อกของคุณจะปรากฏเป็นอันดับ ต้นๆ ในหน้าผลการค้นหา แต่ถ้าคีย์เวิร์ดนี้แทบไม่มีคนใช้งานกันเลย มันจะมีประโยชน์ อะไรล่ะ เพราะคงมีคนแค่หยิบมือเดียวเสิร์ชเจอบล็อกของคุณ คราวนี้คุณก็นึกต่อไปว่า หากคุณเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่นักท�ำ SEO คนอื่นก็ใช้กัน เรียก ว่าเป็นคีย์เวิร์ดยอดฮิตที่ได้รับความนิยมสูง ตัวอย่างเช่น คีย์เวิร์ด “iPhone” แบบนี้ก็คง เหนื่อยหน่อยหากคิดจะท�ำ SEO ให้ชนะคู่แข่งอื่นๆ เพราะยังมีเซียน SEO อีกมากมายที่ ใช้คีย์เวิร์ดนี้เหมือนกัน ยิ่งคู่แข่งของเราเป็นบริษัทใหญ่ๆ เราก็ยิ่งแข่งขันได้ยาก ทางออกของเราคือต้องหาคีย์เวิร์ดที่เรียกกันว่า Niche Keyword ครับ เจ้า Niche Keyword นีห้ มายถึง คียเ์ วิรด์ แบบเฉพาะเจาะจงทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ หรือสินค้า ตัวใดตัวหนึง่ หรือรุน่ ใดรุน่ หนึง่ โดยเฉพาะ คียเ์ วิรด์ แบบเฉพาะเจาะจงนีจ้ ะมีความแคบกว่า คีย์เวิร์ดทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่แล้ว Niche Keyword มักประกอบด้วยค�ำมากกว่า 2 ค�ำขึ้นไป มารวมกันจนเป็นวลีที่ชี้เฉพาะมากขึ้น ตัวอย่างเช่น “ขาย iPhone 5” หรือ “ราคา iPhone 5” เป็นต้น 356



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



คีย์เวิร์ดที่เราจะน�ำมาใช้ในการท�ำ SEO ต้องมีจ�ำนวนน้อยๆ เข้าไว้นะครับ ข้อนี้ ส�ำคัญมาก ผมแนะน�ำให้คุณเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่ดีที่สุดเพียงคีย์เวิร์ดเดียว หรืออย่างมากก็ ไม่ควรเกิน 2-3 คีย์เวิร์ด เพราะไม่งั้นน�้ำหนักความส�ำคัญของคีย์เวิร์ดจะถูกลดทอนลงไป และไม่ได้ผลด้าน SEO เท่าที่ควร เทคนิคในการท�ำ Keyword Research ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ถ้าจะอธิบายให้ครบถ้วน กันจริงๆ คงต้องร่ายกันยาวเลยละครับ งั้นผมขออนุญาตอธิบายในเชิงหลักการเพียง เท่านี้ แนะน�ำให้คุณลองเสิร์ชหาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และคัดเลือกคีย์เวิร์ดจาก อินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมดู หรือจะหาหนังสือที่สอนเรื่องนี้มาอ่านสักเล่มสองเล่มก็ได้ คุณจะ ได้เรียนรู้เทคนิคเชิงลึกมากขึ้น อย่าลืมว่าคียเ์ วิรด์ เป็นกุญแจส�ำคัญสูค่ วามส�ำเร็จในการท�ำ SEO นะครับ หาคียเ์ วิรด์ ดีๆ ได้ คุณก็เหนื่อยน้อยหน่อย ขณะที่ความส�ำเร็จจะไหลมาเทมาครับ



เริ่มตั้งค่า General Settings ให้แรงสุดๆ ด้าน SEO เอาละครับ หัวข้อนีเ้ ราจะมาลองเริม่ ต้นปรับแต่ง WordPress เพือ่ ผลทางด้าน SEO กันดู โดยเราจะเริม่ ต้นด้วยการก�ำหนดข้อมูลทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ของบล็อก นัน่ ก็คอื การตัง้ ชือ่ และ ก�ำหนดสโลแกนให้บล็อก ในส่วนของการตั้งชื่อให้บล็อกนี้ จริงๆ เราได้ท�ำกันไปแล้วตั้งแต่ ในขัน้ ตอนของการติดตัง้ WordPress แต่ผมเชือ่ แน่วา่ คุณผูอ้ า่ นส่วนใหญ่นา่ จะตัง้ ชือ่ บล็อก โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงผลต่อการท�ำ SEO ตอนนี้เราเข้าใจแล้วว่าการท�ำ SEO มีความจ�ำเป็น อย่างไร เราก็ควรย้อนกลับไปดูชื่อบล็อกของตัวเองอีกครั้งว่า น่าจะปรับเปลี่ยนหรือเปล่า โดยทัว่ ไปแล้ว การตัง้ ชือ่ บล็อกควรตัง้ โดยใส่คยี เ์ วิรด์ ทีเ่ ราใช้ทำ� SEO ลงไปเป็นส่วน ประกอบด้วย ดีกว่าจะตัง้ เป็นชือ่ เฉพาะทีส่ อื่ ความหมายอะไรไม่ได้ ชือ่ บล็อกกับโดเมนเนม ของบล็อกไม่จ�ำเป็นจะต้องเหมือนกันนะครับ การเลือกโดเมนเนมอาจไม่สามารถท�ำได้ อย่างอิสระนัก เพราะโดเมนเนมดีๆ มักถูกคนอื่นจดไปก่อนแล้ว แต่การตั้งชื่อบล็อกนี้เรา ท�ำได้อย่างอิสระ เราจึงควรใช้ประโยชน์จากชื่อบล็อกให้คุ้มค่า



357



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



การตั้งชื่อบล็อกโดยไม่ใส่คีย์เวิร์ด SEO ลงไปควรท�ำก็แค่ในกรณีเดียวคือ คุณ ต้องการเน้นสร้างแบรนด์โดยเฉพาะ ก็เลยใช้ชื่อเฉพาะที่อาจไม่สื่อความหมายมาตั้งเป็น ชื่อบล็อก ในกรณีแบบนี้ชื่อบล็อกก็จะไม่เป็นประโยชน์ในด้าน SEO เราจ�ำเป็นต้องพึ่งพา เทคนิคในการท�ำ SEO ด้านอื่นๆ มาช่วย ส�ำหรับในส่วนของสโลแกนของบล็อก ก็ถือว่ามีความส�ำคัญเหมือนกัน แต่ความ ส�ำคัญจะน้อยกว่าชื่อบล็อก สโลแกนนี้เราควรคิดเป็นค�ำหรือประโยชน์สั้นๆ ที่กระชับ แต่ก็ได้ใจความ ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมใส่คีย์เวิร์ดลงไปด้วย เพื่อเสริมให้คีย์เวิร์ดที่ใช้ท�ำ SEO มีน�้ำหนักมากยิ่งขึ้น วิธกี ารก�ำหนดชือ่ บล็อกและสโลแกนบล็อกท�ำได้ไม่ยาก เราแค่คลิกเมนู Settings > General เพือ่ เข้าไปทีห่ น้า General Settings จากนัน้ ก็กำ� หนดชือ่ บล็อกลงในช่อง Site Title และก�ำหนดสโลแกนของบล็อกในช่อง Tagline เท่านั้นเองครับ (ดูภาพ 19-1 ประกอบ)



ภาพ 19-1 ก�ำหนดชื่อและสโลแกนให้บล็อก WordPress



358



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



ตั้งค่า Permalink Settings ยังไงให้ ได้ประโยชน์สูงสุด ในบทที่ 13 ผมเคยอธิบายเรื่องการตั้งค่า Permalink ไปครั้งหนึ่งแล้วจ�ำได้มั้ยครับ หัวข้อนี้ผมจะมาอธิบายขยายความเรื่องนี้ต่อ คุณจะได้รู้วา่ การตั้งค่า Permalink ให้บล็อก WordPress มีความส�ำคัญหรือเกี่ยวข้องกับการท�ำ SEO ที่ตรงไหน Permalink ที่เราก�ำลังพูดถึงกันอยู่นี้ก็คือรูปแบบของ URL ในบล็อก ไม่ว่าจะเป็น URL ของโพสต์หรือของเพจย่อยๆ ก็ตาม ตามค่าดีฟอลต์ของ WordPress แล้ว โครงสร้าง URL ในบล็อกจะมีหน้าตาท�ำนองนี้... http://www.sample.com/?p=123 (ตรง www.sample.com ก็คือโดเมนเนมจริงๆ ของเรานะครับ) คุณจะเห็นว่ารูปแบบ Permalink ที่ WordPress ก�ำหนดมาให้ตั้งแต่ต้นจะมีโค้ด ?p= ตามหลังโดเมนเนมของเรา (ถ้าเป็นเพจจะเป็นโค้ด ?page_id=) แล้วก็มีตัวเลขอีกชุด อยู่ด้านหลังโค้ดนั้นอีกที ถ้ายังเห็นภาพไม่ชัดเจน ก็ลองดูตัวอย่างรูปแบบ Permalink ของ บทความบทหนึ่งในบล็อกของผมตามภาพประกอบ 19-2 นะครับ



ภาพ 19-2 รูปแบบ Permalink เดิม



359



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ไอ้เจ้าโค้ด ?p= รวมถึงตัวเลขพวกนัน้ น่ะ ถือเป็นความสูญเปล่าในด้าน SEO เพราะ มันสือ่ ความหมายอะไรไม่ได้เลย อ่านก็อา่ นไม่ออก จ�ำก็จำ� ยาก จะดีกว่าครับถ้าเราเปลีย่ น รูปแบบ Permalink ของบล็อก WordPress ให้มโี ครงสร้างทีอ่ า่ นเป็นภาษามนุษย์ได้ รูปแบบ ของ Permalink ที่ให้ผลดีในด้าน SEO คือ Permalink ที่มีชื่อบทความรวมอยู่ด้วย ถ้าคุณ นึกภาพไม่ออกว่า Permalink ที่ดีและมีชื่อบทความรวมอยู่ด้วยเป็นยังไง ลองดูตัวอย่าง ในภาพ 19-3 นะครับ



ภาพ 19-3 รูปแบบ Permalink ที่เหมาะสม



เห็นมั้ยครับว่าโครงสร้าง URL ของบทความเดียวกันเปลี่ยนจากเดิมคือ... http://www.booklism.com/?p=26 360



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



ไปเป็น... http://www.booklism.com/วีรบุรุษผู้สาบสูญ/ ท�ำให้เราสามารถอ่าน URL นี้รู้เรื่อง แล้วเสิร์ชเอนจิ้นก็จะเข้ามาเก็บข้อมูลชื่อ บทความใน URL นี้ไปด้วย เวลามีคนเสิร์ชด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับชื่อบทความของเรา บทความนี้ก็มีโอกาสจะถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้น วิธีตั้งค่า Permalink เพื่อให้โครงสร้าง URL อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมนี้ท�ำได้ด้วย การคลิกเมนู Setting > Permalinks ในหน้า Dashboard ของ WordPress จากนั้นเลือก ออปชันภายใต้หัวข้อ Common Settings ให้เป็น Post name (ดูภาพ 19-4)



ภาพ 19-4 ตั้งค่า Permalink Settings ให้เป็น Post name



361



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



อย่างไรก็ตาม หากคุณลองท�ำตามนีแ้ ล้วพบว่าบล็อกไม่สามารถแสดงผลได้ ก็แสดง ว่าปัญหาอาจเกิดจาก 2 กรณี กรณีแรกคือไฟล์ .htaccess (ไฟล์นจี้ ำ� เป็นต่อการแสดง Permalink ในแบบที่มีชื่อบทความรวมอยู่ด้วย) ไม่ได้ถูกก�ำหนดค่า Permission หรือสิทธิ์การ ใช้งานให้มีคุณสมบัติเป็น writable ซึ่งหมายถึงสามารถเขียนข้อมูลได้ ทางออกคือคุณต้อง เข้าไปแก้ไขค่า Permission ให้ไฟล์ .htaccess ที่อยู่บนเว็บโฮสติ้ง วิธีการตั้งค่า Permission นี้ลองศึกษาได้จากลิงก์นี้ครับ... http://codex.wordpress.org/Changing_File_Permissions ส่วนกรณีที่สองก็คือ บนเว็บโฮสติ้งของคุณไม่มีไฟล์ .htaccess นี้อยู่ พอปรับตั้ง ค่า Permalink ให้เป็น Post name บล็อก WordPress ก็เลยท�ำงานไม่ได้ วิธีแก้ไขปัญหา คือเราต้องสร้างไฟล์ .htaccess นี้ขึ้นมาเองเลย ขั้นตอนการสร้างไฟล์ .htaccess ด้วยตัว เองมีดังนี้ครับ 1 เปิดโปรแกรม Notepad ขึ้นมา ดูภาพ 19-5 แล้วพิมพ์โค้ดด้านล่างนี้ลงไป... (ปกติแล้วหาก WordPress ตรวจพบว่าบนเว็บโฮสติ้งยังไม่มีไฟล์ .htaccess อยู่ ระบบของ WordPress ก็จะโชว์โค้ดเหล่านี้ให้เห็นตรงส่วนท้ายของหน้า Permalink Settings คุณจึง สามารถก๊อบปี้โค้ดที่เห็นมาใช้ได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ใหม่)



RewriteEngine On RewriteBase / RewriteRule ^index\.php$ - [L] RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-f RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-d RewriteRule . /index.php [L]



362



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



1



ภาพ 19-5 วางโค้ดในโปรแกรม Notepad



2 คลิกเมนู File > Save เพื่อสั่งบันทึกไฟล์ ดูภาพ 19-6



2



ภาพ 19-6 คลิกเมนู File > Save



363



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



3 เมื่อหน้าต่าง Save As เปิดขึ้นมาดังภาพ 19-7 ก็ให้เลือกไดเรกทอรีที่จะใช้จัด



เก็บไฟล์ในช่อง Address 4 เลือกประเภทของไฟล์ในช่อง Save as type: ให้เป็น All Files (*.*) 5 ตั้งชื่อไฟล์ในช่อง File name: ให้เป็น .htaccess 6 คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกไฟล์เลยครับ 3



5 6 4 ภาพ 19-7 สั่งบันทึกไฟล์ .htaccess



ตอนนี้เราได้ไฟล์ .htaccess แล้ว วิธีการน�ำไฟล์นี้ไปใช้ก็แค่อัปโหลดมันขึ้นไปไว้บน เว็บโฮสติง้ ในต�ำแหน่งเดียวกับทีต่ ดิ ตัง้ WordPress ไว้เท่านัน้ เองครับ เพียงแค่นบี้ ล็อกของ เราก็จะแสดงโครงสร้าง Permalink ในรูปแบบ Post name ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว 364



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



เขียนบทความให้ตรงตำ�รา SEO บล็อกที่สร้างด้วย WordPress มีไว้เสนอบทความเป็นหลักอยู่แล้ว และเนื้อหาส่วน ใหญ่ในบล็อกของเราก็เป็นบทความอย่างไม่ตอ้ งสงสัย ฉะนัน้ ถ้าเราไม่ได้ศกึ ษาเทคนิคการ เขียนบทความให้ถกู หลัก SEO มันก็คงน่าเสียดายแย่ เพราะการเขียนบทความให้สอดคล้อง กับการท�ำ SEO ถือเป็นตัวแปรส�ำคัญทีส่ ดุ ทีจ่ ะช่วยให้เราประสบความส�ำเร็จในการท�ำ SEO ใครสร้างบล็อกด้วย WordPress ขึ้นมาแล้วเขียนบทความลงไปเผยแพร่น้อย หรือ เขียนแบบไม่ต่อเนื่อง จนท�ำให้มีบทความในบล็อกอยู่เพียงหยิบมือเดียว หรือใครไม่ชอบ เขียนบทความเอง เอาแต่ใช้วิธีก๊อบปี้บทความของคนอื่น ผมรับรองได้วา่ คุณนั่งท�ำ SEO ให้ตายคาคอมพิวเตอร์ก็ไม่มีวันรุ่ง แต่ถ้าในบล็อกของคุณมีบทความมากๆ และล้วนแล้ว แต่เป็นบทความที่มีคุณภาพ เขียนขึ้นเองทั้งหมด รวมทั้งมีการเขียนบทความใหม่ๆ ลงไป อัปเดตอยูเ่ สมอ ต่อให้คณ ุ ไม่ทำ� SEO เลยสักแอะ ก็ยงั มีคนหาคุณเจอผ่านเสิรช์ เอนจิน้ อยูด่ ี เทคนิคการเขียนบทความให้ถูกหลัก SEO มีดังต่อไปนี้ครับ •  ใส่คีย์เวิร์ดในชื่อบทความ เทคนิคการเขียนบทความให้ถูกหลักด้าน SEO เริ่มกัน ตัง้ แต่การตัง้ ชือ่ บทความเลยทีเดียวครับ เพราะชือ่ บทความถือเป็นข้อมูลทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ของ บทความชิ้นนั้น เสิร์ชเอนจิ้นเองก็ให้น�้ำหนักกับชื่อบทความมากกว่าข้อมูลส่วนอื่น เราจึง จ�ำเป็นต้องตั้งชื่อบทความโดยใส่คีย์เวิร์ดลงไปด้วย คีย์เวิร์ดที่ใส่ลงไปนี้ถ้าเป็นไปได้ก็ควร เป็นคีย์เวิร์ดเดียวกับที่เราวางแผนใช้ท�ำ SEO แต่ถ้าใส่คีย์เวิร์ดเดียวกันนั้นไม่ได้จริงๆ ก็ ให้หาคีย์เวิร์ดอื่นๆ ที่เข้ากับเนื้อหาบทความมาใช้แทน •  ก�ำหนดความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดคือจ�ำนวนคีย์เวิร์ดที่ เราใส่ลงไปในบทความต่อปริมาณเนือ้ หาทัง้ หมด ค�ำแนะน�ำของผมก็คอื เราควรใส่คยี เ์ วิรด์ หลักที่ใช้ท�ำ SEO ลงไปอย่างมาก 1-5 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อหาบทความ แต่ถ้าเราใช้คีย์เวิร์ด อื่นๆ เสริมด้วย ก็ควรรวมกันแล้วไม่เกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ เพราะหากยัดคีย์เวิร์ดใส่ลงไป 365



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ในบทความมากเกินไป มันจะเข้าข่ายเป็นการใส่คีย์เวิร์ดอย่างไม่เป็นธรรมชาติ (Keyword Stuffing) และอาจถูกเสิร์ชเอนจิ้นมองว่าก�ำลังพยายามสแปมคีย์เวิร์ดได้ •  ก�ำหนดต�ำแหน่งของคีย์เวิร์ด การใส่คีย์เวิร์ดลงในบทความ เราควรเน้นใส่ไว้ใน บรรทัดแรกๆ หรือย่อหน้าแรกของบทความ เพราะเป็นส่วนที่มีน�้ำหนักมากที่สุด บางคน แนะน�ำว่าให้ใส่ไว้ในช่วง 20 ค�ำแรกของบทความจะดีที่สุด •  ก�ำหนด Heading ให้คีย์เวิร์ด ตอนที่คุณก�ำลังเขียนบทความใน WordPress เคย สังเกตมั้ยครับว่าเราสามารถก�ำหนด Heading ให้ตัวอักษรได้ด้วยการคลิกเลือกปุ่ม Paragraph การก�ำหนด Heading ก็เพือ่ ปรับให้ตวั อักษรนัน้ ๆ มีลกั ษณะเป็นหัวข้อ โดย Heading นี้มีตั้งแต่ Heading 1 ไปจนถึง Heading 6 ซึ่งมีค่าเท่ากับการก�ำหนดตัวอักษรนั้นให้เป็น หัวข้อล�ำดับที่หนึ่งไปจนถึงล�ำดับที่หก ตัวอักษรที่เราก�ำหนดให้เป็น Heading นี้จะถูกปรับ ฟอร์แมตให้มีความโดดเด่นกว่าตัวอักษรปกติ และเพื่อให้คีย์เวิร์ดของเรามีความส�ำคัญ ในมุมมองของเสิร์ชเอนจิ้น เราควรก�ำหนด Heading ให้คีย์เวิร์ดตามความเหมาะสมด้วย •  ก�ำหนดฟอร์แมตให้คีย์เวิร์ด ฟอร์แมตของตัวอักษรก็มีส่วนต่อการท�ำ SEO เหมือน กัน ตัวอักษรไหนถูกก�ำหนดให้เป็นตัวหนา ตัวเอน หรือขีดเส้นใต้ เสิร์ชเอนจิ้นจะมอง ว่ามีความส�ำคัญมากกว่า เพราะดูโดดเด่นกว่าตัวอักษรอื่นๆ ที่แวดล้อมอยู่ ถ้าอยาก เน้นย�้ำความส�ำคัญของคีย์เวิร์ด เราก็ควรปรับฟอร์แมตของคีย์เวิร์ดให้แตกต่างจากเนื้อ ความปกติ •  ก�ำหนดความใกล้ชิดของคีย์เวิร์ด การก�ำหนดความใกล้ชิดของคีย์เวิร์ดจะใช้ใน กรณีที่คีย์เวิร์ดของเราเป็นวลีซึ่งประกอบด้วยค�ำ 2 ค�ำขึ้นไป เช่น เราต้องการใช้คีย์เวิร์ด ว่า “comedy movies” เราก็ควรวางค�ำว่า “comedy” และ “movies” ไว้ชิดติดกันให้มาก ที่สุด ไม่ควรคั่นค�ำ 2 ค�ำนี้ด้วยข้อความอื่นๆ เพื่อว่าเวลามีคนเสิร์ชด้วยคีย์เวิร์ด “comedy movies” จะได้มีโอกาสเจอบล็อกของเราได้มากขึ้น เนื่องจากเสิร์ชเอนจิ้นจะให้น�้ำหนักกับ คีย์เวิร์ดที่อยู่ชิดติดกันมากกว่า 366



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



•  ก�ำหนดคียเ์ วิรด์ ให้เป็นลิงก์ อีกวิธงี า่ ยๆ ในการเน้นความส�ำคัญของคียเ์ วิรด์ ทีอ่ ยูใ่ น



บทความ ท�ำได้ดว้ ยการก�ำหนดให้คยี เ์ วิรด์ นัน้ เป็นลิงก์ เพราะเสิรช์ เอนจิน้ จะให้นำ�้ หนักกับ ตัวอักษรที่เป็นลิงก์มากกว่าตัวอักษรธรรมดา การก�ำหนดลิงก์นี้ควรให้เชื่อมโยงไปยังเว็บ เพจอื่นๆ ในบล็อกของเรา ยิ่งเชื่อมโยงได้มากยิ่งดี เพราะโปรแกรมเก็บข้อมูลของเสิร์ช เอนจิ้นจะได้ไต่ไปทั่วบล็อกและใช้เวลาอยู่ในบล็อกของเรานานขึ้น



ตั้งค่า Category ให้ถูกหลัก SEO แคเทอกอรีของบทความเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีเนื้อหาเหมือนกับตัวบทความ ถ้าเปรียบ บทความเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ แคเทอกอรีก็เป็นเหมือนโฟลเดอร์ที่ใช้จัดเก็บไฟล์ มัน ไม่มีเนื้อหาหรือข้อมูลอะไรเหมือนกับไฟล์จริงๆ แต่พูดแบบนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ สามารถก�ำหนดข้อมูลอะไรให้แคเทอกอรีได้เลยนะครับ สิ่งที่เราก�ำหนดได้คือค�ำอธิบาย หรือ Description ของแคเทอกอรี ตอนที่เราลองสร้างแคเทอกอรีใหม่ขึ้นมาใช้งาน (หรือจะเปิดแคเทอกอรีเดิมขึ้นมา แก้ไขก็ตาม) จ�ำได้หรือเปล่าครับว่าจะมีช่อง Description ไว้ให้เรากรอกค�ำอธิบายเกี่ยวกับ แคเทอกอรีนั้นๆ ด้วย (ดูภาพ 19-8 ประกอบ) การเขียน Description ให้ถูกหลัก SEO ก็ คือ ควรเขียนอธิบายว่าแคเทอกอรีนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร หรือบทความในแคเทอกอรีนี้ จะมีทิศทางไปในทางไหน ที่ส�ำคัญต้องพยายามสอดแทรกคีย์เวิร์ดลงไปเป็นส่วนหนึ่งของ Description ด้วย หากใช้คีย์เวิร์ดหลักที่ใช้ท�ำ SEO ไม่ได้ ก็หาคีย์เวิร์ดย่อยที่เหมาะกับ แคเทอกอรีนั้นๆ มาใช้แทน



367



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 19-8 เขียน Description ให้แคเทอกอรี



คุณอาจคิดไปเองว่าข้อมูล Description ของแคเทอกอรีนี้ไม่ได้มีความส�ำคัญอะไร มากมาย เพราะปกติแล้วคนอ่านบล็อกจะไม่เห็นข้อมูล Description พวกนี้ (ยกเว้นบางธีม ทีจ่ ะโชว์ Description ของแคเทอกอรีให้เห็นด้วย) แต่อย่าลืมว่าเสิรช์ เอนจิน้ มองเห็นข้อมูล Description เหล่านี้ครับ และมันก็จะเก็บข้อมูล Description ไปไว้ในระบบฐานข้อมูลของ ตัวเองด้วย ข้อมูล Description ของแคเทอกอรีในบล็อก WordPress จึงมีส่วนช่วยในด้าน SEO อยู่เหมือนกัน (แม้จะไม่มากนักก็ตาม) เพราะฉะนั้นถ้าไม่ขี้เกียจจนเกินไป คุณก็ควรเข้าไปก�ำหนดข้อมูล Description ให้ แคเทอกอรีในบล็อกด้วยนะครับ 368



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



ทำ� SEO ให้ ไฟล์ภาพใน WordPress เสิรช์ เอนจิน้ อย่าง Google ไม่ได้มแี ค่เสิรช์ เอนจิน้ หลักส�ำหรับค้นหาข้อมูลเว็บอย่าง Google.com (หรือ Google.co.th) แต่ยังมีเสิร์ชเอนจิ้นย่อยๆ ส�ำหรับค้นหาข้อมูลเฉพาะ ด้านอีกหลายตัวด้วยกัน เสิร์ชเอนจิ้นยอดฮิตอีกตัวหนึ่งของ Google ก็ได้แก่ Google Images (http://images.google.com/) ซึ่งมีไว้ส�ำหรับค้นหาไฟล์ภาพโดยเฉพาะ ภาพประกอบบทความต่างๆ ที่อยู่ในบล็อกของเราก็มีโอกาสจะถูกค้นเจอผ่าน Google Images เช่นกัน ซึ่งหากมีคนคลิกที่ภาพของเราในหน้าผลการค้นหาของ Google Images เราก็มีสิทธิ์จะได้ผู้ชมบล็อกเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้เราจึงควร ก�ำหนดข้อมูลต่างๆ ของไฟล์ภาพให้เป็น เสิร์ชเอนจิ้น Google Images จะได้รู้ว่าภาพ ของเราเป็นภาพอะไร เกี่ยวข้องกับอะไร คราวนี้เวลามีคนเสิร์ชผ่าน Google Images ด้วย คียเ์ วิรด์ ทีส่ อดคล้องกับภาพของเรา คนคนนัน้ จะได้เห็นภาพในบล็อกไปปรากฏในหน้าผล การค้นหาด้วย ไฟล์ภาพทุกไฟล์ที่เราอัปโหลดขึ้นไปไว้บนบล็อกเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเปิดขึ้น มาตั้งค่าเพิ่มเติมได้ทั้งหมด ข้อมูลที่เราควรก�ำหนดให้ไฟล์ภาพเพื่อให้มีประโยชน์ในด้าน SEO ก็ได้แก่... (ดูภาพ 19-9) •  Title คือชื่อของภาพ คุณควรก�ำหนดเป็นชื่อที่มีความหมาย และสื่อสารให้รู้ว่า ภาพนั้นเป็นภาพอะไร เราไม่ควรตั้งชื่อภาพเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรอะไรที่อ่านไม่รู้เรื่อง •  Alternate Text คือค�ำหรือข้อความที่ใช้ก�ำกับภาพนั้น ข้อความ Alternate Text จะแสดงขึ้นมาให้เห็นเมื่อคนอ่านบล็อกเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปอยู่เหนือภาพ หรืออีก กรณีหนึง่ คือจะแสดงขึน้ มาแทนตัวภาพจริงๆ หากการโหลดหน้าบล็อกเกิดความผิดพลาด เช่น อินเทอร์เน็ตขัดข้อง เป็นต้น การก�ำหนด Alternate Text นี้จะก�ำหนดให้เหมือนกับ ชื่อภาพเลยก็ได้ครับ 369



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 19-9 ก�ำหนดข้อมูลให้ไฟล์ภาพเพื่อผลด้าน SEO



•  Caption คือค�ำบรรยายภาพ ในกรณีของไฟล์มีเดียที่เป็นไฟล์ภาพ ทั้ง Alternate



Text และ Caption จะมีหน้าที่เหมือนกัน ถ้าเราใส่ข้อมูล Alternate Text แล้ว ก็ไม่ต้องใส่ ข้อมูล Caption ตรงนี้อีก แต่ในกรณีของไฟล์มีเดียประเภทอื่นๆ จะไม่มีข้อมูล Alternate Text ให้กรอกอะไรลงไป เราจึงต้องกรอกค�ำหรือข้อความที่จะใช้ก�ำกับไฟล์มีเดียในช่อง Caption นี้ •  Description คือค�ำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพ ข้อมูล Description จะช่วย ขยายความให้เสิร์ชเอนจิ้นรู้ชัดยิ่งขึ้นว่า ภาพภาพนี้เกี่ยวข้องกับอะไร มีเนื้อหาประมาณ ไหน การก�ำหนด Description ให้ไฟล์ภาพจึงมีส่วนช่วยในการท�ำ SEO และเราก็ต้องไม่ ลืมใส่คีย์เวิร์ดที่เหมาะสมลงไปในข้อมูล Description นี้ด้วย 370



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



เพิ่มพลังการ Ping ให้ WordPress ในหัวข้อ “ตั้งค่า Writing” ของบทที่ 13 ผมเคยพูดเรื่องเกี่ยวกับการปิง (Ping) ไป นิดหน่อยแล้ว เราจะมาขยายความเรื่องนี้กันต่ออีกหน่อยในหัวข้อนี้ครับ พูดให้เข้าใจ ง่ายๆ แล้วก็ต้องบอกว่า การปิงเป็นเหมือนการส่งสัญญาณออกไปให้เสิร์ชเอนจิ้นรับรู้ว่า บล็อกของเรามีการอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ แล้ว ขอให้เสิร์ชเอนจิ้นรีบเข้ามาเก็บข้อมูลไปซะ ดีๆ ประโยชน์ส�ำคัญของการปิงคือจะช่วยให้ข้อมูลใหม่ๆ ในบล็อกไปปรากฏในหน้าผล การค้นหาของเสิรช์ เอนจิน้ หากเราไม่ปงิ บล็อก ข้อมูลทีเ่ สิรช์ เอนจิน้ มีอยูก่ อ็ าจล้าหลังกว่า ข้อมูลจริงในบล็อกเรา ในการปิงนี้ เราจะท�ำเองไม่ได้ ต้องอาศัยเว็บไซต์ประเภท Ping Service ซึง่ ให้บริการ ปิงโดยเฉพาะครับ บางคนอาจสงสัยว่าการปิงจ�ำเป็นกับบล็อกมั้ย ก็ต้องบอกว่าไม่ได้จ�ำเป็นถึงขนาด คอขาดบาดตายหรอก แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรท�ำ โดยเฉพาะบล็อกใหม่ๆ ทั้งหลาย ตามค่า ดีฟอลต์แล้ว WordPress จะใส่ Ping Service เจ้าหลักคือ Ping-o-Matic (http://rpc. pingomatic.com/) มาให้เราโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเราต้องการเพิ่มพลังในด้าน SEO ให้เต็ม สูบ เราก็สามารถเพิ่มรายชื่อ Ping Service เข้าไปในระบบบล็อกของเราได้อีก วิธีการเพิ่มรายชื่อ Ping Service เข้าสู่บล็อกท�ำได้ด้วยการคลิกเมนู Settings > Writing เพื่อเข้ามาที่หน้า Writing Settings จากนั้นเราก็ใส่รายชื่อ Ping Service ลงไปใน ช่องว่างใต้หัวข้อ Update Services ครับ (ดูภาพ 19-10)



371



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 19-10 เพิ่มรายชื่อ Ping Service



ส�ำหรับรายชื่อเว็บไซต์ Ping Service ที่การันตีวา่ ช่วยปิงบล็อกให้เราอย่างได้ผลก็ มีดังต่อไปนี้... http://rpc.twingly.com http://api.feedster.com/ping http://api.moreover.com/RPC2 http://api.moreover.com/ping http://www.blogdigger.com/RPC2 http://www.blogshares.com/rpc.php http://www.blogsnow.com/ping http://www.blogstreet.com/xrbin/xmlrpc.cgi 372



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



http://bulkfeeds.net/rpc http://www.newsisfree.com/xmlrpctest.php http://ping.blo.gs/ http://ping.feedburner.com http://ping.syndic8.com/xmlrpc.php http://ping.weblogalot.com/rpc.php http://rpc.blogrolling.com/pinger/ http://rpc.technorati.com/rpc/ping http://rpc.weblogs.com/RPC2 http://www.feedsubmitter.com http://blo.gs/ping.php http://www.pingerati.net http://www.pingmyblog.com http://geourl.org/ping http://ipings.com http://www.weblogalot.com/ping (ถ้าขี้เกียจพิมพ์ URL พวกนี้เอง ก็เข้าไปก๊อบปี้รายชื่อเว็บปิงเหล่านี้ได้จาก http:// codex.wordpress.org/Update_Services นะครับ)



เสริมพลัง SEO ด้วย Plugin ใครคิดว่าเทคนิคท�ำ SEO ให้บล็อก WordPress เท่าที่ผมอธิบายมายังไม่จุใจพอ หัวข้อสุดท้ายนี้ผมขอแถมกลยุทธ์การท�ำ SEO ให้คุณได้ลองศึกษาเพิ่มเติมอีกหน่อย ครับ โดยผมจะหยิบปลั๊กอินของ WordPress ที่ใช้ส�ำหรับช่วยท�ำ SEO มาแนะน�ำกัน แม้ WordPress จะมีพลังในด้าน SEO พอตัวอยู่แล้ว แต่ถา้ เราหาปลั๊กอินเด็ดๆ มาช่วย 373



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ท�ำ SEO เข้าไปอีกต่อ ก็รับรองได้เลยว่าบล็อก WordPress ของเราจะต้องแรงทะลุโลก (ออนไลน์) แน่ๆ ไปลองดูกันครับว่า มีปลั๊กอินตัวไหนน่าจะหามาใช้เป็นเครื่องมือช่วยท�ำ SEO กัน บ้าง ปลั๊กอิน SEO Ultimate (ดูภาพ 19-11) ปลั๊กอินตัวนี้มีความสามารถครบ ถ้วนรอบด้านที่สุดสมชื่อ แค่มีปลั๊กอิน SEO Ultimate ตัวเดียว คุณก็เพิ่มพลังด้าน SEO ให้บล็อกได้อีกมากมายก่ายกอง ความสามารถของ SEO Ultimate ก็เช่น ช่วยเช็ก 404 errors (URL ที่ใช้การไม่ได้), ช่วยก�ำหนดข้อมูล Meta Description เพื่อเขียนค�ำอธิบาย เพิ่มเติมให้บทความ, ช่วยก�ำหนดข้อมูล Meta Keywords เพื่อก�ำหนดคีย์เวิร์ดของแต่ละ บทความ, ช่วยก�ำหนดข้อมูล Meta Robot Tags เพื่อควบคุมการท�ำงานของเสิร์ชเอนจิ้น, ช่วยปรับแต่ง Permalink ให้แสดงผลตรงตามต้องการมากยิ่งขึ้น หรือช่วยตรวจสอบ ว่าบล็อก WordPress ของเราอยู่ในสถานะอนุญาตให้เสิร์ชเอนจิ้นเข้ามาเก็บข้อมูลได้ ตามปกติหรือไม่ เป็นต้น



ภาพ 19-11 ตัวอย่าง ปลั๊กอิน SEO Ultimate



374



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



ปลั๊กอิน Stallion WordPress SEO Plugin (ดูภาพ 19-12) นี่เป็นปลั๊กอิน อีกตัวที่น่าสนใจครับ ความสามารถของ Stallion WordPress SEO Plugin ไม่ได้มากมาย ก่ายกองเหมือนปลั๊กอิน SEO Ultimate แต่ปลั๊กอินตัวนี้ก็ช่วยท�ำงานบางอย่างตามที่มัน ถนัดได้เป็นอย่างดี ความสามารถของ Stallion WordPress SEO Plugin คือจะช่วยให้เรา ก�ำหนดได้วา่ จะให้เสิรช์ เอนจิน้ เข้ามาเก็บข้อมูลส่วนไหนหรือไม่เก็บข้อมูลส่วนไหน เป็นต้น ว่า จะให้เก็บข้อมูลวันที่หรือเปล่า, จะให้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความหรือเปล่า, จะ ให้เก็บข้อมูลของแคเทอกอรีทั้งหมดหรือเฉพาะแคเทอกอรีแรก, จะให้เก็บข้อมูลของแท็ก ทั้งหมดหรือเฉพาะแท็กแรก, จะให้เก็บข้อมูลในบล็อกทั้งบล็อกหรือเฉพาะโฮมเพจ หรือ จะให้ยกเว้นการเก็บข้อมูลในโพสต์หรือเพจไหนเป็นการเฉพาะเจาะจง เป็นต้น



ภาพ 19-12 ตัวอย่างปลั๊กอิน Stallion WordPress SEO Plugin



375



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ปลั๊กอิน WordPress SEO by Yoast (ดูภาพ 19-13) ตัวนี้เป็นปลั๊กอินของ WordPress อีกตัวทีม่ คี วามสามารถล้นเหลือในด้านการท�ำ SEO ครับ หลายๆ ฟีเจอร์ของ WordPress SEO by Yoast เป็นฟีเจอร์ที่หาไม่ได้ในปลั๊กอินตัวอื่นๆ ตัวอย่างฟีเจอร์ดีๆ ของ WordPress SEO by Yoast ก็เช่น ช่วยเชื่อมต่อบล็อก WordPress ของเราเข้ากับ ระบบ Google Webmaster Tools หรือ Bing Webmaster Tools หรือ Alexa เป็นต้น, ช่วย ก�ำหนด Metadata ต่างๆ, ช่วยสร้าง Sitemap ให้บล็อก, ช่วยสร้าง Breadcrumb ซึ่งจะ แสดงโครงสร้างลิงก์ภายในบล็อก, ช่วยตัง้ ค่าเกีย่ วกับ RSS Feed ของบล็อก หรือช่วยแก้ไข ไฟล์ .htaccess ครับ



ภาพ 19-13 ตัวอย่างปลั๊กอิน WordPress SEO by Yoast



376



ท�ำ SEO ให้ WordPress แบบ On-Page SEO



บทที่ 19



ปลั๊กอิน All in One SEO Pack (ดูภาพ 19-14) ตัวนี้เป็นปลั๊กอินชื่อดังสุด ฮิตที่นิยมใช้ในการท�ำ SEO การใช้งาน All in One SEO Pack ถือว่าท�ำได้ง่าย ไม่มีอะไร ซับซ้อน (หากต้องการใช้งานในระดับสูง เราต้องอัปเกรดไปใช้เวอร์ชัน Pro ซึ่งจะต้องเสีย เงิน) ตัวอย่างความสามารถของปลั๊กอินนี้ก็เช่น ใช้ก�ำหนดข้อมูล Description ให้บล็อก, ก�ำหนดคีย์เวิร์ดให้บล็อก, ใช้ตั้งค่า Canonical URLs เพื่อป้องกันไม่ให้บล็อกมีเนื้อหาที่ซ�้ำ ซ้อนกันโดยที่ URL ต่างกัน, ใช้ตงั้ ค่า Post Title Format (รูปแบบการแสดงไตเติลของโพสต์ บนแท็บของเว็บเบราเซอร์), ตั้งค่า Page Title Format (รูปแบบการแสดงไตเติลของเพจ), ตั้งค่า Category Title Format (รูปแบบการแสดงไตเติลของแคเทอกอรี), ตั้งค่า Tag Title Format (รูปแบบการแสดงไตเติลของแท็ก), ใช้เชื่อมต่อบล็อกเข้ากับ Google+ (Google+ เป็น Social Network เหมือนกับ Facebook), ใช้เชื่อมต่อบล็อกเข้ากับระบบ Google Analytics (Google Analytics เป็นบริการเก็บสถิติเว็บไซต์) ฯลฯ



ภาพ 19-14 ตัวอย่างปลั๊กอิน All in One SEO Pack



377



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ปลั๊กอิน Google XML Sitemaps (ดูภาพ 19-15) ปลัก๊ อินตัวสุดท้ายทีห่ ยิบ มาแนะน�ำนี้เป็นปลั๊กอินที่ใช้ส�ำหรับสร้างและตั้งค่าให้ Sitemap โดยเฉพาะ ซึ่ง Sitemap นี้ก็คือไฟล์ที่ท�ำหน้าที่เป็นคล้ายๆ แผนที่แสดงโครงสร้างในบล็อกของเรา เพื่อให้รู้ว่าใน บล็อกมีองค์ประกอบอะไรบ้าง มีโพสต์กี่โพสต์ มีเพจกี่เพจ มีการเชื่อมโยงลิงก์จากไหนไป ไหน ท�ำนองนีเ้ ป็นต้น ประโยชน์ของ Sitemap คือเราจะน�ำมันไปซับมิตเข้าสูร่ ะบบ Google Webmaster Tools (บริการของ Google ที่ช่วยท�ำ SEO ส�ำหรับเว็บมาสเตอร์) หรือ Bing Webmaster Tools (ให้บริการคล้ายกับ Google Webmaster Tools แต่เป็นของ Microsoft) เพือ่ ให้เสิรช์ เอนจิน้ อย่าง Google หรือ Bing เข้ามาเก็บข้อมูลในบล็อกโดยใช้ไฟล์ Sitemap เป็นเครือ่ งมือ โดยไฟล์ Sitemap นีจ้ ะช่วยให้เสิรช์ เอนจิน้ เก็บข้อมูลในบล็อกได้รวดเร็วและ ครบถ้วนยิ่งขึ้นครับ



ภาพ 19-15 ตัวอย่างปลั๊กอิน Google XML Sitemaps



378



บทที ่ 20 ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



มาถึงบทปิดท้ายของหนังสือเล่มนี้แล้ว บทนี้เราจะพูดเรื่องไหนไปไม่ได้ นอกจากเรื่องการท�ำ SEO ในแบบที่เรียกว่า Off-Page SEO ครับ การท�ำ Off-Page SEO ก็คือการอาศัยปัจจัยภายนอก (บล็อก) มาเป็นตัวช่วยในการท�ำ SEO ของเรา การท�ำ Off-Page SEO ว่าไปแล้วเป็นเรือ่ งยากและต้องอาศัยเวลามากกว่าการท�ำ On-Page SEO เพราะเป็นการพยายาม ไปจัดการกับปัจจัยภายนอกซึ่งเราไม่สามารถควบคุมจัดการได้ทั้งหมด แต่เราจะไม่สนใจท�ำ Off-Page SEO เลยก็ไม่ได้ เพราะมันมีผลต่อความส�ำเร็จในการท�ำ SEO พอสมควรทีเดียว หลักการส�ำคัญในการท�ำ Off-Page SEO จริงๆ แล้วก็คอื การพยายามสร้างแบ็กลิงก์หรือลิงก์ ที่เชื่อมโยงกลับมาหาบล็อกของเรานั่นเอง ท�ำไมการสร้างแบ็กลิงก์ถึงส�ำคัญ และเราจะสร้างแบ็กลิงก์ ด้วยวิธีการไหนได้บ้าง ไปลองศึกษากันดูเลยดีกว่าครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เทคนิคทำ� SEO พร้อมโปรโมต Blog ผมเอ่ยถึง “แบ็กลิงก์” (Backlink) ในช่วงเกริน่ น�ำบท แต่ผมก็อยากอธิบายขยายความ ค�ำค�ำนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเป็นค�ำที่ส�ำคัญมาก และยังเกี่ยวข้องกับการท�ำ Off-Page SEO โดยตรง ค�ำว่า “แบ็กลิงก์” นี้ถ้าแปลเป็นไทยง่ายๆ ก็ต้องแปลว่า “ลิงก์กลับ” ความ หมายของค�ำค�ำนี้ก็สอดคล้องกับชื่อของมันเลยครับ คือหมายถึงลิงก์ที่อยู่ภายนอกบล็อก แต่เมื่อคลิกแล้วจะเชื่อมโยงกลับมาหาบล็อกของเรา เจ้าของบล็อกเจ้าของเว็บส่วนใหญ่มกั พยายามสร้างแบ็กลิงก์ให้มากๆ ด้วยกันทัง้ นัน้ ประโยชน์อย่างแรกของแบ็กลิงก์คอื จะช่วยโปรโมตบล็อก ยิง่ มีแบ็กลิงก์ของเรากระจายอยู่ ทัว่ โลกออนไลน์ ก็ยงิ่ มีโอกาสมากขึน้ ทีใ่ ครต่อใครจะคลิกแบ็กลิงก์เหล่านัน้ เพือ่ เข้ามาเยีย่ ม ชมบล็อกของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแบ็กลิงก์นั้นอยู่ในแหล่งที่มีผู้คนชุกชุม เราก็ยิ่งจะ ได้ผู้ชมบล็อกมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากแบ็กลิงก์จะช่วยโปรโมตบล็อกได้โดยตรงแล้ว มันยังมีประโยชน์ตอ่ การท�ำ SEO เป็นอย่างยิ่ง เพราะแบ็กลิงก์จะช่วยเพิ่มคะแนน Google PageRank ให้เรา ถึงตรงนี้ผมคงต้องอธิบายเพิ่มเติมแล้วว่า Google PageRank มันคืออะไร Google PageRank คือระบบอัลกอริธึมตัวหนึ่งของ Google ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อ ให้คะแนนบรรดาเว็บเพจจ�ำนวนมหาศาลในโลกออนไลน์ คะแนน Google PageRank นี้ จะมีตงั้ แต่ 0 ไปจนถึง 10 ยิง่ เว็บเพจไหนได้คะแนนมากก็ยงิ่ ดี เพราะหมายถึง Google มอง ว่าเว็บเพจนั้นมีความน่าเชื่อถือ เว็บเพจที่มีคะแนน Google PageRank สูงจึงมีแนวโน้มที่ จะมี Ranking ดีตามไปด้วย ตัวแปรที่มีผลส�ำคัญต่อคะแนน Google PageRank ของเราก็คือแบ็กลิงก์นี่เองครับ ยิ่งบล็อกของเรามีแบ็กลิงก์มากๆ คะแนน Google PageRank โดยรวมก็จะมากขึ้นไปด้วย



380



ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



บทที่ 20



(สาเหตุที่ผมพูดว่า “คะแนน Google PageRank โดยรวม” ก็เพราะการให้คะแนน Google PageRank จะให้กบั เว็บเพจแต่ละหน้า ไม่ได้ให้คะแนนเว็บทัง้ เว็บหรือบล็อกทัง้ บล็อก) การ มีแบ็กลิงก์สง่ กลับมาหาเรามากๆ ท�ำให้เราดูน่าเชื่อถือในสายตาของ Google เพราะการมี แบ็กลิงก์ในที่ต่างๆ ก็แปลได้ว่ามีคนพูดถึงเรา แล้วถ้ายิ่งแบ็กลิงก์นั้นอยู่ในเว็บที่มีคะแนน Google PageRank สูงอยู่แล้ว หรือมาจากเว็บที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับบล็อกของเรา ก็จะ ยิ่งฉุดคะแนน Google PageRank ของเราให้เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย เมื่อคะแนน Google PageRank สูงขึ้น แน่นอนว่า Ranking ของเราก็มีแนวโน้มจะ ขยับสูงขึ้น ซึ่งนั่นก็คือจุดมุ่งหมายส�ำคัญในการท�ำ SEO ครับ



โปรโมต Blog + ทำ� SEO ผ่าน Social Network ผมอยากรู้จริงๆ ว่า สมัยนี้จะยังมีคนใช้คอมพิวเตอร์คนไหนไม่รู้จักหรือไม่ได้ใช้ งานเว็บไซต์ประเภท Social Network อยู่บ้างหรือเปล่า เชื่อว่าถ้ามีก็คงจะน้อยเต็มที เพราะเว็บ Social Network ชื่อดังไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Google+, Linkedin หรือ Pinterest เข้ามามีบทบาทในโลกออนไลน์มากมายมหาศาลเลยก็ว่าได้ครับ โดย เฉพาะ Facebook ซึ่งเป็น Social Network อันดับหนึ่งนั้น เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้รับ ความนิยมสูงมากๆ เราใช้งานเว็บไซต์ประเภท Social Network กันเป็นประจ�ำอยู่แล้ว ทั้งใช้เพื่อบันทึก หรือบอกเล่าเรื่องราวส่วนตัวของเรา, ใช้เพื่อพูดคุยกับเพื่อนๆ, ใช้เพื่อแบ่งปันเรื่องราว ต่างๆ ระหว่างกัน, ใช้เพื่อแชร์ประสบการณ์ดีๆ, ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น, ใช้เพื่อ สร้างเครือข่ายสังคมที่สนใจในเรื่องเดียวกัน, ใช้เพื่อสร้างพลังความร่วมมือบางอย่าง หรือ อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าเราจะหยิบ Social Network มาใช้เป็นเครื่องมือในการท�ำ SEO คือ เป็นตัวช่วยในการสร้างแบ็กลิงก์ ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกจริงมั้ยครับ 381



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



คุณผู้อ่านของผมที่ซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่าน ส่วนใหญ่น่าจะใช้บริการเว็บ Social Network กันสักแห่งอยู่แล้ว และก็คงมีเพื่อนๆ ใน Social Network นั้นๆ อยู่เป็นร้อยๆ คนกันโดยถ้วนหน้า พอเรามีบล็อกเป็นของตัวเองแล้ว เราก็สามารถหยิบ Social Network ทีใ่ ช้บริการอยูม่ าเป็นเครือ่ งมือสร้างแบ็กลิงก์และโปรโมตบล็อกได้เป็นอย่างดี เราสามารถ เขียนบอกเล่ากับกลุม่ เพือ่ นได้วา่ เราได้สร้างบล็อกขึน้ มาใหม่ อยากให้ทกุ คนลองคลิกเข้าไป เยี่ยมชมตาม URL ที่บอกไว้ หรือเราจะแชร์เนื้อหาหรือบทความในบล็อกมาไว้ใน Social Network อีกต่อก็ยังได้ การสร้างแบ็กลิงก์ผ่าน Social Network ต่างๆ เป็นเรื่องที่ท�ำได้ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ครับ เราไม่ต้องกังวลว่าจะถูกแบนหรือถูกลบข้อความ เพราะพื้นที่ใน Social Network ถือ เป็นพื้นที่ส่วนตัวของผู้ใช้แต่ละคน เราจะเขียนอะไรจะเผยแพร่อะไรก็ได้ทั้งนั้น รวมถึงการ ก�ำหนดแบ็กลิงก์เพื่อโปรโมตบล็อกของเราเองด้วย แต่ทั้งนี้การสร้างแบ็กลิงก์ผ่าน Social Network ต่างๆ อย่างที่ว่า ถ้าจะให้ดีเรา ควรศึกษาวิธีการใช้งาน Social Network นั้นอย่างละเอียดด้วย จะได้ใช้ประโยชน์จาก Social Network ได้อย่างคุ้มค่าและตรงเป้าหมายที่สุด เช่น ถ้าเราต้องการสร้างแบ็กลิงก์ ไว้ใน Facebook เราก็ควรใช้ Facebook Page แทนที่จะเป็น Facebook Profile เนื่องจาก Facebook Page ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับองค์กร, บริษัท, แบรนด์สินค้า, เว็บไซต์/บล็อก หรือคนที่มีชื่อเสียงโดยตรง ขณะที่ Facebook Profile เหมาะกับคนทั่วไปมากกว่าครับ



382



ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



บทที่ 20



ภาพ 20-1 ตัวอย่าง Facebook ของบล็อก Blognone



โปรโมต Blog + ทำ� SEO ผ่านเว็บ Social Bookmark เราทุกคนน่าจะรู้จักเว็บไซต์ประเภท Social Network กันดีอยู่แล้ว แต่ถ้าพูดถึง เว็บไซต์ประเภท Social Bookmark อาจมีบางคนท�ำหน้างง ไม่รู้วา่ มันคืออะไร มีไว้ใช้ท�ำ อะไร มันใช้สร้างแบ็กลิงก์ได้ด้วยเหรอ เว็บไซต์ประเภท Social Bookmark มีไว้ให้บริการ จัดเก็บเว็บเพจทีเ่ ราชืน่ ชอบไว้ในรูปบุก๊ มาร์ก เพือ่ ให้เรากลับมาใช้ไงานได้ทกุ เวลาทีต่ อ้ งการ หรือเพื่อแบ่งปันบุ๊กมาร์กกับเพื่อนๆ ของเรา 383



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ถ้านึกภาพการจัดเก็บบุก๊ มาร์กไม่ออก ก็ลองนึกถึงตอนทีเ่ ราเข้าเว็บต่างๆ ดูนะครับ เวลาที่เราเจอเว็บเพจถูกใจเราก็มักบันทึกเว็บเพจนั้นไว้เป็นบุ๊กมาร์ก เพียงแต่บุ๊กมาร์กที่ บันทึกไว้ในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์นจี้ ะมีเรามองเห็นแค่คนเดียว แต่ถา้ เราบันทึกบุก๊ มาร์ก ผ่านเว็บไซต์ประเภท Social Network เราก็จะแชร์บกุ๊ มาร์กและพูดคุยแสดงความคิดเห็นกับ เพื่อนๆ ได้ เว็บไซต์ที่ให้บริการจัดเก็บบุ๊กมาร์กออนไลน์จึงถูกเรียกว่า Social Bookmark ไงล่ะครับ การจัดเก็บบุ๊กมาร์กผ่านบริการ Social Bookmark เหล่านี้ นอกจากช่วยให้เรา เห็นข้อมูลว่ามีใครสร้างบุ๊กมาร์กของเว็บไหนไว้บา้ งแล้ว เรายังจะเห็นตัวอย่างเนื้อหาของ บล็อกนั้นด้วย โดยมากแล้วคนที่เข้ามาสร้างบุ๊กมาร์กใน Social Bookmark ทั้งหลายจะ ไม่ได้สร้างบุ๊กมาร์กของเว็บไซต์หรือบล็อกโดยตรง แต่จะสร้างบุ๊กมาร์กของเว็บเพจหรือ หน้าที่แสดงบทความน่าสนใจมากกว่า เพื่อให้คนอื่นๆ ตามเข้าไปอ่านบทความเหล่านั้น เว็บไซต์ Social Bookmark จึงเป็นเหมือนแหล่งรวบรวมบทความและสาระความรูด้ ๆ ี เมือ่ อ่านตัวอย่างบทความไหนใน Social Bookmark แล้วสนใจจะอ่านต่อให้จบ เราก็ค่อยคลิก เข้าไปอ่านต่อในเว็บไซต์เจ้าของบทความนั้นอีกที Social Bookmark หลายๆ แห่งมีผู้เข้าเยี่ยมชมเป็นจ�ำนวนมาก (แม้ช่วงหลังๆ เว็บไซต์ประเภทนี้จะได้รับความนิยมน้อยลงก็ตาม) การน�ำเว็บเพจของเราไปซับมิตใน Social Bookmark ต่างๆ จึงช่วยสร้างแบ็กลิงก์และโปรโมตบล็อกได้อีกทางหนึ่ง เพราะ เท่ากับเราน�ำบทความดีๆ ไปเผยแพร่ในแหล่งทีม่ นี กั อ่านมากมาย ใครสนใจอ่านบทความ นัน้ ก็จะคลิกเข้ามาในบล็อกของเราเอง ดีกว่าเราเผยแพร่บทความไว้ในบล็อกของเราอย่าง เดียว แล้วก็ได้แต่รอว่าเมื่อไหร่จะมีคนหลงเข้ามาอ่านบทความสักคนสองคน รู้อย่างนี้แล้ว ยังไงก็อย่าลืมใช้ Social Bookmark ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้าง แบ็กลิงก์นะครับ โดยเฉพาะถ้าเราเอาบทความไปซับมิตกับเว็บ Social Bookmark ชื่อดัง ทีเ่ สิรช์ เอนจิน้ เข้ามาเก็บข้อมูลบ่อยๆ อยูแ่ ล้ว ก็จะยิง่ เป็นผลดีตอ่ การท�ำ SEO ของเราเป็น อย่างยิ่งเลยละครับ 384



ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



บทที่ 20



ตัวอย่างบล็อกประเภท Social Bookmark ชื่อดังของโลกก็เช่น... http://delicious.com http://digg.com http://www.reddit.com http://www.stumbleupon.com http://chime.in หรือถ้าเป็น Social Bookmark สัญชาติไทย ก็มีให้เลือกใช้หลายแห่งครับ เช่น... http://www.zickr.com http://www.jjdigg.com http://www.votejung.com http://www.diggclick.com



ภาพ 20-2 ตัวอย่างเว็บไซต์ ประเภท Social Bookmark



385



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



โปรโมต Blog + ทำ� SEO ผ่าน Web Directory เว็บไซต์อีกประเภทที่เหมาะกับสร้างแบ็กลิงก์คือเว็บไซต์ประเภท Web Directory ซึ่งก็คือเว็บไซต์ประเภทที่รวบรวมรายชื่อของเว็บอื่นๆ ไว้อีกที โดยมีการจัดแบ่งเป็นกลุ่ม หรือเป็นหมวดหมู่ไว้ เมื่อเราเข้าไปที่เว็บประเภท Web Directory ก็จะสามารถค้นหาเว็บ หรือบล็อกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจได้ เว็บประเภท Web Directory บางแห่งให้บริการ Web Directory กันแบบเพียวๆ อย่างเดียวเลย แต่บางแห่งก็ให้บริการอย่างอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น Sanook.com ซึ่งเป็น แหล่งรวบรวมรายชื่อเว็บของไทยเราไว้มากมาย แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ เช่น การ ศึกษา, การแพทย์และสุขภาพ, กิจกรรมและเหตุการณ์ส�ำคัญ, กีฬา, ข่าวและสื่อ, ความ รู้และข้อมูลส�ำคัญ, คอมพิวเตอร์, ชอปปิ้ง, ท่องเที่ยว ฯลฯ ภายในหมวดหมู่ใหญ่ยังแบ่ง เป็นกลุ่มย่อยๆ อีกทีหนึ่ง เช่น หมวดหมู่คอมพิวเตอร์ ยังแบ่งออกเป็นเกมส์, กราฟิกและ มัลติมีเดีย, การเขียนโปรแกรม, ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ในหมวดหมู่ใหญ่หรือ กลุ่มย่อยเหล่านี้ จะมีรายการเว็บที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ แสดงให้เห็น เพื่อให้เราเลือก คลิกเข้าไปชมเว็บหรือบล็อกที่ต้องการ เว็บไซต์ประเภท Web Directory ชือ่ ดังจ�ำนวนมากมีคนนิยมใช้นบั ไม่ถว้ น เราจึงควร น�ำบล็อกของเรามาเพิ่มหรือซับมิตไว้ใน Web Directory เหล่านี้ด้วย เพราะนี่ถือเป็นการ สร้างแบ็กลิงก์ที่ได้ผลยอดเยี่ยมอีกวิธีหนึ่ง ทั้งในแง่การดันคะแนน Google PageRank ให้ สูงขึ้น และในแง่การเรียกเสิร์ชเอนจิ้นเข้ามาเก็บข้อมูล นอกจากนี้เวลามีคนเข้ามาค้นหา บล็อกในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง คนเหล่านั้นจะได้เจอบล็อกของเราด้วย ท�ำให้เราได้ผู้ชม บล็อกเพิ่มขึ้นมาอีกต่อ วิธีการซับมิตบล็อกกับ Web Directory ก็ไม่ได้ยากเย็น แค่กรอกข้อมูลต่างๆ และ ท�ำตามขั้นตอนที่เว็บ Web Directory เหล่านั้นก�ำหนดไว้ บล็อกของเราก็จะถูกบันทึกเข้าสู่ 386



ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



บทที่ 20



ระบบของ Web Directory เหล่านี้แล้ว หรือถ้า Web Directory นั้นมีขั้นตอนในการตรวจ สอบบล็อกของเราด้วย เราก็ต้องรอสักระยะ จึงจะเห็นรายชื่อบล็อกปรากฏในฐานข้อมูล ของ Web Directory นั้นๆ ส�ำหรับรายชื่อเว็บไซต์ประเภท Web Directory ของต่างประเทศที่น่าสนใจก็เช่น... http://www.dmoz.org/ http://dir.yahoo.com/ http://www.dmegs.com/ http://www.findelio.com/ http://www.directoryworld.net/ http://www.linkchannels.com/ http://www.beedirectory.com/ http://www.webdirectory.com/ และ Web Directory ของไทยเราก็เช่น... http://dir.sanook.com http://webindex.kapook.com http://truehits.net http://webindex.yellowpages.co.th http://directory.in.th http://directory.thaiza.com



387



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ภาพ 20-3 ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภท Web Directory



โปรโมต Blog + ทำ� SEO ผ่านเว็บ Article Submission เทคนิคการสร้างแบ็กลิงก์ด้วยการซับมิตบล็อกเข้าไปอยู่ในระบบ Web Directory ต่างๆ ซึง่ ผมเพิง่ พูดถึงไปในหัวข้อก่อนนัน้ เป็นการซับมิตบล็อกทัง้ บล็อก คนทีเ่ ข้ามาค้นหา ผ่าน Web Directory จะเห็นแค่ชื่อบล็อก, URL ของบล็อก หรืออย่างมากก็แค่ค�ำอธิบาย สั้นๆ เกี่ยวกับบล็อกของเรา แต่จะไม่มีใครมองเห็นตัวอย่างเนื้อหาหรือบทความในบล็อก เลย ถ้าคุณต้องการใช้บทความเด็ดๆ ในบล็อกเป็นตัวดึงดูดความสนใจ คุณต้องเลือกใช้ วิธีอื่นครับ วิธีการที่ว่าคือการน�ำบทความไปซับมิตกับเว็บไซต์ประเภท Article Submission ซึ่ง ก็คือเว็บที่ให้บริการเผยแพร่บทความต่างๆ นั่นเอง 388



ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



บทที่ 20



จะว่าไปแล้วการซับมิตบทความกับเว็บไซต์ประเภท Article Submission ก็มีความ คล้ายคลึงกับการซับมิตบุก๊ มาร์กกับเว็บประเภท Social Bookmark อยูเ่ หมือนกัน แต่ความ แตกต่างก็คือเว็บไซต์ Social Bookmark จะท�ำหน้าที่จัดเก็บแค่ URL ของบทความหรือ ของเว็บเพจนั้น รวมถึงตัวอย่างบางส่วนของบทความเท่านั้น แต่เว็บไซต์ประเภท Article Submission จะจัดเก็บบทความฉบับเต็มไว้เลย คนที่สนใจอ่านบทความนั้นๆ จึงอ่าน บทความทัง้ หมดได้ทนั ทีโดยไม่ตอ้ งตามไปอ่านในบล็อกเจ้าของบทความแต่อย่างใด หรือ บางทีคนที่เป็นเจ้าของบทความนั้นก็อาจไม่ได้มีบล็อกเป็นของตัวเองด้วยซ�้ำ เพียงแค่เข้า มาเขียนบทความเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ Article Submission เท่านั้น จุดแตกต่างอีกอย่างคือ เว็บไซต์ประเภท Article Submission ส่วนมากแล้วจะ มีระบบตรวจสอบคุณภาพของบทความก่อน ไม่ใช่ว่าใครเอาบทความไปซับมิตก็ช่วย เผยแพร่ให้หมด หากบทความที่เราน�ำไปซับมิตไม่มีคุณภาพ เช่น ไปลอกเลียนคนอื่น มา หรือมีเนื้อหาขัดแย้งกับนโยบายของเว็บไซต์ Article Submission นั้นๆ บทความ ของเราก็จะถูกปฏิเสธ เว็บไซต์ประเภท Article Submission หลายๆ แห่งมีคนเข้าไปใช้บริการกันเยอะ มากๆ บางคนเข้าไปหาบทความดีๆ อ่าน บางคนเข้าไปหาข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือบางคนก็อาจเข้าไปก๊อบปี้บทความมาใช้ในบล็อกหรือเว็บไซต์ของตัวเอง (ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีในแง่ SEO เลย) เว็บไซต์ Article Submission จึงเป็นช่องทางที่เราใช้ในการ สร้างแบ็กลิงก์ได้ เพราะเราสามารถน�ำบทความไปเผยแพร่โดยแทรกลิงก์กลับมายังบล็อก ของเราไว้ด้วย นอกจากนี้เว็บไซต์ Article Submission หลายๆ แห่งก็จะมีช่องให้เรากรอก ข้อมูลได้ด้วยว่า แหล่งที่มาของบทความนี้อยู่ที่ไหน เราก็สามารถใส่ URL บล็อกของเรา เพื่อท�ำเป็นแบ็กลิงก์ได้ง่ายๆ ครับ



389



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เว็บไซต์ประเภท Article Submission มีอยู่มากมายหลายแห่ง แต่ถา้ เป็นของไทย ุ ภาพนัก ผมจึงขอแนะน�ำเฉพาะเว็บไซต์ เราน่ะมีอยูไ่ ม่มาก แล้วก็เป็นเว็บไซต์ทไี่ ม่คอ่ ยมีคณ Article Submission ของต่างชาติดังต่อไปนี้ครับ...



ภาพ 20-4 ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภท Article Submission



http://ezinearticles.com http://www.goarticles.com http://articlebase.com http://www.ideamarketers.com http://www.contentdesk.com 390



ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



บทที่ 20



http://www.isnare.com http://www.articlealley.com http://www.articledashboard.com http://www.buzzle.com



โปรโมต Blog + ทำ� SEO ผ่านเว็บ Online Video มาถึงอีกหนึง่ แหล่งทีช่ ว่ ยสร้างแบ็กลิงก์ให้เราได้ นัน่ คือเว็บไซต์ประเภท Online Video ที่ให้บริการดูคลิปวิดีโอออนไลน์ ตัวอย่างของเว็บไซต์ประเภทนี้ที่เรารู้จักกันดีที่สุดก็คือ เว็บไซต์ YouTube (www.youtube.com) ครับ เว็บ YouTube ได้รับความนิยมสูงมากจาก คนทั่วโลก มีคลิปวิดีโอให้เราเลือกดูเลือกชมเป็นล้านๆ คลิป แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เพื่อให้การค้นหาคลิปท�ำได้ง่ายขึ้น หรือถ้าใครอัปโหลดคลิปขึ้นไปเผยแพร่ผ่าน YouTube บ่อยๆ ก็อาจสร้างแชนเนล (Channel) หรือช่องของตัวเองโดยเฉพาะขึ้นมาเลย เราก็จะ ได้แชนเนลที่มีหน้าตาตามต้องการ ส�ำหรับเป็นแหล่งรวมคลิปของเราเองไว้ในที่เดียวกัน นอกจาก YouTube แล้ว ในโลกออนไลน์ยังมีเว็บไซต์ที่ให้บริการในท�ำนองเดียวกัน นี้อีกเพียบเลยครับ ทั้งเว็บไซต์ต่างประเทศและเว็บไซต์ของไทยเราเอง เว็บไซต์ประเภท Online Video จึงกลายเป็นช่องทางท�ำการตลาดออนไลน์รูปแบบใหม่ที่ได้ผลดีเยี่ยม มีใคร หลายคนโด่งดังในชั่วข้ามคืนมาแล้วจากการใช้บริการเว็บไซต์ Online Video ที่วา่ นี้ และ เจ้าของบล็อกอย่างเราก็ใช้เว็บไซต์ Online Video มาเป็นเครื่องมือช่วยสร้างแบ็กลิงก์ได้ อย่างไม่ต้องสงสัย เทคนิคการสร้างแบ็กลิงก์ผ่านเว็บไซต์ประเภท Online Video นี้อาจยุ่งยากกว่าการ สร้างแบ็งลิงก์ดว้ ยวิธอี นื่ สักนิด แต่กไ็ ม่ได้ยากล�ำบากเกินความสามารถแน่นอน ขัน้ แรกเรา ต้องจัดเตรียมคลิปวิดโี อทีน่ า่ สนใจสักคลิป คลิปนีค้ วรมีเนือ้ หาเกีย่ วข้องกับเนือ้ หาในบล็อก 391



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ของเรา เมื่อได้คลิปแล้วก็อัปโหลดคลิปขึ้นไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ประเภท Online Video สัก แห่งสองแห่ง ในขั้นตอนการอัปโหลดไฟล์นี้มักจะมีออปชันให้เรากรอกรายละเอียดเกี่ยว กับคลิปวิดีโอที่ต้องการอัปโหลดลงไป ตรงนี้เองที่เราสามารถแทรกแบ็กลิงก์ลงไปได้ เมื่อ คลิปวิดีโอนี้ถูกเผยแพร่ ก็เท่ากับเราได้แบ็กลิงก์เพิ่มขึ้นมาแล้ว หรืออย่างกรณีของเว็บ YouTube (รวมทัง้ เว็บประเภท Online Video อืน่ ๆ ทีม่ รี ะบบ สร้างแชนเนลส่วนตัว) เรายังสามารถสร้างแชนเนลของเราเองขึ้นมาได้ด้วย ในแชนเนลที่ สร้างขึ้นนี้จะเป็นแหล่งรวมคลิปวิดีโอของเราทั้งหมด โดยสามารถจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ ตามความต้องการ และหากเราสร้างแชนเนลใน YouTube ขึน้ มา ด้านขวามือของแชนเนล เรายังใส่ลงิ ก์ทเี่ ชือ่ มโยงกลับมายังบล็อกได้ดว้ ย นีจ่ งึ ถือเป็นช่องทางการสร้างแบ็กลิงก์และ การโปรโมตบล็อกที่ท�ำได้ง่ายและได้ผลจริงครับ เว็บไซต์ประเภท Online Video ทีใ่ ช้เป็นช่องทางสร้างแบ็กลิงก์และโปรโมตบล็อกได้ มีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ถ้าเป็นของต่างประเทศก็เช่น... http://www.youtube.com http://www.metacafe.com http://www.dailymotion.com http://www.veoh.com http://www.videoclipsdump.com http://screen.yahoo.com http://www.bing.com/videos แต่ถ้าเป็นของคนไทยเราเอง ก็ลองเข้าไปดูที่เว็บไซต์เหล่านี้ครับ....



392



ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



บทที่ 20



http://www.clipmass.com http://video.mthai.com http://video.sanook.com http://play.kapook.com/vdo http://vdo.thaiza.com



ภาพ 20-5 ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภท Online Video



393



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



โปรโมต Blog + ทำ� SEO ผ่านเว็บบอร์ด เว็บบอร์ด (Webboard) หรือฟอรัม (Forum) ต่างๆ ถือเป็นแหล่งสร้างแบ็กลิงก์ชั้น ดีอกี แหล่งหนึง่ ครับ เว็บไซต์จำ� นวนมากมักสร้างระบบเว็บบอร์ดไว้ดว้ ยเพือ่ ใช้เป็นช่องทาง ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ชมเว็บกับเจ้าของเว็บ หรือระหว่างผู้ชมเว็บไซต์ด้วยกันเอง ใคร อยากสอบถามอะไร อยากพูดคุยอะไร อยากแสดงความคิดเห็นในเรือ่ งไหน ก็สามารถเข้า มาโพสต์ (Post) หรือตั้งกระทู้ไว้ในเว็บบอร์ด จากนั้นจะมีคนเข้ามาตอบค�ำถามหรือแสดง ความคิดเห็นเพิ่มเติม เว็บบอร์ดอาจเป็นแค่สว่ นหนึง่ ของเว็บไซต์ แต่เว็บบอร์ดของเว็บไซต์บางแห่งก็กลาย เป็นองค์ประกอบส�ำคัญที่สุดที่ช่วยดึงดูดใครต่อใครเข้าเว็บไซต์นั้น เว็บบอร์ดหลายๆ แห่ง ถือเป็นชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่ บางแห่งมีคนเข้าเป็นแสนๆ ต่อวัน ทัง้ คนทีเ่ ข้ามาตัง้ กระทู้ อ่านกระทู้ และตอบกระทู้ กระทูแ้ ต่ละกระทูท้ ถี่ กู โพสต์กจ็ ะผ่านสายตาคนอ่านจ�ำนวนมาก เราจึงอาศัยเว็บบอร์ดเหล่านี้เป็นแหล่งสร้างแบ็กลิงก์ได้ การสร้างแบ็กลิงก์ไว้ในเว็บบอร์ด ดังๆ จะส่งผลดีในแง่ SEO ไม่น้อยเลยละครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีเรื่องควรระวังอยู่บ้าง กล่าวคือการสร้างแบ็กลิงก์ไว้ตามเว็บบอร์ด ต่างๆ ต้องอาศัยเทคนิคกันหน่อย ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เข้าไปตั้งกระทู้เพื่อใส่แบ็กลิงก์ของตัวเอง ลงไปดื้อๆ เพราะมักจะท�ำให้ไม่มีคนอยากคลิกเข้ามาอ่านกระทู้ หรือถึงคลิกเข้ามาอ่านก็ ไม่อยากคลิกต่อเข้ามายังบล็อกของเรา เนื่องจากรู้สึกว่าเราจงใจเข้ามาโฆษณาบล็อกจน น่าเกลียด ดีไม่ดีเราอาจถูกแบนจากเว็บมาสเตอร์ได้ (เว็บบอร์ดบางแห่งมีกฎว่าห้ามโพสต์ กระทู้ในลักษณะโฆษณา) ทางที่ดีเราควรใช้วิธีเขียนกระทู้ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น เช่น เขียนเป็นบทความ สั้นๆ แล้วค่อยสอดแทรกแบ็กลิงก์ลงไปไม่ให้ดูน่าเกลียด เราต้องไม่ท�ำอะไรที่เข้าลักษณะ เป็นการบังคับให้คนอืน่ คลิกแบ็กลิงก์ของเรา แต่ตอ้ งให้มคี นคลิกแบ็กลิงก์ดว้ ยความเต็มใจ 394



ท�ำ Off-Page SEO พร้อมโปรโมต WordPress



บทที่ 20



และนอกจากการตั้งกระทู้ขึ้นเองแล้ว เราก็อาจเข้าไปเขียนตอบในกระทู้ของคนอื่น อาจ เขียนตอบค�ำถามทีเ่ จ้าของกระทูต้ งั้ ไว้ หรือเขียนแสดงความคิดเห็นอะไรก็ได้ แล้วค่อยสอด แทรกแบ็กลิงก์ลงไปเป็นอันดับสุดท้าย เพือ่ บอกให้คนทีเ่ ข้ามาอ่านรูว้ า่ เรามีบล็อกเป็นของ ตัวเองด้วย ถ้าสนใจก็คลิกเข้าไปเยี่ยมชมได้ และถ้าเว็บบอร์ดแห่งไหนมีออปชันเสริมให้สามารถก�ำหนดลิงก์ให้กับชื่อของเรา เองซึ่งจะปรากฏเวลาตอบกระทู้ หรือเปิดโอกาสให้เราสร้าง Signature ส่วนตัวในลักษณะ ต่างๆ ขึน้ มาได้ แบบนีก้ จ็ ะยิง่ ง่ายเข้าไปใหญ่ เพราะทุกครัง้ ทีเ่ ราเขียนกระทูห้ รือตอบกระทู้ จะปรากฏลิงก์หรือ Signature นี้ขึ้นมาในส่วนท้ายของข้อความ ซึ่งลิงก์หรือ Signature นี้ ก็จะท�ำหน้าที่เป็นแบ็กลิงก์นั่นเองครับ



ภาพ 20-6 ตัวอย่างเว็บบอร์ดชื่อดังแห่งหนึ่งของไทย



395



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



โปรโมต Blog + ทำ� SEO ด้วย Link Exchange กลยุทธ์สดุ ท้ายของการท�ำ SEO + โปรโมตบล็อกก็คอื การใช้เทคนิค Link Exchange หรือทีเ่ ราเรียกกันง่ายๆ ว่าการ “แลกลิงก์” (ไม่ใช่แลกลิน้ นะครับ) หลักการท�ำงานของเทคนิค Link Exchange ก็ไม่อะไรมาก เราแค่หาบล็อกพันธมิตรทีย่ นิ ดีแลกลิงก์กบั เรา แล้วต่างฝ่าย ต่างก็สร้างลิงก์ของอีกฝ่ายไว้ในบล็อกตัวเอง วิธกี ารนีเ้ ป็นการช่วยกันโปรโมตซึง่ กันและกัน อย่างได้ผล ได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย แล้วยิ่ง WordPress มีเมนูลิงก์ไว้ส�ำหรับบริหารจัดการลิงก์ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บ ภายนอก และมีวิดเจ็ต Links ไว้แสดงลิงก์ที่เราสร้างขึ้นผ่านไซด์บาร์ เราก็ยิ่งใช้เครื่องมือ เหล่านี้เป็นตัวช่วยในการแลกลิงก์ได้ง่ายเข้าไปใหญ่ แต่การแลกลิงก์ระหว่างกันนีจ้ ะให้ผลในด้านการโปรโมตบล็อกมากกว่าในด้าน SEO นะครับ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเสิร์ชเอนจิ้นมักไม่ค่อยให้น�้ำหนักกับการแลกลิงก์สักเท่าไหร่ คือมองว่าลิงก์ที่ต่างฝ่ายต่างสร้างขึ้นมานี้เป็นแบ็กลิงก์ที่มีคุณภาพต�่ำ เพราะมันท�ำได้ง่าย ที่ส�ำคัญคือไม่ใช่ลิงก์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตามแม้การแลกลิงก์จะไม่ได้สร้างผลดีในด้าน SEO นัก แต่มันก็ไม่ได้เกิด ผลเสียหายตรงไหนนีค่ รับ ทีแ่ น่ๆ การแลกลิงก์นจี้ ะเกิดผลดีในแง่การโปรโมตบล็อกแน่นอน ผมจึงแนะน�ำว่าเราควรหาบล็อกพันธมิตรที่ยินดีแลกลิงก์กับเราสักจ�ำนวนหนึ่ง คุณผู้อา่ น คนไหนมีเพื่อนๆ ที่สร้างบล็อกไว้เหมือนๆ กัน การหาบล็อกพันธมิตรเพื่อแลกลิงก์กันคง ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าใครไม่มีเพื่อนๆ ที่มีบล็อกเลย แต่อยากจะแลกลิงก์กับบล็อกหรือเว็บ อืน่ ๆ คุณก็อาจใช้วธิ สี ร้างเพจขึน้ มาเพือ่ เขียนระบุไว้เลยว่าต้องการแลกลิงก์ ถ้าใครสนใจก็ ติดต่อมาได้ อะไรท�ำนองนี้ครับ



396



ภาคผนวก



แหล่งหาข้อมูลเพิ่มเติม



แม้ผมจะพยายามอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้งาน WordPress และ การใช้ WordPress หารายได้และท�ำการตลาดออนไลน์ ให้ครบถ้วนครอบคลุมที่สุด แต่ก็เป็นไปได้ว่ายังมีข้อมูลอีกหลายๆ ส่วนที่ไม่ได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ เพราะฉะนั้นผมจึงขอใช้พื้นที่ “ภาคผนวก” ตรงนี้ในการแนะน�ำแหล่งศึกษาหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน WordPress โดยผมจะแนะน�ำเว็บไซต์เกี่ยวกับ WordPress ที่น่าสนใจ ทั้งเว็บของต่างประเทศและเว็บของไทยเรา เอง (แต่จะเน้นที่เว็บของไทยมากหน่อย) เพื่อคุณผู้อ่านจะได้ลองเข้าไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือ เข้าไปหาข้อมูลเวลาเจอปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นมาครับ



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



ไปลองดูกันว่า แหล่งหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ WordPress มีที่ไหนกันบ้าง เว็บไซต์ WordPress.org (http://wordpress.org) พูดถึงเว็บไซต์ซงึ่ เป็นแหล่ง ข้อมูลเกี่ยวกับ WordPress แล้ว คงไม่มีที่ไหนจะใช้อ้างอิงอย่างเป็นทางการได้เท่ากับ WordPress.org อีกแล้ว เพราะที่นี่เป็นเว็บไซต์หลักของ WordPress ครับ ในเว็บไซต์ WordPress.org มีทุกอย่างเกี่ยวกับ WordPress ก็ว่าได้ มีทั้งไฟล์ติดตั้ง WordPress ให้ เข้าไปดาวน์โหลดมาใช้, มีตัวอย่างบล็อกหรือเว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress ให้เราดู, มี ธีมและปลัก๊ อินมากมายให้เลือกดาวน์โหลด, มีฟอรัมซึง่ เป็นแหล่งพูดคุยแลกเปลีย่ นความ รู้และสอบถามปัญหาในบรรดาคนใช้ WordPress ด้วยกัน และมีข้อมูลความรู้อีกสารพัด เกี่ยวกับ WordPress ให้เข้าไปอ่านครับ เว็บไซต์ WordPress Thai (http://th.wordpress.org) เว็บไซต์ WordPress. org นั้นเป็นเว็บอย่างเป็นทางการของ WordPress ในภาษาอังกฤษ แต่ WordPress ก็ยัง มีเว็บย่อยๆ ที่เป็นภาษาอื่นๆ อยู่ด้วย รวมถึงภาษาไทยของเรา ซึ่งเว็บไซต์ WordPress Thai นี้ก็คือเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ WordPress ในเวอร์ชันภาษาไทยนั่นเอง ในเว็บไซต์ WordPress Thai มีขอ้ มูลดีๆ มากมายเกีย่ วกับ WordPress ให้เราเข้าไป ศึกษาดู โดยในเว็บนีจ้ ะเน้นหนักไปที่ WordPress เวอร์ชนั ภาษาไทย ใครสนใจอยากใช้งาน WordPress ภาษาไทยละก็ แนะน�ำให้เข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้ง WordPress ภาษาไทย และเข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ในเว็บ WordPress Thai นี้ได้เลย



398



แหล่งหาข้อมูลเพิ่มเติม



ภาคผนวก



เว็บไซต์ WordPress.org



เว็บไซต์ WordPress Thai



เว็บไซต์ Wordthai.com (http://wordthai.com) หรือเว็บ Thai Wordpress เป็นอีกแหล่งข้อมูลภาษาไทยของคนใช้ WordPress ครับ ผู้พัฒนาเว็บไซต์นี้เป็นทีมงาน เดียวกันเว็บไซต์ WordPress Thai นั่นเอง แต่เว็บไซต์ Wordthai.com จะเน้นไปที่การให้ ข้อมูลต่างๆ เกีย่ วกับ WordPress ไม่ใช่เว็บไซต์ทใี่ ช้เป็นแหล่งดาวน์โหลด WordPress ภาษา ไทยอย่างเป็นทางการ วิธีการน�ำเสนอเนื้อหาของ Wordthai.com จะมีลักษณะเป็นบล็อก ทีเ่ ผยแพร่บทความน่าสนใจเกีย่ วกับ WordPress นอกจากนีก้ ย็ งั มีฟอรัมให้เข้าไปพูดคุยใน เรือ่ งเกีย่ วกับ WordPress อีกด้วย (แต่ยงั มีคนเข้าไปตัง้ กระทู-้ ตอบกระทูค้ อ่ นข้างน้อยครับ) 399



ผมใช้



WordPress หาเงินและท�ำการตลาดออนไลน์ได้ยังไง



เว็บไซต์ WordPress.in.th (http://www.wordpress.in.th) หรือทีใ่ ช้ชอื่ ภาษา ไทยว่า “พิมพ์คำ� ” เป็นเว็บไซต์อีกแห่งหนึ่งครับซึ่งเหมาะกับคนที่อยากศึกษาหาความรู้ใน เรือ่ ง WordPress เพราะเว็บแห่งนีเ้ ป็นแหล่งความรูเ้ กีย่ วกับ WordPress ทีค่ อ่ นข้างสมบูรณ์ ครบถ้วน มีทั้งบทความน่าอ่านเกี่ยวกับ WordPress, มีทั้งข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยว กับ WordPress, มีธีม WordPress สวยๆ ให้เลือกดาวน์โหลด, มีปลั๊กอินน่าใช้มาแนะน�ำ ฯลฯ ใครอยากได้แหล่งความรู้ภาษาไทยเกี่ยวกับ WordPress ดีๆ ยังไงก็อย่าลืมคลิก เข้าไปเยี่ยมชม WordPress.in.th กันดูนะครับ เว็บไซต์ Wordthai.com



เว็บไซต์ WordPress.in.th



400